ลูกใครเป็นโรคหอบหืดบ้าง ช่วยบอกวิธีรักษาหน่อย ภาพพืชสมุนไพรไทยรักษาโรคหอบหืด โรคหอบหืดในเด็กอายุ10 เดือน


2,284 ผู้ชม


ลูกใครเป็นโรคหอบหืดบ้าง ช่วยบอกวิธีรักษาหน่อย  ภาพพืชสมุนไพรไทยรักษาโรคหอบหืด  โรคหอบหืดในเด็กอายุ10 เดือน

            ลูกใครเป็นโรคหอบหืดบ้าง ช่วยบอกวิธีรักษาหน่อย

โรคหอบหืด คืออะไร ?

โรคหอบหืด คืออะไร ?

หอบหืด
โรคหอบหืด


โรคหอบหืด คืออะไร ? (สสส.)
          ชื่อ โรคหอบหืด นี้เรียกตามอาการของคนไข้ โดยอาการ หอบหืด เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลม คือ
           การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม 
           การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม 
           เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม
          การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม แท้จริงแล้วเป็นผลจากอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังเกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ
          โรคหอบหืด ต่างกับโรคอื่นๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก และอาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่างๆ  และภาวะเครียด
          ในเด็กที่เป็น โรคหอบหืด ส่วนใหญ่ สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ โดยความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคหอบหืด คือ คนมักเข้าใจว่า โรคหอบหืด เป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป
         โรคหอบหืด คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วมีผู้ป่วยเป็น โรคหอบหืด ประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็น โรคหอบหืด มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
          การวินิจฉัย โรคหอบหืด ในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็ก โรคหอบหืด จะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง
          อาการสำคัญของ โรคหอบหืด คือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบจากมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด

          การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ โรคหอบหืด กำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่างๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
          การรักษา โรคหอบหืด จะต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับ โรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วๆ ไปแนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อดังนี้

           แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอด เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
           การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ หรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยา เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
           การควบคุมภาวะแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
           ต้องให้ความรู้คนไข้ และครอบครัวเกี่ยวกับ โรคหอบหืด และการปฏิบัติตน เช่น เลิกสูบบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง
          การรักษาอย่างต่อเนื่องสำคัญที่สุดใน โรคหอบหืด คนไข้ส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย คนไข้ก็ว่าไม่หายสักที หมอก็ว่าคนไข้ไม่รู้เรื่องไม่ทำตามสั่ง
ผลการรักษา โรคหอบหืด ที่ควรเกิดขึ้นมีดังนี้

           สมรรถภาพปอดดีขึ้น 
           คนไข้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ หรือเกือบปกติ รวมทั้งการออกกำลังกาย
           อาการเรื้อรังที่น่าเบื่อหน่วยสำหรับคนไข้สิ้นสลายไปอาการ เช่น ไอ หายใจขัด แน่นหน้าอก
           ป้องกันการกำเริบของโรคได้ 
           ผลข้างเคียงจากยาควรจะไม่มี หรือมีน้อยที่สุด
          ความเข้าใจที่สำคัญมาก คือ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลมใน โรคหอบหืด นี้เป็นการอักเสบอย่างเรื้อรัง ต่อเนื่องที่กำเริบได้เป็นระยะ แม้เวลาที่คนไข้รู้สึกดี ไม่มีอาการไอ หรือหอบ ภาวะการอักเสบนี้ยังคงอยู่ตลอดเวลา
ยาหลักที่ใช้ในการรักษา โรคหอบหืด

 ยาต้านการอักเสบ
          ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา โรคหอบหืด สำหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้ใหญ่ ยานี้มีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน และรูปแบบพ่นเข้าสู่หลอดลมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ยาในรูปแบบพ่นถือได้ว่าเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาของคนไข้หอบหืดเรื้อรัง และมีความปลอดภัยสูง เพราะปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ จากการใช้ยานี้ 
          ส่วนยาในรูปแบบรับประทานจะใช้รับประทาน เมื่อมีอาการกำเริบอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถจะพ่นยาได้ และจะใช้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากผู้ป่วย โรคหอบหืด รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจพบผลข้างเคียงขึ้นได้เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อ กระดูกผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และบวมตามที่ต่างๆ
          โครโมลิน และนิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย หรืออากาศเปลี่ยน 
 ยาขยายหลอดลม
          ยาประเภทนี้จะช่วยขยาย หรือคลายกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว
          ยากลุ่มเบต้าอะโกนิส ที่ใช้แพร่หลายคือยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง อีกทั้งยังมียาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมสูง นิยมใช้ในคนไข้ โรคหอบหืด ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของ โรคหอบหืด 
          ยากลุ่มแซนทีน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม สำหรับใช้ในคนไข้ โรคหอบหืด เรื้อรัง ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีดยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง 
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

    Link    https://health.kapook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              ภาพพืชสมุนไพรไทยรักษาโรคหอบหืด

สมุนไพรไทยรักษาหืดหอบ

โดย mootie | วันที่ 20 พฤษภาคม 2553

  

ไพล เป็นพืชชนิดหนึ่ง

ลักษณะของพืช 

ไพลเป็นพืชลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเรียวยาวปลายแหลม ดอกออกรวมกันเป็นช่ออยู่บนก้านช่อดอก ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

รสและสรรพคุณที่ใช้เป็นยา 

 

แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ยอก ปวดเมื่อย ขับลม ท้องเดิน ช่วยขับระดูหรือประจำเดือนของสตรี นิยมใช้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 

 

เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.8 และมีสารที่ให้สี ซึ่งจากการทดลองพบว่า มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการค้นคว้าสารสำคัญที่มีสรรพคุณแก้หอบหืด และมีการวิจัยทางคลินิก โดยใช้รักษาโรคหืดในเด็ก และไม่มีพิษเฉียบพลัน

การปลูก 

 

ไพลสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้า ซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยทั่วๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก ไพลชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี เนื่องจากจะเน่าเสีย โดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดินสูง จะทำให้เกิดโรคแง่งเน่า สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร ส่วนต้นเหนือดิน มักจะยุบหรือแห้งเมื่อเข้าฤดูแล้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเหง้าแก่เมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือเหง้าแก่จัด 

ยาสมุนไพรไทยที่ใช้บรรเทา-รักษาโรคหอบหืดคือ “ไพล” ที่มีรสเผ็ดร้อนอมฝาด โดยใช้ส่วนเหง้าไพลที่แก่จัด 10 ส่วน ดีปลี 4 ส่วน พริกไทยขาว 4 ส่วน พิมเสน 1 ส่วนและกานพลู 1 ส่วน บดสมุนไพรแต่ละอย่างให้ละเอียดแล้วผสมรวมกัน วิธีใช้ ให้นำยาสมุนไพรที่บดผสมกันแล้ว 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อนดื่มหรือจะทำเป็นยาสมุนไพรชนิดเม็ด (ยาลูกกลอน) โดยนำส่วนผสมที่บดละเอียดแล้วมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นเม็ดยาลูกกลอน กินครั้งละ 3-4 เม็ด

       Link      https://www.thaihealth.or.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

           โรคหอบหืดในเด็กอายุ10 เดือน

โรคหอบหืดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้บ่อย เช่น ในประเทศอังกฤษ เด็กๆ จะเป็นโรคนี้ประมาณหนึ่งในเจ็ด ส่วนในสหรัฐอเมริกาจะประมาณ 10% บ้านเรายังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่คิดว่าไม่น่าจะน้อยกว่านี้ โรคหอบหืดทำให้เด็กต้องนอนโรงพยาบาล และขาดเรียนบ่อยมาก ประมาณ 30 - 80% จะมีประวัติไอ และมีเสียง Wheez ( วี้ด ) อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุ 5 ปี พวกที่มีอาการรุนแรงที่สุดคือ พวกที่มี wheez เร็ว ในขวบปีแรก และมีประวัติครอบครัวเป็นหอบหืด ร่วมกับโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น

ถ้าพ่อแม่ เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ 25% แต่ถ้าพ่อแม่เป็นทั้ง 2 คน โอกาสที่ลูกจะเป็นได้มีประมาณ 50%

การที่ ต้องเห็นลูกเหนื่อย หอบแต่ละครั้ง เป็นสิ่งที่น่ากังวล และตกใจสำหรับพ่อแม่ ที่ต้องเห็นลูกทุกข์ทรมาน และนอนไม่ได้

โรคหอบหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?


หลอดลม ของเด็กที่เป็นหอบหืดนั้น เชื่อว่ามีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัวแคบลง เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น และสร้างเมือกเหนียว ซึ่งจะยิ่งทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลงอีก ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น สิ่งกระตุ้นเหล่านี้เช่น โรคหวัด ควันบุหรี่ ฝุ่น ละอองเกสร การออกกำลังกาย ขนสุนัข ขนแมว ฯลฯ

ให้ ตระหนักไว้ว่า ในเด็กเล็กๆ ที่อายุ 1 - 2 ปีนั้น โรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการหวัด ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัส และไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ได้ แต่หอบหืดในเด็กวัยเรียน จะเกิดในเด็กที่มีโรคภูมิแพ้จริงๆ

โรคหอบหืดมีอาการอย่างไร ?

มัก เริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียงวี้ดๆ ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ทำให้คนไข้มีอาการไม่มากแต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ เด็กๆ บางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมไปด้วย ซึ่งอาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะหนียวๆ ออก

ให้ สังเกตไว้ว่า การไอของเด็กเล็กๆ เช่น ไอแห้งๆ ที่ระคายเคือง ( dry irritating ) อาจเป็นอาการแสดงของโรคหอบหืดอย่างเดียว เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าต้องมีเสียง Wheez จึงจะเป็นหอบหืด เด็กที่แข็งแรงดีมักจะไม่ไอ ยกเว้นหวัดอย่างรุนแรง

ความรุนแรงของหอบหืด

   1. ขั้นเล็กน้อย - เริ่มไอ และ/หรือ มีเสียงวี้ด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติ และทานอาหารได้ตามปกติ การนอนยังปกติ ( ไม่ถูกรบกวนโดยอาการไอ )
   2. ขั้นปานกลาง - ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ ขณะเล่นมักไอ หรือมีเสียงวี้ดไปด้วย
   3. ขั้นรุนแรง - กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อยหอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว

ยารักษาโรคหอบหืดประกอบด้วยยาอะไรบ้าง ?

การ รักษาหอบหืด แนวใหม่ ( Modern management ) มีจุดประสงค์ คือ การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้โรคเลวลง และการใช้ยาอย่างถูกต้อง ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดนั้นประกอบด้วย

       1. ยาขยายหลอดลม ( Relievers )
       2. ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid )
       3. ยาป้องกัน ( Preventers )

ยาขยาย หลอดลม มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน ซึ่งชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็วกว่า และยังสามารถให้ได้ในเด็กเล็กๆ ยาชนิดนี้ จะช่วยให้การหายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง เพื่อเปิดหลอดลมนั้น จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ และใช้พ่นก่อนมีอาการ เพื่อ ป้องกันหอบหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย ยาขยายหลอดลมจึงเป็นยารักษาที่สำคัญ

ยากลุ่ม Steroid จำเป็นต้องให้ เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อรักษา และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น เด็กจะไม่รับผลข้างเคียงจากยาตัวนี้ เนื่องจากใช้ระยะสั้น และ ให้ในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ยาป้องกัน จะช่วยป้องกันเยื่อบุหลอดลมไม่ให้เกิดอาการหดเกร็งได้ง่าย เวลากระทบกับสิ่งกระตุ้น ฉะนั้นยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมขณะมีอาการหอบหืด การใช้ยาป้องกัน ต้องใช้สม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้เด็กจะมีอาการปกติแล้วก็ตาม ถ้าอาการหอบหืดควบคุมได้ดีแพทย์จะพิจารณาลดปริมาณยาลง

ทำอย่างไรยาพ่นจึงจะลงไปที่หลอดลมได้ดี ?

Inhalers คือยารักษาหอบหืด ในรูปยาพ่น ข้อดี คือ ยาผ่านเข้าปอดโดยตรง และให้ได้ในปริมาณที่น้อยกว่ายากิน และมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยกว่า แม้แต่ทารกในขวบปีแรก ก็สามารถใช้ยานี้ได้ และให้ประสิทธิภาพดีกว่ายาน้ำ ที่ใช้รับประทาน ยาพ่นมีทั้งชนิดแท่งสเปรย์ ( Aerosol puffer ) ชนิดอัดแห้ง ( dry powder ) เป็นกระเปาะ หรือแท่งดูด

Spacers ในเด็กเล็กทุกรายที่ใช้แท่งสเปรย์ ควรใช้ Spacer ร่วมด้วยเพราะเด็กเล็กจะหายใจเอายาผ่านหลอดลม เข้าไปได้ดีขึ้น Spacer ทำให้เรามั่นใจว่า ยาพ่นสามารถไปถึงหลอดลมได้ดียาไม่ตกค้างเกาะอยู่ที่คอ หรือกระพุ้งแก้มในปาก

Nembulisers เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนยาในสภาพของเหลว ให้เป็นละอองฝอย โดยใช้ Oxygen หรืออากาศผ่านเข้าไปภายในกระเปาะยา ใช้ในบางกรณี เช่น ในห้องฉุกเฉิน สำหรับเด็กหอบรุนแรงที่ต้องการปริมาณยาที่มากกว่า

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่อะไรบ้าง ?

   1. ควันบุหรี่ เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็ก และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้
   2. ตัวไรฝุ่น ฝุ่น มักอาศัยอยู่ที่เตียงนอน หมอน พรม เฟอร์นิเจอร์ บุนวม จึงควรนำไปตาก หรือผึ่งแดดบ่อยๆ ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน ใช้ผ้าชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติป้องกันตัวไรฝุ่นคลุมที่นอน หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนด้วยน้ำอุณหภูมิ 60 ? c สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์ หรือฟองน้ำ และไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
   3. ละอองเกสรในบางฤดู ควรหลีกเลี่ยงในบางฤดู และอาจเพิ่มปริมาณของยาป้องกันด้วย
   4. สัตว์เลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงสุนัข แมวในบ้าน เพราะเด็กหอบหืดบางคนจะแพ้ขนสัตว์ ซึ่งอาจรวมถึงนกด้วย
   5. เชื้อรา ที่ชื้นๆ มักมีเชื้อรา ควรให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
   6. การออกกำลังกาย ถ้าควบคุมโรคหอบหืดได้ดี จะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นซึ่งควรให้เด็กได้มีกิจกรรมนี้ตามปกติ
   7. อากาศเย็น เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียงวี้ด การใช้ยาขยายหลอดลม 1 ครั้ง ก่อนเข้าห้องที่เย็นๆ จะช่วยได้

โรคหอบหืดกับการนอน

ถ้า สามารถควบคุมโรคหอบหืดได้ดี เด็กจะไม่มีอาการไอ หรือ วี้ดในช่วงกลางคืนเลย การที่เด็กเล็กๆ นอนไม่ได้เพราะไอ จะรบกวนทั้งสุขภาพของเด็กและพ่อแม่ ปัญหาการนอนไม่พอ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง คุณแม่อาจจะอารมณ์เสีย และหงุดหงิดง่าย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา


โรคหอบหืดมีโอกาสหายหรือไม่ ?

พบว่า เด็กที่เป็นโรคหอบหืด จะมีอาการน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 50% จะไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก เมื่ออายุ 8 - 9 ปี แต่ในเด็กที่แพ้มากๆ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสหายน้อยลง เด็กที่ยังคงมีอาการหอบหืดจนถึงอายุ 14 ปี มีแนวโน้มจะเป็นหอบหืดเรื้อรังจนเป็นผู้ใหญ่

ขอบคุณข้อมูลจาก
hosp.co.th

 

Link       https://www.momyweb.com

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

อัพเดทล่าสุด