การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโต โรคหัวใจโต และวิธีรักษา โรคหัวใจโตไม่ควรกินผลไม้อะไรบ้าง


94,623 ผู้ชม


การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโต โรคหัวใจโต และวิธีรักษา โรคหัวใจโตไม่ควรกินผลไม้อะไรบ้าง

           การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโต

 แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

พลังงานที่ร่างกายต่อวัน | ปริมาณโปรตีนที่ต้องการ | ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องการ | ปริมาณไขมันที่ต้องการ | โซเดียม | เส้นใยอาหาร

 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน | เลือกบริโภคอาหารโปรตีนไขมันต่ำ | รับประทานผักและผลไม้ | เลือกรับประทานwhole grain |
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน 

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

      ในแต่ละวัน ร่างกายคนเราต้องการพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และไม่มีอาหารชนิดใดที่มีสารอาหารครบถ้วนทุกประเภทตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้น เราจึงต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นต่อร่างกาย

 พลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ประมาณ 1600-2800 คาลอรี่ต่อวัน
          มีหน่วยวัดเป็นคาลอรี่ ร่างกายต้องการพลังงานในแต่ละวันแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับกิจกรรม งานที่ทำ, ขนาดร่างกาย, อายุ, เพศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราสามารถประมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ดังนี้
     1,600 คาลอรี่ สำหรับเด็กอายุ 2-6 ขวบ,ในผู้หญิงปกติ, ในผู้สูงอายุ
     2,000 คาลอรี่ สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป
     2,200 คาลอรี่ สำหรับเด็กโต, วัยรุ่นผู้หญิง, ผู้หญิงที่ทำงาน และในผู้ชายส่วนใหญ่
     2,800 คาลอรี่ สำหรับวัยรุ่นผู้ชาย, ในผู้ชายที่มีกิจกรรมหรือการทำงานหนัก
 ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งเนื่อเยื่อต่างๆมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้โปรตีนยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเลือด, ฮอร์โมน, เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย    ; โปรตีน พบได้ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากนม, อาหารประเภทถั่ว
         ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ต่อวัน
 ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
         ร่างกายต้องการคาร์โบโฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ คาร์โบโฮเดรตพบได้ในอาหารประเภทแป้ง(เช่น ข้าว, ขนมปัง, ธัญพืช )และน้ำตาล 
         ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน หรือประมาณ 130 กรัม
         เราควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างเชิงซับซ้อน เช่น จากอาหารประเภทแป้ง มากกว่าน้ำตาลธรรมดาซึ่งได้จากขนมหวาน, สารให้ความหวาน เพราะร่างกายจะดูดซึมคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้ช้ากว่า น้ำตาลธรรมดา ทำให้ร่างกายเรา มีพลังงานที่ได้ใน ระยะเวลานานขึ้น และนอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อน จะให้สารอาหารหลายอย่าง รวมทั้งเส้นใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกายด้วย
 ปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง(ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 คาลอรี่ เทียบกับโปรตีนและ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 คาลอรี่) และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน ที่ต้องละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ , ดี, อี, เค (vitamin A, D, E, K)
          ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ และยังช่วยในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากสารที่จำเป็นในระบบภูมิคุ้มกัน จะมีไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารควบคุมร่างกายที่เราเรียกว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุม ความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, การหดตัวของเส้นเลือด, การแข็งตัวของเลือด และการทำงาน ของระบบประสาท 
          แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ, เพิ่มความเสี่ยง การเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน และมะเร็งบางชนิด
          อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน จะมีไขมันที่สามารถแบ่งประเภทได้ ทั้งหมด 4 ประเภทคือ
   -ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) พบได้ในอาหารประเภท เนย, นม, ครีม, ไข่, เนื้อ, สัตว์ปีก, ช็อกโกแลต, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ได้แก่ น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันเมล็ดฝ้าย
   -ไขมันชนิด trans fat มักพบในอาหารประเภท เนยเทียม(margarine), สารประเภท shortening, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated มักพบในอาหารประเภท อโวคาโด, ถั่วลิสง, เกาลัด, มะกอก

           ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน 
ซึ่งเราสามารถลดปริมาณไขมันในอาหารได้ โดยเลือกบริโภคอาหารจำพวกที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา, สัตว์ปีกไม่ติดหนัง, ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำตามธรรมชาติ เช่น ผักผลไม้, ธัญพืช เป็นต้น
 ไขมันอิ่มตัว ไม่ควรเกิน 10% ของพลังงานคาลอรี่ทั้งหมดที่บริโภคต่อวัน
ไขมันอิ่มตัว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โดยการจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์, เนย, เนยแข็ง, นมสด, ครีม, ไข่ รวมทั้งอาหารที่ทำมาจากช็อคโกแลต, สารพวกshortening, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันหมู
      อาหารที่มาจากสัตว์ทั้งหมด จะมีโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์, ไข่แดง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมสด
      การจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอล ควรทำร่วมกับการจำกัดอาหารที่มี่ไขมันอิ่มตัวสูงด้วย ทั้งนี้เพราะ  ตัวการสำคัญที่ทำให้ ระดับ   โคเลสเตอรอล ในเลือดสูง คือ ไขมันอิ่มตัว นั่นเอง

 ไขมันชนิด trans fat 
มีผลเหมือนกับไขมันอิ่มตัวคือทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ไขมันชนิด trans fat มีส่วนประกอบเป็น กรดไขมันชนิด trans-fatty acid เกิดจากกระบวนการทางเคมี โดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช กระบวนการนี้เรียกว่า Hydrogenation ผลที่ได้คือ ทำให้ไขมันมีสถานะเป็นก้อนอยู่ได้ คงรูปร่างได้ ดีขึ้น และไม่เหม็นหืน เหมือนน้ำมันปกติ ประโยชน์ นำเอามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารจำพวก ขนมเค๊ก, คุกกี้, แครกเกอร์, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์, สารshortenings, มาการีนบางชนิด
           ดังนั้น ทุกครั้งที่เลือกอาหารที่มีฉลากแสดงสารอาหาร ให้ดูว่ามีคำว่า Hydrogenated หรือ Partially hydrogenated หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการมีไขมันชนิด trans fat อยู่ ให้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะบริโภค

 ไขมันไม่อิ่มตัว 
ทั้งชนิด Polyunsaturated และ Monounsaturated สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

 โซเดียม
ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 
สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปี, คนผิวดำ, คนที่โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวาน ควรจำกัดการบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน
ส่วนใหญ่ของโซเดียมในอาหาร มาจากกระบวนการเตรียมและปรุงอาหาร, ซุปกระป๋อง, ผักกระป๋อง, อาหารกระป๋อง, อาหารแช่เข็ง, อาหารประเภทเบคอน, ไส้กรอก, แฮม
  เส้นใยอาหาร
          ควรบริโภคในปริมาณ 21-38กรัมต่อวัน
          เส้นใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายไม่ย่อยและดูดซึม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ พวกเส้นใยประเภท soluble กับ เส้นใยประเภท insoluble
 เส้นใยประเภท insoluble จะช่วยเพิ่มกากอุจจาระ และป้องกันท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้ในอาหารประเภท ผัก รำข้าว เมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
 เส้นใยประเภท soluble อาจช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดได้ พบได้ในอาหารประเภท ข้าวโอ๊ต, ฝักถั่ว, แอปเปิ้ล, ส้ม, สตรอเบอรี่, องุ่น
          ปริมาณเส้นใยอาหารที่แนะนำต่อวันคือ
              38 กรัมในผู้ชาย 25 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
              30 กรัมในผู้ชาย 21 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50ปี
สรุปคำแนะนำในการบริโภคอาหาร..................................................................
ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันอิ่มตัว บวก ไขมัน trans fat 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดPolyunsaturated 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดMonounsaturated 10- 15 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน


อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

         โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน 
         ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น ดังนี้
1. จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
2. เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
3. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
4. เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
5. บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

  จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
          การจำกัดการบริโภคอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวและไขมัน ชนิด trans fat ร่วมกับจำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ และเนื่องจากโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมของ plaque(ส่วนของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด) ทำให้รูของเส้นเลือดแดงเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ
.......คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารประเภทไขมัน
ไขมันอิ่มตัวและ trans fat ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated ควรบริโภค 10%-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
โคเลสเตอรอล ควรบริโภคน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน 

