ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนเพศชาย ทอม


1,690 ผู้ชม


ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนเพศชาย ทอม


ระบบต่อมไร้ท่อ(Endocrine System)

        ระบบต่อมไร้ท่อจะทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการทำงานของระบบประสาท เพราะการกระทำของต่อมไร้ท่อให้ผลช้าแต่ทำงานนานกว่าระบบประสาทโดยอาศัยสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตขึ้นมาที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) ฮอร์โมนเกือบทั่งหมดจะถูกขนส่งไปสู่อวัยวะทั่วร่างกายโดยทางระบบไหลเวียนโลหิตแต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะหรือเซล บางตัวเท่านั้น ต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์ ที่ควบคุมการเจริญเติบโตแบ่งออกได้ดังนี้คือ

 ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland)

ภาพ:ระบบต่อมไร้ท่อ.jpg

        ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ คือ

  • Hormone ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • Hormone กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น
  • Hormone กระตุ้นการสร้างเซลสืบพันธ์
  • Hormone กระตุ้นการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
  • Hormone กระตุ้นต่อมหมวกไต ส่วนเปลือกให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น
  • Hormone กระตุ้นการขยายเต้านมสำหรับหญิงที่มีครรภ์
  • Hormone ช่วยในการดูดน้ำกลับจากท่อของหน่วยไตเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกาย ถ้ามี Hormone น้อย จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เบาจืด คือ ปัสสาวะมากและจาง
  • Hormone ที่ช่วยทำให้มดลูกหดตัวในการคลอดกระตุ้นการหลั่งน้ำนมและช่วยในการหลั่งน้ำกามและเร่งการเคลื่อนของตัวอสุจิในเพศชายเพื่อการผสมพันธ์
  • Hormone กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น

ต่อมธัยรอยด์ (ThyroidGland)

ภาพ:ต่อมไทรอยด์.gif

        ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือธัยร็อกซิน (Thyroxin) โดยอาศัยไอโอดีนเป็นวัตถุดิบ ( ร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณสัปดาห์ละ 1 มิลลิกรัม ) ธัยร็อกซินมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ

  • ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและระบบประสาท ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตถ้าขาดจะทำให้สมองเสื่อม ในผู้ใหญ่ถ้าขาดจะทำให้การรับรู้และสั่งงานของระบบประสาทช้าลง
  • ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อเป็นผู้ใหญ่
  • ควบคุมอัตราเมตาบอลิสึม (BMR) ในร่างกายความผิดปกติอันเนื่องมาจากธัยร็อกซิน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

        1) มีธัยร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin)

        1.1) ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง ลิ้นใหญ่และอาจห้อยออกมานอกปาก ปัญญาเสื่อม

        1.2) ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไขกล้ามเนื้อไม่มีแรง ผิวหนังแห้ง ซีด โลหิตจาง สติปัญญาเชื่องช้าลง

        1.3) เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา

        2) มีธัยร็อกซินมากเกินไป (Hyperthyroxin)

        2.1) ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น

        2.2) เกิดโรคคอพอกชนิดเป็นพิษ

ต่อมเพศ (Gonad)

ภาพ:ต่อมเพศ.jpg

        ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน

        ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ

        1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์

        2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น

        3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์

        4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย

  • ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้

        1) ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ

  • ไม่มี Secondary sexual characteristic
  • มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
  • เป็นหมัน

        2) ในผู้ใหญ่ - เป็นหมัน

  • ไม่มีความรู้สึกทางเพศ มีลักษณะไปทางเพศหญิง

        ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

        ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต

ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้

        1) ในเด็ก - อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ

  • ไม่มี Secondary sexual characteristic
  • ไม่มีเลือดประจำเดือน
  • มีลักษณะคล้ายชาย

        2) ในผู้ใหญ่ - ประจำเดือนหยุด

  • ไม่มีความรู้สึกทางเพศ
  • มีลักษณะคล้ายชาย

โรคในระบบต่อมไร้ท่อ

        จากการศึกษาโรคในระบบต่อมไร้ท่อ มีผลต่อสุขภาพมากมาย โรคในระบบต่อมไร้ท่อมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป เบาหวานเกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินน้อยเกินไป พบได้กับทุกเพศทุกวัย

         คอพอกธรรมดา เกิดจากการขาดธาตุไอโอดิน การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น เป็นกันมากในแถบภาคเหนือและภาคอีสาน

         คอพอกเป็นพิษ เพราะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป

         ต่อมธัยรอยด์อักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้

         มะเร็งต่อมธัยรอยด์พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรักษาที่คอตอนเด็ก

         โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง โรคคุชชิง เกิดจากฮอร์โมน สเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ

         โรคแอดดิสัน เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย

         โรคซีแฮน เกิดจากต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไตและรังไข่ไม่ทำงานไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากระบบต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในต่อมไร้ท่อต่างๆ ถึงแม้ว่าบางโรคจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่เราก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไปตรวจเช็คสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไปตรวจเช็คร่างกายของตนเป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันรักษาตนเอง ให้ห่างไกลไปจากโรคเหล่านี้


แหล่งที่มา : panyathai.or.th

อัพเดทล่าสุด