สาหร่ายขนนก การเลี้ยงสาหร่ายขนนก ลักษณะของสาหร่ายขนนก ความสำคัญของสาหร่ายขนนก


1,718 ผู้ชม


สาหร่ายขนนก การเลี้ยงสาหร่ายขนนก ลักษณะของสาหร่ายขนนก ความสำคัญของสาหร่ายขนนก

“สาหร่ายขนนก” ต้านอนุมูลอิสระรักษาหลายโรค

           เมื่อพูดถึง “สาหร่าย” หลายคนก็ต้องคิดถึงของกินเล่น เคี้ยวเพลิน กินได้ตลอด เพราะเป็นของดีมีประโยชน์ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นชาติแรกๆ ที่เห็นคุณค่าของสาหร่าย เราจึงเห็นอาหารญี่ปุ่นมีเมนูสาหร่ายจำนวนมากและในช่วงที่เกาหลีมาแรงแบบนี้ ไทยเราก็ฮิตติดกินสาหร่ายเกาหลีตามซีรีย์เกาหลีไปด้วย
           สาหร่ายเป็นแหล่งอุดมโปรตีนคล้ายเนื้อสัตว์มีอยู่ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำพุร้อน หิมะหรือที่ขึ้นตามต้นไม้ แต่สาหร่ายที่นำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด และรู้หรือไม่ในทะเลอันดามันของไทยมีสาหร่ายชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่า อาหารและสรรพคุณทางยา “สาหร่ายขนนก” เป็นชื่อที่ชาวใต้คุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่กำลังจะกลายเป็นสาหร่ายที่คนไทยกำลังจะรู้จักทั่วประเทศในไม่ช้า
           รศ.มัณฑนา นวลเจริญ หัวหน้าโครงการวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก มรภ.ภูเก็ต ให้ข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยเห็นว่า ชาวบ้านบริโภคสาหร่ายชนิดนี้จำนวนมาก จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำการวิจัยสาหร่ายขนนกเพื่อหาสารพิษเฉียบ พลันแต่กลับพบว่านอกจากจะไม่มีสารพิษแล้ว คุณค่าทางอาหารสูง มีไขมันต่ำ 0.08% ไม่มีคอเรสเตอรอล มีโปรตีน 1.42% เกลือ 2.60%กากใย 0.30% และ ฟอสฟอรัส 39.61 มิลลิกรัม และประโยชน์ทางยาอีกมากมายเปรียบได้เป็นขุมทรัพย์จากทะเลดีๆ นี่เอง
           “สรรพคุณที่โดดเด่น คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง มีวิตามินที่ร่างกายต้องการ เอ บี ซี ดี อี และ เค มีไอโอดีน แมกนีเซียมช่วยให้ระบบประสาท และกล้ามเนื้อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แคลเซียมบำรุงกระดูก โปตัสเซียมควบคุมการทำงานของเซลล์ และสมดุลน้ำในร่างกาย แร่เหล็ก และทองแดงช่วยในการสร้างเม็ดเลือด สังกะสีช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อีกทั้งมีกรดอะมิโนหลายชนิดที่พืชบกไม่มี มีฤทธิ์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคตับอักเสบเพราะช่วยในการสมานแผล เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานและหัวใจ” หัวหน้าโครงการวิจัยระบุ
           รศ.มัณฑนา บอกด้วยว่า นอกจากคุณค่าทางยาแล้วการวิจัยต่อยอด ยังพบว่าสาหร่ายขนนกสามารถนำมาทำเวชสำอางได้ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินอี และดี ที่ส่งผลทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ชุ่มชื้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองทำผลิตภัณฑ์เตรียมออกสู่ตลาด เช่น สบู่ สครับขัดผิว ครีมบำรุงผิว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีขนมคุกกี้สาหร่าย น้ำสาหร่ายและไอศกรีมสาหร่ายด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อความต้องการของตลาดมีมากขึ้น แต่สาหร่ายขนนกในธรรมชาติยังมีจำนวนจำกัดอยู่ จึงมีโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการ

           ว่าที่ ร.ต.อนุวัตร อธิบายถึงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ว่าสาหร่ายขนนกจะขึ้นตามธรรมชาติในท้องน้ำที่มีทราย น้ำไม่ลึก เช่น บริเวณริมคลองออกทะเล ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ช่วงต้นหน้าฝน ตั้งแต่พฤษภาคม ถึงต้นหน้าหนาวจะไม่ค่อยมี เพราะน้ำจืดจะไหลลงละลายกับน้ำทะเล ทำให้สาหร่ายขนนกเกิดไม่ได้ และด้วยคาดว่าสาหร่ายขนนกอาจจะหมดจากทะเลไทยในไม่ช้า ชาวบ้านจึงเริ่มเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและเพื่อการค้ามากขึ้น
           “เราสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกในตาข่ายกระชังเลี้ยงปลาและบ่อน้ำเค็มได้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็ถึงเวลาเก็บมาประกอบอาหารได้ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายมีผลดีอย่างหนึ่งคือ เราสามารถควบคุมความสะอาดของน้ำ ความเค็มและอุณหภูมิที่เหมาะสมได้ ซึ่งรสที่ออกมาไม่ผิดจากธรรมชาติคือ ออกเค็ม ชุ่มคอ สีเขียวใส เมื่อเคี้ยวแล้วจะกรุบๆ ในปากกินกับน้ำยำอร่อยมาก”


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด