แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute gastroenteritis) สาเหตุโรคอุจจาระร่วง
แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง
ดาวน์โหลดเอกสาร
แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง (ต่อ)
https://dpc11.ddc.moph.go.th/pr/postter/doc/dd2_54.jpg
อุจจาระร่วง (Acute gastroenteritis)
คำจำกัดความ
การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายในเวลา1วันอาการ
การถ่ายอุจจาระเหลวหลายๆครั้ง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการขาดน้ำขึ้น แต่ในทารกที่กินนมแม่อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยได้ โดยไม่ถือเป็นอาการท้องเดิน แต่ถ้าถ่ายบ่อยกว่าปกติควรพบแพทย์ นอกจากอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายมีมูกปน อาจมีอาการไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนร่วม
ภวะขาดน้ำแบ่งออกเป็น3ระดับดังนี้
- ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย จะมีอาการกระหายน้ำอ่อนเพลีย ชีพจร ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ภาวะขาดน้ำปานกลาง มีอาการเพลียมากแทบเดินไม่ไหว ปากแห้ง ตาลึก ชีพจรเบาเร็ว ในทารกจะพบมีกระหม่อมบุ๋ม ซึม
- ภาวะขาดน้ำรุนแรงมีอาการอ่อนเพลียมากลุกนั่งไม่ไหวต้องนอน ปิมฝีปากแห้งหายใจลึก มือเท้าเย็น ไม่ถ่ายปัสสาวะ ชีพจรเบาเร็วความดันโลหิตต่ำ
สาเหตุ
แบ่งเป็นแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ท้องเดินชนิดเฉียบพลัน
- การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น
- สารพิษหรือสารเคมี เช่น ตะกั๋ว สารหนู ยาฆ่าแมลง
- ยา เช่นยาถ่าย ยาปฏิชีวนะ ยาเกาต์
- ท้องเดินชนิดเรื้อรัง
- โรคลำไส้แปรปรวน มีอาการเป็นๆหายๆเป็นเดือนหรือปี สัมพันธ์กับภาวะเครียดวิตกกังวลหรือทานอาหารบางชนิด ทำให้มีการบีบตัวของลำไส้มากกว่าปกติ
- การติดเชื้อบางชนิด เช่นวัณโรคในลำไส้ พยาธิ บิดอะมีบา
- ภาวะพร่องแล็กเทส มักจะมีอาการเวลาทานนม
- การดูดซึมผิดปกติ อาจมากจากสาเหตุต่างๆเช่นการผ่าตัดลำไส้ มะเร็งตับอ่อน
การวินิจฉัย
- ประวัติ
- การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายในเวลา1วัน
- ตรวจร่างกาย ไม่พบสาเหตุจำเพาะที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเช่น ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน
- สืบค้นทางห้องปฏิบัติการ ตรวจอุจจาระ หรือเพาะเชื้อ ในกรณีที่สงสัยการติดเชื้อที่รุนแรง หรือเป็นท้องเดินชนิดเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อน
ช็อค หรือไตวาย จากการขาดน้ำเกลือแร่ ภาวะแทรกซ้อนอื่นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
การรักษาและยา
1. ทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายเช่นโจ๊ก ข้าวต้มไม่ควรให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำ เพราะการขาดน้ำและสารอาหาร ยิ่งทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้า แต่ควรงดนม โดยเฉพาะผู้ที่พร่องเอนไซม์แลคเตส (lactase)
2. ให้น้ำเกลือ ในรายที่มีภาวะขาดน้ำเล็กน้อย ควรให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ อาจใช้ขององค์การเภสัชกรรมหรือ สูตรน้ำเกลือผสมเอง ดังนี้
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1 ช้อนชา
- ละลายในน้ำต้มสุก 750 มิลลิลิตร ( 1 ขวดสุรากลม )
ในรายที่มีอาการขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากทานสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำแทน
3. ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนควรให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
4. ยาปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่ไม่ต้องให้ ยกเว้นกลุ่มที่สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรีย บิด อหิวาห์เป็นต้น
5. หลักการเลือกใช้ยา
- ท้องเสียไม่รุนแรงและไม่ติดเชื้อ ให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หากมีอาการ ปวดมวนในท้องร่วมด้วย ให้ยาที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
