โรคหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก 10 โรคหน้าฝนหน้าฝน โรคหน้าฝน 2012 โรคภัยต่างๆ โรคภัย ฤดูฝน


940 ผู้ชม


โรคหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก 10 โรคหน้าฝนหน้าฝน โรคหน้าฝน 2012 โรคภัยต่างๆ โรคภัย ฤดูฝน


“เชื้อโรคจิ๋ว” วายร้ายในหน้าฝน

         ในช่วงหน้าฝนมักทำให้พื้นดินเปียกและชื้นแฉะ เรามาดูกันค่ะว่าในพื้นดินและแหล่งน้ำที่ที่เต็มไปด้วยวายร้ายตัวจิ๋วปะปนอยู่ไปทั่ว มีอะไรอยู่บ้าง

          1. พยาธิปากขอ มักจะพบในดินที่ชื้นแฉะ ระยะตัวอ่อนที่ไชเข้าผิวหนัง จะเข้ากระแสเลือดสู่หัวใจ ปอด ผ่านหลอดลม มายังหลอดอาหาร แล้วไปเจริญเติบโตเป็นระยะตัวเต็มวัยที่ลำไส้เล็ก ผิวหนังบริเวณที่พยาธิตัวอ่อนไชเข้าไป จะเกิดเป็นตุ่มแดงและคัน พยาธิปากขอระยะตัวเต็มวัยจะใช้ส่วนปากเกาะผนังลำไส้และดูดเลือดเป็นอาหาร ทำให้เกิดโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะซีดเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ในกรณีที่ระยะตัวอ่อนของพยาธิปากขอของ “สุนัข”หรือ “แมว” ไชเข้าผิวหนังของคน พยาธิจะเคลื่อนที่ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ทำให้เกิดรอยโรคนูนแดงเป็นทางคดเคี้ยว

          2. พยาธิสตรองจีลอยด์ มักพบในดินที่ชื้นแฉะ ระยะตัวอ่อนที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จะเคลื่อนที่ไปในร่างกายทำนองเดียวกับระยะตัวอ่อนพยาธิปากขอ ผิวหนังบริเวณที่พยาธิตัวอ่อนไชเข้าไป จะเกิดเป็นตุ่มแดงคัน และเกิดรอยโรคนูนแดงเป็นทางคดเคี้ยว ระยะตัวเต็มวัยที่ลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเกิดโรคอุจจาระร่วงเรื้อรังและเกิดภาวะขาดสารอาหาร และซ้ำร้าย หากพยาธิชนิดนี้เดินทางไปอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

          3. พยาธิใบไม้เลือด พบในแหล่งน้ำที่มีหอยน้ำจืด เมื่อคนเดินหรือแช่ขาในแหล่งน้ำ พยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียจากหอยจะไชเข้าผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มแดงและคันที่ผิวหนัง ระยะตัวเต็มวัย จะอาศัยในเส้นเลือดดำที่ช่องท้อง ทำให้มีไข้ ปวดท้อง อุจจาระเป็นมูกเลือด ตับม้ามโต ตับแข็ง ท้องมาน และเสียชีวิตได้ พยาธิใบไม้เลือดบางชนิดทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด

          4. พยาธิหอยคัน เป็นพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์จำพวกโคกระบือ เมื่อคนเดินในแหล่งน้ำที่มีหอย

คัน พยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียจากหอยจะไชเข้าผิวหนังที่ชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดตุ่มแดงและคันที่ผิวหนัง แต่ไม่เข้าสู่กระแสเลือด

          5.อะแคนทะมีบา เป็นโปรโตซัวจำพวกอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระตามดิน โคลน เลน และแหล่งน้ำต่างๆ เข้าสู่ร่างกายทางแผลที่ผิวหนัง ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง ลักษณะแผลนูน ขอบแผลไม่เรียบ โรคผิวหนังจากอะแคนทะมีบา มักจะพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเดินด้วยเท้าเปล่าในดินที่ชื้นแฉะ การเดินหรือแช่เท้าในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำขังหรือ แหล่งที่มีหอยที่เป็นโฮสต์กลางของพยาธิ อาจเกิดโรคหรืออันตรายที่เราคาดไม่ถึง การใส่รองเท้าที่ปกปิดเท้าหรือรองเท้าบู๊ทจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคหรือพยาธิได้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินที่ชื้นแฉะ หรือแหล่งน้ำได้ ควรใช้สบู่ทำความสะอาดผิวหนังแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด


แหล่งที่มา : thaihealth.or.th , หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

อัพเดทล่าสุด