โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


1,589 ผู้ชม


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

            โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

รูปภาพของ sss513809

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
       ปกติ หัวใจของคนเรา (ชีพจร) จะเต้นประมาณ 72-80 ครั้งต่อนาที จังหวะสม่ำเสมอ และแรงเท่ากันทุกครั้ง ภายหลังการออกกำลัง ตื่นเต้นตกใจ ดื่มชากาแฟหรือเหล้า สูบบุหรี่ กินยาเข้ากาเฟอีน หรือเป็นไข้ ชีพจรอาจเต้นเร็วกว่านี้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติธรรมดา คนที่ออกกำลังสม่ำเสมอ ชีพจรอาจเต้นช้ากว่านี้ได้ แสดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะแข็งแรง (ฟิต)เต็มที่ แต่ในคนที่มีความผิดปกติของหัวใจก็อาจมีชีพจรผิดปกติ เช่น เต้นช้าไป หรือเร็วไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เป็นจังหวะ เราจึงเรียกรวม ๆ ว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายอย่างด้วยกัน
       หัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง เกิดจากมีจุด หรือตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

          มักไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ หรือมีวงจรลัดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อาการ

        ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย บางคนอาจเพียงแต่บ่นว่ารู้สึกใจสั่น หรือใจวูบหายเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ หรือสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ๆ อาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด วิงเวียน เป็นต้น


การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  ใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ electrocardiogram อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะ ตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจ อาจไม่พบความผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter monitoring ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดหนึ่ง

วิธีการรักษา

         ถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความ เครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณี หัวใจ เต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้าในปัจจุบันมีวิธีจะรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 95 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้า ผ่านสาย สวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวสามารถทำได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในประเทศไทย

นอกจากนี้ในวารสารสมาคม อายุรแพทย์หัวใจในอเมริกา (American Heart Association s Journal) ยังแนะนำให้กินปลาทูน่า หรือปลาอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการย่าง นึ่ง อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้โดยเฉพาะในกลุ่มทั้งหญิงและชายที่สูงอายุ

     Link    https://www.thaigoodview.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คลื่นไฟฟ้า รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 12:17 น.
 
  ไม่ต้องบินไปถึงเมืองนอกเมืองนาแล้ว สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดเอเอฟ (Atrial fibrillation-AF) เพราะในขณะนี้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ล่าสุด

ที่ ศูนย์รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กัน อาการนี้เกิดจากการสร้างสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งมักสัมพันธ์กับความเสื่อมของร่างกาย การดื่มสุรา หรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น รู้สึกไม่สบาย ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ บางรายอาจพบลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตราย หากลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดในอวัยวะสำคัญ อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วย 5-7 คน ใน 100 คน หรือ 2 เท่าของผู้ที่หัวใจเต้นปกติ

เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในอันดับต้นๆ มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจประมาณ 4 หมื่นรายต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 4 ราย ทั้งนี้คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการวิจัยและพัฒนากระบวนการรักษาเพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเปิดศูนย์บำบัดผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ดูแลผู้ป่วยครบวงจร

ด้าน ผศ.นพ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ หัวหน้าศูนย์รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล่าวว่า ปกติจุดกำเนิดของไฟฟ้าหัวใจอยู่ที่ห้องขวาบน ธรรมดาไฟฟ้าจะวิ่งจากบนผ่านลงมาข้างล่าง สำหรับภาวะปกติอยู่ที่ 60 ครั้งต่อนาที ส่วนไฟฟ้าที่ลัดวงจรเกิดจากการที่ระบบทำงานไหลเวียนไม่เป็นระเบียบ จากที่วิ่งบนลงล่าง ยังมีบางส่วนที่วิ่งจากล่างขึ้นบน ทำให้เกิดการลัดวงจร เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้นเร็ว จากเดิม 60 ครั้งต่อนาที เป็น 180 ครั้งต่อวินาที ซึ่งเป็นอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็ว อาจมีการนำกระแสไฟฟ้ามาที่ห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วด้วย ซึ่งส่งผลให้สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อย หน้ามืดเป็นลมได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ จะมีสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจมากหลายจุด 1 นาที มีวงจรไฟฟ้าเต้นอยู่ 350 ครั้งต่อนาที ทำให้หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นระเบียบ คุณหมอ อธิบาย

คุณหมออธิบายต่อว่า สมัยก่อนการรักษาจะใช้ยาควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ คือ การสวนหัวใจด้วยสาย สวนด้วยระบบคาร์โต (Carto system) การผ่าตัดขนาดเล็ก และการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ซึ่งการใส่สายสวนเข้าไปต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกะพริบสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ ในการหาจุดหัวใจที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ และจี้ด้วยวิทยุคลื่นความถี่สูง เรียกว่า การรักษาโรคหัวใจเต้นเร็วด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) โดยใช้กลไกความถี่สูงตามวัตต์ที่ต้องการ จี้เสร็จหัวใจก็กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ส่วนใหญ่บริเวณที่จี้จะเป็นเนื้อเยื่อหัวใจด้านบนซ้าย

คนไข้หนึ่งในจำนวนผู้ที่ได้รับการรักษาคือ พีระพงษ์ สุทธนารักษ์ อายุ 41 ปี บอกว่า เริ่มมีอาการตอนอยู่สหรัฐอเมริกา ช่วงแรกนึกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่เมื่อไปตรวจ หมอบอกว่าเป็นเอเอฟ ส่วนตัวแล้วรู้สึกงง เพราะไม่รู้ว่าเอเอฟคืออะไร จนกระทั่งกลับมาที่เมืองไทย และเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ก่อนผ่าตัดอาการที่พบคือ หัวใจเต้นมั่วมาก ไม่เป็นจังหวะ ใจสั่น ท้องเสีย ตอนนั้นกลัวว่าจะเป็นหัวใจวายตายมาก สุดท้ายมาเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งก็เหมือนการผ่าตัดทั่วๆ ไป มีการเตรียมตัว 2-3 วัน

ด้าน พิจิตร อยู่ในศีล วัย 71 ปี ผู้เข้ารับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เล่าว่า ตอนนั้นมีอาการหัวใจเต้นเร็วมาก หน้ามืด รักษาตัวเองมาตลอด แต่ยังไม่หาย จนกระทั่งมารักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี หลังจากผ่าตัดด้วยเทคนิคใหม่แล้ว ปรากฏว่าอาการที่เคยเป็นไม่กลับมาเป็นอีก ทำงานได้ตามปกติ เดิน 4-5 กิโลเมตรได้โดยไม่เหนื่อย ยกของหนักได้เหมือนเดิม โดยไม่มีผลกระทบใดตามมา และการเข้ารับการรักษาก็ใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่นาน

ผศ.นพ.ครรชิต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ค่ารักษาผู้ป่วยเป็นเอเอฟตกประมาณ 1 แสนบาท สำหรับเทคนิคการผ่าตัด อย่างไรก็ตามทีมแพทย์จะเป็นคนเลือกวิธีการรักษาเอง ว่าใครเหมาะสมกับวิธีการไหน

สำหรับผู้ที่สนใจ เรื่องโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ramacvmc.org

 
 
 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
 

             โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

บาหวานกับอัมพาต
ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือ Stroke เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- เกิดจากเส้นเลือดตีบจากตะกรันที่เกาะหลอดเลือดอยู่เดิม( Atherosclerosis)
- เกิดจากเส้นเลือดแตกและทำลายเซลล์สมอง
- เกิดจากเลือดแข็งตัว (Clot) แล้ววิ่งไปอุดเส้นเลือดที่สมอง ซึ่งผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ Arterial Fibrillation (AF) จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
AF เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ AF อาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ พบได้บ่อยกับคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษและผู้ที่มีลิ้นหัวใจรั่ว (Rheumatic Heart) AF ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไม่เป็นจังหวะ เลือดอาจคั่งค้างที่หัวใจด้านซ้ายส่วนบนแล้วเกิดแข็งตัวเป็นก้อนขึ้น ก้อนเลือดนี้อาจหลุดและวิ่งไปตามเส้นเลือดและไปสู่สมอง ทำให้เส้นเลือดสมองอุดตันได้

Stroke กับความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิด Stroke โดยเฉพาะ Strokeที่เกิดจากการที่เส้นเลือดในสมองแตก ความดันโลหิตตัวบนเป็นตัวสำคัญที่มีผลต่อการเกิดเส้นเลือดแตก ดังนั้นการควบคุมระดับความดันโลหิตจึงมีความสำคัญมากสำหรับการป้องกันการ เกิดอัมพาต เนื่องจากความดันโลหิตสูงมักพบ Stroke ในตอนเช้า อาการคือตื่นขึ้นมาแล้วเกิดล้มลง ผู้ที่ล้มลงแล้วเป็นอัมพาตนั้น ส่วนใหญ่เกิดอัมพาตขึ้นก่อนทำให้แขนขาไม่มีแรงแล้วจึงล้มลงไม่ใช่เกิดอัมพาต จากการล้มนั้น
 อาการเตือนของ Stroke ที่ต้องระวัง มีดังนี้
- แขนขาไม่มีแรงซีกหนึ่ง
- ความคิดสับสน
- มึนงง เดินแล้วจะล้ม
- มีปัญหาการมองเห็น เช่น ตามัว เห็นภาพซ้อน
- ปวดศรีษะอย่างมากจากการที่เลือดออกในสมอง
Stroke ในเบาหวานป้องกันด้วย
แม้โรคเบาหวานจะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Stroke แต่ผู้เป็นเบาหวานสามารถลดความเสี่ยงนั้นให้กับตนเองได้ด้วยการควบคุม ABCC ได้แก่
- A( Hemoglobin A1C) ควบคุมระดับHemoglobin A1C ให้ต่ำว่า 7%
- B (Blood Pressure) ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้ต่ำว่า 200 มก./ดล.
- C (Cholesterol) หยุดสูบบุหรี่
TIA เตือนหลอดเลือดจะตีบ
- Transient lschemic Attack หรือ  TIA คือการอ่อนแรงของแขนขาหรือพูดไม่ชัดชั่วระยะหนึ่งแล้วหายไป อาการอาจเกิดอยู่เพียงชั่วโมงเดียวหรือหลายชั่วโมงก็ได้ TIA คือสัญญาณเตือนว่าหลอดเลือดกำลังจะตีบ เกิดได้บ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะผู้เป็นเบาหวานมีหลอดเลือดตีบตันอยู่ทั่วร่างกาย
 
           Link   https://www.thaigtf.com
 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

อัพเดทล่าสุด