สถานพยาบาลรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ aspirin กับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


1,668 ผู้ชม


สถานพยาบาลรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ aspirin กับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

          สถานพยาบาลรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หลักการรักษาโรคหัวใจ article

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี

ความดันโลหิตสูง

สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบคุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ARB ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลดอาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง

ภาวะหัวใจล้มเหลว

สาเหตุ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว

สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษาตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน

สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้

โรคอ้วน

สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวานกับโรคหัวใจ

สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้วการพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

ไขมันในเลือดสูง

สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด ร่างกายสร้างไขมันขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 (น้อยกว่า 70 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ เบาหวาน) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง

สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้



     Link     https://www.thaiheartweb.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               โรคเบาหวานกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ดื่มทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบนั้นสามารถเกิดได้กับอวัยวะต่างๆ  เช่น ทางเดินอาหาร ตับ สมอง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น.

ผลของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าเกิดทั้งโทษและประโยชน์ ซึ่งโดยทั่วไปประโยชน์มักจะพบได้ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง.ส่วนผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากมักจะพบโทษได้เป็นส่วนใหญ่. ผลกระทบที่พบได้แก่ ตัวอย่างเช่น การทำงานของหัวใจเสื่อมลง, การเกิดภาวะความดันเลือดสูง, หัวใจเต้นผิดปกติ, อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือแม้แต่การเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น.1


ผลของแอลกอฮอล์ต่อการทำงานของหัวใจ
การดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้จากหลายกลไก1,2 ได้แก่

1. ผลจากพิษโดยตรงของแอลกอฮอล์ต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ.

2. ผลจากพิษของสารที่เปลี่ยนรูป (metabolite) จากแอลกอฮอล์ เช่น acetaldehyde, ethylester ต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ.

3. การขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 1 (thiamine), ซีลิเนียม (selenium) โดยเฉพาะในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานาน.

4. ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด เช่น ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ เป็นต้น.

5. พิษจากส่วนผสมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น โคบอลต์, ตะกั่ว เป็นต้น.

เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลานานพบว่าทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมลงทั้งในช่วงการคลายตัว (left ventricular diastolic dysfunction) โดยอาจตรวจพบความผิดปกติได้จากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) ได้ถึงร้อยละ 50 ในผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ3 ส่วนการบีบตัวของหัวใจก็พบว่ามีการเสื่อมลงเช่นกัน (left ventri-cular systolic dysfunction) โดยความผิดปกติดังกล่าวพบได้จากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจได้ถึงร้อยละ 30 ในผู้ป่วยยังไม่มีอาการ4และเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ต่อไปก็พบว่าผู้ดื่มมักจะเกิดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวจาก dilated cardiomyopathy  ในที่สุด โดยโอกาสการเกิด dilated cardiomyopathy จากการดื่มแอลกอฮอล์พบว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับทั้งปริมาณของแอลกอฮอล์และระยะเวลาที่ดื่ม. โอกาสจะสูงในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 7-8 drinks ต่อวัน 
(1 drinks เท่ากับแอลกอฮอล์ 12 กรัม หรือเท่ากับไวน์ประมาณ 120 มล., เบียร์ประมาณ 360 มล., สุราประมาณ 30-40 มล.) และเป็นเวลานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป.5 อย่างไรก็ตาม โอกาสในการเกิด dilated cardiomyopathy ในผู้ดื่มแอลกอฮอล์แต่ละรายก็แตกต่างกัน โดยบางรายอาจจะเกิดหรือไม่ก็ได้ ทั้งๆ ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณและระยะเวลาเท่ากัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมด้วย.6


การหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถทำให้ภาวะการทำงานของหัวใจที่เสื่อมลงกลับ มาดีขึ้นได้ โดยการทำงานของหัวใจอาจจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ 6 เดือนแรกจนถึง 2-4 ปี. ส่วนผู้ที่ยังคงดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากต่อไปก็พบว่าหน้าที่การทำงานของหัวใจมักจะเสื่อมลงเรื่อยๆ เช่นกัน.7

แอลกอฮอล์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากพบว่ามีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่สูงขึ้น โดยกลไกเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก เช่น ภาวะความดันเลือดสูง, ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ หรือแม้แต่การสูบ  บุหรี่ ซึ่งมักพบร่วมด้วยบ่อยๆ ในผู้ดื่มแอลกอฮอล์.1

ในทางกลับกันก็มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงถึงประโยชน์จากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยจนถึงปานกลาง (ประมาณ 1 drinks ต่อวัน) โดยทำให้อุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย.8-16 ประโยชน์ดังกล่าวพบได้ทั้งในวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ,8 ทั้งในเพศชายและหญิง,9-12 หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน13 และได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไวน์, เบียร์ หรือสุรา ถึงแม้ในบางการศึกษาจะแสดงผลดีที่ชัดเจนกว่าบ้างจากการดื่มไวน์ก็ตาม.14,15


กลไกที่อธิบายผลดีของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อการลดลงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน พบว่ามีหลายประการ เช่น ผลที่ทำให้ระดับ HDL-cholesterol เพิ่มขึ้น, มีระดับของapolipoprotein A1 เพิ่มขึ้น, ทำให้มีการลดลงของปัจจัยการแข็งตัวของเลือดต่างๆ (coagulatory factors) ทั้งระดับ fibrinogen ในเลือด, factor VII, von-Willebrand factor รวมทั้งทำให้ plasma viscosity ลดลงด้วย. นอกจากนี้ก็ยังทำให้ thrombolytic profile ดีขึ้นด้วย เช่น มีการเพิ่มของระดับ tissue-type plasminogen activator antigen เป็นต้น.17,18


ตัวอย่างการศึกษาถึงผลของการดื่มแอลกอฮอล์ต่ออัตราการเสียชีวิต ตัวอย่างหนึ่งมีการศึกษาในประชากร 490,000 คน ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ติดตามนานประมาณ 9 ปี8 พบว่าผู้ดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 drink ต่อวัน มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 30 ในเพศชาย และร้อยละ 40 ในเพศหญิง โดยอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงชัดเจน ได้แก่ การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน. อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ดื่มแอลกอฮอล์มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มจากสาเหตุอื่นๆ โดยเฉพาะจากโรคตับแข็ง, ภาวะแอลกอฮอลิซึม, มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ (มะเร็งช่องปาก, หลอดอาหาร, หลอดคอ, กล่องเสียง และตับ) โดยอัตราการเสียชีวิตดังกล่าวพบสูงขึ้นถึง 3-7 เท่า โดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 4 drinks ต่อวันขึ้นไป. ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ พบว่าในผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิด ขึ้นสูงกว่าผู้ไม่ดื่มร้อยละ 30. ส่วนในผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 drink ต่อวัน พบว่าเกิดมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้ไม่ดื่มร้อยละ 30 เช่นกัน.


แอลกอฮอล์กับภาวะความดันเลือดสูง
มีการศึกษาพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันเลือดสูง หลายการศึกษา19,20 โดยลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันคือ พบว่าความดันเลือดสูงในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณไม่มากคือ ไม่เกิน
2-3 drinks ต่อวัน ไม่แตกต่างหรือมีแนวโน้มต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์. ส่วนผู้ที่ดื่มในปริมาณมากคือ
2-3 drinks ต่อวันขึ้นไป มีอุบัติการณ์ของภาวะความดันเลือดสูงขึ้น ตั้งแต่ประมาณร้อยละ 20 จนถึงประมาณ 
2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง และมีลักษณะเดียวกันไม่ว่าดื่มแอลกอฮอล์ประเภทใด (ไวน์, เบียร์ หรือสุรา). กลไกที่อธิบายผลดังกล่าวยังไม่ทราบชัดเจน โดยมีสมมติฐานหลายประการ เช่น ผลของแอลกอฮอล์ต่อการกระตุ้น renin-angiotensin- aldosterone axis หรือต่อ adrenergic nervous  system, ผลต่อการไหลเวียนของไอออน (ionic fluxes), การหลั่งคอร์ติซอล, ผลต่อความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) แต่ทั้งนี้ก็พบว่ากลไกใดกลไกหนึ่งยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้ทั้งหมด.19,22


