โรคกรดไหลย้อน อาการโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร


1,496 ผู้ชม


โรคกรดไหลย้อน อาการโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร

โรคกรดไหลย้อน
 
 
         โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคใหม่สำหรับคนเมืองจริงค่ะ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่มันอาจถึงชีวิตได้ วันนี้เราลองมาศึกษาโรคกรดไหลย้อน ทั้งสาเหตุและวิธีการรักษาจากคุณหมอโรงพยาบาลธนบุรี 
 โรคกรดไหลย้อน
Gastroesophageal Reflux Disease: GERD
 
เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้ โรคนี้มีความสำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอกและ/หรือร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว(รู้สึกเหมือนมีกรดซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก) ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลที่รุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารตียหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการทางด้านของ โรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น
 
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ
 
  • การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลายโดยที่ไม่มีการกลืน พบว่าคนไข้โรคนี้จะมีจำนวนครั้งของภาวะนี้ เกิดขึ้นบ่อยกว่าในคนปกติ ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นภาวะสำคัญของโลกนี้

  • ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติหรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  • อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
 
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน
 
อาการสำคัญ คือ อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนหงาย อาการสำคัญอีกประการก็คือ อาการเรอเปรี้ยวคือ มีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการ หรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้ ในคนไทยที่เป็นโรคนี้บางครั้งอาจพบอาการนี้ไม่ชัดเจน อย่างคนไข้ในแถบตะวันตกหรือในอเมริกา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ อาทิ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนหรือกลืนลำบาก ในรายที่เป็นมากบางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหาร อาทิ เจ็บหน้าอก จุดที่คอเรื้อรัง หอบหืด หรือมีกลิ่นปากโดยหาสาเหตุไม่ได้
 
จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร 
 
โดยปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้จากอาการดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มีอาการทั้งแสบยอดอกและ/หรือ เรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัยได้เลยว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตามดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นต้น
 
จะปฏิบัติตัวอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้
 
โดยทั่วไปเป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น รักษาอาการอักเสบของแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต การให้ยา การส่งกล้องรักษาและการผ่าตัด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
  •  หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อคโกแลต
  •  ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป
  •  ระวังอาหารมื้อเย็น ไม่กินในปริมาณมากและไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  •  ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
  • ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป
  •  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  •  นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว
 
เมื่อปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร
 
ถ้าการปฏิบัติเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย โดย ยาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือยาลดกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) ซึ่งได้ผลดีกว่า ยาในกลุ่ม H2 blocker receptor antagonist และดีกว่ากลุ่มยาที่กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยที่แพทย์จะให้รับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ในบางรายที่เป็นมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาจจะมีการปรับการรับประทานยาเป็นแบบช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือไม่กี่วันตามอาการที่มี หรือกินติดต่อกันตลอดเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ดีการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในรายที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา
สำหรับยาในกลุ่มที่มีผลต่อการคลายตัวของหูรูดนั้นยังมีอยู่จำนวนไม่มากและยังมีผลข้างเคียงอยู่พอสมควรการรักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด
 
ขอขอบคุณ
 
รศ.นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์
อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลธนบุรี



แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด