โรคหัวใจโต อาการของโรคหัวใจโต วิธีรักษาโรคหัวใจโต


33,619 ผู้ชม


โรคหัวใจโต อาการของโรคหัวใจโต วิธีรักษาโรคหัวใจโต

        โรคหัวใจโต

หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมธัยรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

      Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


          อาการของโรคหัวใจโต

หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น 

  

ที่มา : https://www.peninsulacardiology.com.au/uploads/images/page/heart_failure.jpg 

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่ 

1. ความดันโลหิตสูง ขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หากหัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ 

2.โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา 

3.โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน 

4.โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ 

5.โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะสำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว 

6.โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอกจากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ 

 
ที่มา : https://www.pattayadailynews.com/images_feature/005_th/0000000826/p6.jpg 
 
ที่มา : https://www.hangdong.com/picweb/lung05.jpg 

อาการของโรคหัวใจโต




ภาวะ หัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และ อาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็น คือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นเงาปอดและหัวใจ หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดงให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย 

  

ใน ทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็ เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด 

  

 

ที่มา : https://images.healthcentersonline.com/heart/images/article/i19Enlargev2.jpg 

การวินิจฉัย 

สามารถให้ การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้ 

ภาพรังสีทรวงอกบอกขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่งช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ 

  

 

ที่มา :https://www.trf.or.th/picture/newspr/temp2522/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%8C.jpg

 

ที่มา : https://nu.kku.ac.th/site/250262/p2.gif 


วิธีรักษาหัวใจโต 

ไม่มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocardiography) หลัก การคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร จึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร) 

ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ 

 

ที่มา : https://www.ngthai.com/0702/images/feat_heart.jpg 

หัวใจโต รักษาได้ 

การรักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้ 

  

 

ที่มา : https://www.mmc.co.th/mmcj/images/stories/other/istock_000008734499small.jpg 

การป้องกัน ก็จะเหมือนกับการดูแลป้องกันโรคหัวใจ
1.หยุดสูบบุหรี่
หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง 

บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย 
บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 


2.การออกกำลังกาย
ทุกท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่นจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออกกำลังกายทำให้หัวใจแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น ลดระดับความดันโลหิต ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์ 


การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอร์โรบิค {aerobic} การรับประทานอาหารคุณภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำร้ายหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน มักจะได้รับคำแนะนำจากคนทั่วไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความเป็นจริงคนที่เป็นโรคหัวใจก็มีความหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่มีโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนการออกกำลังกาย หลายท่านที่เป็นโรคหัวใจมักจะหาอาหาร หรือยาเพื่อบำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มียาหรืออาหารที่บำรุงหัวใจ อาหารจะมีบทบาทในแง่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่หัวใจ เช่นอาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ อาหารผักและผลไม้จะมีพวกสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง(อ่านอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจที่นี่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ต้องแสวงหาอาหารหรือยาที่บำรุงหัวใจ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้หัวใจท่านแข็งแรง 

ผู้ป่วยโรคหัวใจวายเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอย่างพอเพียงโดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ บทความที่จะนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ 

3.การรับประทานอาหารสุขภาพ
หลักการรับประทานอาหารสุขภาพง่ายมีดังนี้ 

-หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ,Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน 
-ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน 
-รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid  

4.รักษาน้ำหนัก
คนอ้วนจะทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค 

5.มั่นตรวจสุขภาพ
ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาล 

  

สะท้อนความคิดเห็น โรคหัวใจโตเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอลล์ รวมทั้งความตึงเครียดต่างๆที่เกิดขึ้น จะส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนัก เราอาจจะไม่รู้ตัวถ้าไม่สังเกตตัวเอง อาจปล่อยมันไป อาการก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาก็อาจจะส่งผลต่อการเสี่ยงชีวิตได้ ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพ และเอาใจใส่เสมอ รวมทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความเครียดได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ก็จะทำให้เราลดอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโตได้ 

 แหล่งข้อมูล : https://www.hbwellness.info/health/896 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

            วิธีรักษาโรคหัวใจโต

โรคแทรกซ้อนของหัวใจโต

โรคแทรกว้อนของหัวใจโตขึ้นกับว่าหัวใจโตมากน้อยแค่ไหน การทำงานของหัวใจว่ายังทำงานปกติหรือเริ่มมีอาการหัวใจวาย และขึ้นกับโรคพื้นฐาน โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • หัวใจวาย หัวใจที่โตและไม่สามารถบีบตัวไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • มีลิ่มเลือดในหัวใจซึ่งอาจจะลอยไปอุกหลอดเลือดในสมอง ซึ่งหากมีลิ่มเลือดจะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
  • ลิ้วหัวใจรั่ว หัวใจที่โตมากๆจะมีลิ้นหัวใจรั่วซึ่งจะทำให้โรคกำเริบเร็วขึ้น
  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ผู้ที่หัวใจโตจะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

เมื่อจะไปพบแพทย์จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

คนทั่วไปเมื่อแพทย์บอกว่าเป็นหัวใจโตจะเกิดความกังวล แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยกล้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ มักจะไปพูดคุยหรือขอข้อมูลกับคนที่เคยเป็นโรคนี้มากก่อนทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทำให้การดูแลรักาาไม่ได้ผลดี การเตรียมตัวพบแพทย์ควรจะวางแผนดังนี้

เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์

ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมก่อนพบแพทย์จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการรักษาท่าต้องเตรียมข้อมูลดังนี้

  • อาการของท่านเกิดเมื่อไร ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดอาการ ความถี่ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ทำอย่างไรอาการถึงจะหาย
  • ประวัติโรคที่ท่านเป็นอยู่ มีทั้งหมดกี่โรค แต่ละโรคเป็นมานานแค่ไหน และมีโรคแทรกว้อนอะไรบ้าง ประวัติโรคในครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ เสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
  • ประวัติการรับประทานยา ยาที่รับประทานปัจจุบัน ยาที่เคยรับประทาน หากมีการเปลี่ยนยาก็ระบุสาเหตุของการเปลี่ยนยา
  • ควรจะมีญาติหรือเพื่อนไปด้วยจะได้จำข้อมูล
  • ปรึกษาเรื่องการดูแลตัวเอง เช่นการออกกำลังกาย อาหาร น้ำหนัก

เตรียมข้อมูลสำหรับถามแพทย์

  • สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดหัวใจโต
  • การตรวจหาสาเหตุของโรคต้องตรวจอะไรบ้าง
  • การรักษามีกี่วิธี ข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธี
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง
  • การออกกำลังกายมีข้อจำกัดหรือไม่ ออกกำลังกายอะไรได้บ้าง ไม่ควรออกกำลังกายอะไร
  • จะต้องตรวจหาเบาหวาน หรือไขมันในเลือดหรือไม่
  • จะต้องมาตรวจหัวใจบ่อยแค่ไหน
  • หากมีโรคประจำตัวอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะรับประทานยาร่วมกันได้หรือไม่
  • ต้องพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่
  • โรคดังกล่าวเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่

        Link    https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด