วิธีรักษาโรคหอบหืด โรคหอบหืดจากการทํางาน การป้องกันโรคหอบหืด
วิธีรักษาโรคหอบหืด
แผนการรักษา
การรักษาหอบหืดในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากเดิมดังนี้
- เมื่อสมัยก่อนการรักษาหอบหืดเป็นเพียงให้ยาขยายหลอดลม bronchodilator เท่านั้นแต่ปัจจุบันได้มีความเข้าใจกลไกการเกิดโรคหอบหืดดีขึ้นว่าโรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมหนาตัว และมีเสมหะอุดหลอดลมปัจจุบันการรักษาโรคหอบหืด จะอาศัยยาที่ลดการอักเสบเป็นหลักโดยอาศัยยาขยายหลอดลมเป็นตัวเสริม ยาลดการอักเสบจะป้องกันไม่ให้หลอดลมบีบตัว ลดการอักเสบของหลอดลมจึงป้องกันหอบหืดได้
- นอกจากจะเปลี่ยนจากการใช้ยาขยายหลอดลมเป็นยาลดการอักเสบแล้วยังมีเครื่องมือ Peak flow meterเพื่อเป็นการวัดเพื่อเตือนว่าแผนการรักษายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และเตือนว่าโรคกำลังกำเริบต้องรีบให้การรักษา
- ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์ถึงแผนการรักษา โดยการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอันมาก แพทย์อยากทรายว่าระหว่างที่อยู่บ้านอาการหอบหืดเป็นอย่างไรบ้างโดยผู้ป่วยควรมีสมุดประจำตัว และคอยบันทึกความรุนแรงของโรค เพื่อไปพบแพทย์ให้นำสมุดไปพบแพทย์ด้วย
- ต้องทราบจุดประสงค์ของการรักษา
- ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
- ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
- ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
- สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
- ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
- ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
- หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
- ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
- ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
- ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
- สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
แผนการรักษาประกอบไปด้วย
Link https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคหอบหืดจากการทํางาน
โรคหอบหืด
ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรค รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง
นิยาม
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
- Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
- Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle] และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ |
เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก |
จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
- หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
- แน่นหน้าอก
- ไอ
- หายใจเสียงดัง
โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ
- อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
- อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
- อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
- อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
- ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
- ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
- ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
- สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
- ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
- ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
- หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
- ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
- ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
- ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
- สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ
การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้
- การวินิจฉัย
- การหลีกเลี่ยงหรือขจัดสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ผู้ป่วยทุกคนควรทราบถึงปัจจัยที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น
- การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืดเมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง
- ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดผู้ป่วยควรทราบว่ายาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหรือเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในระยะยาว
- แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังเป็นแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในแต่ละขั้น
- แผนการรักษาหอบหืดฉับพลันสำหรับผู้ป่วยเป็นแผนการรักษาเมื่อเกิดหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน
- คุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบแพทย์เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบอาการของโรค
- ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความรุนแรงและเร่งด่วนของโรค
- ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
- ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
- โรคหอบหือในภาวะพิเศษ เช่นโรคหอบกลางคืน หอบขณะออกกำลังกาย หอบขณะตั้งท้อง
Link https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การป้องกันโรคหอบหืด
การป้องกันโรคหอบหืด
ถ้าคุณมีอาการของโรคหอบหืด คุณควรต้องเรียนรู้กลยุทธในการป้องกันอาการกำเริบของโรค ถึงแม้ว่าโรคหอบหืดจะไม่มีวิธีรักษา แต่มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อช่วยลดโอกาสและความรุนแรงของโรค เช่น การไอ, จาม, หรือหายใจไม่ออกได้ |
เข้าใจถึงสาเหตุของสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด :
ปัจจัยหลายอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืดได้ เช่น ไรฝุ่น, มลภาวะ, ไวรัสจากหวัด, โรคไซนัส, ควันบุหรี่, กลิ่นน้ำหอม สาเหตุของอาการหอบหืดในแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ดังนั้นการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัดให้ได้เป็นเรื่องที่สำคัญ
คุณควรเฝ้าสังเกตอาการของโรคหอบหืด ให้ใส่ใจรายละเอียดของสิ่งแวดล้อมรอบข้างหรือปัจจัยทางอารมณ์ที่มากระตุ้นต่างๆ คุณอาจจำเป็นต้องจดบันทึกข้อมูลต่างๆอย่างละเอียด ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยหาสาเหตุ
ควบคุมอาการแพ้เพื่อป้องกันโรคหอบหืด :
ถ้าสาเหตุของโรคหอบหืดของคุณมาจากอาการแพ้ คุณจำเป็นต้องป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้ โดยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ควันบุหรี่อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีโอกาสเจอควันบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ในบ้านหรือในรถ หรือถ้าคุณเป็นคนที่สูบบุหรี่ก็ควรพยายามเลิกบุหรี่
พยายามหลีกเลี่ยงคนที่เป็นหวัดหรือเป็นไข้ เพราะอาการของโรคหอบหืดอาจกำเริบขึ้นหากคุณติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และควรล้างมือหลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อหวัดทุกครั้งหรือหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกัน
สังเกตถึงความผิดปรกติเพื่อทำรักษาอย่างรวดเร็ว :
คุณควรที่จะเรียนรู้ถึงอาการเตือนเมื่อโรคหอบหืดกำลังจะกำเริบ เช่น การไอเล็กน้อย, หายใจเสียดัง, หายใจไม่ทั่วท้อง ซึ่งเป็นอาการแสดงว่าความสามารถของปอดลดลง และเมื่อสังเกตถึงความผิดปรกติจงอย่ารอช้า ใช้ยาประจำตัวทันที จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการหอบหืดได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ทันที
ทานยาตามคำสั่งของแพทย์ :
หากอาการหอบหืดของคุณดีขึ้น จงอย่าชะล่าใจว่าคุณหายขาดแล้ว คุณยังควรที่จะรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์ จนกว่าแพทย์จะสั่งให้เปลี่ยนหรือหยุดยา
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Link https://www.sukapapdeedee.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++