ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava)
ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์
ขยับกาย คลายปวดข้อรูมาตอยด์ |
---|
Link https://www.yourhealthyguide.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ
กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)เป็น ความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง(พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่นปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ
จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้างที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ?
อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่
- ข้าวกล้อง
- ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
- ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น
- น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
- เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา
ควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?
อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ
อาหารอื่นที่อาจจะรับประทานได้ หรือควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง?
อาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด
หมายเหตุ บทความสั้น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมี ลำดับที่ 4
Link https://www.pharmacy.mahidol.ac.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava)
ข้ออักเสบหมายถึงการอักเสบของข้อ ซึ่งจะมีอาการปวด บวม แดง และร้อนภายในข้อครับ
ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นการอักเสบเรื้อรังภายในข้อและมักเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้าง เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ครับ และการปวดข้อทั้ง 2 ข้างอาจสามารถช่วยแยกจากโรคข้ออักเสบอื่นๆได้อีก
อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์
- อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้แก่
- การปวดข้อ และข้อบวม
- รู้สึกขัดบริเวณข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน
โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคปวดข้อรูมาตอยด์จะแตกต่างไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่อาการปวดข้อมักจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเกิดขึ้นในทั้งผู้สูงอายุและวัยรุ่นก็ได้ครับ
สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ไม่มีใครทราบครับ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแทนที่จะจัดการทำลายสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย กลับมีการทำลายที่บริเวณข้อแทน หรือถูกกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส
การวิจัยยังบอกสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าพันธุกรรมมีบทบาทหรือไม่ บางคนถ้ามีญาติเป็นก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น
ผลจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่ข้อ และเยื่อหุ้มข้อที่เรียกว่า Synovium ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวก็จะสร้างสารที่ทำลายเนื้อเยื่อรอบข้างออก มา(ซึ่งตามปกติมีไว้เพื่อทำลายเชื้อโรค) ทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ ทำให้มีการบวมแดง และอักเสบ และมีการสร้างของเหลวภายในข้อมากขึ้น
เมื่อกระดูกอ่อนภายในข้อถูกทำลาย ก็จะมีผลกระทบกับการเคลื่อนไหวของข้อครับ และมีการเคลื่อนไหวและรูปร่างของข้อที่ผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงนี้ย้อนกลับไม่ได้นะครับ และเสียรูปร่างไปอย่างถาวร
ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีลักษณะข้อมือที่ผิดรูป
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีเกณฑ์การวินิจฉัยอยู่ครับ
- ปวดข้อนิ้วมือ ทั้ง 2 ข้าง แบบสมมาตรกัน (ปวดข้อนิ้วมือลักษณะที่เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง)
- การเคลื่อนไหวขัด โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน
- บางครั้งอาจพบตุ่มที่เกิดขึ้นตามข้อ
- X-rays บ่งชี้ว่าเหมือนข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ผลเลือดของข้ออักเสบรูมาตอยด์ (เรียกว่า Rheumatiod factor)เป็นบวก
คนส่วนใหญ่ แต่ไม่ทั้งหมดที่มีผลเลือดรูมาตอยด์เป็นบวกนะครับ ผลเลือดนี้บางครั้งอาจเป็นบวกได้แม้ว่าจะไม่เป็นโรค อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยจะใช้อาการเป็หลักครับ ไม่ใช่แค่ผลเลือดอย่างเดียว
ในคนที่เป็นโรครูมาตอยด์อาจมีภาวะซีดได้ครับ ผลเจาะเลือด ESR ( erythrocyte sedimentation rate) หรือ CRP(C-reactive protein ) อาจสูงกว่าปกติได้ ซึ่ง 2 ตัวนี้จะใช้วัดว่ามีการอักเสบอยู่หรือไม่
บางคนที่เป็นโรครูมาตอยด์อาจพบผลเลือด ANA (Antinuclear antibody test) เป็นบวกได้ครับ
การรักษาโรครูมาตอยด์
มีวิธีการรักษาอยู่หลายอย่างครับ การใช้ยา การพักข้อและการออกกำลังกาย ซึ่งการใช้ยาจะช่วยในเรื่องของอาการปวดและพยายามป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น ครับ
ยาที่ใช้ได้แก่
- ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน นาพรอกเซน
- ยาเสตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน
มียาอยู่กลุ่มหนึ่งครับที่เรียกว่า DMARDs ย่อมากจาก Disease-modifying antirheumatic drugs เป็นยาที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยานี้จะทำงานโดยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันภายในข้อครับ ได้แก่
- ยารักษาโรคมาเลเรีย Primaquin
- ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Metrotrexate ,Imuran,Cytoxan ,Cyclosporin
- ยาอื่นๆ เช่น Azulfidine , Arava , Enbrel , Humira และอื่นๆ
ทำไมการพักข้อและการออกกำลังกายจึงสำคัญ
เพราะระหว่างที่โรคกำเริบมากขึ้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรเทาโรคลงได้ คือการพักข้อครับ คุณอาจใช้ผ้ายืดมาพันข้อเพื่อให้ลดการเคลื่อนไหวลงก็สามารถทำได้
และเมื่อคุณมีอาการปวดข้อลดลงแล้ว ให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อและทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การรักษาก็สามารถช่วยให้ข้อไม่ถูกทำลาย หรือถูกทำลายช้าลงได้ครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++