การทําข้อสอบสําหรับพยาบาล เรื่องโรคอุจจาระร่วง สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทย โรคอุจจาระร่วง กระทรวงสาธารณสุข วิบริโอ


2,542 ผู้ชม


การทําข้อสอบสําหรับพยาบาล เรื่องโรคอุจจาระร่วง สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทย โรคอุจจาระร่วง กระทรวงสาธารณสุข วิบริโอ

               การทําข้อสอบสําหรับพยาบาล เรื่องโรคอุจจาระร่วง

              สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทย

สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โดย mootie | วันที่ 6 พฤษภาคม 2553

ในปี พ.ศ.2550 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 1,290,627 ราย อัตราป่วย 2050.78 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 83 ราย อัตราตาย 0.13 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.01 พิจารณาย้อนหลังสิบปี พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราตาย และอัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและเริ่มคงที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 1)

            จากรายงานผู้ป่วยแยกรายเดือน 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ในปี พ.ศ.2550 มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลที่แตกต่าง คือ พบผู้ป่วยจำนวนมากในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ซึ่งปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก พบผู้ป่วยจำนวนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 131,278 ราย (ร้อยละ 10.17) รองลงมา คือ กุมภาพันธ์ 122,083 ราย (ร้อยละ 9.46) และพฤษภาคม 121,397 ราย (ร้อยละ 9.41) ต่ำสุดในเดือนกันยายน 88,666 ราย (ร้อยละ 6.87) (รูปที่ 2)

            อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 1.2 กลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด เท่ากับ 10,312.45 รองลงมา คือ มากกว่า 65 ปีขึ้นไป (2,746.20) และ 5 - 9 ปี (2,315.53) คล้ายกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 3) ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 22.68 รองลงมา คือ รับจ้าง(16.69) นักเรียน(9.45) และไม่ระบุอาชีพ/ในความปกครอง (39.95) 

            ผู้ป่วยสัญชาติไทย ร้อยละ 98.99 รองลงมา คือ พม่า(0.66) กัมพูชา(0.06) และลาว(0.04) ผู้ป่วยสัญชาติพม่า พบมากในจังหวัดเชียงราย ตาก และแม่ฮ่องสอน ผู้ป่วยสัญชาติกัมพูชาพบมากในจังหวัดตราด ระยองและสมุทรปราการ ผู้ป่วยสัญชาติลาวพบมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี และเชียงราย

            ผู้ป่วยเข้ารับการรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 48.0 รองลงมา คือ สถานีอนามัย (26.67) โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป (20.75) เป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 88.29 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 11.63 และไม่ระบุ ร้อยละ 0.08

            ภาคเหนือ มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด (2,355.33) รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2,093.51) ภาคใต้ (1,984.88) และภาคกลาง (1,862.43) เมื่อพิจารณาย้อนหลัง 5 ปี อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ และภาคกลาง แต่มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รูปที่ 4)

            จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน สูงสุด 10 อันดับแรก คือ จังหวัดภูเก็ต (5,516.39) ปราจีนบุรี (4,119.46) ฉะเชิงเทรา (4,067.10) ระยอง (4,018.82) แม่ฮ่องสอน (3,843.29) ตาก (3,823.14) สมุทรสงคราม (3,765.63) ศรีสะเกษ (3,469.60) พะเยา (3,438.74) และลพบุรี (3,059.90) (รูปที่ 5) ผู้ป่วยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 80.55 และเขตเทศบาล ร้อยละ 19.45 

ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

            Link       https://www.thaihealth.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              โรคอุจจาระร่วง กระทรวงสาธารณสุข วิบริโอ

ร้อนนี้... กินอาหารทะเลอย่างไรให้ปลอดภัย


กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 ชลบุรี ร่วมกับ เทศบาลเมืองพัทยา สุ่มเก็บอาหารทะเลพร้อมบริโภค เช่น ปูม้าต้ม ปลาหมึกย่าง  กุ้งต้ม ปลาซาบะ และน้ำจิ้มจากร้านอาหารตามสั่ง หาบเร่ และรถเร่ที่จำหน่ายบริเวณชายหาดพัทยาและหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร ในแหล่งท่องเที่ยว

 

                นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีชายทะเลเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งได้รับความนิยมมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ในช่วงฤดูร้อนนี้โดยเฉพาะบริเวณหาดพัทยาและหาดจอมเทียน อาหารทะเลจึงเป็น ที่นิยมของนักท่องเที่ยว แต่หากผู้บริโภคให้ความสำคัญเฉพาะความอร่อยมากกว่าความสะอาดของอาหารที่ จำหน่าย อาจทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดโรค     ในระบบทางเดินอาหารได้ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในแหล่งท่องเที่ยว กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 ชลบุรี ได้ร่วมกับสำนักการสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทยา สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารทะเลพร้อมบริโภคจากร้านอาหารตามสั่ง หาบเร่ และรถเร่ที่จำหน่ายบริเวณชายหาดพัทยาและหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ปูม้าต้ม ปลาหมึกย่าง กุ้งต้ม หอยแมลงภู่นึ่ง และปลาซาบะ รวม 83 ตัวอย่าง และน้ำจิ้ม  40 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า อาหารทะเลพร้อมบริโภคไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  43 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 51.8 ซึ่งตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไล (E.coli) สูงเกินเกณฑ์ทุกตัวอย่าง โดยพบมากสุดในปูม้าต้ม นอกจากนี้ยังตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษชนิดอื่นๆ อีก สำหรับ ผลการตรวจน้ำจิ้มที่มาจากรถเร่ และหาบเร่ พบไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.7 และ 51.4 ตามลำดับ  ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อวิบริโอ คอเลอเร(Vibrio cholerae)  มากที่สุด     

            รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ต่ออีกว่า  จากผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทะเลและน้ำจิ้มพบการปนเปื้อนเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล  ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย หากผู้บริโภคได้รับเชื้อในปริมาณที่สูง จะทำให้มีอาการท้องร่วง และอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ปวดท้อง ถ่ายเหลว บางรายอาจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน ส่วนเชื้อซัลโมเนลล่า และเชื้อวิบริโอเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน

              นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า           การ ปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหารทะเลพร้อมบริโภคนั้น  ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับการปนเปื้อนของ เชื้อแบคทีเรียซึ่งก่อให้เกิดโรคทาง เดินอาหารในอาหารแต่ละชนิดแตกต่างกันได้ ทั้งนี้อาจเกิดจากอาหารผ่านความร้อนไม่เพียงพอที่จะทำลายเชื้อต่างๆ ที่ปนเปื้อนมาจากธรรมชาติ อีกทั้งจากการตรวจวิเคราะห์ยังพบเชื้อวิบริโอ คอเลอเรซึ่งเป็นเชื้อที่ทนความร้อน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคผู้ บริโภคควรรับประทานอาหารทะเลที่ปรุงสุกใหม่ หรืออุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน      ดื่มน้ำที่สะอาด  ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง  และควรคำนึงถึงสุขลักษณะของผู้จำหน่าย ความสะอาดของภาชนะ เพื่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ  อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องร่วงไม่รุนแรงนักก็ให้รับประทานเกลือแร่ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ  แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลาควรไปพบแพทย์เป็นการด่วนไม่เช่นนั้นผู้ป่วยจะ เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก  และไตวาย อาจจะทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาระงับการถ่ายอุจจาระ เพราะยาประเภทนี้จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

             สำหรับการเฝ้าระวังและดู แลความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 ได้รายงานผลดังกล่าวให้ทางเทศบาลเมืองพัทยาทราบแล้ว ขณะนี้ทางเทศบาลเมือง พัทยาได้จัดทำโครงการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยมุ่งเน้นกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้จำหน่ายอาหารทะเล พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้ จัดรถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่    (mobile lab)ออกตรวจอาหารอย่างต่อเนื่องโดยใช้ชุดทดสอบความปลอดภัยด้านอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบอาหารด้วย

             Link     https://www.moph.go.th/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

 

อัพเดทล่าสุด