แอลกอฮอล์กับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
การดื่มแอลกอฮอล์พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ทั้งชนิดห้องบน (supra-ventricular arrhythmias) และชนิดห้องล่าง (ventricular arrhythmias) โดยชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ atrial fibrillation1,23 พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด atrial fibrillation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ยังอายุไม่มากนัก และการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติดังกล่าวมักเป็นภายหลังการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากซึ่งเกิดบ่อยๆ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ จนมีคำเรียกว่า " Holiday  Heart ".23 สำหรับภาวะผิดปกติดังกล่าวและภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอื่นๆ ก็พบได้  เช่นกันจาก การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น atrial   premature beats, supraventricular  tachycardia, atrial flutter, ventricular tachycardia หรือ ventricula fibrillation. กลไกอาจอธิบายจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผลโดยตรงของแอลกอฮอล์กับการนำไฟฟ้าของหัวใจเอง, ผลจากภาวะผิดปกติอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วยในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด (ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำเป็นต้น) หรือจากการ สูบบุรี่ ซึ่งมักพบบ่อยในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติดังกล่าวมักหายได้ในผู้ที่หยุดดื่มแอลกอฮอล์.


แอลกอฮอล์กับการเสียชีวิตเฉียบพลัน
มีการศึกษาพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก (มากกว่า 5-6 drinks ต่อวัน) มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden cardiac death) ที่เพิ่มขึ้น.24 ส่วนการดื่มในปริมาณน้อยถึงปานกลาง 
2-6 drinks ต่อวัน กลับพบว่าสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันที่ลดลง25ทั้งนี้ก็อาจอธิบายจากความสัมพันธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน หรือเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้.


สรุป 
ผลของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มีข้อมูลถึงความสัมพันธ์ในแง่ดีและไม่ดี แต่ทั้งนี้ยังไม่ควรนำผลของการศึกษาอันใดอันหนึ่งมา  ใช้เป็นคำแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเป็นการรักษาหรือป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยควรคำนึงถึงผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อระบบอวัยวะอื่นๆ เช่น การเกิดโรคตับแข็ง, มะเร็ง หรือแม้แต่อุบัติเหตุ มาประกอบกันด้วยเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยโดยรวม.

เอกสารอ้างอิง
 1. Lange RA, Hillis L. Toxins and the heart. In : Zipes DP, Libby P, Bonow RO, Braunwald E, eds. Braunwaldีs Heart Disease : A textbook of cardiovascular medicine. 7th ed. Philadelphia : Elsevier Saunders, 2005:1731-40.

 2. Patel VB, Why HJ, Richardson PJ, et al. The effects of alcohol on the heart. Adverse Drug React Toxicol Rev 1997;16:15-43.

 3. Lazarevic AM, Nakatani S, Neskovic AN, et al. Early changes in left ventricular function in chronic asymp-tomatic alcoholics : Relation to the duration of heavy drinking. J Am Coll Cardiol 2000;35:1599-606.

 4. Urbano-Marguez A, Estruch R, Fernandez-Sola J, et al. The greater risk of alcoholic cardiomyopathy and myopathy in women compared  with men. JAMA 1995;274:149-54.

 5. Wilke A, Kaiser A, Ferency I, et al. Alcohol and myocarditis. Herz 1996;21:248-57.

 6. Fernandez-Sola J, Nicolas JM, Oriola J, et al. Angiotensin-converting enzyme gene polymorphism is associated   with vulnerability to alcoholic cardiomyopathy. Ann Intern Med 2002;137:321-6.

 7. Nicolas JM, Fernandez-Sola J, Estruch R, et al. The effect of controlled drinking in alcoholic cardiomyopathy. Ann Intern Med  2002;136:192-200.

 8. Thun MJ, Peto R, Lopez AD, et al. Alcohol consumption and mortality among middle- aged and elderly U.S.  adults. N Engl J Med  1997;337:1705-14.

 9. Mukamal KJ, Conigrave KM, Mittleman MA, et al. Roles of drinking pattern and type of alcohol consumed in   coronary heart disease in men. N Engl J Med 2003;348:109-18.

 10. Camargo CA Jr, Stampfer MJ, Glynn RJ, et al. Moderate alcohol consumption and risk for angina pectoris or   myocardial infarction in U.S. male physicians. Ann Intern Med 1997;126:372-5.

 11. Solomon CG, Hu FB, Stampfer MJ, et al. Moderate alcohol consumption and risk of coronary heart disease  among women with type 2 diabetes mellitus. Circulation 2000;102:494-9.

 12. Fuchs CS, Stampfer MJ, Colditz GA, et al. Alcohol consumption and mortality among women. N Engl J Med 1995;332:1245-50.

 13. Ajani UA, Gaziano M, Lotufo PA, et al. Alcohol consumption and risk of coronary heart disease by diabetes status. Circulation  2000;102:500-5.

 14. Gronback M, Becker U, Johansen D, et al. Type of alcohol consumed and mortality from all causes, coronary heart disease and cancer. Ann Intern Med 2000;133:411-9.

 15. DiCastelnuovo A, Rotondo S, Iacoviello L, et al. Meta-analysis of wine and beer consumption in relation to vascular risk. Circulation 2002;105:2836-44.

 16. Hein HO, Suadicani P, Gyntelberg F. Alcohol consumption, serum low density lipoprotein cholesterol concentration, and risk of ischaemic heart disease : six year follow up in the Copenhagen male study. BMJ 1996;312:736-41.

 17. Rimm EB, Williams P, Foscher K, et al. Moderate alcohol intake and lower risk of coronary heart disease : meta-analysis of effects on lipids and haemostatic factors. BMJ 1999;319:1523-8.

 18. Mukamal KJ, Jadhav PP, DีAgostino RB, et al. Alcohol consumption and haemostatic factors-analysis of the Framingham offspring cohort. Circulation 2001;104:1367-73.

 19. Fuchs FD, Chambless LE, Whelton PK, et al. Alcohol consumption and the incidence of hypertension. The Atherosclerosis Risk in Communities Sudy. Hypertension 2001;37:1242-50.

 20. Klatsky AL, Friedman GD, Siegelaub AB, et al. Alcohol consumption and blood pressure-Kaiser-Permanente Multiphasic Health Examination Data. N Engl J Med 1977;296:1194-200.

 21. Thadthani R, Camargo CA Jr, Stampfer MJ, et al. Prospective study of moderate alcohol consumption and risk of hypertension in young women. Arch Intern Med 2002;162:569-74.

 22. Klatsky AL. Alcohol and hypertension. Clin Chim Acta 1996;246:91-105.

 23. Ettinger PO, Wu CF, Delacruz C Jr, et al. Arrhythmias and the " Holiday Heart " : alcohol-associated Cardiac rhytum disorders. Am Heart J1978;95:555-62.

 24. Wannamethee G, Shaper AG. Alcohol and sudden cardiac death. Br Heart J 1992;68:443-8.

 25. Albert LM, Manson JE, Cook NR, et al. Moderate alcohol consumption and the risk of sudden cardiac death among US male physicians.Circulation 1999;150:944-5.

             Link     https://doctor.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

                  aspirin กับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia)

คำจำกัดความ

ในภาวะปกติ ที่บริเวณหัวใจห้องบน จะทำหน้าที่สร้างสัญญาณไฟฟ้า เพื่อมากระตุ้นการเต้นของหัวใจเอง

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) เป็นคำรวมของโรคที่เกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจสร้างขึ้นมีความผิดปกติไปจากเดิม ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยหัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นหรือเต้นช้าลงหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ บางภาวะไม่อันตรายและคนส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นได้ โดยอาจรู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง หรือใจสั่นเป็นครั้งคราวและหายได้เอง แต่บางโรคอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตันหรือหัวใจหยุดเต้นกระทันหันได้ (sudden cardiac arrest)

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุแบ่งเป็นกลุ่มได้หลายแบบ
ถ้าแบ่งตามตำแหน่งของหัวใจที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ : แบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ

  • หัวใจห้องบนผิดปกติ (Atrium) เช่น Atrial flutter, Atrial fibrillation, Premature atrial contraction (PAC) เป็นต้น
  • ทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างผิดปกติ (Atrio-ventricular node) เช่น Wolff-Parkinson-White syndrome
  • Junctional arrhythmia เช่น supraventricular tachycardia
  • หัวใจห้องล่างผิดปกติ (Ventricle) เช่น Premature ventricular contraction (PVC), Ventricular fibrillation

ถ้าแบ่งตามอัตราการเต้นของหัวใจ : แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) : อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
  • อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ (bradycardia) : อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที

ถ้าแบ่งตามกลไกการเกิดโรค : แบ่งได้เป็น

  • Automaticity : เกิดจากมีจุดอื่นในหัวใจสร้างกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจได้เร็วกว่าสัญญาณไฟฟ้าปกติ
  • Reentry : เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่สร้างจากจุดกำเนิดปกติในหัวใจ มากระตุ้นที่หัวใจแล้ววกกลับมากระตุ้นหัวใจใหม่อีกซ้ำๆ เป็นวงกลม

อาการ

1. การที่หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร แพทย์ก็ตรวจพบโดยบังเอิญ
2. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจรับรู้ได้ถึงหัวใจที่เต้นผิดปกติ คือ มีอาการสั่นระรัวที่บริเวณหน้าอกหรือใจสั่น : เป็นการที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงการที่หัวใจเต้น (ในภาวะปกติ เราจะไม่รู้สึกว่าหัวใจเต้น)
3. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น

  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอจะสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เจ็หน้าอก ในรายที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่แล้ว, สับสน มึนงง
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ จนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่พอ ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมหรือ เป็นลมหมดสติ
  • มีลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจ แล้วลิ่มเลือดหลุดไปที่เส้นเลือดส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายอุดตัน เช่น เส้นเลือดสมองตีบ , หลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ไปเลี้ยงแขนขาอุดตันเฉียบพลัน เป็นต้น

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโรค แต่สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ

  • โรคหัวใจบางโรคทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์สูงเกิน
  • เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ หรือชา/กาแฟ
  • ใช้ยาผิดวิธี
  • ภาวะเครียด
  • อาหารหรือสมุนไพรบางชนิด
  • ยาบางชนิด

การวินิจฉัย

ประวัติ : ผู้ป่วยจะมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว

การตรวจร่างกาย : บ่อยครั้งที่แพทย์ตรวจพบความผิดปกติโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ ซึ่งการตรวจร่างกายสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใช้หูฟังฟังเสียงหัวใจที่เต้นผิดปกติหรือจับชีพจรที่แขนขาแล้วรู้สึกถึงการเต้นที่ผิดปกติ การตรวจนี้มีข้อจำกัด คือ

  • สามารถบอกได้แค่คร่าวๆ ว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (คืออัตราการเต้นของหัวใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ) แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไร
  • ทุกสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจ โดยเฉพาะที่สร้างออกมาผิดปกติ ไม่ได้สามารถกระตุ้นให้เกิดการเต้นของหัวใจทุกครั้ง จึงไม่สามารถตรวจพบได้จากการฟังเส้นหัวใจเต้นหรือจับชีพจร

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ : ประกอบด้วย

  • การตรวจด้วยเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, EKG) : เป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายๆ , ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยไม่เจ็บ ทำได้โดยใช้เครื่องมือติดที่หน้าอกและแขนขา จากนั้นเครื่องจะตรวจดูสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจสร้าง และแปลผลออกมาเป็นกราฟ
  • การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง (Holter monitor) : ทำในกรณีที่ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วผลออกมาปกติ แต่ผู้ป่วยมีอาการที่ชวนสงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะคลื่นไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจอาจมีความผิดปกติเป็นๆ หายๆ ได้

ภาวะแทรกซ้อน

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ดังนี้

  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติจนทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอจะสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายขาดเลือด เช่น เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (มักพบในรายที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อนแล้ว) , สับสนหรือมึนงง จากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ จนทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่พอ : ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมหรือเป็นลมหมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เลือดบางส่วนคั่งค้างอยู่ในหัวใจ ไม่ไหลออกจากตามปกติ เมื่อมีเลือดค้างอยู่นานๆ เลิอดเหล่านั้นจะมารวมกันจนกลายเป็นลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดนี้มีโอกาสจะหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลายได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายอุดตัน เช่น เส้นเลือดสมองตีบ (Stroke) , หลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ไปเลี้ยงแขนขาอุดตันเฉียบพลัน (Arterial occlusion) เป็นต้น

การรักษาและยา

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค แต่มีหลักการรักษาที่สำคัญ คือ
1.การทำให้หัวใจที่เต้นผิดจังหวะ กลับมาสู่ภาวะปกติ : สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและสาเหตุของโรค คือ

  • การใช้วิธีทางกายภาพ (Physical maneuvers) : เพื่อเพิ่มระบบประสาท parasympathetic (ทำหน้าที่ยับยั้งสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและยับยั้งสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ) เช่น การนวดบริเวณเส้นเลือดแดงที่คอ (carotid massage), การประคบน้ำแข็งที่หน้า, การให้เบ่ง เป็นต้น
  • การรักษาด้วยยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmic drug) : มียาหลายกลุ่มที่มีกลไลการออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นตามปกติ เช่น ยา amiodarone
  • การใช้เครื่องผลิตสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นที่หัวใจของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ (electrical cardioversion)
  • การเข้าไปทำลายจุดที่สร้างสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ (Electrical cautery) โดยใช้ความร้อน, ความเย็น, กระแสไฟฟ้า หรือเลเซอร์ มักทำในรายที่กลไกของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจาก Automaticity ( มีจุดอื่นในหัวใจสร้างกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจได้เร็วกว่าสัญญาณไฟฟ้าปกติ)

2.ในรายที่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเป็นมานานและกำลังรอวิธีการรักษาที่ทำให้หัวใจที่เต้นผิดจังหวะกลับมาสู่ภาวะปกติ แพทย์จะให้การรักษาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เหมาะสม เช่น

  • ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป แพทย์จะให้ยาช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น propranolol, verapamil, diltiazem, digoxin เป็นต้น
  • ในกรณีที่หัวใจเต้นช้าเกินไป แพทย์จะให้ผู้ป่วยติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacing, ทำหน้าที่ผลิตสัญญาไฟฟ้ามากระตุ้นให้หัวใจบีบตัว ในจังหวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจมากระตุ้นตามปกติ) ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เพื่อป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

3.ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากลิ่มเลือดหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลาย
ได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด (เช่น aspirin) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น warfarin) แพทย์จะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลิ่มเลือดหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบ

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Aspirin, Diltiazem, Verapamil, amiodarone, propranolol, digoxin, warfarin

แหล่งอ้างอิง

1. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์4. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2550, 245-259.
2. Anthony S.Fauci, Eugene Braunwald, et al, editors. Harrison’s principles of internal medicine. 17th edition. 2008, 1416-1442.
3. Ziad F.Issa, John M.Miller, Douglas P.Zipes, editors. Clinical arrhythmology and electrophysiology. 2009.
4. ชาญ ศรีรัตนสถาวร, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และคณะ , บรรณาธิการ. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด. พิมพ์ครั้งที่2. 2546.


            Link     https://healthy.in.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด