สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ไดโคโตมัสคีย์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง


9,572 ผู้ชม


สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ไดโคโตมัสคีย์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

              สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนภายในร่างกาย บางชนิดอาจมีโครงร่าง  แข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัวเพื่อช่วยค้ำจุนร่างกาย และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ  นักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกแมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มใหญ่ที่สุด ซึ่งอาศัยอยู่บนบกมากกว่า   อาศัยอยู่ในน้ำ ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นพวกๆ ดังนี้

พวกฟองน้ำ
 พวกลำตัวกลวง

พวกหนอนตัวแบน

 พวกหนอนตัวกลม

พวกลำตัวเป็นปล้อง

พวกมีขาเป็นข้อ

 พวกหอยและหมึก

 พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

พวกฟองน้ำ

 สัตว์พวกนี้ มีลักษณะลำตัวเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้น้ำและอาหารสามารถไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัว เพื่อดูดซึม ก๊าซออกซิเจนและอาหาร แล้วปล่อยน้ำและกากอาหารออกทางช่องน้ำออก ฟองน้ำทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่จะอยู่  ในทะเลมากกว่าน้ำจืด โดยจะเกาะติดกับหินใต้ท้องทะเล ไม่เคลื่อนที่ ดูมีลักษณะคล้ายพืช ไม่มีหัว ไม่มีปาก และไม่มีทางเดินอาหาร ฟองน้ำแต่ละชนิด มีสีและขนาดแตกต่างกัน                         
    การสืบพันธุ์ โดยใช้วิธีการแตกหน่อ ฟองน้ำบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์ในการถูตัวเวลาอาบน้ำ จึงเรียกว่า ฟองน้ำถูตัว

พวกลำตัวกลวง

สัตว์พวกนี้จะมีช่องกลวงภายในลำตัวโดยมีลักษณะเป็นช่องเปิดปลายตันช่องนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนัก คือให้น้ำและอากาศเข้ามาภายในช่อง หลังจากแลกเปลี่ยนก๊าซและกินอาหารแล้วจะดันน้ำและของเสียผ่านทางช่องปิดนี้ ออกสู่ภายนอก สัตว์พวกนี้ทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา บริเวณหนวดของสัตว์ พวกนี้จะมีเข็มพิษไว้ฆ่าเหยื่อก่อนที่จะเหยื่อเข้าช่องปาก บางชนิดมีหนวดจำนวนมาก เช่น แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล บางพวกมีเปลือกแข็งหุ้มเป็นหินปูน เช่น ปะการัง บางพวกมีกิ่งก้านเหมือนต้นไม้ เช่น กัลปังหา เป็นต้น

การสืบพันธุ์  สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน

พวกหนอนตัวแบน

สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน แต่มีลักษณะลำตัวแบน บางชนิดมีปากและทวารหนักเป็นช่องเปิดเดียวกัน เช่น พลานาเรีย บางชนิดดูดกินเลือดสัตว์อื่นที่มันเข้าไปอาศัยอยู่เป็นอาหาร เช่น พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืดจึงเรียกว่าพวกนี้ว่า ปรสิต

       การสืบพันธุ์ ของสัตว์พวกนี้มีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ บางชนิดมีสองเพศในตัวเดียวกัน เช่น พยาธิบางชนิด ผสมพันธุ์กันเองในตัว แล้วปล่อยไข่ออกมา เช่น พยาธิตัวตืด บางชนิดใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน แล้วเจริญกลายเป็นตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย

พวกหนอนตัวกลม

สัตว์พวกนี้จะมีลักษระลำตัวกลมยาวเหมือนเชือก หัวท้ายค่อนข้างแหลม ลำตัวไม่เป็นปล้อง เป็นพวกที่เรียกว่า ปรสิตทั้งในพืชและในสัตว์ เช่น ไส้เดือนฝอย พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวจื๊ด ตัวผู้กับตัวเมียแยกกัน ตัวเมียจะโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียหางเหยียด ตัวผู้หางจะงอเล็กน้อย

        การสืบพันธุ์ ของสัตว์กลุ่มจะเป็นแบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กัน ไข่ของตัวเมียที่ถูกผสมแล้วจะถูกปล่อยออก
มาภายนอกร่างกายของสัตว์ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ โดยออกมากับอจุจาระ เมื่อมีอากาศและความชื้นที่เหมาะสมจึงฟักเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนไซ
เข้าสู่ร่างกายสัตว์อื่นทางซอกเท้าไปตามเส้ยโลหิต ได้แก่ พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย

พวกลำตัวเป็นปล้อง

 สัตว์พวกนี้ จะมีลำตัวกลมยาวเหมือนพยาธิตัวกลม แต่จะมีลักษณะเป็นปล้องๆ เหมือนวงแหวนหลายๆ อันเรียงซ้อนกัน มีผิวหนังเปียกชื้นช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ ส่วนใหญ่ หากินอิสระ และอาศัยในทะเล เช่น แม่เพรียง บางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ตัวสงกรานต์ (ตัวร้อยขา) บางชนิดเป็น ปรสิต ดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงบก(ทาก) บางชิดอาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือนดิน

        การสืบพันธุ์ สัตว์พวกนี้ มีทั้ง 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน และแยกเพศคนละตัว จะอาศัยเพศในการสืบพันธุ์

พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

สัตว์พวกนี้ ตามผิวหนังจะมีลักษณะเป็นปุ่มปมขุรขระ บางชนิดเป็นหนาม บางชนิดมีเปลือกหุ้มลำตัวรูปทรงกลม หรือกลมแบน เช่น ปลาดาว หอยเม่น

         การสืบพันธุ์  สัตว์พวกนี้มีการสืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิภายนอก ตัวเมียจะมีการผลิตไข่คั้รงละมาก เพื่อให้มีโอกาสอยู่รอดได้มาก ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะพบในพวกปลาดาวทะเล

พวกหอยและหมึก

 สัตว์พวกนี้ จะมีลักษณะลำตัวอ่อนนิ่ม บางชนิดมีเปลือกแข็งซึ่งเป็นสารพวกหินปูนหุ้มลำตัว เช่น หอยต่างๆ ใช้กล้ามเนื้อท้องในการเคลื่อนที่ บางชนิดจะไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว แต่มีเนื้อลำตัวเหนียวมาก เช่นปลาหมึกธรรมดา และปลาหมึกยักษ์ ใช้หนวดโบกพัดเพื่อว่ายน้ำเคลื่อนที่ไป ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกบางชนิดอาศัย อยู่บนบก หายใจด้วยปอด เช่นหอยทาก

           การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน แต่บางชนิดมีการปฏิสนธิภายนอก โดยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปผสมกันในน้ำ

พวกมีขาเป็นข้อ

สัตว์พวกนี้ จะมีขาเป็นข้อๆ ต่อกัน ทุกชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวด้านนอกแบ่งเป็นปล้องๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตราย และทำให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ เมื่อร่างกายภายในเจริญเติบโตจะดันเปลือกให้แตกออก แล้วสร้างเปลือกใหม่ เราเรียกว่า ลอกคราบ ระหว่างลอกคราบ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ขนาดจะคงที่ จะพบสัตว์พวกนี้ทั้งบนบก ในน้ำจืด และในน้ำเค็ม เนื่องจากสัตว์พวกนี้ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีจำนวนมากนักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ี

1.      พวกแมลง เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดกว่ากลุ่มอื่น ลำตัว แบ่งออกเป็นส่วนหัว อก และท้อง มีชา 3 คู่ ที่บริเวณอกส่วนใหญ่มีปีกช่วยในการบิน 1-2 คู่ แมลงจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างการเจริญเติบโต โดยการลอกคราบ

2.      พวกแมงมุม สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก มีขา 4 คู่ เช่นแมงมุม บึ้ง แมงป่อง

3.      พวกตะขาบ สัตว์พวกนี้จะมีลำตัวเรียวยาว และแบนเล็กน้อยลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ เช่น ตะขาบ ซึ่งมีเขี้ยวพิษที่บริเวณปากไว้ป้องกันตัว และฆ่าเหยื่อ

4.      กิ้งกือ สัตว์พวกนี้มีลำตัวเป็นทรงกระบอก และ แบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 2 คู่ เช่น กิ้งกือ แม้จะมีขามากแต่เดินได้อย่างเชื่องช้าเมื่อมีสิ่งใดมากระทบจะม้วนลำตัวเป็นวงกลม

5.      พวกกุ้งและปู สัตว์พวกนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ จะพบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปู กุ้ง กั้ง และไรน้ำ

การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน มีการวางไข่

      Link      https://www.school.net.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              ไดโคโตมัสคีย์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สุนัขพันธุ์บางแก้ว
ที่มาของรูปภาพ    https://www.tarad.com/dogpartner/imglib/spd_20070322153115_b.jpg
สุนัขพันธุ์บางแก้ว   เริ่มมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ประมาณปี  2529   ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับว่าเป็นสุนัขไทยที่เข้าฝึกกับทางทหาร   ฝึกยุทธวิธีไปจนถึงฝึก
กระโดดร่มเพื่อลงพื้นที่ลาดตระเวนร่วมกับทหาร   ในคราวนั้นได้สร้างความฮือฮาให้กับบรรดาคนขอบเลี้ยงสุนัขเป็นอย่างยิ่ง   ว่าสุนัขไทยเรากำลังจะเทิร์นโปร เทียบ
กับสุนัขเมืองนอก   ซึ่งในสมัยนั้นสุนัขที่ฉลาดและกล้าหาญขนาดนั้นต้องเป็นสุนัขฝรั่งตัวโต ๆ   ราคาหลาย ๆ   หมื่นบาท  
สุนัขพันธุ์บางแก้ว   เป็นสุนัขไทยแท้ ๆ   หน้าตาบ้องแบ้ว    ขนปุยน่ารัก    เหมือนสุนัขไทยพันธุ์   Mid-road (ข้างถนน) ทั่วๆ ไป   แต่ด้วยสายพันธุ์ที่สืบทอด
มาจากสุนัขป่าจึงทำให้สุนัขพันธุ์บางแก้วมีความดุ    รูปร่างของสุนัขบางแก้วถึงแม้จะเป็นพันธุ์ไทย    แต่จะมีรูปร่างที่ใหญ่   บึกบึน   ในขณะที่ยืนหรือเดินจะดูน่า
เกรงขาม พร้อมที่จะเข้าประจัญบานกับผู้ที่ ประสงค์ร้ายในทุกขณะ
สุนัขพันธุ์บางแก้ว   มีต้นกำเนิด   ตำบลบางแก้ว   อำเภอบางระกำ   จังหวัดพิษณุโลก   ซึ่งเป็นอำเภอที่ราบแถบลุ่มแม่น้ำยม   และมีน้ำท่วมถึงในทุกๆ   ปี
จึงไม่แปลกที่สุนัขพันธุ์บางแก้วจะเป็นสุนัขที่มีความผูกพันธ์กับน้ำเป็น พิเศษ   เรียกได้ว่าถ้าเป็นน้ำเมื่อใดก็ต้องกระโจนลงไปดำผุดดำว่ายให้สนุกสนาน บันเทิง
เป็นทุกที
ที่มาของข้อมูล   https://www.phitsanulok.go.th/bangkaew.html
เป็ดเทศกบินทร์บุรี 
ที่มาของรูปภาพ  https://www.dld.go.th/lsut_uth/image/duck.jpg
เป็ดเทศกบินทร์บุรี เป็นเป็ดที่ได้รับการวิจัยและพัฒนามาจากเป็ดเทศบาร์บารี่ ซึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2533 ลักษณะขนมีสีขาวปลอด ยกเว้นบริเวณกลางหัวมีจุดดำ มีการเจริญเติบโตเร็ว ให้ไข่ดก ปีละ 160-180 ฟอง/แม่เริ่มไข่เมื่ออายุ 6-7 เดือน เพศผู้โตเต็มที่ 4.5-5 กิโลกรัม เพศเมีย 2.8-3 กิโลกรัม กินอาหารวันละ 150-160 กรัม ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเลี้ยงง่ายในสภาพชนบท เติบโตเร็ว สามารถขุนส่งตลาดได้เมื่อน้ำหนักตัว 3.5 กิโลกรัม ภายใน 60-70 วัน อัตราการแลกเนื้อ 3.5 : 1 คุณภาพเนื้อสีแดงคล้ายเนื้อโคมีไขมันต่ำ เนื่องจากขนสีขาวทำให้ราคาดี เมื่อนำไปใช้ชำแหละสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์สู่เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ

ที่มาของข้อมูล  https://www.dld.go.th/poultry/breed_muscovy.htm

แมว 
ที่มาของรูปภาพ  https://www.tammahakin.com/cat/DOG/img/DOG0000212a.jpg
ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus 
แมว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis
ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย)  ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์ เทพเจ้า  ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์  นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก
ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ   ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก  พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย
ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น
ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้นจากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชคอีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้าน มักจะมีโชคลาภมา

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no18-25/pretty...

ปลานิล 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus 
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus (ชื่อเดิมคือ Tilapia nilotica) เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดีปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาผลการทดลอง ปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโต และแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายข้อ เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10–30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดีในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงโปรดเกล้าให้ทดลอง เลี้ยง และแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ปลาดุกด้าน 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) 
ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก Clariidae มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก"พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาบสมุทรมาเลย์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา.ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือก (Albino) ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%
          Link    https://www.thaigoodview.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนภายในร่างกาย บางชนิดอาจมีโครงร่าง  แข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัวเพื่อช่วยค้ำจุนร่างกาย และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ  นักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกแมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มใหญ่ที่สุด ซึ่งอาศัยอยู่บนบกมากกว่า   อาศัยอยู่ในน้ำ ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นพวกๆ ดังนี้

พวกฟองน้ำ
 พวกลำตัวกลวง

พวกหนอนตัวแบน

 พวกหนอนตัวกลม

พวกลำตัวเป็นปล้อง

พวกมีขาเป็นข้อ

 พวกหอยและหมึก

 พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

พวกฟองน้ำ

 สัตว์พวกนี้ มีลักษณะลำตัวเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้น้ำและอาหารสามารถไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัว เพื่อดูดซึม ก๊าซออกซิเจนและอาหาร แล้วปล่อยน้ำและกากอาหารออกทางช่องน้ำออก ฟองน้ำทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่จะอยู่  ใน ทะเลมากกว่าน้ำจืด โดยจะเกาะติดกับหินใต้ท้องทะเล ไม่เคลื่อนที่ ดูมีลักษณะคล้ายพืช ไม่มีหัว ไม่มีปาก และไม่มีทางเดินอาหาร ฟองน้ำแต่ละชนิด มีสีและขนาดแตกต่างกัน                          
    การสืบพันธุ์ โดยใช้วิธีการแตกหน่อ ฟองน้ำบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์ในการถูตัวเวลาอาบน้ำ จึงเรียกว่า ฟองน้ำถูตัว

พวกลำตัวกลวง

สัตว์ พวกนี้จะมีช่องกลวงภายในลำตัวโดยมีลักษณะเป็นช่องเปิดปลายตันช่องนี้จะทำ หน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนัก คือให้น้ำและอากาศเข้ามาภายในช่อง หลังจากแลกเปลี่ยนก๊าซและกินอาหารแล้วจะดันน้ำและของเสียผ่านทางช่องปิดนี้ ออกสู่ภายนอก สัตว์พวกนี้ทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา บริเวณหนวดของสัตว์ พวกนี้จะมีเข็มพิษไว้ฆ่าเหยื่อก่อนที่จะเหยื่อเข้าช่องปาก บางชนิดมีหนวดจำนวนมาก เช่น แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล บางพวกมีเปลือกแข็งหุ้มเป็นหินปูน เช่น ปะการัง บางพวกมีกิ่งก้านเหมือนต้นไม้ เช่น กัลปังหา เป็นต้น

การสืบพันธุ์  สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน

พวกหนอนตัวแบน

สัตว์ กลุ่มนี้มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน แต่มีลักษณะลำตัวแบน บางชนิดมีปากและทวารหนักเป็นช่องเปิดเดียวกัน เช่น พลานาเรีย บางชนิดดูดกินเลือดสัตว์อื่นที่มันเข้าไปอาศัยอยู่เป็นอาหาร เช่น พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืดจึงเรียกว่าพวกนี้ว่า ปรสิต

       การ สืบพันธุ์ ของสัตว์พวกนี้มีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ บางชนิดมีสองเพศในตัวเดียวกัน เช่น พยาธิบางชนิด ผสมพันธุ์กันเองในตัว แล้วปล่อยไข่ออกมา เช่น พยาธิตัวตืด บางชนิดใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน แล้วเจริญกลายเป็นตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย

 

 

พวกหนอนตัวกลม

สัตว์ พวกนี้จะมีลักษระลำตัวกลมยาวเหมือนเชือก หัวท้ายค่อนข้างแหลม ลำตัวไม่เป็นปล้อง เป็นพวกที่เรียกว่า ปรสิตทั้งในพืชและในสัตว์ เช่น ไส้เดือนฝอย พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวจื๊ด ตัวผู้กับตัวเมียแยกกัน ตัวเมียจะโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียหางเหยียด ตัวผู้หางจะงอเล็กน้อย

        การสืบพันธุ์ ของสัตว์กลุ่มจะเป็นแบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กัน ไข่ของตัวเมียที่ถูกผสมแล้วจะถูกปล่อยออก
มาภายนอกร่างกายของสัตว์ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ โดยออกมากับอจุจาระ เมื่อมีอากาศและความชื้นที่เหมาะสมจึงฟักเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนไซ
เข้าสู่ร่างกายสัตว์อื่นทางซอกเท้าไปตามเส้ยโลหิต ได้แก่ พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย

พวกลำตัวเป็นปล้อง

 สัตว์ พวกนี้ จะมีลำตัวกลมยาวเหมือนพยาธิตัวกลม แต่จะมีลักษณะเป็นปล้องๆ เหมือนวงแหวนหลายๆ อันเรียงซ้อนกัน มีผิวหนังเปียกชื้นช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ ส่วนใหญ่ หากินอิสระ และอาศัยในทะเล เช่น แม่เพรียง บางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ตัวสงกรานต์ (ตัวร้อยขา) บางชนิดเป็น ปรสิต ดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงบก(ทาก) บางชิดอาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือนดิน

        การสืบพันธุ์ สัตว์พวกนี้ มีทั้ง 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน และแยกเพศคนละตัว จะอาศัยเพศในการสืบพันธุ์

 

พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

สัตว์ พวกนี้ ตามผิวหนังจะมีลักษณะเป็นปุ่มปมขุรขระ บางชนิดเป็นหนาม บางชนิดมีเปลือกหุ้มลำตัวรูปทรงกลม หรือกลมแบน เช่น ปลาดาว หอยเม่น

         การสืบพันธุ์  สัตว์พวกนี้มีการสืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิภายนอก ตัวเมียจะมีการผลิตไข่คั้รงละมาก เพื่อให้มีโอกาสอยู่รอดได้มาก ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะพบในพวกปลาดาวทะเล

พวกหอยและหมึก

 สัตว์ พวกนี้ จะมีลักษณะลำตัวอ่อนนิ่ม บางชนิดมีเปลือกแข็งซึ่งเป็นสารพวกหินปูนหุ้มลำตัว เช่น หอยต่างๆ ใช้กล้ามเนื้อท้องในการเคลื่อนที่ บางชนิดจะไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว แต่มีเนื้อลำตัวเหนียวมาก เช่นปลาหมึกธรรมดา และปลาหมึกยักษ์ ใช้หนวดโบกพัดเพื่อว่ายน้ำเคลื่อนที่ไป ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกบางชนิดอาศัย อยู่บนบก หายใจด้วยปอด เช่นหอยทาก

           การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน แต่บางชนิดมีการปฏิสนธิภายนอก โดยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปผสมกันในน้ำ

พวกมีขาเป็นข้อ

สัตว์ พวกนี้ จะมีขาเป็นข้อๆ ต่อกัน ทุกชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวด้านนอกแบ่งเป็นปล้องๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตราย และทำให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ เมื่อร่างกายภายในเจริญเติบโตจะดันเปลือกให้แตกออก แล้วสร้างเปลือกใหม่ เราเรียกว่า ลอกคราบ ระหว่างลอกคราบ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ขนาดจะคงที่ จะพบสัตว์พวกนี้ทั้งบนบก ในน้ำจืด และในน้ำเค็ม เนื่องจากสัตว์พวกนี้ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีจำนวนมากนักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ี

1.      พวกแมลง เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดกว่ากลุ่มอื่น ลำตัว แบ่งออกเป็นส่วนหัว อก และท้อง มีชา 3 คู่ ที่บริเวณอกส่วนใหญ่มีปีกช่วยในการบิน 1-2 คู่ แมลงจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างการเจริญเติบโต โดยการลอกคราบ

2.      พวกแมงมุม สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก มีขา 4 คู่ เช่นแมงมุม บึ้ง แมงป่อง

3.      พวกตะขาบ สัตว์พวกนี้จะมีลำตัวเรียวยาว และแบนเล็กน้อยลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ เช่น ตะขาบ ซึ่งมีเขี้ยวพิษที่บริเวณปากไว้ป้องกันตัว และฆ่าเหยื่อ

4.      กิ้งกือ สัตว์พวกนี้มีลำตัวเป็นทรงกระบอก และ แบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 2 คู่ เช่น กิ้งกือ แม้จะมีขามากแต่เดินได้อย่างเชื่องช้าเมื่อมีสิ่งใดมากระทบจะม้วนลำตัวเป็นวงกลม

5.      พวกกุ้งและปู สัตว์พวกนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ จะพบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปู กุ้ง กั้ง และไรน้ำ

การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน มีการวางไข่

              Link    https://www.school.net.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด