สาเหตุโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ เกิดจากทำงานใช้คีย์บอร์ดมาก อาหารที่เหมาะสมต่อโรครูมาตอยด์


1,962 ผู้ชม


สาเหตุโรครูมาตอยด์  โรครูมาตอยด์ เกิดจากทำงานใช้คีย์บอร์ดมาก อาหารที่เหมาะสมต่อโรครูมาตอยด์

           สาเหตุโรครูมาตอยด์

รู้เท่าทันและป้องกัน โรครูมาตอยด์

รูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์ Rheumatoid

รู้เท่าทันและป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
(Healthplus)
         โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรครูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่รุนแรง และสร้างความทรมานต่อผู้ป่วยเป็นเวลาหลายๆ ปี และถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป สมรรถภาพของข้อจะเสียไป เกิดความพิการ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้
         สาเหตุ การเกิด โรครูมาตอยด์ ยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเริ่มจากมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและเยื่อบุชนิดต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลจากการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคบางชนิด เชื้อไวรัสหรือสารพิษบางอย่าง และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
         โรครู มาตอยด์ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าใดก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็น โรครูมาตอยด์ ตั้งแต่เด็ก ก็มักจะมีอาการรุนแรงในเด็กจะมีอาการต่างจากผู้ใหญ่
รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรครูมาตอยด์
         1. มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายๆ ข้อทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์
         2. ข้ออักเสบ พบบ่อยที่บริเวณ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่างๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอหรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
         3. มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วยตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น ในช่วยบ่ายๆ มักจะขยับข้อได้เป็นปกติ
         4. พบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง
         5. ตรวจเลือดพบมีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะตรวจเลือดพบเพียงร้อยละ 50-70 เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจไม่พบรูมาตอยด์ ก็ไม่ได้ หมายความว่าไม่เป็นโรครูมาตอยด์แต่ผู้ที่มีปริมาณรูมาตอยด์แฟคเตอร์สูงจะมี อาการรุนแรงกว่า
         6. เจาะน้ำในข้อไปตรวจ
         7. เอกซเรย์ ไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ประเมินว่าข้อถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด เพราะอาจจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการเป็นๆ หายๆ สามารถใช้ข้อต่างๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ
         จะ มีผู้ป่วย โรครูมาตอยด์ ส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความพิการมีข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้ และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก ที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตา หัวใจ หลอดเลือด ปอดม้าม เป็นต้น
         โรครู มาตอยด์ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ แต่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีความอดทนในการรักษา โรครูมาตอยด์ ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์หรือเปลี่ยนยาเอง เพราะจะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากต่อตัวผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะเมื่อเกิดความพิการขึ้นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้
         สำหรับ ข้อที่มีการอักเสบอยู่แล้ว การรักษาจะเป็นการควบคุมโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น ดังนั้นข้อก็อาจจะบวม ผิดรูปอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการรักษาไม่ได้ผล
         โรครู มาตอยด์ มีความรุนแรงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นแพทย์ก็จะให้การรักษาแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในระยะแรกแพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนยาไปมา เพื่อหาว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นมากที่สุด
         ส่วน ผลการรักษา โรครูมาตอยด์ จะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เป็นโรค ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โรครูมาตอยด์ โดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัดของข้อและการใช้ข้ออย่างถูกวิธี
แนวทางการรักษา โรครูมาตอยด์
1. การทำกายภาพบำบัดของข้อ เช่น

         ประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น
         ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป
         ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ
         ออก กำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบอื่นๆ รวมถึงการยกน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัมร่วมด้วยก็ได้
         ใช้ ข้ออย่างถูกวิธี พยายามกระจายแรงไปหลายๆ ข้อ เช่น ใช้มือสองข้างช่วยกันจับสิ่งของแทนการใช้มือข้างเดียว ใช้ข้อใหญ่ออกแรงแทนข้อเล็ก เช่น ใช้แขนเปิดประตูแทนใช้ข้อมือ หรือ ใช้อุ้งมือเปิดฝาขวดแทนใช้นิ้วมือ
         ปรับ สภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม เช่น ก๊อกน้ำควรเป็นแบบคันโยก ไม่ควรใช้แบบบิด-หมุน ประตูควรเป็นแบบเลื่อนเปิด-ปิด ไม่ควรใช้ลูกบิด
2. ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
         ใน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น
         ผล ข้างเคียงที่สำคัญของยาทุกตัวในกลุ่มนี้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจจะมีบวมบริเวณหน้าแขน ขา ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังและ ต้องระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ
         ยากลุ่ม นี้จะมียาใหม่ที่มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับการเกิดแผลในทางเดินอาหารน้อย แต่จะมีราคาค่อนข้างแพง จึงควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหาร เช่น ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เคยมีแผลในทางเดินอาหาร
3. ยากลุ่มสเตียรอยด์
         ยากลุ่ม นี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่นกระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย เมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

4. ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า

         เป็น ยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูง ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า กว่าจะเห็นผลต้องให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป
         ยา ที่ใช้บ่อย และค่อนข้างปลอดภัยคือ ยาคลอโรควิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย และสามารถลดการอักเสบในโรครูมาตอยด์ได้ด้วย โดยมักจะใช้ควบคู่ไปกับยาในข้อ 2 มีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ตาพร่า ผื่นคัน ผิวแห้ง ผิวคล้ำ ซึ่งจะลดอาการทางผิวหนังได้โดยหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง แต่ถ้าเกิดผลข้างเคียงมาก เช่น ตาพร่า ก็ต้องหยุดใช้ยา
         ยา ตัวอื่นในกลุ่มนี้ เช่น ยา MTX ยาเกลือทอง ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย และยังมียาใหม่ๆ ที่เริ่มนำมาใช้อีกหลายชนิด ซึ่งเป็นยาที่อันตราย มีผลข้างเคียงสูง ถ้าจะใช้ต้องอยู่ภายได้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
5. การผ่าตัด เช่น
         ผ่า ตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม การผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

      คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ  


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                  โรครูมาตอยด์ เกิดจากทำงานใช้คีย์บอร์ดมาก

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)

เอ็นอักเสบ

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis) (Medical Link)
          โรค เอ็นอักเสบ (Tendinitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด บริเวณตำแหน่งของเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบขึ้น มักเป็นที่บริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเข่า แต่ก็อาจเกิดขึ้นที่บริเวณข้อสะโพก ข้อเท้า และข้อมือ ได้เช่นกัน
          โรคเอ็นอักเสบที่รู้จักกันดีมีชื่อเรียกเฉพาะ ได้แก่ tennis elbow, golfer’s elbow, pitcher’s shoulder, swimmer’s shoulder และ jumper’s knee
          โรคข้อศอกเทนนิส โรคสุดฮิตของคนใช้ข้อมือและข้อศอกบ่อยๆ การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานหนักหรืองานเบา มักมีการกระดกข้อมือและเหยียดศอกอยู่เสมอ เช่น การปัดกวาดบ้าน การทาสี การตีกลอง ตลอดจนการเล่นกีฬาต่าง ๆ
          นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ที่ต้องใช้มือจับสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องบ่อย ๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด
สาเหตุของโรค
          อาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นของเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ 2 เส้น ทำ ให้เกิดการตีบหรือหดตัว การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายใน โดยส่วนใหญ่สาเหตุของอาการเกิดจากความเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงโรคข้ออักเสบเรื้อรัง
          สาเหตุ ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิด โรคเอ็นอักเสบ คือ ภยันตรายต่อเส้นเอ็น การกระทบกระแทก หรือการใช้งานบ่อยๆ  ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ
          อาจพบว่าเกิดขึ้นในโรคข้ออักเสบทั่วร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ นักว่ายน้ำ นักเทนนิส นักกอล์ฟ มีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณหัวไหล่ แขน ข้อศอก มากกว่าปกติ ในขณะที่นักฟุตบอล นักบาสเกตบอล นักวิ่ง จะเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณขา เข่า และเท้า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบมากขึ้น
อาการของโรค
          ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดมากจนทนไม่ได้ ในรายที่อาการรุนแรงเส้นเอ็นที่อักเสบเกิดฉีดขาด จะมีอาการที่รุนแรงมากที่สุด
          โรค Tennis elbow จะปวดปริมาณข้อศอกเวลาขยับหมุนข้อศอก หรือเวลากำสิ่งของในมือ
          โรค Achilles tendinitis จะปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย
          โรค Patellar tendinitis จะปวดบริเวณสะบ้า
          ในขณะที่ Rotator cuff tendinitis จะปวดบริเวณหัวไหล่
          ในเบื้องต้นหากเกิดที่มือ จะมีอาการช้ำ ระบม บริเวณนิ้วโป้งด้านปลายแขนใกล้กับข้อมือ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นและขยายไปยังบริเวณปลายแขนช่วงข้อมือ และนิ้วโป้ง หากมีอาการรุนแรงมาก จะเกิดการบวมบริเวณปลอกหุ้มเอ็นใกล้ ๆ กับข้อมือ และทำให้การหยิบจับด้วยนิ้วโป้ง และมือจะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น
หากมีอาการ เอ็นอักเสบ ที่ข้อมือ จะได้รับการรักษาอย่างไร
          การ อักเสบของเส้นเอ็น (tendon) มักมีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บ หรือทำงานหนัก มีอาการเจ็บปวดตรงเส้นเอ็นที่อักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ทำให้เส้นเอ็นส่วนนั้นถูกยืด และดึงรั้ง อาการมักจะเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ สิ่งที่ตรวจพบเมื่อใช้นิ้วมือกดแรง ๆ จะพบจุดที่กดเจ็บจุดเดียว ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณข้อ บางคนอาจมีอาการบวมของเส้นเอ็นส่วนนั้นร่วมด้วย
          คุณควรหยุดพักการใช้งานบริเวณมือและนิ้วโป้งซ้ำ ๆ บ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของมือ เช่น การหยิบของหนัก การเขียน หรือการบิดหมุนข้อมือ ควรให้ข้อมืออยู่ในแนวระนาบเดียวกับแขน ในเบื้องต้น แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้าเฝือกบริเวณแขนและนิ้วโป้ง เพื่อให้ข้อมือและกระดูกข้อต่อบริเวณใต้นิ้วโป้งอยู่กับที่ ลดการใช้งานของเส้นเอ็น รวมถึงรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการบวมของเยื่อหุ้มเอ็นและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
การวินิจฉัยโรค
          จากประวัติอาการ ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ และตรวจร่างกายระบบกระดูกและข้อโดยละเอียด การตรวจภาพรังสีมักจะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด แต่อาจช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดอาการได้ในบางกรณี หากสงสัยว่าเกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดเพิ่มเติม
เอ็นอักเสบ

แนวทางการรักษาโรค
          หลัก สำคัญคือ ระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น
          ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบ ๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้
          กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย เพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น
          การผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิคการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย ที่สำคัญคือ
          1.ควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำ หรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น กินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง เมื่อทุเลาปวดให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
          2.ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมีหินปูน หรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด (การฉีดยาชนิดนี้อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้งอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีดขาดได้
          หาก คุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นเอ็นอักเสบที่ข้อมือ ทางที่ดีควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทรมานกับอาการเจ็บปวดข้อมือ ที่คุณต้องพึ่งพาใช้งานไปอีกนาน

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Medical Link
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             อาหารที่เหมาะสมต่อโรครูมาตอยด์

กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid)


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)เป็น ความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม  อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ     กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง(พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก  หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่นปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ 

จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้างที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ?

อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่

  • ข้าวกล้อง
  • ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
  • ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น
  • น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
  • เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

ควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?

                อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ

อาหารอื่นที่อาจจะรับประทานได้ หรือควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง?

อาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด

หมายเหตุ     บทความสั้น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมี ลำดับที่ 4

Link     https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


อัพเดทล่าสุด