- ท้องเสียรุนแรงหรือมีอาการที่แสดงว่าติดเชื้อ แนะนำให้ไปพบแพทย์
- ท้องเสียเพราะความเครียดเป็นครั้งคราว ให้ยาออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ถ้าท้องเสียเรื้อรังเพราะความเครียด ให้ใช้ยากล่อมประสาทตามคำแนะนำแพทย์
- สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยาที่ออกฤทธิ์กล่อมประสาท
6. การป้องกัน ทำอย่างไรจึงไม่เป็นโรคอุจจาระร่วง
- ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำประปา น้ำฝนที่เก็บในภาชนะที่สะอาด น้ำที่ต้มเดือดแล้ว
- ระวังอย่างให้แมลงวันตอมอาหาร และควรรับประทานอาหารที่สุกใหม่และร้อน อาหารที่ซื้อนอกบ้านควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนรับประทานอาหารและก่อนออกจากห้องน้ำ
- ห้ามรับประทานผักดิบหรือผลไม้สด ควรล้างมือหลายๆครั้ง ให้สะอาดและแช่ในน้ำปูนคลอรีนประมาณครึ่งชั่วโมง
- ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อย่าถ่ายอุจจาระหรือซักเสื้อผ้าของผู้ป่วยลงในแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
- รักษาบริเวณบ้านให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารและมูลสัตว์ต่างๆโดยฝังหรือเผาเสีย เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงวัน
- ควรเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมมารดา เพราะจะช่วยป้องกันมิให้ทารกติดเชื้ออุจจาระร่วงได้
ยาที่เกี่ยวข้อง
ยาที่ใช้บ่อย Ciprofloxacin, Loperamide, Norfloxacin, Ofloxacin,
แหล่งอ้างอิง
- ประยงค์ เวชวนิชสนอง และ วนพร อนันตเสรี. กุมารเวชศาสจร์ทั่วไป. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่1. 2550; 121-132.
1.โรคอุจจาระร่วง (Diarrhoeal Diseases)
ลักษณะทั่วไป โรคอุจจาระร่วงที่จริงมิใช่โรค แต่เป็นอาการแสดงของโรคในระบบทางเดินอาหาร
โดยทั่วไป หมายถึง การถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ 1ครั้ง หรือถ่ายเหลว 3ครั้งเป็นอย่างน้อยในเวลา 12 ชั่วโมง หรือถ่ายเหลว
มีมูกเลือดปน 1 ครั้ง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ อ่อนเพลียร่วมด้วย และอาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจน
กระทั่งอาการรุนแรงจนเสียชีวิต ในเวลาอันรวดเร็วได้ โรคอุจจาระร่วงสามารถพบได้บ่อยในทุกฤดูกาล ทุกเพศ
ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มักพบว่าเป็นกับเด็กที่ขาดอาหาร กำลังหย่านม เปลี่ยนอาหาร และเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม และพบในกลุ่มประชากรที่ด้อยการพัฒนาด้านการศึกษา และสุขวิทยาโดยปกติเชื้อโรค
มักจะเข้าสู่ร่างกายโดยการกินผ่านทางปากแล้วจะถูกสลายโดยน้ำย่อยของกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด หากเชื้อ
ถูกทำลายหมดก็จะไม่เกิดโรค แต่ถ้าเชื้อสามารถผ่านลงสู่ลำไส้เล็กได้ ซึ่งมีสภาวะเป็นด่างเชื้อจะสามารถอาศัยอยู่
และเจริญเติบโตแล้วทำให้เกิดโรค โดยเชื้อจะผลิตพิษไปกระตุ้นเยื่อบุลำไส้ให้หลั่งน้ำและเกลือแร่จากร่างกายสู่ลำไส้
มากกว่าปกติจนทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้ (ประกอบ บุญไทย. 2529 : 278-279)
สาเหตุ โรคอุจจาระร่วงเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ (ชวลิต ทัศนสว่าง. 2533 : 96-97)
1. จากการติดเชื้อโรค หรือได้รับอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง อาจเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือปาราสิตก็ได้
1.1 สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้อวิบริโอพารา
เฮโมลัยติคัส (Vibrio Parahemolyticus) เชื้อชิเกลลา (Shigella) เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella)
และเชื้อเอสเซอริ เซียโคไล (Escherichia coli บางทีเรียกว่า E.coli) เป็นต้น
1.2 สาเหตุจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้อโรต้าไวรัส (Rotavirus) และเชื้อนอร์วอล์คไวรัส (Norwalk Virus) เป็นต้น
1.3 สาเหตุจากเชื้อปาราสิต เชื้อปาราสิตที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้ออมีบา (Amoeba) และหนอนพยาธิลำไส้ (Helminths) เป็นต้น
2. จากยาหรือสารพิษบางชนิด เช่น การรับประทานยาระบายมากเกินขนาด
3. จากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ลำไส้เล็กมีการย่อยและดูดซึมไม่ดี ลำไส้ใหญ่มีเนื้องอก เป็นต้น
4. จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะอารมณ์ตึงเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ
โรคอุจจาระร่วงที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรคหรือได้รับอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
การติดต่อ โรคอุจจาระร่วงจะสามารถติดต่อได้โดยเชื้อโรคจะออกจากร่างกายผู้ป่วยทางอุจจาระ
และอาเจียน แล้วเข้าสู่ร่างกายผู้อื่นโดยการเดินหรือดื่มเข้าไป ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้โดยตรงจากการสัมผัส หรือแพร่
โดยแมลงนำไป หรืออาจแพร่โดยเชื้อมีแหล่งรังโรคในสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร แล้วคนติดเชื้อโรคโดยการกินเนื้อสัตว์ที่มี
เชื้อโรคอยู่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งผู้ติดเชื้อโรคแล้วจะสามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลาที่มีเชื้ออยู่ในอุจจาระ โดยเชื้อจะมีระยะ
ฟักตัวแตกต่างกันดังนี้ (ประกอบ บุญไทย. 2529 : 279)
1. เชื้อแบคทีเรีย มีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน
2. เชื้อไวรัส มีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้น ประมาณ 1-2 วัน
3. เชื้อปาราสิต มีระยะฟักตัวนานเป็นสัปดาห์หรือนานกว่า
การควบคุมและป้องกันโรค โรคอุจจาระร่วงสามารถควบคุมและป้องกันโรคได้ดังนี้ (ปริมณฑ์ กาญจนัษฐิติ. 2537 : 402-403)
1. การป้องกันก่อนการเกิดโรค โดย
1.1 ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องความสะอาด การรักษาอนามัยส่วนบุคคล การประกอบอาหาร
ต้องสะอาดและถูกหลัก ตลอดทั้งการขับถ่ายอุจจาระในส้วมที่ปิดมิดชิด
1.2 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
1.3 ไม่รับประทานอาหารดิบ ๆ สุก ๆ แนะนำให้บริโภคอาหารที่สุกและปกปิดอาหารจากการตอม
ของแมลงต่าง ๆ
2. การควบคุมและป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้น โดย
2.1 ให้การรักษาด้วยสารน้ำและเกลือแร่ที่เหมาะสม ดังนี้
1) ถ้าอุจจาระร่วงไม่มาก อาการไม่หนัก ให้งดอาหารไว้ก่อน แล้วดื่มน้ำผสมผงน้ำตาล
เกลือแร่ที่นิยมเรียกกันว่า โอ.อาร์.เอส. (Oral Rehydration Salt) เพื่อชดเชยน้ำ น้ำตาลและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
สารละลายน้ำตาลเกลือแร่นี้ควรดื่มทีละน้อย แต่ดื่มบ่อย ๆ ในเด็กทารก ถ้ารับประทานนมแม่ไม่ต้องงดนม แต่ให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่เพิ่ม ถ้าเด็กรับประทานนมผสมอาจงดนมสัก 4-6 ชั่วโมง หรือชงนมให้จางลง
ครึ่งหนึ่ง ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ควรให้นอนพัก ถ้าอาการไม่มากจะหายได้เอง ถ้าหาผงน้ำตาลเกลือแร่ไม่ได้ ก็สามารถผสมเองโดยมีสูตรดังนี้ น้ำ 1ขวดกลม (ขวดน้ำปลา) ผสมกับน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือ 1/2 ช้อนชา ต้มให้เดือดแล้วทิ้งให้เย็นจึงกิน
2) ถ้าอาการเป็นมาก คือ ถ่ายเป็นน้ำหลายครั้ง หรือกินน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่ แล้วไม่ดีขึ้น อ่อนเพลียมาก ตาลึก ชีพจรเบา ควรไปให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจและรักษาโดยเร็ว
3) ถ้าเป็นอุจจาระร่วงเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและให้การรักษาตามต้นเหตุ
ไม่ควรรักษาตัวเอง
2.2 ระมัดระวังมิให้แพร่เชื้อไปสู่คนอื่น โดยการถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะ แจ้งให้ผู้ใกล้ชิด
ทราบเพื่อป้องกันตนเอง
2.3 การรายงานผู้ป่วย ไปยังสำนักงานสาธารณสุข และดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อดำเนินการควบคุม
โรคต่อไป
2.4 การทำลายเชื้อ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่สัมผัสกับอุจจาระของผู้ป่วยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลระวังการ
ปนเปื้อนของเชื้อโรคกับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว