กินยาฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศหญิงในอาหาร ยาเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงสีขาว


2,951 ผู้ชม


กินยาฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศหญิงในอาหาร ยาเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงสีขาว

มะเร็งเต้านมกับฮอร์โมน


 

ฮอร์โมน (Hormone)
     ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่สร้างจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ แล้วถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนของโลหิต เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมลักษณะทางเพศ และควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

มะเร็งเต้านมกับฮอร์โมน
     เต้านมเป็นแหล่งที่ใช้ในการสร้างและหลั่งน้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตรประกอบด้วย ท่อน้ำนม ก้อนไขมันสะสม และหลอดน้ำเหลืองมากมาย การเจริญเติบโตของเต้านม รวมทั้งการทำงานของเต้านมจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมน และพบต่อมาว่าการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง มีส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเช่นกัน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม คือ
  • ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ซึ่งผลิตจากรังไข่ (Ovary) ในหญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และจากต่อมหมวกไต (adrenal gland) ในหญิงที่หมดประจำเดือนแล้วหรือในหญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกไปแล้ว 
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งผลิตจากรังไข่ 
  • ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (Androgen) ผลิตจากต่อมหมวกไต 
  • คอติโคสเตียรอย (Corticosteroid) ผลิตจากต่อมหมวกไต 
  • ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่เป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมนชนิดที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด (Tropic hormone) ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland


 

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยฮอร์โมน
      หลักของการรักษามะเร็งเต้านม โดยวิธีการทางด้านฮอร์โมน ก็คือ หากมะเร็งเต้านมนั้น ตอบสนองต่อฮอร์โมน คือ จะเติบโตขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมน แพทย์จะทำการรักษาโดยการลดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายลง หรือ ใช้ยาที่เข้าไปขัดขวางการส่งสัญญาณของฮอร์โมนที่เซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนจะได้ผลดี ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบว่า เป็นเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนอยู่ในเซลล์ ซึ่งพบได้ประมาณ 60-70% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างมาก ทั้งนี้เพราะมีผลแทรกซ้อนข้างเคียงน้อยกว่าการให้เคมีบำบัดมาก และวิธีการบริหารยาก็สะดวกสำหรับผู้ป่วยมากกว่าการให้เคมีบำบัด

      เนื่องจากการรักษามะเร็งเต้านมด้วยฮอร์โมน ใช้หลักการในการขัดขวางการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน ที่จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับการรักษาวิธีนี้ ควรเป็นกลุ่มที่มีเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนอยู่ในเซลล์ ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจดูว่าเซลล์มะเร็งของผู้ป่วย มีตัวรับสัญญาณดังกล่าวหรือไม่ โดยตรวจจากชิ้นเนื้อมะเร็ง ตัวรับสัญญาณที่ทำการตรวจ มี 2 ชนิดคือ เอสโตรเจนรีเซบเตอร์ (Estrogen receptor, ER) และ โปรเจสโปรเจสเตอโรนรีเซบเตอร์ (Progesterone receptor, PR) หากมีตัวรับสัญญาณ จะเรียกว่าผลการตรวจให้ผลบวก (Positive)

      จะเห็นได้ว่าการตรวจหาเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ และ โปรเจสโปรเจสเตอโรนรีเซบเตอร์ จากก้อนมะเร็งที่ตัดออกมาในตอนแรกจะมีความสำคัญมาก ถือเป็นแนวมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่จะต้องนำชิ้นเนื้อส่งตรวจ ในกรณีที่ไม่ทราบผลการตรวจรีเซบเตอร์ดังกล่าว (unknown) ก็อาจใช้การรักษาทางด้านฮอร์โมนได้ แต่ผลดีจากการรักษามีน้อยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ส่วนกรณีที่ผลการตรวจชิ้นเนื้อแล้ว ไม่พบว่าเซลล์มะเร็งมีรีเซบเตอร์ทั้ง 2 ชนิด (negative) ไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการด้านฮอร์โมน เพราะไม่เกิดประโยชน์

     การรักษาด้วยวิธีการทางด้านฮอร์โมน สามารถใช้ได้กับทั้งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และหมดประจำเดือนแล้ว แต่วิธีการจะแตกต่างกัน

วิธีการ
การใช้ฮอร์โมนในการรักษามะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


 

