โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงินเกิดจาก โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่


2,714 ผู้ชม


โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงินเกิดจาก โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่

           โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน Psoriasis

โรคสะเก็ดเงินเป็นดรคผิวหนังเรื้อรังที่มีผื่นที่ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงินยังทำให้เกิดข้ออักเสบ และมีโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ

โรคสะเก็ดเงินหรือ posoriasis

Psoriasis

โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อกวางเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันมีความบกพร่อง ทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าแบ่งตัวเร็ว ผิวหนังหนาตัวและเป็นขุย เชื่อว่ากรรมพันธ์มีส่วนทำให้เกิดโรค โดยจะต้องมีปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ ความเครียด ผิวหนังมีแผล รวมทั้งการติดเชื้อ และจากยาบางชนิด

โรคสะเก็ดเงินมักจะเป็นตอนวัยรุ่น และพบมากในวัยกลางคน ไม่ติดต่อโดยการสัมผัสโ

โรคสะเก็ดเงินมีหลายรูปแบบ ความรุนแรงหลายระดับ รูปแบบที่พบบ่อยคือ Plaque psoriasis ผู้ป่วยร้อยละแปดสิบจะเป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดนี้

ตำแหน่งที่พบได้แก่ผิวหนังทุกแห่ง เช่น เข่า ศอก หนังศีรษะ ลำตัว มือ

อาการของโรค 

อาการของโรคมักจะค่อยๆเกิด และเป็นๆหายๆ ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง เช่นการเกา มีดบาด ผิวไหม้จากแสงแดด การติดเชื้อไวรัส แพ้ยา 

  1. ผิวหนังเริ่มเป็นผื่นเล็กๆสีแดง มีขอบชัดเจน รูปร่างอาจจะทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุยหรือสะเก็ดเงินสีขาว วึ่งค่อนข้างจะติดแน่น เมื่อแกะสะเก็ดออกจะมีเลือดออกเล็กน้อย
  2. ผื่นอาจจะขยายวงกว้างออกไป รูปร่างของผื่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น ผื่นลักษณะก้นหอย Rupoid psoriasis หรือคล้ายหยดน้ำ guttate psoriasis  
  3. เล็บ ลักษณะเล็บจะเป็นหลุมเรียก pitted nail หรือมีการหนาตัวอยู่ใต้เล็บsubungal keratosis ถ้าเป็นมากจะผุทั้งเล็บ
  4. ข้อ มีอาการปวดข้อภายหลังจากมีผื่นทางผิวหนัง ข้อที่ปวดมักจะเป็นข้อเล็กๆ เริ่มที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า มักจะเป็นทั้งสองข้าง บางครั้งอาจจะเป็นข้อใหญ เช่นข้อเท้า ข่อเข่า

Link       https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          โรคสะเก็ดเงินเกิดจาก

โรคสะเก็ดเงิน โรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวางเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันมีความบกพร่อง 

รูปแสดงผิวหนังที่หนาตัว Plaque

ทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าแบ่งตัวเร็ว ทำให้ผิวหนาตัวขึ้นและเป็นขุย  และเชื่อว่าพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคโดยจะต้องมีปัจจัยกระตุ้นซึ่ง ได้แก่ ความเครียด ผิวหนังที่มีแผล  รวมทั้งการติดเชื้อและจากยาบางชนิด มักเป็นมากในระยะวัยรุ่น และพบมากในวัยกลางคนไม่ติดต่อโดยการสัมผัส โรคมีหลายรูปแบบความรุนแรงก็มีหลายระดับ รูปแบบที่พบบ่อยคือ Plaque psoriasis ผู้ป่วยร้อยละ 80ที่เป็นเรื้อนกวางจะเป็นชนิดนี้ ตำแหน่งที่พบได้คือบริเวณผิวหนังทุกแห่ง เช่น เข่า ศอก หนังศีรษะ ลำตัว เล็บ
อาการ 
อาการมักจะค่อยๆ เกิด และเป็นๆ หายๆ ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง เช่นการเกา ผิวไหม้จากแดด การติดเชื้อไวรัส แพ้ยา
  • ผิวหนัง เริ่มเป็นผื่นเล็กๆสีแดง มีขอบชัดเจน รูปร่างอาจจะทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุยหรือสะเก็ดสีขาวเงิน ซึ่งค่อนข้างติดแน่น เมื่อแกะขุยจะมีเลือดออกเล็กๆ ผื่นอาจจะขยายวงกว้างออกไปรูปร่างของผื่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น ผื่นลักษณะคล้ายก้นหอย Rupoid psoriasis  หรือคล้ายหยดน้ำ guttate psoriasis  
  • เล็บ ลักษณะเล็บจะเป็นหลุมเรียก pitted nail หรือมีการหนาตัวอยู่ใต้เล็บ subungal keratosis ถ้าเป็นมากผุทั้งเล็บ ข้อ มีอาการปวดข้อภายหลังจากมีอาการทางผิวหนัง 
  • ข้อที่ปวดมักเป็นข้อเล็กๆเริ่มที่ปลายนิ้วมือ เท้า มักเป็นสองข้าง บางครั้งอาจเป็นข้อใหญ่
สาเหตุของโรค
สะเก็ดเงินเป็นโรคที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 2 ของประชากรที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงยัง ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผลที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง คือมีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นกว่าปกติ และทำให้ ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นมีความหนากว่าผิวหนังปกติ สาเหตุ Psoriasis Cause หนึ่งที่เชื่อว่าทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน คือการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างผิดปกติต่อองค์ประกอบบางอย่างของผิวหนัง แต่สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดและอยู่ในระหว่างการศึกษาค้น คว้าอย่างกว้างขวาง
  • ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่ามีเพียงสมาชิกในบางครอบครัวเท่านั้นที่ป่วย เป็นโรคนี้ และพบ และพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จะมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคนในเครือญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
  • การเกิดผื่นมักเริ่มจากมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น ได้แก่ อารมณ์เครียด การ บาดเจ็บของผิวหนัง (รอย ฉีกขาด รอยแกะ รอยเกา เป็นต้น) อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส การเปลี่ยนแปลงระดับ ฮอร์โมน (ผื่นมักเริ่มเกิดในช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเป็นสาว) และยาบางชนิด (พบได้น้อย) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นเท่าที่จะสามารถทำได้ อย่างไรก็ดีน่าจะมีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือ จากที่กล่าวมาแต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน (ข้อมูลจาก นพ.พีระพัชร์ นิ่มกุลรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิว)
จากการศึกษาพบว่า ซลส์ผิวหนังตรงบริเวณที่เป็น โรค จะมีการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ และเคลื่อนตัวจากชั้นใต้ผิวหนังมาที่ผิวนอกในเวลาประมาณ 4 วัน ( ในคนปกติจะใช้เวลาประมาณ 26 วัน) ทำให้ผิวหนังเกิดการหนาตัวขึ้นเป็นปื้น ในขณะเดียวกันเซลส์ผิวหนังขาดแรงยึดเหนี่ยวตามปกติ ทำให้สารเคราติน (Keratin) บนชั้นนอกสุดของผิวหนังหลุดลอกออกเป็นแผ่นๆได้ง่าย
นอกจากนี้ยังพบว่าความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับเซลส์ผิวหนังของผู้ป่วย เช่น
  • ความผิดปกติในเมตาโบลิซึมของ กรดอาราชิโดนิก (arachidonic acid) 
  • ความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน (immune) ของผิวหนัง เป็นต้น 
  • มักพบมีอาการกำเริบในเวลามีภาวะเครียดทางร่างกายและจิตใจที่มากเกินไป 
  • การติดเชื้อ ( เช่นเชื้อสเตรปโตค็อกคัส) 
  • การได้รับบาดเจ็บ 
  • การขูดข่วนผิวหนัง 
  • การแพ้แดด 
  • การแพ้ยา ( เช่นยาคลอโรควิน ยาปิดกั้นเบต้า ลิเทียม ยาเม็ด คุมกำเนิด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่     สเตียรอยด์)
 ชนิดของโรคสะเก็ดเงินเราสามารถแบ่งตามลักษณะผื่นได้ดังนี้
 

Plaque
โรคสะเก็ดเงินชนิดนี้พบบ่อยที่สุด ลักษณะจะเป็นผิวหนังที่มีผื่นแดง นูนหนามีขอบชัดเจน บนผื่นจะมีสะเก็ดขาวเหมือนเงินอยู่บนผื่น สะเก็ดนี้เป็นเซลล์ผิวหนังซึ่งตายแล้ว ผิวหนังบริเวณผื่นมักจะแห้ง คัน และเกิดเป็นแผลได้ง่ายแพทย์เรียกชนิดนี้ว่า psoriasis vulgaris
Guttate
ลักษณะผื่นจะเหมือนรูปหยดน้ำเล็กๆเป็นหยดๆ สีแดง ผื่นนี้จะพบมากบริเวณลำตัวและแขนขา ผื่นจะไม่หนาเหมือนกับชนิด plaque มักจะพบในเด็กและวัยรุ่นโดยมีการติดเชื้อของผิวหนังเป็นตัวกระตุ้น
Inverse
สะเก็ดเงินชนิดนี้มักจะพบในคนอ้วน ที่มีเหงื่อออกมาก และมีการระคายเคือง เราอาจจะเรียกว่า Inverse psoriasis, หรือ flexural psoriasis มักพบบริเวณข้อพับ เช่นขาหนีบ รักแร้ เต้านม ก้น ลักษณะผื่นจะราบเรียบ มีการอักเสบแดง ผิวแห้ง ไม่มีขุยและหนาตัวเหมือนชนิด plaque
Erythrodermic
เป็นการอักเสบของสะเก็ดเงิน เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุดมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นสะเก็ด เงินหลุดง่ายผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะแดง กระจายไปทั่วและมักจะมีอาการบวม ปวด และคันร่วมด้วย
Generalized Pustular
ผื่นสะเก็ดเงินจะแดงทั่วไป มีอาการบวมและปวด จะมีตุ่มหนองเกิดขึ้น ตุ่มหนองนี้มิใช่เกิดจากการติดเชื้อ เมื่อแผลแห้งแล้วก็กลับมาเป็นหนองได้อีกเรียกว่า Zumbusch pustular psoriasis
Localized Pustular
เป็นตุ่มหนองที่เกิดเฉพาะบริเวณมือและเท้าจะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองขนาดครึ่งเซนติเมตรอยู่บนผื่นที่มือและเท้า
โภชนาการบำบัดสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
วิตามิน เอ เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการแบ่งตัวและเจริญเติบโตของ เซลล์เยื่อบุร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก จึงมีผู้นำวิตามิน เอ มารักษาโรคสะเก็ดเงิน พบว่าไม่ได้ผล ต่อมามีการค้นพบกรดของวิตามิน เอ (Retinoids) พบว่ามีฤทธิ์ในการรักษาผื่นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงินได้ดี ปัจจุบันสารกลุ่มนี้เรียกว่า Retinoids ซึ่งรวมถึงวิตามิน เอ ด้วย
ยารับประทานกลุ่ม Retinoids ที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมี 3 ชนิด คือ Etretinate, Acitretin และ Isotretinoin ในประเทศไทยปัจจุบันนิยมใช้ Acitretin แทน Etretinate เพราะยา Acitretin มีช่วงครึ่งชีวิตสั้นกว่า Etretinate มาก ทำให้หลีกเลี่ยงผลเสียที่จะเกิดกับเด็กในครรภ์
ขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการติดตามผู้รักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด 
ของดร.รสสุคนธ์
น้ำหมักพลังเอนไซม์บำบัด เป็นการหมักเอนไซม์จากผลไม้นานาชนิด ส่งผลให้ได้โมเลกุลของสารอาหารขนาดเล็ก ที่มีทั้งกรดอะมิโน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งวิตามินในจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี เป็นต้น โดยวิตามินเหล่านี้จะอยู่ในรูปของกรดเช่น กรดวิตามินเอ หรือ Retinoids, กรดวิตามินซี หรือ Ascobic acid เป็นต้น
นอกจากนี้น้ำเอนไซม์จากผลไม้ยังมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำเอนไซม์จากผลไม้เป็น ประจำจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แข็งแรงมากกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่ดื่ม จึงพบว่าเมื่อผู้ป่วยโรคผิวหนัง ในกลุ่มของผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินมีอาการดีขึ้น
เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันคืนสู่ปกติและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฟื้นฟูเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการรักษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะอารมณ์ของผู้ป่วย ต้องอยู่ในการควบคุมด้วยจิตสมาธิ การขจัดความเครียด กระทั่งเรื่องของโภชนาการ การหลีกเลี่ยงอาหารในกลุ่มโปรตีนที่ย่อยยาก อันเป็นแอนโทเจน ที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หรือการอักเสบได้
สินค้าแนะนำสำหรับโรคสะเก็ดเงิน

1. เอนไซม์สระผมอาบน้ำสูตรไร้สารเคมี สำหรับอาบน้ำสระผม ลดอาการอักเสบหรือติดเชื้อ และไม่ทำให้ผิวหนังโดนสารเคมีทำลายซ้ำอีกด้วย อ่อนโยนต่อผิวพรรณสามารถใช้อาบได้ทุกวัน
2. น้ำเอนไซม์แช่ผัก สำหรับนำมาผสมกับน้ำอุ่นแช่อาบ อย่างน้อยวันละ 15 -30 นาที (อัตราส่วน 5 ฝาขวดต่อน้ำ 100 ลิตร หรือ 1 ฝาต่อน้ำ 3 - 5 ลิตร แล้วแต่ต้องการความเข้มข้นแค่ไหน)
3. โลชันพลังเอนไซม์สำหรับสะเก็ดเงิน ใช้ทาผิวบริเวณที่เป็นแผลสะเก็ดเงิน (ทาบาง ๆ เช้า และเย็น ทุกวัน หรือทุกครั้งที่มีอาการคัน)
4. น้ำพลังเอนไซม์บำบัดสูตร N2000 หรือ น้ำเอนไซม์ผลไม้รวมสูตรเข้มข้น ดื่มผสมกับน้ำอุ่น ทุกวันก่อนอาหารวันละ 3 มื้อ
5. น้ำผักปั่น ทานทุกวันวันละ 3 - 5 ลิตร โดยทำครั้งละ 1 ลิตร ดื่มเรื่อย ๆ จนหมดภายใน 1 ชั่วโมง
Link     https://friutenzyme.blogspot.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
          โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่

โรค สะเก็ดเงิน 


  


 1 .  โรคสะเก็ดเงินคืออะไร
  โรค สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย  มีชื่อภาษาอังกฤษว่า   “Psoriasis” ลักษณะรอยโรคเป็นผื่นแดงนูนหนา   มีสะเก็ดสีขาว ลอกเป็นขุยจำนวนมาก  เป็น ๆ หาย ๆ


 2 . โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่
  โรค สะเก็ดเงินไม่ติดต่อ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา   ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย  จึงไม่ต้องกังวลที่จะติดโรคนี้ 


 3 . ทำไมจึงเป็นโรคสะเก็ดเงิน
 ใน ปัจจุบัน สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ  แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องของระบบอิมมูน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรม กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนัง เจริญเร็วกว่าปกติจากที่ใช้เวลา 28 – 30 วันในการเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน วงจรนี้จะลดลง
เหลือเพียง  2 – 3 วัน ทำให้ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและมีสะเก็ดจำนวนมาก
 
 4 . โรคสะเก็ดเงินพบบ่อยแค่ไหน
  โรค สะเก็ดเงินพบประมาณร้อยละ  1 – 2 ของประชากรทั่วโลก   ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ใกล้เคียงกัน   ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่อมีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงอุบัติการณ์ และความชุกของโรคในประชากรทั่วไป    จากสถิติผู้ป่วยที่มาตรวจที่แผนกผิวหนังของโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ พบได้ประมาณ 10 %


 5 . การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงิน ทำได้อย่างไร
  แพทย์ สามารถวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินจากการตรวจรอยโรคของผู้ป่วย  ไม่ต้องการการตรวจเลือด หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ   ในกรณีย์พิเศษที่พบน้อยมากคือ รอยโรคมีลักษณะต่างไปจากรอยโรคมาตรฐาน   อาจต้องทำการตัดตัวอย่างผิวหนังไปตรวจทางพยาธิวิทยา


6 . ผื่นสะเก็ดเงินมีกี่แบบ
  รอย โรคสะเก็ดเงินที่พบบ่อยที่สุดคือ  มากกว่า 80% ของผู้ป่วย   มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน หนา รูปร่างกลม   และมีสะเก็ดจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบผื่นผิวหนังได้อีกหลายลักษณะ  คือ
  -   ผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป   บริเวณลำตัวและแขนขา
  -   ผื่นเป็นตุ่มหนองตื้นบนรอยโรคสีแดง
  -   ผื่นแดงอักเสบบริเวณซอกรักแร้ ซอกขา
  -   ผื่นแดงลอกทั้งตัว


 7.  ผื่นสะเก็ดเงินพบบริเวณใดของร่างกายบ้าง
  ตำแหน่ง ที่พบบ่อยได้แก่ หนังศีรษะ  ผิวหนังที่มีการเสียดสี  แกะเกาเช่น  ศอก   เข่า  ลำตัว ก้นกบ   แต่ก็สามารถพบได้ทุกแห่งของร่างกาย ได้แก่   เล็บ   ฝ่ามือ   ฝ่าเท้า   อวัยวะเพศ  เป็นต้น การกระจายของผื่น มักจะเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย


8.   ใครมีโอกาสเป็นสะเก็ดเงินได้บ้าง
  การ คาดการณ์ว่าจะเกิดสะเก็ดเงินหรือไม่  สามารถทำได้แม่นยำ   ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน 1 ใน 3จะมีประวัติญาติเป็นสะเก็ดเงินด้วย   แต่การเกิดโรคไม่ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว


9.   โรคสะเก็ดเงินจะกำเริบได้จากสาเหตุใดบ้าง
  สิ่ง แวดล้อมที่มีหลักฐานว่ากระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่  การเสียดสี  การกระทบกระแทกแกะเกา  บาดแผล  ปัจจัยทางจิตใจและสังคมเช่น  ความเครียด  การดื่มเหล้า  โรคติดเชื้อ  คออักเสบ
 สารเคมีบางอย่าง เช่น  ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า  ยาจิตเวช เช่น  Lithium  ยาต้านมาเลเรีย เป็นต้น



10.   โรคสะเก็ดเงินมีอาการอื่น นอกจากผื่นผิวหนังหรือไม่
  ข้อ อักเสบจากโรคสะเก็ดเงินพบได้ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย   และมักพบความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย    อาการปวดข้อคล้ายโรคปวดข้อรูมาตอยด์    แต่อาการรุนแรงน้อยกว่า    ข้อและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ จะมีการอักเสบบวม   หากไม่ได้รับการักษาที่ถูกต้อง จะมีการทำลายของข้อ และ
 ทำให้ข้อผิดรูปถาวรได้   ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ ควรปรึกษาแพทย์ทันที


11.   การดำเนินโรค
  โรค สะเก็ดเงิน  เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเห่อและสงบสลับกันไป    ระยะเวลาโรคสงบอาจสั้นเป็นสัปดาห์ หรือยาวนานได้หลายปี    ส่วนใหญ่โรคจะสงบจากการได้รับการรักษาที่เหมาะสม และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่กล่าวข้างต้น


12.   การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
  การ รักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้อง   โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ และ ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมโรคให้สงบได้นาน   และทำให้ผู้ป่วย มีชีวิตในครอบครัว และสังคมอย่างมีความสุข   แม้ปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาใด ที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินหายขาดได้ 


  


ขอบคุณบทความจาก แผนกผิวหนัง โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ

Link    https://www.vibhavadi.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


อัพเดทล่าสุด