หลังการทำบอลลูนโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง โรคหัวใจรูห์มาติค


4,425 ผู้ชม


หลังการทำบอลลูนโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง โรคหัวใจรูห์มาติค

            หลังการทำบอลลูนโรคหัวใจ

คหลอดเลือดหัวใจตีบส่วนหนึ่งสามารถรักษาด้วยยา หรือการใส่สายสวนหัวใจ ซึ่งไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่แต่สามารถทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น

การทำบอลลูน angiography

ทางการแพทย์เรียก percutaneous tranluminal coronary angioplasty [PTCA]

คือการสวนสายผ่านทางผิวหนังเข้าหลอดเลือดหัวใจ เพื่อถ่างขยายหลอกเลือดแดงที่ตีบตัน ที่ปลายสายจะมี balloon ซึ่งจะเป่าลมขยาย balloon ซึ่งจะไปขยายบริเวณที่ตีบ และเมื่อเอาสายออก รูที่ถ่างจะคงขยายอยู่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจะเป็นสวนสาย

เมื่อไรจึงจะใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ

การใส่สายสวนหัวใจเป็นวิธีการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ แต่เนื่องจากการใส่สายสวน ก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได ้ดังนั้นจะต้องมีข้อบ่งชี้ในการตรวจ เช่น

  1. หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกซึ่งเหมือนกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่เรียกว่า Angina pectoris แพทย์อาจจะแนะนำท่านฉีดสี หรืออาจจะให้ท่านวิ่งสายพานก่อน หากผลวิ่งสายพานสงสัยว่าจะตีบมากแพทย์จะแนะนำให้ท่านฉีดสี
  2. ผู้ที่เจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina หรือ non Q mi

หากท่านเป็นโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบและมีอาการเจ็บหน้าอกแบบ unstable angina

การใส่สายสวนหัวใจทำอะไรได้บ้าง

  • Balloon angioplasty. เมื่อทราบตำแหน่งที่เส้นเลือดแดงตีบ แพทย์จะใส่สายที่ปลายเหมือนลูกโป่ง เมื่อฉีดลมเข้าไปลูกโป่งจะขยายดันส่วนที่ตีบให้ขยายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยง หัวใจเพิ่มขึ้น
  • Stent. A stentคือขดลวดเล็กๆเมื่อขยายหลอดเลือดเสร็จแพทย์จะใส่ขดลวดเล็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบซ้ำ ขดลวดมีด้วยกันกลายชนิดการเลือดใช้ก็ขึ้นกับพิจารณญาณของแพทย์
  • Rotoblation. ปลายของเครื่องมือจะเหมือนหินขัดเพื่อกรอส่วนที่ตีบ ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว
  • Atherectomy. ปลายเครื่องมือจะมีมีดไว้ตัดเอาส่วนที่ตีบออก ปัจจุบันไม่นิยมทำแล้ว

หลังขยายเส้นเลือดจะตีบอีกหรือไม่

หลังขยายผู้ป่วย หนึ่งในสามจะมีการตีบซ้ำ restenosis มักจะเกิดภายใน 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามผลการรักษาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ประโยชน์ของขดลวดขยายหลอดเลือด Stent

Stent คือขดลวดเล็กๆใส่เข้าหลอดเลือดแดงหลังจากถ่าง [balloon ]เรียบร้อยแล้วเพื่อป้องกันการตีบซ้ำ หลังใส่ขดลวดจะต้องกินยาละลายลิ่มเลือดสักระยะหนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง พบที่สำคัญคือ

  1. ขยายหลอดเลือกไม่สำเร็จ หลอดเลือดตีบหลังจากขยายทำให้เกิด heart attack จำเป็นต้องผ่าตัดต่อเส้นเลือดฉุกเฉิน
  2. ขณะเกิดหัวใจหยุดเต้นพบได้ร้อยละ 2-5

เตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ก่อนการทำแพทย์จะเลือด x ray หัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน
  • หากหูตึงต้องใส่หูฟังเพื่อการสื่อสารกับแพทย์
  • หากท่านป่วยด้วยโรคอะไรต้องบอกให้หมด
  • บอกชื่อยาที่รับประทานโดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด coumarin
  • แพทย์ยา แพทย์อาหารต่างๆต้องบอกแพทย์

ใช้เวลาในการขยายนานเท่าไร

ใช้เวลาในการขยายหลอดเลือดประมาณ 30 นาที-3 ชั่วโมง

จะต้องดมยาสลบหรือไม่

ใช้เพียงแค่ยาชาฉีดเท่านั้น และอาจให้ยาคลายเครียด เนื่องจากขณะขยายหลอดเลือดแพทย์จะต้องได้รับความร่วมมือ เช่น ไอ พลิกตัว หรือหายใจแรงๆ

ขณะขยายหลอดเลือดเจ็บหรือไม่

ขณะขยายหลอดเลือดจะไม่เจ็บแต่จะแน่นหน้าอกเมื่อแพทย์ฉีดลมเข้าใน balloon หลังขยายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ หลังจากขยายหลอดเลือดอาจจะมีอาการปวดแผลแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ผู้ป่วยพักในโรงพยาบาล 2-3 วันถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน

จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากขยายหลอดเลือด

หลังจากที่ตรวจเสร็จจะต้องนอนราบประมาณ8 ชั่วโมง อาจจะนอนหนุนหมอนสองใบหลังจากทำไปแล้วสองชั่วโมง ระหว่างนี้ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ

ต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีการตีบซ้ำแพทย์จะทำการใส่ขดลวด Stent แพทย์จะนัดผู้ป่วยวิ่งสายพานว่ามีการตีบของหลอดเลือดหรือไม่

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

Link   https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง

โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง’

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

-           หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ

-          โดยทุกๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน

-          วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยง ร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง

โรคลิ้นหัวใจ : ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้

โรคหลอดเลือดหัวใจ :  เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น

อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
  2.  อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
  3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร
  4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก

ขาบวม : อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไตขับเกลือไม่ได้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน การไหลเวียนไม่สะดวก ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายอาจไม่พบสาเหตุ การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างที่ขามากขึ้น

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ :  เป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะนี้เป็นความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน ผลที่ตามมาคือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น

หากคุณมีโอกาสลองคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอกด้านในหรือข้อมือของ ผู้สูงอายุจะพบว่า เป็นเส้นแข็งไม่ยืดหยุ่นเหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ซึ่งหินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับ ประทาน ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “ อายุ ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและเราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อมก็จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม

ความดันโลหิตสูง : สาเหตุของการที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง การลดความดันโลหิตที่สูงลง ก็จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตและลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือด ด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท

หัวใจเต้นผิดจังหวะ : หัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย คือ จากห้องบนหรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ และเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด : อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมัน โคเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ความเครียด เบาหวาน ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นเป็นทวีคูณ ……แหล่งข้อมูล : หนังสือ – เป็นโรคหัวใจทำอย่างไรดี

ด้วยความปรารถนาดีจาก

https://www.bionutric-hy.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


         โรคหัวใจรูห์มาติค

โรคหัวใจรูห์มาติค(Rheumatic heart disease)


         

by Doctor Heart

โรคหัวใจรูห์มาติค(Rheumatic heart disease)
        เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจถูกทำลายจากกระบวนการอักเสบ อันเป็นผลจากโรคไข้รูห์มาติค และตำแหน่งลิ้นหัวใจที่มักเป็นบ่อยที่สุดได้แก่ ลิ้นหัวใจไมตรัล(อาจทำให้เกิดลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ และ/หรือ รั่ว) และลิ้นหัวใจเอออร์ติค(ซึ่งทำให้เกิดลิ้นหัวใจ เอออร์ติครั่ว)


         โรคไข้รูห์มาติค(Rheumatic fever) เป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อคออักเสบ จากเชื้อ Streptococcus group A ซึ่งมักเป็นหลังจากเกิดคออักเสบ 2-4 สัปดาห์ มักเกิดในเด็กอายุประมาณ 5-15 ปี          โรคนี้ไม่ค่อยพบในประเทศทางตะวันตกเนื่องจากมีการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างกว้างขวางในการรักษาการติดเชื้อ streptococcus
ส่วนอาการแสดงของโรคไข้รูห์มาติคมีหลายแบบ ในรายที่มีหัวใจอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีผลตามมาคือเกิด โรคหัวใจรูห์มาติคในภายหลังได้


การวินิจฉัยโรคไข้รูห์มาติค โดยใช้ modified Jones criteria,updated1992:

ถ้ามีอย่างน้อย 2 major criteria or 1 major plus 2 minor criteria ร่วมกับหลักฐานการติดเชื้อstreptococcusมาก่อน (เช่น มี ASO titer เพิ่มขึ้น, Positive throat culture for Group A beta-hemolytic streptococci) ถือว่าสนับสนุนการวินิจฉัยโรคนี้

Major criteria
1."J" Migratory polyarthritis
ข้ออักเสบคือมีอาการปวดบวมแดงร้อนของข้อ และมีการเคลื่อนย้ายจากข้อหนึ่งไปยังข้ออื่น เป็นเฉพาะข้อใหญ่ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อศอก และพบน้อยมากที่จะเป็นที่ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อกระดูกหลัง
2."O" Carditis
มีการอักเสบของหัวใจอาจเป็นที่เยื่อหุ้มหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว,หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ลิ้นหัวใจอักเสบซึ่งทำให้เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่วตามมา มีรายงานพบว่า 80% ของรายที่มี Sydenham's chorea จะมีอาการทางหัวใจร่วมด้วย
3."N" Subcutaneous nodule
ไม่เจ็บ ลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามหลังข้อมือ ข้อศอก หัวเข่า พบได้ไม่บ่อย มักเกิดหลัง 1 สัปดาห์ของการเกิดโรค และมักจะหายไปภายใน 1 - 2 สัปดาห์


