โรคหอบหืด การป้องกัน รูปภาพโรคหอบหืด โรคหอบหืด คือ


906 ผู้ชม


โรคหอบหืด การป้องกัน รูปภาพโรคหอบหืด โรคหอบหืด คือ

โรคหอบหืด

สาระน่ารู้เพื่อสุขภาพ


               โรคหอบหืด หรือโรคหืด เป็นผลจากการหดตัว หรือตีบตันของกล้ามเนื้อ รอบหลอดลม ช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้หายใจขัด และอากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลมคือ
               1) การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม
               2) การบวมอักเสบของเยื้อบุภายในหลอดลม
               3) เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม
               การอักเสบของเยื้อบุหลอดลมส่วนใหญ่มักเป็นแบบเรื้อรัง เกิดเนื่องจากหลอดลม มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ อย่างรุนแรงมากกว่าปกติ ซึ่งการอักเสบนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำเริบเป็นช่วงๆ
               ผู้ป่วยโรคหืดบางรายอาจมีอาการน้อย แต่บางรายอาจเป็นมาก จนอันตรายถึงชีวิตได้
               ภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ตัวอย่างภาวะ หรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อโพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้สี สารสี สารเคมีต่างๆ และภาวะเครียด
               สองในสามของผู้ป่วยเด็ก ที่เป็นโรคหอบหืด จะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ส่วนมากจะไม่มีภาวะภูมิแพ้

ผลจากการประเมินอุบัติการณ์ของโรคหอบหืด
               โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) พบว่าผู้ป่วยโรคหืดมีอยู่ประมาณ 10-13% ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยพบในเด็กชาย มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคหืด ประมาณ 100-150 ล้านราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 50,000 รายต่อปี โดยมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืด จะเพิ่มขึ้นทั่วโลกด้วย
               การวินิจฉัยโรคหอบหืด ในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อย อาจไม่มีอาการหอบหืด หรือหายใจขัด แต่มีอาการไอเป็นชุดๆ มากับหวัดเรื้อรังที่กำเริบเป็นระยะ บางที่อาจไอจนอาเจียน ส่วนมากเกิดขึ้นเวลากลางคืน ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็ก จะไม่ค่อยสมบรูณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง อาการสำคัญ คือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบอาจมีสาเหตุอื่น ที่ไม่ใชโรคหอบหืด เช่นโรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพด ติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด
               การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุที่ทำให้ โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อไวรัส ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่างๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจให้แน่นอน และชัดเจนว่ามีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยหรือไม่

การรักษาโรคหอบหืดจะต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
               ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุผู้ป่วย และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วๆ ไป แนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้
               - แนะนำให้ใช้การตรวจสอบ สมรรถภาพของปอด เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
               - การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ หรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ร่วมกับการใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อ รอบหลอดลมที่หดตัว
               - การควบคุมภาวะแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วย ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมกัน รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจง ในภาวะภูมิแพ้
               - ต้องให้ความรู้ผู้ป่วย และครอบครัว เกี่ยวกับโรคหอบหืด และการปฎิบัติตน เช่น เลิกสูบบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง
               การรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคหอบหืด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พอใจ ของทั้งสองฝ่าย ผู้ป่วยก็ว่าไม่หายซักที หมอก็ว่าผู้ป่วยไม่รู้เรื่อง ไม่ทำตามที่เนะนำ

ผลการรักษาที่ควรเกิดขึ้นมีดังนี้
               - สมรรถภาพปอดดีขึ้น
               - ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ หรือเกือบปกติ
                  รวมทั้งการออกกำลังกาย
               - อาการเรื้อรังที่น่าเบื่อหน่าย สำหรับผู้ป่วยสิ้นสลายไป เช่น อาการไอ
                 หายใจขัด แน่นหน้าอก
               - ป้องกันการกำเริบของโรคได้
               - ผลข้างเคียงจากยาควรจะไม่มี หรือมีน้อยที่สุด

               ความเข้าใจที่สำคัญมาก คือ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ในโรคหอบหืดนี้เป็นการอักเสบอย่างเรื้อรัง และต่อเนื่องที่กำเริบได้เป็นระยะ แม้เวลาที่คนไข้รู้สึกดีไม่มีอาการไอ หรือหอบ ภาวะการอักเสบนี้ยังคงอยู่ตลอดเวลา

ยาหลักที่ใช้ในการรักษา
               1. ยาต้านการอักเสบ
               ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ในการรักษาโรคหอบหืด สำหรับผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ยานี้มีทั้งรูปแบบยาเม็ด สำหรับรับประทาน , ยาฉีด และรูปแบบพ่นเข้าหลอดลมโดยตรง ยาในรูปแบบพ่นถือได้ว่า เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ของผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง และมีความปลอดภัยสูง เพราะปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าร่างกายน้อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียง รุนแรงใดๆ จากการใช้ยากลุ่มนี้ ส่วนยาในรูปแบบรับประทาน จะใช้เมื่อมีอาการกำเริบรุนแรง หรือไม่สามารถพ่นยาได้ และจะใช้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากรับประทานติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน อาจพบผลข้างเคียงขึ้นได้ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อ กระดูกผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และบวมตามที่ต่างๆ ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน และฉีด ไม่ใช่เป็นยาที่ใช้อย่างต่อเนื่อง

               2. ยาขยายหลอดลม
               ยาประเภทนี้ จะช่วยขยายหรือคลายกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว
               2.1 ยากลุ่มเบต้าอะโกนิส: ที่ใช้แพร่หลายคือ ยาพ่น แบบน้ำและแบบผง อีกทั้งยังเป็นยาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพ ในการขยายหลอดลมสูง ยาพ่นนิยมใช้ในผู้ป่วย ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรคหอบหืด , ยาสูดพ่นเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
               2.2 ยากลุ่มแซนทีน: ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม สำหรับใช้ในผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรังบางกลุ่ม ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีด ยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา และออกฤทธิ์นาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย

               3. ยาพ่นที่เป็นยาผสมระหว่างยาสเตียรอยด์ และยาขยายหลอดลม ชนิดที่มีฤทธิ์คงอยู่นาน อยู่ในหลอดเดียวกัน
               เป็นยาที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สะดวกในการใช้ มีฤทธิ์ต้าน และลดการอักเสบ ของเยื่อบุหลอดลม พร้อมกับขยายหลอดลมไปในเวลาเดียวกัน ยาแต่ละชนิดที่ผสมกันอยู่ ยังมีฤทธิ์เสริมกันอีกด้วย ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ยากลุ่มนี้

               4. ยาอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอ ขับเสมหะ หรือยาที่เรียกว่า ยาเสริมภูมิ(คีโตติเฟน) ไม่มีผลโดยตรง ต่อการต้านการอักเสบของหลอดลม และไม่ใช่ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด

แหล่งที่มา : baanjomyut.com

อัพเดทล่าสุด