วิธีรักษาโรคไส้เลื่อน ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน ต้องการรู้โรคไส้เลื่อนเป็นอย่างไร
วิธีรักษาโรคไส้เลื่อน
เมื่อวานนี้ดูทีวีเรื่องปัญหาไส้เลื่อน(Hernia) คุณหมอท่านก็บอกโดยมากจะคิดกันว่าจะเป็นเฉพาะผู้ชายแต่หาใช่เช่นนั้นไม่เพราะปัญหานี้ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่า....เท่านั้นเอง...เพราะไส้เลื่อนเกิดจากการที่ความดันในช่องท้องมีมากกว่าความดันภายนอก จนดันผนังท้องให้โป่งออกมา แล้วในที่สุดลำไส้ก็เคลื่อนออกมาทางช่องบริเวณขาหนีบได้ แต่บางท่านอาจเป็นตั้งแต่เด็ก บางท่านอาจเป็นตอนโต บางท่านอาจเป็นข้างเดียว แต่บางท่านอาจเป็นทั้งสองข้าง
อันตัวข้าพเจ้าเองก็เป็นนะจ๊ะ...ฮิฮิ...เมื่อศึกษาดูก็รู้ว่าเป็นชนิดที่เลื่อนเข้าไปในถุงอัณฑะ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าIndirect Inguinal Hernia วันไหนรู้สึกว่าอ่อนเพลียละเหี่ยใจ ข้าวก็กินแล้ว ขนมก็กินแล้ว แต่ยังดูเหนื่อย ๆ พิกล ก็ต้องลองจับตรงนั้นดูรู้สึกเจ็บ ๆ คิดในใจว่าคงใช่แน่แล้ว ก็ต้องพาตัวเองเดินเข้าห้องน้ำไปเลย เพื่อจัดการเขาให้เรียบร้อย ออกมาก็ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด จะรู้สึกว่าเดินตัวปลิวไปเลย
การดูแลตัวเองนั้นผมไปได้วิชามาจากหมอนวดแผนโบราณ เขาถามว่าเป็นไส้เลื่อนหรือเปล่า ผมบอกเป็น เขาบอกว่างั้นจะบอกวิธีรักษาให้ เขาบอกว่ามีเส้นบริเวณเหนือขาหนีบซึ่งจุดนั้นเขาเรียกว่า เส้นกษัย ถ้าเรามีอาการไส้เลื่อน เส้นบริเวณนั้นจะตึงมาก ให้เรานวดบริเวณเส้นนั้นจากที่มีอาการเส้นตึง นวดไปประมาณสองนาทีก็จะหย่อน ก้มลงดูก็จะพบว่าลูกอัณฑะของเราด้านที่มีปัญหาไส้เลื่อน จะไม่มีส่วนที่หย่อนลงมาให้เห็นแล้ว...ผมแนะนำเพื่อน ๆ ไปหลายคนแล้ว ทุกคนบอกได้ผลครับ
แต่ถ้าเป็นมากกว่านี้ผมก็ขอแนะนำให้ไปผ่าตัดครับ จะได้หายขาดถาวร ทุกวันนี้การแพทย์แผนปัจจุบันทันสมัยมาก การผ่าตัดก็มีรอยแผลน้อย เพราะใช้เลเซอร์และใช้กล้องส่องให้เห็นภายในร่างกายบริเวณที่ต้องการผ่าตัด
ส่วนรายละเอียดของโรคไส้เลื่อนนั้น ได้นำรายละเอียดที่ได้ศึกษามาเป็นตัวอย่างให้ดู เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ทำการศึกษาต่อไป ดังนี้ครับ
โรคไส้เลื่อน(Hernia) หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ตำแหน่งที่ลำไส้จะเลื่อนออกนอกช่องท้องมีหลายแห่ง เช่น บริเวณขาหนีบ(Groin Hernia) ผนังหน้าท้อง(Abdominal Hernia) สะดือ(Umbilical Hernia) และ รอยแผลผ่าตัด(Incisional Hernia) เป็นต้น
ลำไส้เลื่อนส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณขาหนีบ ผนังช่องท้องบริเวณนี้มีหลายตำแหน่งที่ไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องได้ ในผู้ชายส่วนมากลำไส้จะเลื่อนผ่านรูที่ช่องท้องที่มีลักษณะเป็นวงแหวน เข้าไปในถุงอัณฑะ(Indirect Inguinal Hernia) บางรายผ่านผนังช่องท้องออกมาที่ขาหนีบมีลักษณะนูนเป็นลำ บางรายผ่านผนังช่องท้องแต่ไม่นูนออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้
อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนนี้ได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ โดยก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรู ก้อนจะหายไป แต่ถ้าลำไส้ถูกรัดแน่นจะมีอาการปวดคล้ายในกรณีของลำไส้ตัน
สาเหตุของไส้เลื่อนนั้นส่วนมากเกิดจากความบอบบางของผนังช่องท้องในส่วนต่างๆของร่างกาย แต่บางรายเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด บางรายเกิดจากการผ่าตัด บางรายเกิดร่วมกับโรคอื่นๆที่ทำความดันในช่องท้องมากขึ้น เช่น คนไข้ที่มีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่น ดันให้ผนังท้องแยกออก หรือคนไข้ที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น
ส่วนการรักษา ไส้เลื่อนยังใช้การผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก เพื่อเอาลำไส้ส่วนที่เลื่อนออกนอกช่องท้องกลับเข้าที่และซ่อมผนังที่ผิดปกติให้แข็งแรงคงทนเพื่อไม่ให้ลำไส้เลื่อนออกไปได้อีก การรับประทานยาหรือฉีดยาไม่สามารถรักษาโรคไส้เลื่อนได้
ในปัจจุบันการผ่าตัดได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้วัสดุที่คงทนแข็งแรงมาซ่อมแซมส่วนที่อ่อนแอ ทำให้มีโอกาสในการเป็นซ้ำลดลง นอกจากนี้เทคนิคในการผ่าตัดก็ยังทันสมัยและรวดเร็ว ซึ่งอาจจะไม่ต้องดมยาสลบ เพียงแต่ใช้ยาฉีดเข้าในไขสันหลังซึ่งจะทำให้ส่วนล่างของร่างกายชา ก็สามารถทำการผ่าตัดได้
แต่ในบางกรณีที่คนไข้ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ อาจจะใช้กางเกงรัดที่บริเวณขาหนีบเพื่อไม่ให้ลำไส้เลื่อนออกมาได้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนจากลำไส้อุดตันได้บ้าง สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ที่โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ ที่มีศัลยแพทย์ผ่าตัด โดยสามารถใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาได้
โดยส่วนใหญ่แล้วจะพักอยู่โรงพยาบาลประมาณ 3 วันเพื่อดูแลบาดแผลผ่าตัด และนัดตัดไหมวันที่ 7 แต่ในช่วง 6-12 เดือนหลังผ่าตัดนั้นห้ามออกกำลังกายหนักๆหรือยกของหนักด้วย มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำได้
เรื่องของอาหาร ไม่มีอาหารชนิดใดห้ามกิน แต่บางสถาบันการแพทย์จะเน้นเรื่องอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพราะจะต้องเบ่งอุจจาระ แต่ในกรณีนี้จะแนะนำในคนไข้ที่เกิดอาการภาวะไส้เลื่อนอย่างรุนแรง
ส่วนการออกกำลังกาย จะไม่มีข้อห้ามในกรณีการออกกำลังกายนั้นไม่ต้องใช้การเบ่งหรือการเกร็ง หรือการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ห้ามเด็ดขาดในการออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนัก การ Situp ก็จะทำให้ต้นขาและขาหนีบทำงานมากขึ้น และในการ Situp บางจังหวะก็จะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งไปทำให้ลำไส้มีโอกาสหลุดเลื่อนลงมาได้มาก
===========================================
*ข้อมูลจากคอลัมน์ "แพทย์บางกอก" ในนิตยสาร บางกอก ปีที่ 50 ฉบับที่ 2564 ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2550
...............................................................................................
ส่วนข้อมูลจาก www.thaihealthstory.com/man-and-hernia/ มีดังนี้ครับ
เรื่องลูกผู้ชายกับไส้เลื่อน
ไส้เลื่อนพบบ่อยในผู้ชาย จนหลายคนคิดว่าผู้หญิงไม่เป็นไส้เลื่อน เพราะไม่มีถุงอัณฑะให้ไส้เลื่อนลงมา แต่ความจริงแล้วผูหญิงก็มีโอกาสเป็นได้แต่ไม่บ่อยเท่าผู้ชายเท่านั้นเอง เพราะไส้เลื่อนเกิดจากการที่ความดันในช่องท้องมีมากกว่าความดันภายนอก จนดันผนังท้องให้โป่งออกมา แล้วในที่สุดลำไส้ก็เคลื่อนออกมาทางช่องบริเวณขาหนีบได้
ฟังดูแล้วแปลกๆ ใช่มั้ยครับ ไส้เลื่อนออกมาจากช่องท้อง เป็นไปได้ยังไง แล้วอย่างนี้ไม่เลื่อนไหลไปไหนต่อหรือ แล้วอวัยวะอื่นๆ จะเลื่อนตามออกมามั้ย
อันที่จริงแล้วในช่องท้องมีอวัยวะหลายอย่างอยู่รวมกัน เช่น ตับ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ซึ่งอวัยวะเหล่านี้ถูกปลกคลุมด้วยเยื่อหุ้มช่องท้อง (peritoneum) และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้นเพื่อป้องกันอวัยวะภายใน แต่ผนังเยื่อหุ้มช่องท้องนี้ไม่ได้ปิดสนิททีเดียว แต่จะมีรูที่ให้ท่อรังไข่ในผู้หญิง และท่อน้ำเชื้อในผู้ชายออกมาได้ ซึ่งไส้เลื่อนนี้มีภาวะ 2 รูปแบบ คือ แบบอินไดเร็คและไดเร็ค (indirect in guinal hernia และ indirect inguinal hernia)
ไส้เลื่อนแบบอินไดเร็ค (indirect in guinal hernia)
แบบนี้จะเกิดในเด็ก โดยขณะที่อยู่ในครรภ์ มีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 7 สัปดาห์ อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนรูและทางเดินดังกล่าวไม่ปิดทำให้ไว้เคลื่อนสู้ถุงอัณฑะ ซึ่งเราเรียกว่า ไส้เลื่อน มักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดขากเยื่อที่ยึดมดลูก Round Ligament มีการเคลื่อนตัวจึงเรียกได้ว่าไส้เลื่อนนี้เป็นได้ทั้งชายหญิง
ไส้เลื่อนแบบไดเร็ค (direct guinal hernia)
แบบนี้เกิดภายหลัง ลำไส้เคลื่อนตัวออกจากช่องท้องลงมาเลยโดยอาจจะเกิดจากความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นอวัยวะเบียดเสียดกัน จนต้องหาทางระบายออก ตำแหน่งไหนที่ผนังเยื่อหุ้มช่องท้องบางมากๆ หรือหย่อน ลำไส้ก็จะไหลออกมาเป็นถุง กลายเป็นไส้เลื่อนได้
อาการของไส้เลื่อนในผู้ใหญ่นี่ มันก็อาจจะบอกได้ถึงความผิดปกติที่ร้ายแรงอื่นๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไส้เลื่อนเท่านั้น แต่สาเหตุของไส้เลื่อนนี้อาจมาจากความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจากตับแข็ง หรือถุงลมโป่งพองมากๆ ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมาก ผลที่ตรวจเจอคือ ไส้เลื่อนแต่ความผิดปกติภายในก็ต้องหาสาเหตุกันต่อไป
บางครั้ง ไส้ที่เลื่อนออกมาก็อาจเลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้เหมือนกัน ถ้าเป็นแบบนี้คุณก็จะไม่มีอาการอะไรอื่นอีก ไส้เลื่อนออกมาก็เลื่อนกับไปได้เหมือนเดิมถ้าไม่ตรวจสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ไส้เลื่อก็คงจะปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รักษา และยังไม่ตระหนัก แต่ถ้าเลื่อนแล้วไม่กลับเข้าไป คราวนี้แหละ จะเกิดความรำคาญในช่องแรกๆ และกลายเป็นทรมานในช่วงหลังๆ
ถ้าไส้เลื่อนลงมาบริเวณขาหนีบ หรือบริเวณลูกอัณฑะคุณก็จะเกิดความรู้สึกหน่วงๆ เวลายืนหรือเดิน แล้วหากทิ้งไว้นานๆ ไส้ที่เลื่อนลงมาจะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อเนื้อลำไส้ตายและเริ่มเน่า คุณจะเจ็บปสดและทรมานอย่างมาก แถมมีอันตรายมากด้วย
ดังนั้น หากพบว่ามีก้อนหรือมีอะไรออกมาตุงอยู่แถว ๆ ขาหนีบ หรือลูกอัณฑะ หรืออาจจะคลำเจอบ้างไม่เจอบ้างแต่ถ้ายกของหนักหรือไอแรงๆ ก้อนจะโผล่ออกมาจนคลำได้และอาจจะจับได้ถึงเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว คลำได้เป็นก้อน แต่อาจจับยัดใส่กลับเข้าไปได้แสดวงว่าผนังบุช่องท้องบริเวณนั้นอ่อนแอ ความดันในช่องท้องจะดันเอาลำไส้ออกมา หรืออย่างบริเวณลูกอัณฑะก็เกิดได้ง่าย เพราะลำไส้จะเคลื่อนออกมาตามแนวของลุกอัณฑะที่เคลื่อนลงมาจากช่องท้องจนเข้ามาในลูกอัณฑะ หากเป็นเช่นนี้จะพบว่าลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่มากๆ และหากปล่อยไว้นานๆ ลูกอัณฑะจะบวมมาก
ไส้เลื่อนทั้ง 2 ชนิด รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อนำลำไส้กลับมาไว้ในช่องท้องตามเดิม แล้วเย็บปิดซ่อมแซมผนังเยื่อหุ้มช่องท้องก็เสร็จเรียบร้อย ยกเว้นแต่ว่า มีโรคอื่นๆทำให้เกิดไส้เลื่อนก็ต้องหาสาเหตุและรักษาไป หรืออาจจะไม่โชคร้าย แต่เป็นภาวะที่ไปเพิ่มความดันช่องท้องอย่างมาก พบว่าคนที่ความดันในช่องท้องสูงอาจจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ คือ ตั้งครรภ์ ไอมากๆ ไอเรื้อรัง อ้วนมากๆ ท้องผูก ต่อมลูกหมากโต ซึ่งทำให้ต้องเบ่งอย่างแรงขณะปัสสาวะ ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันในช่องท้องจนอาจเกิดไส้เลื่อน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน
Inguinal Hernia
ไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อน (Hernia) หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ตำแหน่งที่ลำไส้จะเลื่อนออกนอกช่องท้องมีหลายแห่ง เช่น บริเวณขาหนีบ (Groin Hernia), ผนังหน้าท้อง (Abdominal Hernia), สะดือ (Umbilical Hernia), และ รอยแผลผ่าตัด(Incisional Hernia) เป็นต้น
ในท้องของเรามีลำไส้อยู่สองส่วน ส่วนแรกคือลำไส้เล็ก เป็นลำไส้ส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ขดอยู่ตรงกลางท้อง ทำหน้าที่ย่อยอาหารต่อจากกระเพาะ อีกส่วนคือลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่อยู่รอบๆลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เก็บอุจจาระและปล่อยออกไป ลำไส้พวกนี้จะมีเนื้อเยื่อบางๆเหมือนกระดาษ ที่ขึงลำไส้ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ที่ทางหน้าท้องจะมีเนื้อเยื่อบุผนังและกล้ามเนื้อบังลำไส้ไว้อีกที จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้ลำไส้มีที่อยู่ประจำของมันอยู่ในช่องท้อง หากวันใดที่ลำไส้มีเหตุให้มันเปลี่ยนไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เราก็จะเรียกมันว่า ‘ไส้เลื่อน’
ทำไมไส้ถึงเลื่อน
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนก็คือ ‘ผนังหน้าท้อง’ ขาดความแข็งแรง โดยสาเหตุต่างๆกันไป
1 ผิดปกติตั้งแต่เกิด บางคนมีช่องทางระหว่างช่องท้องกับลูกอัณฑะ(ซึ่งคนปกติจะปิดสนิท) บางคนขาดกล้ามเนื้อหน้าท้องบางตัว หรือมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องตั้งแต่เกิด ทั้งนี้แม้แต่จะเป็นแต่เกิด แต่อาจจะมาก่อเรื่องเมื่ออายุมากแล้วก็ได้
2 การเสื่อมลงตามอายุ พบในผู้สูงอายุ ซึ่งกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องอ่อนกำลังลง
3 อุบัติเหตุที่หน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงหรือเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง
4 แรงดันในช่องท้องสูง การยกของหนัก ไอบ่อย มีการเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ จะทำให้แรงดันในท้องเพิ่มขึ้นและค่อยๆทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง มากขึ้นอย่างช้าๆ
5 หลังการผ่าตัดช่องท้อง เนื้อเยื่อที่ถูกผ่าจะขาดความยืดหยุ่นและเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของหน้าท้อง หากช่วงพักฟื้นเกิดเหตุแทรกซ้อนกับแผล ก็จะทำให้เกิดไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัดได้มากขึ้น
ปัจจัยเหล่านี้ถ้ามีเพียงข้อเดียวมักไม่เกิดอะไรขึ้น แต่หากเป็นพร้อมกันหลายๆข้อ ก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดไส้เลื่อนได้มากขึ้น
ชนิดของไส้เลื่อน
ถ้าแบ่งตามตำแหน่งที่ตรวจพบ จะแบ่งได้เป็น
1) ไส้เลื่อนลงอัณฑะ
2) ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนล่าง
3) ไส้เลื่อนโคนขา
4) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด
5) ฯลฯ ไส้เลื่อนยังมีอีกหลายชนิด แต่เจอได้น้อยกว่ามาก
การแบ่งแบบนี้ ได้ประโยชน์ในแง่ของการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายด้วยตา บางครั้งอาจจะบอกได้ถึงที่มาที่ไปของโรค และนำไปใช้ในการเลือกวิธีการในการผ่าตัด ประโยชน์อีกแง่หนึ่งก็คือบอกให้รู้ได้ว่า ไส้เลื่อนไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะกับผู้ชาย และไม่จำเป็นต้องลงไข่
อาการของไส้เลื่อน
อาการในสายตาของแพทย์มีสองกลุ่มคือแบบหนักกับแบบเบา
แบบเบาๆ ก็คือ พบก้อนเคลื่อนเข้าออก หรือพบก้อนที่ค้างตุงไม่เลื่อนไปมา อาจจะไม่ปวดเลยหรือปวดมากก็ได้
แบบหนักๆ ก็อาการเหมือนกลุ่มเบาๆ แต่ว่ามีอาการของลำไส้อุดตันหรือพบการอักเสบของลำไส้และช่องท้อง โดยมากมักพบในกลุ่มที่ก้อนเลื่อนมาแล้วไม่กลับเข้าที่และมีอาการปวด
ทั้งสองกลุ่มนี้ ตัดกันด้วยเรื่องอาการลำไส้อุดตันหรือการอักเสบในช่องท้องครับ การที่แบ่งเป็นสองกลุ่มนี้ก็เพื่อเลือกว่าจะต้องผ่าตัดในทันทีเลยหรือไม่ หรือยังรอได้ ส่วนขนาดหรือลักษณะไม่ได้เป็นตัวตัดสิน เนื่องจากพบว่าส่วนใหญ่แล้วในก้อนไส้เลื่อนที่เห็นตุงๆ ไม่ใช่ไส้ แต่เป็นพังผืดโอเมนตัม Omentum เลื่อนลงมาปิด ซึ่งไส้เลื่อนที่เกิดจากพวกนี้มักไม่ก่ออันตราย ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดในทันที
การรักษาไส้เลื่อน
1 ผ่าตัดไส้เลื่อน ความจริงผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อน ถ้าเป็นไปได้ควรจะผ่าตัด โดยเฉพาะในรายที่ไส้มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออก(เพราะพวกนี้ถ้าวันไหนเลื่อน เข้าแล้วไม่ออก มักเกิดเรื่อง) เมื่อผ่าไปแล้ว แพทย์ก็จะทำการตัดและเย็บปิดช่องทางที่ผิดปกติและใช้เทคนิกการผ่าตัดเพื่อ เสริมความแข็งแรงให้บริเวณนั้น หรืออาจจะใส่วัตถุสังเคราะห์รูปตาข่ายไปพยุงส่วนนั้นให้แข็งแรง
2 ดันไส้เลื่อนกลับ ในบางรายที่มารพ.ด้วยก้อนมีขนาดโตขึ้นและเจ็บปวด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไป
3 รอต่อไป ในผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวหรือสภาวะร่างกายที่ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด หรือเสี่ยงเกิดที่จะผ่าตัดไหว ก็จะไม่ได้รับการผ่าตัด แต่ก็จะมีการแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดการเป็นหรือลดการเกิดอาการ
แล้วจะทำอย่างไรขณะรอผ่าตัดไส้เลื่อน
การป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำในช่วงที่รอผ่าตัดไส้เลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เราพอจะป้องกันได้ทั้งในรายที่เป็นแล้วและในรายที่ยังไม่เป็นก็คือ การลดความดันในช่องท้องจากการกระทำต่างๆ คือ
1 อย่าไอ – ในที่นี้คือไม่ไปรับสิ่งที่เสี่ยงต่อการไอ เช่น หยุดการสูบบุหรี่ อย่าให้เป็นหวัด ถ้าไอควรจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ
2 อย่ายกของหนัก – การยกของหนักจะทำให้เกิดการเบ่ง และเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
3 อย่าเบ่งอุจจาระ – ก็คือควรกินอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการระบาย เพราะหากท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระ ก็สามารถเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
4 อย่าเบ่งปัสสาวะ – ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต่อมลูกหมากโตหรืออายุมาก อาจจะต้องเบ่งปัสสาวะบ่อย ทางแก้คือไปพบแพทย์ในเรื่องดังกล่าวเพื่อตรวจและรับการรักษาเพื่อให้ถ่าย ปัสสาวะคล่องขึ้น
การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบมาตรฐาน
การผ่าตัดแบบมาตรฐานมีหลักการที่จะเข้าไปผูกตัดถุงไส้เลื่อนที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจใช้การเย็บดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงาน เดินตัวตรงตามปกติได้ช้า และเนื้อเยื่อที่ถูกเย็บอาจตึงมากและฉีกออกจากกัน ผนังหน้าท้องกลับมาอ่อนแอเหมือนเดิม แนวโน้มในปัจจุบันนิยมการเย็บซ่อมโดยไม่เกิดแรงตึงมากกว่า ซึ่งอาจใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ หรือการเย็บถักด้วยไหมเย็บ หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดน้อยกว่า กลับไปทำงาน เดินได้ตามปกติได้เร็ว วิธีหลังนี้มีข้อเสียตรงที่มีการใส่วัสดุแปลกปลอมเข้าในร่างกาย จึงมักต้องให้ยาปฏิชีวนะกันการติดเชื้อ และมีค่าใช้จ่ายเรื่องวัสดุสังเคราะห์หากเลือกใช้แผลผ่าตัดเป็นแผลแนวขาหนีบยาวประมาณ 4-5 cm.
การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบใช้กล้องส่อง
เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมผนังหน้าท้องด้วยกล้องส่อง โดยมากจะใช้แผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 cm. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 cm. จากนั้นก็ทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้อง ซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว เป็นอันเสร็จ วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ ต้องใช้วัสดุสังเคราะห์และยังต้องรอดูผลชัดเจนในระยะยาว จึงมักยังทำได้ไม่แพร่หลาย และเลือกใช้ในรายที่เป็นทั้งสองข้าง หรือในรายที่เป็นซ้ำหลังการทำผ่าตัดแบบมาตรฐาน ปัจจุบัน เริ่มมีการทำในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนข้างเดียว ที่ไม่เคยผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยต้องการการรักษาวิธีนี้
พักฟื้นหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบใช้กล้องส่องหรือผ่าตัดแบบมาตรฐานโดยไร้ความ ตึง จะใช้เวลาพักฟื้นสั้น โดยมากมักอยู่โรงพยาบาล 2-3 วัน จากนั้นก็กลับบ้านไปทำงานได้ ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบมาตรฐานและใช้วิธีที่เย็บเนื้อเยื่อเข้าหากันจะอยู่ โรงพยาบาลนานกว่าเล็กน้อย และมักจะกลับไปพักที่บ้านอีก 5-7 วันก่อนจะกลับไปทำงานได้ ทั้งสองวิธี แพทย์มักแนะนำให้งดการยกของหนัก ออกกำลังกายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์ ต้องไม่ลืมที่จะรักษาโรคหรือภาวะที่เป็นปัจจัยชักนำด้วย
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไส้เลื่อน
พบได้บ้าง ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น การมีลิ่มเลือดบริเวณใต้แผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากเลือดออกจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ขณะทำการเลาะเนื้อเยื่อ, การติดเชื้อของแผลผ่าตัด, การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น ท่อนำน้ำเชื้ออสุจิ, เส้นประสาทขนาดเล็กที่มารับความรู้สึกจากผิวหนัง ซึ่งทำให้มีการเจ็บแปลบหรือชา เป็นต้น
ไส้เลื่อนผ่าแล้วเป็นอีก ได้หรือไม่
หลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกทั้งข้างเดิม และเป็นใหม่อีกข้างหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นซ้ำในข้างเดิมมีหลายอย่างได้แก่ การผ่าตัดที่ทำได้ไม่ถูกต้องตามเทคนิค, การรักษาไม่ได้ครอบคลุมการรักษา ปัจจัยชักนำหรือกำจัดปัจจัยชักนำไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยไม่หยุดสูบบุหรี่ ท้องผูกต้องเบ่งเป็นประจำ ไม่ได้ทำการรักษาต่อมลูกหมากโต เป็นต้น นอกจากนี้เนื้อเยื่อที่ไม่แข็งแรงของผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
โดยมากหากการผ่าตัดไส้เลื่อนครั้งแรกเป็นแบบมาตรฐาน การผ่าตัดแก้ไขโดยใช้การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องก็จะมีข้อได้เปรียบ เพราะการผ่าตัดไส้เลื่อนครั้งแรกที่เลาะเข้าทางด้านหน้าจะทำให้มีเนื้อเยื่อพังผืด จำนวนมาก ตัดเลาะซ้ำลำบาก การส่องกล้องเข้าจากด้านในผนังช่องท้อง จะไม่มีพังผืดมาบดบังทำให้ทำผ่าตัดแก้ไขได้แม่นยำและต้องไม่ลืมรักษาปัจจัยชักนำด้วย จึงจะป้องกันการเป็นซ้ำอีกได้ดีที่สุด
Link https://mynoz.wordpress.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ต้องการรู้โรคไส้เลื่อนเป็นอย่างไร
ไส้เลื่อน
คำว่าไส้เลื่อนหมายถึงภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่นบริเวณขาหนีบ หรืออาจจะเลื่อนมาในตำแหน่งรอยผ่าตัด
ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุม โดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่ และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืด ไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบ ซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal hernia และ direct inguinal hernia
Indirect inguinal hernia
ขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด
Direct inguinal hernia
ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน
ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูงเช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน
อาการ
อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนทั้งสองชนิดได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ ก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรูก้อนจะหายไป
โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่สำคัญได้แก่
- Incarcerated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
- Strangulated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้เน่าตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆจะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ
- Bowel obstruction เกิดเมื่ออุจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม
สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์
- ปวดบริเวณไส้เลื่อน
- ก้อนนั้นไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
- ปวดท้องและอาเจียนท้องอืด
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำได้ง่ายโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การรักษา
การรักษาไส้เลื่อนทั้งสองชนิดทำได้โดยการผ่าตัด นำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องและเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา การผ่าตัดมักจะได้ผลดี
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Herniorrhaphy ผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อนเมื่อนำไส้กลับเข้าในช่องท้องแล้วก็เย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อน คลิกดูรูป
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Hernioplasty วิธีนี้จะใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุดอ่อนคลิกดูรูป
Link https://www.siamhealth.net
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++