1. การใช้ยาที่เข้าไปแย่งที่กับตัวรับสัญญาณที่เซลล์มะเร็ง (เอสโตรเจน รีเซบเตอร์) เพื่อไม่ให้ฮอร์โมนสามารถกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เติบโตได้ 
       กลุ่มนี้เป็นยาต้านเอสโตรเจน (anti-estrogen) ยาสำคัญที่ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มนี้ คือ Tamoxifen โดยยาจะออกฤทธิ์แย่งจับกับตัวรับสัญญาณของเซลล์มะเร็งเต้านม ดังนั้น ภายหลังจากการผ่าตัดรักษา การให้เคมีบำบัด หรือ การฉายรังสี หากมีเซลล์มะเร็งยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายจำนวนน้อย และเซลล์นั้นเป็นเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ยา Tamoxifen จะเข้าไปแย่งที่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีอยู่ในร่างกาย ไม่ให้มีโอกาสกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่นั้นเติบโตได้ หรือหากจะได้ก็จะช้ากว่าปกติ 
     การใช้ยา Tamoxifen ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ใช้ได้กับทั้งสตรีที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว สามารถใช้ได้อย่างดีในการลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ภายหลังการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยกินยาวันละ 1 เม็ด นาน 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีการใช้ยานี้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็งลง (มักใช้ในผู้สูงอายุ ที่ร่างกายไม่สามารถรับเคมีบำบัดได้) หรือใช้ป้องกันมะเร็งเต้านม ในสตรีที่มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งสูงมากกว่าคนทั่วไป
     ผลข้างเคียงที่มักจะได้รับการกล่าวถึงของยา Tamoxifen คือ อาจทำให้เกิดมะเร็งในเยื่อบุโพรงมดลูกได้  และ อาจมีผลทำให้เกิดเส้นเลือดดำอุดตันได้ แต่ในอุบัติการณ์ที่ต่ำมาก

2. การทำลายหรือยับยั้งไม่ให้มีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ในร่างกาย ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น

  • การทำลายรังไข่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนในหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน โดยการทำลายรังไข่ทำได้โดยการผ่าตัด หรือฉายรังสี หลังการทำลายรังไข่ทั้ง 2 วิธี จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เช่นเดียวกับคนวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) การเข้าสู่อาการวัยทองโดยกะทันหัน อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวได้มาก

  • การยับยั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชาย ที่จะเปลี่ยนมาเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไต
     ในหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วนั้น อาจจะยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ได้ในปริมาณเล็กน้อย โดยฮอร์โมนที่พบในหญิงวัยหมดประจำเดือน ไม่ได้มาจากรังไข่ แต่เป็นฮอร์โมนที่มาจากต่อมหมวกไต ซึ่งจะแปลงฮอร์โมนเพศชายมาเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้น การลดประมาณฮอร์โมนเพศหญิงให้เหลือต่ำที่สุดในหญิงวัยหมดประจำเดือน ก็คือ การทำลายต่อมหมวกไต หรือ ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไต
     ในอดีตใช้การผ่าตัดเพื่อทำลายต่อมหมวกไต (Adrenalectomy) แต่มีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากต่อมหมวกไตยังทำหน้าที่อีกหลายประการ ทั้งในด้านการควบคุมระดับสารน้ำในร่างกาย ระดับฮอร์โมน cortisol ซึ่งหากขาดฮอร์โมนดังกล่าว ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะผิดปกติไปอย่างมาก วิธีการผ่าตัดจึงไม่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน มีการใช้กลุ่ม aromatase inhibitors ซึ่งได้ผลในการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมน ขณะเดียวกันผลข้างเคียงก็มีน้อยมาก

• การยับยั้งการกระตุ้นรังไข่จากต่อมใต้สมอง 
     ต่อมใต้สมองเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ในหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จึงมีอีกหนทางหนึ่งที่จะลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ การยับยั้งการทำงานของต่อมใต้สมอง ในอดีต อาศัยการผ่าตัดต่อมใต้สมอง (Hypophysectomy) หรือ การฉายรังสี ซึ่งมีผลแทรกซ้อนข้างเคียงมาก เนื่องจากต่อมใต้สมองจะควบคุมระบบฮอร์โมนอีกหลายอย่าง ทั้งของไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ฯลฯ ปัจจุบันมีการคิดค้นยาที่สามารถลดการทำงานของต่อมใต้สมอง ในกลุ่ม gonadotropin releasing analog (GnRH analog) ซึ่งได้ผลในการยับยั้งการกระตุ้นรังไข่ได้ดี แต่เป็นยาฉีด ซึ่งต้องฉีดเดือนละครั้ง

     การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีฮอร์โมนมีหลายวิธี และหลายลำดับขั้นตอน แต่โดยรวมแล้ว ผู้ป่วยที่จะได้รับผลดีจากการรักษาด้วยฮอร์โมนนั้น จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจน  ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยเป็นหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือ หมดประจำเดือนแล้ว และ มีข้อดี ข้อเสีย จากการรักษาแต่ละวิธีอย่างไรบ้าง

 

แหล่งที่มา : siamca.com

อัพเดทล่าสุด