          ดังนั้นจึงควรงดบริโภคอาหารประเภท เนย, มาการีนชนิดที่เป็น hydrogenated, สารที่ทำให้แป้งกรอบ,หลีกเลี่ยงการรับประทาน ครีม, เกรวี่ รวมทั้งในการประกอบอาหารก็ควรงดการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว แต่เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
 เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
          อาหารหลายประเภทเช่น เนื้อสัตว์, เป็ดไก่, ปลา, นม, ไข่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้โปรตีน แต่บางชนิดจะมีปริมาณ ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารโปรตีน ควรเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล
          ตัวอย่างเช่น ถ้าจะรับประทานนมก็ควรเลือกนมพร่องมันเนย, นมสูตรไขมันต่ำ(low fat) มากกว่าที่จะทานนมสด, การรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานในส่วนที่ไม่ติดมัน, งดรับประทานในส่วนที่เป็นหนัง,งดการรับประทานเครื่องในสัตว์ เพราะมีปริมาณ โคเลสเตอรอลสูง การรับประทานไข่ก็ควรเลือกเฉพาะไข่ขาว งดรับประทานไข่แดงเนื่องจากมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง
          นอกจากนี้อาจเลือกรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เช่น อาหารประเภทถั่ว, ถั่วเหลือง, การรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ยังมีไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และป้องกันภาวะหัวใจวายได้ด้วย
 รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่เป็นแหล่งของวิตามิน, เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่เรียกว่า phytochemicals ซึ่งพบในพืช และช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
       แนะนำบริโภค
– ผักผลไม้สดหรือแช่เย็น
- ผักกระป๋องชนิดที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่อยู่ในน้ำผลไม้
      งดบริโภค 
- มะพร้าว
- ผักที่ผ่านกระบวนการทอด
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่แช่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น
 เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
whole grain จะเป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหาร และยังมีวิตามินเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ thiamine, riboflavin, niacin, folate, selenium, zinc, iron
      แนะนำบริโภค
– แป้งข้าวเจ้าที่ไม่ได้เอารำออก (whole wheat)
- ขนมปังชนิดที่ทำจาก whole grain หรือ whole wheat
- ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง
- พาสต้าชนิด whole grain
- ข้าวโอ๊ตบดหยาบ
       งดบริโภค 
- มัฟฟิน
- วาฟเฟิล
- โดนัท บิสกิต ขนมเค็ก พาย เส้นหมี่ที่ทำจากไข่
- ข้าวโพดอบเนย
 บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน
การบริโภคที่ไม่มากเกินไป ให้พอเหมาะและสมดุลกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินพอในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาไ

           Link          https://www.thaiheartclinic.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                 โรคหัวใจโต และวิธีรักษา

ผมมีปัญหาขอเรียนถามคุณหมอถึงสาเหตุของโรค “หัวใจโต” ครับ 
1. หัวใจโตเกิดจากสาเหตุอะไร 
2. จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ โตได้อย่างไร 
3. เมื่อเกิดเป็นโรคหัวใจโตแล้ว จะมีวิธีปฏิบัติตนอย่างไร 
4. การรักษาโรคหัวใจโต รักษาได้อย่างไร 
5. คนที่เป็นโรคหัวใจโตจะมีอาการอย่างไรบ้าง 
6. โรคหัวใจโตรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ขอความกรุณาคุณหมอช่วยชี้แนะด้วยนะครับ 

- นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ : ผู้ตอบ
หัวใจโตเป็นภาวะที่ห้องหัวใจ 4 ห้อง (ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้ายห้องบนขวา และห้องล่างขวา) ห้องใดห้องหนึ่ง หรือหลายห้องมีขนาดโตขึ้นกว่าปกติ ส่วนใหญ่แพทย์จะหมายถึงหัวใจห้องล่างซ้าย และ/หรือล่างขวาโต 

การตรวจร่างกายมักจะบอกได้ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องล่างขวา หรือทั้ง 2 ห้องโต สำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography หรือECG) มักบอกได้ว่าหัวใจ 4 ห้องห้องใดโตบ้าง นอกจากนี้ ยังบอกได้ว่าผนังหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาหนากว่าปกติหรือไม่ การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (chest x-ray) สามารถบอกได้ว่าหัวใจ 4 ห้อง ห้องใดโตกว่าปกติบ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าวิธีการถ่ายเอกซเรย์ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ผู้ป่วยหายใจเข้าไม่เต็มที่ กลั้นหายใจไม่ได้ หรือมีภาวะที่ทำให้ช่องทรวงอกเล็กลง เช่น มีน้ำในช่องท้อง ทำให้กะบังลมถูกยกสูงเข้ามาในช่องทรวงอก จะทำให้ผลเอกซเรย์ทรวงอกมีลักษณะเงาหัวใจโต ซึ่งจริงๆแล้วขนาดของหัวใจไม่โตเลย ดังนั้น อาจจะต้องตรวจมากกว่า 1 อย่างข้างต้น เพื่อที่จะบอกว่ามีภาวะหัวใจโตจริง 

ผู้ป่วยหลายรายที่ผมเคยตรวจมักจะได้รับการบอกเล่าจากแพทย์ว่าหัวใจโตเล็กน้อย เพราะเอกซเรย์ทรวงอกดูเงาหัวใจโตขึ้นกว่าปกติ แต่เมื่อตรวจร่างกาย คลื่นหัวใจก็มักจะบอกได้ว่าหัวใจไม่ได้โตกว่าปกติเลย หรือถ้ายังสงสัย อาจตรวจวัดขนาดหัวใจโดยตรงด้วยวิธีพิเศษ เช่น การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหัวใจ (echocardiography หรืออัลตราซาวนด์หัวใจ) ว่าหัวใจโตจริง หรือไม่โตมากน้อยเพียงใด ถ้าหัวใจโตจริงควรจะต้องหาสาเหตุ และรีบแก้ไขครับ 

                                           
ขอตอบปัญหาคุณเป็นข้อๆดังนี้ครับ
1. สาเหตุของการเกิดหัวใจโต (หมายถึงหัวใจห้องล่างโต) มีมากมายครับ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรค กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้หัวใจบีบตัวน้อยลงกว่าปกติ ทำให้เลือดค้างในหัวใจมาก หัวใจจึงค่อยๆโตขึ้น หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้มีเลือดย้อนกลับมาในห้องหัวใจมากขึ้น ทำให้หัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับสาเหตุในแต่ละบุคคลนั้นหากอยากทราบว่าเกิดจากอะไร คงต้องให้แพทย์ ถามประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมครับ
 
2. การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจโตก็คือ การรักษาบรรเทาต้นเหตุที่ทำให้หัวใจโต เช่น ถ้าลิ้นหัวใจรั่วก็คงต้องกินยาที่ช่วยลดการรั่วของลิ้นหัวใจ และอาจต้องผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจที่รั่ว ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากดื่มเหล้ามากเป็นเวลานาน หรือขาดวิตามินบี 1 การหยุดดื่มเหล้าและได้รับวิตามินบี 1 ก็ทำให้หัวใจเล็กลงได้ 

3. เมื่อเกิดเป็นโรคหัวใจแล้วคงต้องตรวจดูให้รู้แน่ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจึงบอกได้ว่าควรปฏิบัติ อย่างไรให้เหมาะสมกับโรคนั้น แต่โดยหลักทั่วๆไปในผู้ป่วยโรคหัวใจคือ ให้หัวใจได้พัก ไม่ต้องทำงานหนัก เช่น หลีกเลี่ยงการออกแรงมาก โมโห ฉุนเฉียว หรือดูหนังดูละคร เล่นเกมที่ตื่นเต้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว การทำให้จิตใจสงบ สบาย ปล่อยวางจากกิเลสตัณหา และความเครียดทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยการสวดมนต์ ไหว้พระ เจริญสติ สมาธิฟังเทศน์ ฟังธรรม ทำให้หัวใจทำงานเบาลง 

การออกกำลังที่เหมาะสมก็ คือการเดิน โดยเฉพาะเดินจงกรม วันละ 45 ถึง 60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ถึง 4 ครั้ง เรื่องอาหารการกินก็สำคัญควรกินอาหารไทยๆ ที่อุดมไปด้วยพืชผักธัญพืชและไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารจีนที่มีเนื้อสัตว์และไขมันมาก งดเว้นอาหารฝรั่ง ฟาสต์ฟู้ด หรือขนมนมเนยที่หวานมันจัด 

4. หัวใจโตไม่ใช่โรคโดยตรงแต่เป็นภาวะที่หัวใจขยายใหญ่ขึ้นจากโรคที่เกิดที่หัวใจ ดังนั้นการรักษาคงต้องรักษาโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจโต เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากเหล้า ก็ต้องหยุดดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส ยังไม่มียาฆ่าไวรัสโดยตรง ก็ต้องรักษาโดยการพักผ่อน ทั้งกายและจิตใจ กินอาหารให้ถูกต้อง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายกลับมาปกติ สามารถกำจัดการอักเสบจากเชื้อไวรัสได้ 

5. อาการของภาวะหัวใจโตที่เกิดกับผู้ป่วย อาจเกิดจากสาเหตุของโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจโตเอง เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นกลางหน้าอก ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจโตขึ้นได้ หรืออาการอาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายโต เพราะบีบตัวน้อยลง เลือดจะคั่งอยู่ในปอด ทำให้เหนื่อยง่าย เพราะปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง เวลากลางคืนอาจต้องนอนยกหัวให้สูง นอนราบไม่ได้ เพราะจะแน่นหน้าอก ต้องลุกมานั่งจะดีขึ้น ถ้ามีหัวใจห้องล่างขวาโตทำให้เลือดคั่งอยู่ในตับและที่เท้า ทำให้แน่นจุกบริเวณลิ้นปี่เพราะตับโต และเท้าบวมได้ หรืออาการหัวใจโตอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ จนเกิดอาการใจสั่น เป็นลมหน้ามืด หมดสติ หรือแม้แต่เสียชีวิตเฉียบพลันได้ 

6. ภาวะหัวใจโต โดยเฉพาะในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ในบางสาเหตุ เช่น หัวใจโตจากการดื่มเหล้ามาก หรือขาดวิตามินบี 1 แต่ในบางสาเหตุ หรือในระยะท้ายของโรคที่หัวใจมีขนาดใหญ่โตมาก อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจที่รั่วมาก 

การรักษาด้วยยา (ยังไม่มียาที่ทำให้ลิ้นหัวใจหายรั่วได้) และการผ่าตัดแก้ไขอาจทำได้ในระยะต้นของภาวะหัวใจโต แต่ถ้าทิ้งไว้นานเกินไปโดยไม่ได้ตรวจรักษาสม่ำเสมอ อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แม้แต่ในการผ่าตัด ในกรณีเช่นนี้อาจจะถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในรายที่หัวใจโตมาก หรืออาการหัวใจวายมาก 

ดังนั้นผู้ป่วยที่หัวใจโต แม้ว่าอาการจะไม่มาก หรือไม่มีอาการ ควรจะต้องได้รับการตรวจดูแลรักษาและติดตามเป็นระยะสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าหัวใจโตมากขึ้นหรือไม่ ถึงเวลาจะต้องผ่าตัดหรือยัง เพราะถ้าทิ้งไว้จนหัวใจโตมากเกินไป การผ่าตัดในช่วงนั้นจะไม่ช่วยให้ดีขึ้น

         Link    https://doctor.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

               โรคหัวใจโตไม่ควรกินผลไม้อะไรบ้าง

เคล็ดลับสุขภาพ
อาหารต้องห้าม..ยามป่วย


         "เคยได้ยินกันไหมเมื่อเวลาที่ป่วยมักจะมีคนบอกว่าห้ามทานโน่นนะ ห้ามทานนี่นะ แล้วที่ห้ามเนี่ยเป็นเพราะอะไรถึงห้าม และมีโทษอย่างไรเมื่อทานเข้าไป สารพัดอย่างที่อยากรู้ว่าถ้าจะทานเข้าไปจะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหนกับร่างกายของเรา หรือมีผลเสียอย่างไรกับระบบภายในจะอันตรายถึงภายนอกหรือเปล่า เราเหล่าคนรักสุขภาพต้องไปหาคำตอบกัน"
    โรคกระเพาะอาหาร   

          ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชาแก่ ๆ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารจนเป็นโรคกระเพาะได้ มีดังนี้ คือ
        การกระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียดวิตกกังวลและอารมณ์
        การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
        การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
        การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่าง ๆ โดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ
   โรคความดันโลหิตสูง   

         ควรหลีกเสี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกายและความชื้นก็มีผลทำให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนทุกระบบในร่างกายและความร้อนก็จะไปกระตุ้นทำให้ความดันสูง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมาก รวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียน
       ส่วนอาหารที่แนะนำให้ทานคือ

        ผักขึ้นฉ่าย มีสารลดความดันเลือด และลดปริมาณคอเลสเตอรอลด้วย ควรรับประทานขึ้นฉ่ายฝรั่งก้านโต 4 ก้านต่อวัน
        กระเทียมและหอมใหญ่ มีผลทั้งลดความดันและคอเลสเตอรอล ให้กินเพิ่มเติมในอาหาร ถ้ากินกระเทียมเม็ดหรือแคปซูลให้กิน 4,000 ไมโครกรัมต่อวัน
        แตงกวา มะเขือเทศ กะหล่ำปลี มะเขือยาว ขมิ้นชัน ผักโขม บร็อกโคลี มันฝรั่งทั้งเปลือก ปลาทูน่า เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน บุคคลทั่วไปต้องการโพแทสเซียมวันละ 2,000 มิลลิกรัม แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงต้องการถึง 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน
   โรคตับและถุงน้ำดี   
         หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมันเนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัด เพราะแพทย์จีนถือว่า ตับและถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอลง และเกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        เห็ดสามอย่าง นำมาต้ม ทานได้ทั้งน้ำ และเนื้อ น้ำจะล้างสารพิษในตับ เนื้อให้โปรตีน
        เม็ดเก๋ากี้ ต้มในน้ำแกงชนิดใดก็ได้ เก๋ากี้มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ บำรุงตับ
        ขมิ้นชันแคปซูล กี่เม็ดก็ได้ ทานก่อนนอน
        ชาแคลลี่ สมุนไพรสกัดจากดอกคามิลเลียทานก่อนนอน
        ถั่วเขียว บำรุงตับ
   โรคหัวใจและโรคไต   
       ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงานและหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงอาหารที่มีฟอสเฟสมาก เพราะจะทำให้กระดูกบางผุและหักง่าย ต่อมไทรอยด์จะโต ส่วนอาหารที่มีโพแทสเซียมก็ต้องเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นเร็ว และอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมา
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        อาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น เพราะนอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีโปรตีนที่เหมาะสมกับร่างกาย
        ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด
   โรคเบาหวาน   
        หลีกเลี่ยงน้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย ขนมหวาน และขนมเชื่อมต่าง ๆ ผลไม้กวน น้ำหวานต่าง ๆ นมรสหวาน รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ รวมทั้ง เหล้า เบียร์ด้วย ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่าง ๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด
      อาหารที่แนะนำให้ทาน (แต่ต้องจำกัดปริมาณ)

        อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ด แห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มะกะโรนี
        ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้ายแทน
        อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้
        ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ผักตระกูลถั่ว หัวปลี เป็นต้น
        ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น
   โรคไฮเปอร์ไทรอยด์   
        งดพวกอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่างกาแฟ ชา โดยเฉพาะชาเขียว เครื่องดื่ม ชูกำลัง และแอลกอฮอล์ พริกชนิดเผ็ด เพราะพวกนี้ช่วยเพิ่มเมตาโบลิซึ่ม อาจทำให้มีอาการใจสั่นมากขึ้น หายใจติดขัด รู้สึกแน่นเหมือนมีอะไรติดคอ งดพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย เพราะจะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมตาโบลิซึ่มของร่างกายต้องเพิ่มการทำงาน
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติด เอชิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืชนานาชนิด ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่ จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
    โรคเกาต์   
        เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคในข้อ กรดยูริคมาจากสารพิวรีนพบว่าเป็นในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดบวมแดง โดยเฉพาะบริเวณหัวแม่เท้า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนื้อสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก หน่อไม้ ควรจัดอาหารที่มีใยอาหารมากแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำหนักลดลง
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        เชอร์รี่สด ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดลองในผู้หญิงพบว่าระดับกรดยูริคในเลือดลดลง
        เต้าหู้ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจาก ถั่วเหลือง คนที่มีอาการโรคเกาต์ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือทานถั่วเหลืองสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
        มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วย วิตามินซี งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่าผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศพริกหวานสีเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูงวันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
        น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูคิคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้ การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลินซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม
ที่มา ... Slim Up 

    Link       https://women.thaiza.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด