โรคหอบหืดจากการทํางาน ลูกใครเป็นโรคหอบหืดบ้าง ช่วยบอกวิธีรักษาหน่อย โรค หอบหืด สมุนไพร


1,014 ผู้ชม


โรคหอบหืดจากการทํางาน ลูกใครเป็นโรคหอบหืดบ้าง ช่วยบอกวิธีรักษาหน่อย โรค หอบหืด สมุนไพร


โรคหอบหืด

โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก  โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง 
อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน 
บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี

นิยาม  

โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  
เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,
neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยา
ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว 
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย 
อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้

ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดัง นี้

  1. Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  2. Air way edemaเนื่อง จากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
  3. Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  4. Air way remodeling มี การหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง

จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง

โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้ หลายรูปแบบ

  • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน

การวินิจฉัย

จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด

  • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
  • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
  • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
  • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่ สุด
  • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
  • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคน ปกติ
  • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียน หรือหยุดงาน
  • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
  • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
  • ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
  • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
  • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ

หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ 
พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ

อาหารกับโรค หอบหืด

สิ่งที่กระตุ้นอาการของโรคหอบหืดที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 
เรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ อุณหภูมิและความชื้น การ ได้รับ สาร ก่อ ภูมิแพ้ต่างๆ 
การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม อารมณ์ และอาหารบางประเภทโดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มี
ซัลไฟท์ จะเป็นอาหารที่กระตุ้นโรคหอบหืดโดยตรง

อาหารที่ กระตุ้นโรคหืด ที่ได้บ่อยๆได้แก่ นม ถั่วลิสง ถั่วอื่นๆ ข้าวสาลี ปลาและหอย หากสังเกต
จะพบว่า อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นนั้น มักเป็นกลุ่มท ี่ประกอบด้วย โปรตีนเป็น ส่วนใหญ่

สารผสมอาหาร ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่จะมีความระแวดระวังอยู่พอควรในการเลือก
รับประทานอาหาร สารอาหารที่ประกอบด้วยซัลไฟท์ ซึ่งพบได้บ่อยในผลไม้แห้ง ผักกาดแห้ง 
ผักดอง เครื่องเทศ ไวน์ เบียร์ น้ำมะนาว สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้โรคหอบหืดมีความรุนแรงเพิ่ม 
รวมทั้งสารประกอบอื่นๆเช่น สีผสมอาหาร โดยเฉพาะสีเหลือง สาร กันบูด ผงชูรส ดินประสิว(ซึ่งพบมากในแหนม)ก็อาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงได้เช่นกัน

ซัลไฟท์ เป็นสารที่ใช้เคลือบผิวอาหาร โดยเฉพาะผลไม้ เพื่อให้สอเสมอและต่อต้านการเจริญ
เติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้น ต้องระวังอาหารที่มีลักษณะผิวมันๆเรียบๆสวยๆ ซึ่งผู้ป่วยที่แพ้
สารนี้จะมีอาการหอบและช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในระยะ เวลาอันสั้น และสารนี้จะเป็นตัวกระตุ้น
ทำให้อาการของหืดแย่ลง

องค์การอาหาร และยาไม่อนุญาตให้ใช้ซัลไฟท์ในการเคลือบผักสด ผลไม้(ยกเว้นมันฝรั่ง) 
และอาหารที่เคลือบด้วยสารประกอบซัลไฟท ์จะต้องมีแสดงให้เห็น ในฉลากบรรจ ุ อาหารเสมอ 
ดังนั้นเวลาเลือกอาหารต้องดูฉลากด้วยว่า มีส่วนผสมที่จะทำให้แพ้หรือกระตุ้นโรคหืดให้ม
ีอาการแย่ลงหรือไม่

ผงชูรสโมโน โซเดียมกลูตาเมท มีรายงานว่าทำให้คนจำนวนเล็กน้อย ที่มีอาการผิดปติหลัง
รับประทานผงชูรส ถ้าอาหารที่มีผงชูรสต้องมีฉลากบอกว่ามีผงชูรสติดอยู่ โดยเฉพาะ 
อาหารปรุงสำเร็จต่างๆเช่น มะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนน้ำตาลเทียมมีบางคนกล่าวว่าแพ้น้ำตาลเทียม แต่ในการศึกษาจริงๆไม่มีผลต่อปฏิกิริยาแพ้อย่างชัดเจน

ภาวะแพ้อาหาร กับโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอุบัติการณ์ของภาวะแพ้อาหารประมาณ 52%เมื่อเทียบกับปกติพบมากกว่าคือคนปกติพบได้ 27% ผู้ป่วยโรคหืด ที่แพ ้ อาหารจะมีอาการ
หอบเฉียบพลันสูงถึงประมาณ 10% และมีอาการช็อค อะนาฟัยแลกซิสสูงถึง 5% ที่สำคัญไม่มีใคร
บอกได้ว่าใครรับประทานอะไรแล้วจะแพ้ในลักษณะเช่นนี้

ผู้ป่วยโรค หืดที่มีระดับของปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่ออาหารชนิด IgE สูงจะมีแนวโน้มที่ต้องใช้ยาพ่นขยาย
หลอดลมเป็นประจำ ผู้ป่วยหืดที่แพ้อาหารจะม ีโอกาสเสี่ยง ที่จะแพ้รุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่า
ผู้ที่ไม่เป็นโรคหืด ดังนั้นผู้ป่วยโรคหืดที่มีภาวะแพ้อาหารจึงควรพกยาติดตัวเสมอ อันดับแรกคือ
ยาขยายหลอดลมที่กันอยู่ประจำ และยาช่วยชีวิตเช่น Epinephrine ซึ่งเป็นยาช่วยชีวิตสำหรับ
คนที่มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรงและจำเป็นต้องมียานี้ ติดตัวเป็นเข็มพร้อมยาสำหรับฉีดตัวเอง

การแพ้อาหาร คือ การที่มีปฏิกิริยาต่ออาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร โดยผ่านปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน
ของร่างกายคล้ายกับโรคหอบหืด อาหารที่ก่อให้เกิด ภูมิแพ้เป็นสาร ประกอบประเภทโปรตีน ไม่ใช
่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน หรือเกลือแร่ เมื่ออาหารไปกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ IgE และ
mast cells ตามลำดับ เซลล์ถูกกระตุ้น ให ้ เกิดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น
เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำ เซลล์ตัวนี้จะแตกตัวง่ายมากและเกิดสารพวกนี้อย่างรุนแรง

จาการสำรวจพบ ว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่จะมีอาการแพ้อาหาร แต่ทั้งนี้ก็พบเพียงไม่ถึง 2 %ของ
จำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่พบพบในเด็กได้ 5% ในเด็กเล็กส่วนใหญ่ จะ มีปฏิกิริยาต่อนม 
ถั่วลิสง ถั่วอื่นๆ และข้าวสาลี สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักจะแพ้ถั่วลิสง ปลา หอยสองฝา และถั่วอื่นๆ

เมื่อสงสัย ว่าแพ้อาหาร อาจจะพิสูจน์ได้ง่ายๆโดยการหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยสักหนึ่งหรือ
สองอย่าง แล้วดูว่ายังแพ้อยู่หรือไม่ สงสัยชนิดไหนก็หยุดชนิดนั้น และหาก รับ ประทานอาหารชนิด
นั้นแล้วแพ้อีกก็แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น แต่การพิสูจน์ไม่ควรกินอาหารที่คิดว่าแพ้ เพราะอาจจะ
เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงได้ ควรไป พบแพทย ์เพื่อ ทดสอบดุให้แน่ใจ

อีกสิ่งหนึ่ง ที่แพ้คือยาง ซึ่งยางพวกนี้จะพบได้ในผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย อโวคาโด กีวี 
ลูกเกาลัด สำหรับผลกีวีนั้น มีรายงานเรื่องของการแพ้บ่อยขึ้น เพราะปัจจุบันเป็นอาหาร
อยู่ในหลายเมนูของคนไทย

การแพ้อาหาร สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2-3 นาทีหลังรับประทานอาหารจนถึง 2-3 ชั่วโมง 
แต่คนที่ไวมากๆ เพียงได้กลิ่นหรือสัมผัสอาหารที่แพ้ ก็สามารถแสดงปฏิกิริยาได้ โดยการแพ้อาหาร
จะผันแปรได้มากในแต่ละบุคคล และในคนคนเดียวกันจะมีปฏิกิริยาการแพ้อาหารชนิดเดียวกัน
ในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป และความรุนแรงของการแพ้ก็ไม่ เท่ากัน

อาการแพ้ อาหาร อาการแพ้จะพบได้ที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ที่ผิวหนังจะมี
อาการบวมบริเวณริมฝีปาก หนังตา ลิ้น ใบหน้า ผลต่อทางเดินอาหาร นั้นจะมีอาการ 
คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ส่วนผลต่อทางเดินหายใจจะมีอาการ จาม ไอเรื้อรัง 
เยื่อบุจมูกบวม หายใจลำบากและหอบ ส่วนปฏิกิริยาแพ้รุนแรงชนิด อนาฟัยแลกซิส 
บางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

หลักในการ วินิจฉัยโรค เมื่อหยุดอาหารที่สงสัยแล้วไม่มีอาการ แต่เมื่อลองใหม่แล้วเกิดอาการซ้ำ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการตรวจเลือดหาระดับปฏิกิริยานั้นๆ RAST TEST ถ้าใครแพ้อาหารประเภท
ไหนต้องเลี่ยงอาหารนั้นไปประมาร 1-2 ปีแต่อาหารบางรายการอาจจะแพ้ตลอดชีวิต 
จึงเน้นการหลีกเลี่ยงสารอาหารนั้น

วิธีการดูแล รักษา ต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ต้องชี้แจงโอกาสที่จะเกิดอาการและวิธีการรักษา
ที่เจาะจง ที่สำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้รวมทั้ง ผู้ป่วยต้องอ่านฉลาก ผลิตภัณฑ์อาหารด้วย 
เพราะปัจจุบันนี้ มีอาหารสำเร็จรูปค่อนขางมากเมื่อแปรรูปไปแล้วทำให้เราไม่ทราบว่ามีส่วน 
ประกอบที่เราแพ้รวมอยู่ด้วยหรือไม่

อาหารต้านโรค หืด เป็น อาหารที่ถูกกล่าวอ้างบ่อยๆว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันโรคหืดได้แก่ 
วิตามินซี วิตามินอี และบีต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจาก นั้น 
อาหารเสริมที่มีธาตุซิลีเนียม แมงกานิส ทองแดง สังกะสี ผลการศึกษาพบว่าไม่ช่วยใน
การรักษาโรคหืด แต่ในเด็กอาจจะลดปฏิกิริยาภูมิแพ้

สำหรับอาหาร ที่มีสาร Flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งพบมากใน 
ชา แอปเปิล หัวหอม ไวน์แดง พบว่าไม่มีผลต่อการลดอาการของโรคหอบหืด
นอก จาก จะรับประทานแอปเปิลทุกวัน วันละ2-5 ผลอาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืด

ผู้ที่รับ ประทานอาหารไขมันอิ่มตัวสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหืดสูงกว่าผู้ที่รับประทาน ไขมันไม่อิ่มตัว

แหล่งที่มา : mookfood.com

อัพเดทล่าสุด