4."E" Erythema marginatum
ลักษณะเป็นผื่นแดงแบนราบขึ้นตามลำตัวหรือแขน ไม่ขึ้นบริเวณหน้า ไม่มีอาการคัน มีขอบคดเคี้ยวคล้ายงู ตรงกลางผื่นจะจางหายไป และผื่นจะเป็นมากขึ้นในอากาศร้อน มักเห็นตั้งแต่ระยะแรกของไข้รูห์มาติค

5."S" Sydenham's chorea
ส่วนใหญ่จะพบในระยะท้ายของโรค, ลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เร็วผิดปกติแบบไร้จุดหมายของกล้าม เนื้อส่วนหน้าแขนขา ลำตัว (ถูกค้นพบโดย Thomas Sydenham ในปี ค.ศ.1686) ประมาณ 50%ของคนไข้จะหายได้เองภายใน 9เดือน - 2ปี(37)


Minor criteria
1.Fever
2.Arthralgia
3.Acute phase reactant: increased ESR or CRP
4.ECG:prolonged PR interval

การรักษา
-Primary prevention คือการป้องกันการเกิดโรคไข้รูห์มาติค โดยการให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีคออักเสบจากเชื้อ streptococcus groupA ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกปี2001

-Secondary prevention คือการป้องกันไม่ให้เกิด rheumatic heart disease ในรายที่เป็นโรคไข้รูห์มาติคแล้ว ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกปี 2001

     การรักษา acute rheumatic fever ประกอบด้วย
1. การให้ยาเพื่อลดการอักเสบ
-ยาตัวสำคัญที่ใช้คือ aspirin ซึ่งจะช่วยลดไข้และข้ออักเสบได้ดี โดยใช้ขนาดสูง 80-100mg/dayในเด็ก และ 4-8g/dayในผู้ใหญ่ ส่วนผื่นมักเป็นชั่วคราวและหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการคัน สามารถใหัยากลุ่ม antihistamine ได้
-ระยะเวลาการให้ยาลดการอักเสบ ควรให้จนกว่าการอักเสบจะหายหมดและผลเลือด ESR,CRP กลับมาเป็นปกติ
-ในกรณีที่มี carditis ร่วมด้วย นอกจากจะรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเช่น หัวใจล้มเหลว,third degree AV block แล้ว ยังจะต้องให้ corticosteroidด้วย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นผลดีของการให้ corticosteroid อย่างชัดเจน
สำหรับdose ของ corticosteroid ที่ใช้คือ oral prednisone 2mg/kg/day เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ และค่อยๆลดขนาดลงในอีก 2 สัปดาห์โดยดูตามอาการและผลเลือด
2. การกำจัดเชื้อ Group A betahemolytic streptococcus
โดยการให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin เป็นเวลา 10 วันโดยไม่จำเป็นต้องดูว่ามีคออักเสบร่วมด้วยหรือไม่ โดยขนาดที่ใช้เหมือนกับการรักษาใน primary prevention
3. การป้องกัน recurrent cardiac disease
โดยการให้ยาปฏิชีวนะตามการรักษา secondary prevention โดยมีระยะเวลาที่ให้ตาม WHO guideline 2001 ดังนี้(39)
-รายที่ไม่มี carditis ให้อย่างน้อย 5ปีตามหลังการวินิจฉัยโรคไข้รูห์มาติค หรือจนกระทั่งอายุ 18ปี
-รายที่มี mild mitral regurgitation ให้อย่างน้อย 10ปีหรือจนกระทั่งอายุ 25ปี
-รายที่มี severe valve disease และ/หรือหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ให้ยาตลอดชีวิต

การรักษา rheumatic heart disease
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ ซึ่งถือว่าเกือบทั้งหมดเกิดจาก rheumatic heart disease
1.การรักษาสำหรับ asymptomatic MS ดูตามแผนภูมิของ ACC/AHA guideline 2006
2.การทำ intervention (PBMV,commissurotomy,mitral valve replacement)(อ้างอิงตามACC/AHA guideline 2006)(41)
2.1 Mild MS (mitral valve area >1.5cm2) มักจะไม่ทำ PBMV ยกเว้นกรณี PASP>60mmHg, valve gradient>15mmHg และลักษณะ valve เหมาะสมที่จะทำ PBMV(class IIb recommendation)

2.2 Moderate to severe MS ให้พิจารณาทำ PBMV โดยต้องไม่มี LA clot และ +3-+4 mitral regurgitation และถ้าไม่เหมาะสมที่จะทำ PBMV ก็จะพิจารณาทำ commissurotomy , mitral valve replacement แทน
3.การให้ยารักษา(medical treatment)
-diuretics ถ้ามีอาการของหัวใจล้มเหลว หรือเหนื่อยง่ายเช่น PND
-digoxin กรณีมี AF ร่วมด้วย หรือมีอาการของ LV/RV systolic dysfunction
-beta blocker ช่วยลด heart rate และช่วยลด transmitral gradient
-anticoagulant กรณีมี AF หรือเคยมี embolic event มาก่อน โดยให้ได้ค่า INR 2-3

 Link         https://www.perfectheart.co.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด