ยารับประทานโรคไซนัสอักเสบในเด็ก ค่าใช้จ่ายการรักษาโรคไซนัสเรื้อรังราคาเท่าไหร่ ค่ารักษาโรคไซนัสที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร


2,410 ผู้ชม


ยารับประทานโรคไซนัสอักเสบในเด็ก ค่าใช้จ่ายการรักษาโรคไซนัสเรื้อรังราคาเท่าไหร่ ค่ารักษาโรคไซนัสที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

              ยารับประทานโรคไซนัสอักเสบในเด็ก

ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร

ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร


ไซนัสอักเสบ หวัด
ไซนัสอักเสบ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
          ฮัดชิ่ว!!!! จามอีกแล้ว ไออีกต่างหาก แถมปวดบริเวณใบหน้าด้วย ดูท่าจะไม่ใช่แค่เป็น "หวัด" ธรรมดาเสียแล้วล่ะมั้ง เกรงว่าจะเป็น "ไซนัสอักเสบ" แล้ว โรคไซนัส ไซนัสอักเสบ เป็นอย่างไรล่ะเนี่ย รักษาได้หรือไม่ ใครที่มีอาการต้องสงสัย ต้องมาอ่านเรื่อง ไซนัสอักเสบ ที่เรานำมาเสนอกันในวันนี้ค่ะ
ไซนัส คืออะไร
          มารู้จัก ไซนัส กันก่อนดีกว่า ไซนัส (Sinus) ก็คือโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งเรียกว่า โพรงไซนัส มีทั้งหมด 4 ตำแหน่งเป็นคู่ ๆ คือ
          บริเวณหน้าผาก ใกล้กับหัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง (frontal sinus)
          บริเวณหัวตาทั้ง 2 ข้าง (ethmoid sinus)
          บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง (Maxillary sinus)
          บริเวณกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง (sphenoid sinus)
          โดย หน้าที่ของ ไซนัส มีส่วนทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น เวลาพูดมีเสียงก้องกังวานขึ้น (เพราะเป็นโพรงอากาศ) และเยื่่อบุของไซนัสและจมูก จะผลิตน้ำมูกเมือกใส ๆ วันละ 0.5-1 ลิตร เพื่อดักจับฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในอากาศที่เราหายใจเข้าไป และเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก ๆ พัดน้ำมูกลงไปด้านหลังของจมูก ผ่านช่องคอ ก่อนกลืนลงไปสู่กระเพาะอาหาร และจะถูกกรดในกระเพาะทำลายเชื้อโรคให้หมดไป
ไซนัส
ไซนัส

แล้ว ไซนัสอักเสบ ล่ะเกิดจากอะไร
          ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การ เป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ นั่นเอง
อาการของ ไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ไซนัสอักเสบ แบบเฉียบพลัน
          คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
      
2.ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง
          คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายสนิท จะมีอาการปวดตื้อ ๆ มึนงง ร่วมกับคัดจมูกเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวในลำคอตลอดวัน เพราะมูกจากไซนัสไหลลงมาทางจมูกนั่นเอง ประสิทธิภาพในการดมกลิ่น รับกลิ่นของจมูกจะลดลง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
          สาเหตุที่ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นผลจากผู้ป่วยได้รับการรักษาไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลันในเวลาที่น้อย หรือสั้นเกินไป หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือมีภาวะผิดปกติเป็นปัจจัยร่วมด้วย เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ พักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยง ไซนัสอักเสบ
          ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น ไซนัสอักเสบ ได้แม้แต่เด็กแรกเกิด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป คือ
          1. คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก เพราะเมื่อเกิดอาการแพ้จะเหมือนคนเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิด ไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
          2. คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูก และขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูก ที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิด การอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
          3.คนที่สูบบุหรี่และคนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ จะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบมากขึ้น
          4. มีคนกล่าวถึงการว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซนอาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะว่ามีการระคายเคืองของเยื่อบุเกิดขึ้น
การวินิจฉัยโรค เป็นหวัด หรือ ไซนัสอักเสบ
          อาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับไข้หวัดธรรมดา เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ มักจะหายภายใน 7-10 วัน ส่วนอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาจเป็นต่อเนื่องถึง 2-3 สัปดาห์ แต่ความรุนแรงจะลดลง จนหายได้ในที่สุด
          แต่ ถ้าผ่านไป 10 วันแล้วอาการต่าง ๆ ของไข้หวัด เช่น เป็นไข้หวัด ไอถี่ โดยเฉพาะเวลากลางคืนไม่ดีขึ้นเลย หรือดีขึ้นแล้วกลับมาทรุดลง หรือเป็นซ้ำอีก ที่สำคัญคือปวดบริเวณหน้า ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตามมาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกไหลลงรูจมูก หรือไหลลงคอ หรืออาจปวดตื้อด้านข้างจมูก ใบหน้า ตามมา

          หากมีอาการเช่นนี้ แพทย์จะตรวจโพรงจมูกและไซนัส โดยใช้กล้องส่องตรวจพิเศษ เพื่อวินิจฉัยอาการ โดยอาการแสดงจำเพราะว่าเกิดไซนัสอักเสบคือ พบมูกหนองที่บริเวณช่องข้างจมูกชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางระบายมูกจากโพรงไซนัสเข้ามาสู่ช่องจมูก และในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเก็บมูกหนองไปเพราะเชื้อตรวจ
          นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจทางรังสีวิทยาร่วมด้วย โดยการเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพราะจะสามารถบอกรายละเอียดของโรค และโครงสร้างทางกายวิภาคโพรงจมูกและไซนัสได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้วินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับไซนัสอักเสบได้ด้วย
โรคแทรกซ้อนของ ไซนัสอักเสบ
          ไซนัสอักเสบ ปกติไม่อันตรายมาก เพียงแค่กินยาก็หาย แต่โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ้างก็คือ
          1. การติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้าไปในกระบอกตา ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาอักเสบและเกิดเป็นฝีรอบตา  (Periorbital abcess)มักพบในเด็ก หรือคนชรา ความรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โดยจะพบว่า มีอาการตาบวมข้างเดียว แดงรอบ ๆ และในลูกตา หนังตาบวมกดเจ็บ ลูกตาโปน สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และการผ่าตัด
          2. โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมักพบในเด็ก หรือคนชรา ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
          3.ริดสีดวงจมูก คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากภูมิแพ้ ไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่เบียดกระดูก หากทานยาแก้แพ้จะทำให้ยุบลงได้บ้าง การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัด
แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้ไม่บ่อย นัก ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้
การรักษา โรคไซนัส อักเสบ
          มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเมื่อเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากไวรัส แจะสามารถหายเองได้ไม่เกิน 7 วัน ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี คือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ อยู่ในสถานที่มีอากาสถ่ายเทดี ออกกำลังกายตามความเหมาะสม ทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมกับทานยาตามอาการ โดยการรักษาโรคไซนัสอักเสบ จะแบ่งเป็นการรักษาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง คือ
          การรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน รักษาโดย
          ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน
          ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ ควรใช้ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ
          ยาลดการบวม มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน
          ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงและไม่ง่วง
          การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย และช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น ลดความหนืดของน้ำมูก และช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูกและไซนัส
          การสูดดมไอน้ำร้อน
          การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
          หากใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและ กระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคปเข้าช่วย เช่น การเจาะล้างไซนัส เพื่อล้างมูกหนองที่คั่งอยู่ในท่อออกไป หรือการผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
          ปัจจุบันการตรวจรักษา และการผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงมาก และมีประสิทธิภาพ ยังคงรักษาสภาพโครงสร้างหลักที่สำคัญของช่องจมูกไว้ได้ในสภาพปกติดังเดิม อีกทั้งผู้ป่วยก็เสียเลือดไม่มาก และฟื้นตัวได้เร็ว
วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือด้วยตัวเอง
          1. หาซื้อน้ำเกลือ หรืออาจผสมขึ้นเอง โดยใช้น้ำสะอาด 750 ซีซี ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา หรืออาจใช้ 0.9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
          2. เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
          3. ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยาง หรือหลอดฉีดยา (Syringe) ที่ไม่มีเข็ม หรือใส่ในขวดยาพ่นจมูก
          4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยาง หรือหลอดฉีดยาเข้าในจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ในท่าก้มหน้า กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก อ้าปากเล็กน้อย ค่อยฉีด ๆ เข้าจมูก
          5.หายใจออก พร้อมสั่งน้ำมูก หากมีน้ำมูกหรือน้ำเกลือไหลลงคอ ให้กลั้วคอบ้วนทิ้ง ถ้ายังไม่โล่งก็ทำซ้ำอีกได้จนน้ำมูกหมด
          6.ทำซ้ำแบบเดียวกับรูจมูกอีกข้าง
ข้อแนะนำในการดูแลตัวเอง
          ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้  เพราะคนส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ มักเกิดมาจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ดังนั้นหากรู้ว่า อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยง
          ควรงดว่ายน้ำ ดำน้ำ ขึ้นเครื่องบิน ประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่อาการกำเริบ
          ไม่ควรรักษากันเองตามแบบพื้นบ้าน เช่น ใช้สารกรดบางอย่าง หยอดเข้าจมูก (ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมามาก เพราะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อจมูก) อาจทำให้เกิดการอักเสบ และจมูกพิการได้
          หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
          ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท
การป้องกัน โรคไซนัสอักเสบ
          โดยทั่วไปคือการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เป็นหวัด โดยพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ รวมทั้งพยายามรักษาสุขภาพของปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ และถ้าเป็นหวัดแล้ว ก็รีบรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ
       

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
            Link       https://health.kapook.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
              ค่าใช้จ่ายการรักษาโรคไซนัสเรื้อรังราคาเท่าไหร่

การใช้ บอลลูน ในการรักษา ไซนัสอักเสบเรื้อรัง

นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ November 1st, 2007

หลายท่านคงเคยได้ยินการใช้ ‘บอลลูน’ ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจยังตีบไม่มากจนถึงขั้นต้องผ่าตัด เปลี่ยนเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจใหม่ การรักษาด้วย ‘บอลลูน’ มีผลข้างเคียงน้อยกว่า และระยะในการพักรักษาตัวน้อยกว่าการรักษาด้วยการผ่าตัด

ด้วยหลักการเดียวกันนี้ จึงมีการนำ ‘บอลลูน’ มาใช้ในการรักษาโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก การมีรูเปิดของไซนัสในช่องจมูกอุดตัน หรือแคบกว่าปกติ เราเรียกการรักษานี้ว่า การรักษาไซนัสอักเสบด้วยบอลลูน (Balloon Sinuplasty)

การรักษาไซนัสอักเสบด้วยบอลลูน (Balloon Sinuplasty) เป็น การใช้บอลลูนเพื่อเข้าไปขยายรูเปิดของไซนัสให้กว้างขึ้น โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด แพทย์จะทำการใส่บออลูนเข้าไปขยายรูเปิดไซนัสที่เป็นปัญหา โดยจะใช้เครื่องเอ็กซเรย์แบบต่อเนื่อง (Fluoroscope) เพื่อให้แน่ใจว่าบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังจากนั้น จึงทำการขยายบอลลูน เพื่อให้รูเปิดของไซนัสเปิดออก ทำให้การระบายเยื่อเมือกรวมทั้งสารคัดหลั่งต่างๆที่ตกค้างในโพรงอากาศไซนัส สามารถระบายออกมาได้โดยง่าย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และหายจากโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังในที่สุด

ขั้นตอนในการรักษาไซนัสด้วยบอลลูน

การรักษาไซนัสอักเสบด้วยบอลลูน สามารถทำได้โดยแพทย์หู คอ จมูก ที่ได้รับการฝึกฝนด้วยการรักษาด้วยวิธีนี้มาแล้วเท่านั้น


ขั้นตอนที่ 1

แพทย์จะทำการใส่สายขดลวดซึ่งเป็นสายนำเข้าไปในโพรงอากาศไซนัส
โดยแพทย์จะทราบตำแหน่งที่ถูกต้องได้โดยการใช้เอ็กซเรย์ (Fluoroscope)
ทำให้มั่นใจได้ว่า จะสามารถขยายรูเปิดไซนัสได้อย่างถูกต้องแม่นยำ


ขั้นตอนที่ 2

แพทย์ทำการใส่ Balloon ไปตามสายนำ โดยให้ตำแหน่งของบอลลูน
อยู่ในตำแหน่งของรูเปิดของไซนัส แล้วจึงขยายบอลลูน
เพื่อขยายรูเปิดไซนัสให้กว้างขึ้น


ขั้นตอนที่ 3

สายบอลลูนถูกดึงออก แพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจ
เพื่อให้แน่ใจว่ารูเปิดถูกทำให้กว้างขึ้นจริง ในบางกรณี
อาจใช้น้ำฉีดล้างเพื่อทำความสะอาดในโพรงอากาศไซนัสด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษาไซนัสด้วยบอลลูน

  • ปลอดภัยและได้ผลดี
  • เป็นการรักษาโดยไม่ได้ตัดเนื้อเยื่อใดๆออก ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย แผลเป็นรอบๆ รูเปิดไซนัสน้อย ทำให้การระบายของไซนัสดีขึ้น
  • เลือดออกน้อยกว่าวิธีปกติ
  • ระยการฟี้นตัวเร็วกว่าการใช้วิธีปกติ โดยทั่วไปจะต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการเพียง 1 วันเท่านั้น
  • สามารถใช้ร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลการรักษาสูงสุด

เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแน้วโน้มไปในการใช้เครื่องมือ เพื่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายน้อยลง ระยะในการพักรักษาตัวน้อยลง หรือที่เราเรียกว่า Minimal Invasive Treatment/Surgery การรักษาด้วย ‘บอลลูน’ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องไซนัสอักเสบเรื้อรังครับ

บทความโดย : นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ

            Link    https://www.bangkokhospital.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


              ค่ารักษาโรคไซนัสที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

   

ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล (H&S)

   
     
 
ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล (H&S)(เนื่องจากเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ หรือลอบทำร้าย)
แผนสุขภาพสำหรับบุคคลสำคัญเช่นคุณ 400 1000 1600 2200 2800 3400 4000 5000  
  - ค่าห้อง,ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล 400 1,000 1,600 2,200 2,800 3,400 4,000 5,000 บาท / วัน (สูงสุด 75 วัน)
  - ค่าห้อง,ค่าอาหาร ในห้องผู้ป่วยหนัก(ICU) 800 2,000 3,200 4,400 5,600 6,800 8,000 10,000 บาท / วัน (สูงสุด 5 วัน)
  - ค่าแพทย์ตรวจรักษาในโรงพยาบาล 250 550 750 800 850 900 950 1,000 บาท / วัน (สูงสุด 75 วัน)
  - ค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการ 30,000 40,000 50,000 60,000 70,000 80,000 90,000 100,000 บาท / ครั้ง / โรค
  - ค่าแพทย์วิสัญญี 3,000 4,000 5,500 6,000 6,500 7,000 7,500 8,000 บาท / ครั้ง / โรค
  - ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด 3,500 4,000 4,500 5,500 6,000 6,500 7,000 7,500 บาท / ครั้ง / โรค
  - ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆในโรงพยาบาล 7,000 16,000 20,000 20,000 20,000 25,000 30,000 40,000 บาท / ครั้ง / โรค
  - ค่าตรวจวินิฉัยทางรังสีวิทยาและการตรวจในห้องแลป 3,000 3,000 3,000 3,000 3,000 3,400 4,000 5,000 บาท / ครั้ง / โรค
  - ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน ผู้ป่วยนอก 2,000 3,000 4,000 5,000 5,500 6,500 7,500 9,000 บาท / 1 ครั้ง
    ( กรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วไปโรงพยาบาล หรือ โพลีคลีนิค ภายใน 24 ช.ม. และกลับบ้านได้ )
    รวมค่าชดเชยได้สูงสุดถึง 99,250 191,250 271,250 335,500 398,750 467,900 537,250 644,500 บา
หมายเหตุ : ผลประโยชน์ข้างต้นยังไม่รวมผลประโยชน์จากอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)

ผลประโยชน์สัญญาเพิ่มเติม H&S แบบ 1959T

มีผลกับ กรมธรรม์ที่ได้รับการอนุมัติและออกกรมธรรม์ทุกฉบับ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป
เพิ่มเติม
บันทึก สลักหลังการรักษาแบบ Day Case หากผู้เอาประกันได้เจ็บป่วยหรือได้รับการรักษา ดังจะกล่าวต่อไปนี้ แม้ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก บริษัทก็จะพิจารณาจ่ายผลประโยชน์สัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล H&S เหมือนกับการต้องเข้ารักษาแบบผู้ป่วยใน

  • การสลายนิ่ว ( ESWL:Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy )
  • การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี ( Coronary Angiogram / Cardiac Catheterization )
  • การผ่าตัดต้อกระจก ( Extra Capsular Cataract Extraction with Intra ocular Lens )
  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด ( Laparoscopic )
  • การตรวจโดยการส่องกล้องทุกชนิด ( Endoscope )
  • การผ่าตัด หรือเจาะไซนัส ( Sinus Operations )
  • การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก ( Injection or Rubber Band Ligation )
  • การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม ( Excision Breast Mass )
  • การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก ( Bone Biopsy )
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใด ๆ ( Tissue Biopsy )
  • การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า ( Amputation )
  • การจัดกระดูกให้เข้าที่ ( Manual Reduction )
  • การเจาะตับ ( Liver Puncture / Liver Aspiration )
  • การเจาะไขกระดูก ( Bone Marrow Aspiration )
  • การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง ( Lumbar Puncture )
  • การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด ( Thoracentesis / Pleuracentesis / Thoracic Aspiration / Thoracic Paracentesis )
  • การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง ( Abdominal Paracentesis / Abdominal Tapping )
  • การขูดมดลูก ( Curettage, Dilatation & Curettage, Fractional Curettage )
  • การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก ( Colposcope, Loop diathermy )
  • การรักษา Bartholin 's Cyst ( Marsupialization of Bartholin 's Cyst )
  • การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า ( Camma Knife )
ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่ายากลับบ้าน ในหัวข้อ " ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ "
ค่ายากลับบ้านไม่เกิน 7 วัน รวมไม่เกิน 1,000 บาท ต่อการเข้ารับการรักษาใน ร.พ. แต่ละครั้ง    
        
     Link    https://lifeforlifes.com/HS.html

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

อัพเดทล่าสุด