รายการโทรทัศน์ครูการเคลื่อนที่ขอสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนไหวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ระบบย่อยอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง


3,258 ผู้ชม


รายการโทรทัศน์ครูการเคลื่อนที่ขอสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนไหวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ระบบย่อยอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

           รายการโทรทัศน์ครูการเคลื่อนที่ขอสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

   

7.2 การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
คลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของไส้เดือน
...........ไส้เดือน (earth worm) ไส้เดือนจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิตา (annelida) ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว (circular muscle)
อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือย (setae) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ
ที่ยื่นออกจากลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย ขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่ ไส้เดือนจะใช้เดือยจิกดินไว้ และกล้ามเนื้อวงกลมหดตัวส่วนกล้ามเนื้อตามยาว
คลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก เมื่อสุดแล้ว ส่วนหน้า คือ ปล้องแรกของไส้เดือนกับเดือยจะจิกดินแล้วกล้ามเนื้อวงกลมคลายตัว
...........กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ดึงส่วนท้ายของลำตังเคลื่อนมาข้างหน้า การเคลื่อนที่ของไส้เดือนเกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลม
และกล้ามเนื้อตามยาว หดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลัง ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า

การเคลื่อนที่ของหนอนตัวกลม

...........พวกหนอนตัวกลม (round worm) จัดอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (nematoda) เช่น เนมาโทด (nematode) พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ
พยาธิเส้นด้าย หนอนในน้ำส้มสายชู สัตว์กลุ่มนี้จะมีกล้ามเนื้อเรียงตามความยาวของลำตัว(longitudinal muscle) เท่านั้น การเคลื่อนที่ก็อาศัยการหดตัว
คลายตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดลักษณะส่ายไปส่ายมา แต่ก็เคลื่อนที่ไปได้
การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
...........พลานาเรีย (planaria) พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบน ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส(platyhelminthes) อาศัยอยู่ในน้ำ พลานาเรียมีกล้ามเนื้อ
3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อวง (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก กล้ามเนื้อตามยาว(longitudinal muscle) อยู่ทางด้านใน และกล้ามเนื้อทแยง
(oblique muscle) ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและว่าวล่างขิงลำตัว
...........พลา นาเรียเคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำหรือคืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้าม เนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้กล้ามเนื้อ
ลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำ ในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำซิเลีย ที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยให้เลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น
..........................................................................................

การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน

...........แมงกะพรุน (jelly fish) แมงกะพรุนมีรูปร่างเหมือนร่ม เป็นสัตว์ที่มีลำตัวนิ่มมาก มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุน จัดอยู่ในไฟลัม
ซีเลนเทอราตา (coelenterate) เคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณขอบร่มและผนังลำตัวทำให้ พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไป
ในทิศทางตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออกมา การหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย
การเคลื่อนที่ของหมึก
...........หมึก (squid) หมึกเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหอย จัดอยู่ในไฟลัม มอลลัสกา (mollusca) หมึกเคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลำตัว พ่นน้ำออกมา
ไซฟอน (siphon) ซึ่งอยู่ทางส่วนล่างของส่วนหัวทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าในทิศทางที่ตรงข้ามกับ ทิศทางของน้ำนอกจากนี้ส่วนของไซฟอน ยังสามารถ เคลื่อนไหวได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วยส่วนความเร็วนั้นขึ้นกับ ความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ลำตัว แล้วพ่นน้ำออกมา หมึกยังมีครีบอยู่ทางด้านข้างลำตัวช่วยในการทรงตัวให้หมึกเคลื่อนไปในทิศทาง ที่เหมาะสม

การเคลื่อนที่ของดาวทะเล

...........ดาวทะเล (sea star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (echinodermata) มีโครงแข็งที่ผิวนอกไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ ดาวทะเลมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ (water-vascular system) ซึ่งพบได้ในสัตว์กลุ่มนี้เท่านั้น ระบบท่อน้ำประกอบด้วยตะแกรงน้ำเข้าคือ มาดรีโพไรต์ (madrepolite) ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของดาวทะเล ต่อจากช่องตะแกรง เป็นท่อเล็กๆ เรียกว่า สโตนแคแนลเชื่อมต่อกับท่อวงแหวนที่อยู่รอบปาก เรียกว่า ริงแคแนล (ring canal) จากท่อวงแหวนนี้จะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขนทั้ง 5 ของดาวทะเล เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล (radial canal) ทางด้านข้างของเรเดียลแคแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต (tube feet) ทางด้านบนของทิวบ์ฟีต จะมีลักษณะพองเป็นกระเปาะเรียกว่า แอมพูลลา (ampulla)
น้ำเข้าสู่ระบบท่อน้ำทางมาดรีโพไรต์ และไหลผ่านท่อวงแหวนรอบปากเข้าสู่ท่อเรเดียลแคแนลและทิวบ์ฟีต เมื่อกล้ามเนื้อที่แอมพูลลาหดตัวทำให้ดันน้ำในทิวบ์ฟีต ยืดยาวออกไปดันกับพื้นที่อยู่ด้านล่างทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้ว ทิวบ์ฟีตจะหดสั้นเข้า น้ำกลับเข้าไปอยู่ในแอมพูลลาใหม่ การยืดและหดของทิวบ์ฟีต ของดาวทะเล จะเกิดขึ้นหลายๆทิวบ์ฟีตและหลายๆครั้ง และมีความสัมพันธ์กันทำให้เคลื่อนที่ไปได้
................................

การเคลื่อนที่ของแมลง

แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่แมลงมีโครงร่างภายนอก (exoskeleton)ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อ ซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัวเป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อข้ออื่นๆเป็นแบบบานพับ
การเคลื่อนไหวเกิดจากการทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ (flexor)และเอกเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่ในโพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งเป็นการทำงาน แบบแอนทาโกนิซึม (antagonism)
แมลงมีระบบกล้ามเนื้อ 2 แบบ คือ
1. ระบบกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับปีกโดยตรง โดยมีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาอยู่โคนปีกด้านในและส่วนท้อง เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวจะทำให้ปีกยกข้น และกล้ามเนื้ออีกชุดหนึ่งเกาะอยู่กับโคนปีกด้านนอกและส่วนท้อง เมื่อกล้ามเนื้อชุดนี้หดตัวจะทำให้ปีกลดตัวต่ำลง การทำงานของมัดกล้ามเนื้อนี้เป็นแบบแอนทาโกนิซึม ทำให้ปีกของแมลงยกขึ้น และกดลงจึงทำให้เกิดการบินขึ้น
2. ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง แต่ติดต่อกับผนังส่วนอก กล้ามเนื้อคู่หนึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามขวางโดยเกาะอยู่กับผนังด้านบนของส่วนอก กับผนังด้านล่างของส่วนอก เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกแคบเข้าและลดต่ำลง เกิดการยกปีกขึ้น ส่วนกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งจะเป็นกล้ามเนื้อตามยาวไปตามลำตัว เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกยกสูงขึ้น ทำให้กดปีกลงด้านหลัง การทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองคู่นี้จะทำงานประสานกันเป็นแบบแอนทาโกนิซึม จึงทำให้ขยับปีกขึ้นลงและบินไปได้

               
 

    Mind Mapping (การเคลื่อนที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง)

           Link     https://www.lks.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             การเคลื่อนไหวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

7.2การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

        สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน มีของเหลวที่ เรียกว่า มีโซเกลีย ( mesoglea )แทรกอยู่ระหว่างเน้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื้อชั้นใน การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนเกิดจากการหดตัวของเนื้อเยื้อบริเวณขอบกระดิ่งและ ที่ผนังลำตัวสลับกันทำให้เกิดแรงดันของน้ำผลักตัวแมงกะพรุนให้พุ่งไปในทิศ ตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออกไป

ที่มารูปภาพ www.blufiles.storage.live.com/y1p6lhT_E1zpZ4e3PoT...

        การเคลื่อนที่ของหมึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำให้น้ำภายใน ลำตัวพ่นออกทางท่อไซฟอน (siphon) ซึ่งเป็นท่อสำหรับพ่นน้ำออกมาดันให้ลำตัวของหมึกเคลื่นที่ไปในทิศตรงข้ามกับ ทิศทางของน้ำที่พ่นออกมา

ที่มารูปภาพ www.blufiles.storage.live.com/y1p6lhT_E1zpZ4e3PoT...

         การเคลื่อนที่ของกะพรุนและหมึกเกิดจากการพ่นน้ำออกมาและขณะเดียวกัน น้ำที่พ่นออกมาก็จะมีแรงดัน ให้สัตว์เคลื่อนที่ไปในทิศตรงข้ามตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ขณะที่ไส้เดือนดินเคลื่อนที่จะใช้โครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำตัว เรียกว่า เดือย (setae) จิกดินเพื่อไม่ให้ส่วนท้ายของลำตัวเคลื่อนที่ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อวงที่ ด้านหัวหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัว ปล้องจะยืดยาวออก ทำให้ลำตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้วใช้ริมฝีปากที่อยู่ส่วนหน้าสุดของปล้อง แรกยืดส่วนหัวไว้กับดิน แต่กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว กล้ามเนื้อวงจะคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดจะต่อเนื่องกันคล้ายระลอกคลื่น โดยเริ่มจากปลายด้านหัวมาสู่ปลายส่วนท้ายของลำตัว การทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุดในลักษณะนี้ เรียกว่า สภาวะตรงข้าม (antagonism) ขณะที่เกิดการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อชุดใดที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นงอเข้า มา เรียกว่า กล้ามเนื้อแฟล็กเซอร์ กล้ามเนื้อชุดใดที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นเหยียดออก เรียกว่า กล้ามเนื้อ เอ็กเทนเซอร์

ที่มารูปภาพ www.blufiles.storage.live.com/y1p6lhT_E1zpZ4e3PoT...

       Link   https://www.thaigoodview.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                ระบบย่อยอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์

สัตว์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกัน และสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้บางชนิดมีเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ยังไม่มีการพัฒนาให้เห็นได้ชัดเจน แต่บางชนิดก็มีการพัฒนาให้เห็นได้อย่างชัดเจน มีความซับซ้อนของโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลทำให้ระบบต่าง ๆ มีส่วนประกอบของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไปด้วย

 

1. ระบบย่อยอาหารของสัตว์

1.1 การย่อยอาหารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด เช่น ปลา กบ กิ้งก่า แมว จะมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ซึ่งทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วย

ปาก ® หลอดอาหาร ® กระเพาะอาหาร ®  ลำไส้เล็ก ®  ทวารหนัก

 

 

รูปแสดงทางเดินอาหารของวัว

 

 

 

1.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

1.2.1 การย่อยอาหารในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

 

 

รูปแสดงระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

ชนิดของสัตว์

ลักษณะทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร

1. ฟองน้ำ

- ยังไม่มีทางเดินอาหาร แต่มีเซลล์พิเศษอยู่ผนังด้านในของฟองน้ำ เรียกว่า เซลล์ปลอกคอ (Collar Cell) ทำหน้าที่จับอาหาร แล้วสร้างแวคิวโอลอาหาร (Food Vacuole) เพื่อย่อยอาหาร

2. ไฮดรา แมงกะพรุน ซีแอนนีโมนี

- มีทางเดนอาหารไม่สมบูรณ์ มีปาก แต่ไม่มีทวารหนัก อาหารจะผ่านบริเวณปากเข้าไปในช่องลำตัวที่เรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastro vascular Cavity) ซึ่งจะย่อยอาหารที่บริเวณช่องนี้ และกากอาหารจะถูกขับออกทางเดิมคือ ปาก

3. หนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้

- มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีช่องเปิดทางเดียวคือปาก ซึ่งอาหารจะเข้าทางปาก และย่อยในทางเดินอาหาร แล้วขับกากอาหารออกทางเดิมคือ ทางปาก

1.2.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์

 

 

ชนิดของสัตว์

ลักษณะทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร

1. หนอนตัวกลม เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย

- เป็นพวกแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือ มีช่องปากและช่องทวารหนักแยกออกจากกัน

2. หนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และแมลง

- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ และมีโครงสร้างทางเดนอาหารที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละส่วนมากขึ้น

 

2. ระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์

ในสัตว์ชั้นสูงมีระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีหลอดเลือดเป็นทางลำเลียงเลือดไปทั่วทุกเซลล์ของร่างกาย แต่ในสัตว์บางชนิดใช้ช่องว่างระหว่างอวัยวะเป็นทางผ่านของเลือด

ระบบหมุนเวียนเลือดมี 2 แบบ ดังนี้

2.1 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed Circulation System) ระบบนี้เลือดจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือดตลอดเวลา โดยเลือดจะไหลออกจาหัวใจไปตามหลอดเลือดชนิดต่าง ๆ แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจใหม่เช่นนี้เรื่อยไป พบในสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

 

รูปแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด

 

 

รูปแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิดของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

2.2 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulation System) ระบบนี้เลือดที่ไหลออกจากหัวใจจะไม่อยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาเหมือนวงจรปิด โดยจะมีเลือดไหลเข้าไปในช่องว่างลำตัวและที่ว่างระหว่าอวัยวะต่าง ๆ พบในสัตว์จำพวกแมลง กุ้ง ปู และหอย

 

รูปแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด

 

 

3. ระบบหายใจในสัตว์

สัตว์ต่าง ๆ จะแลกเปลี่ยนก๊าซกับสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการแพร่ (Diffusion) โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่างกัน

 

 

รูปแสดงระบบหายใจของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

ชนิดของสัตว์

โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ

1. สัตว์ชั้นต่ำ เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน ฟองน้ำ พลานาเรีย

- ไม่มีอวัยวะในการหายใจโดยเฉพาะ การแลกเปลี่ยนก๊าซใช้เยื่อหุ้มเซลล์หรือผิวหนังที่ชุ่มชื้น

2. สัตว์น้ำชั้นสูง เช่น ปลา กุ้ง ปู หมึก หอย ดาวทะเล

- มีเหงือก (Gill) ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความซับซ้อน แต่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน (ยกเว้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในช่วงที่เป็นลูกอ๊อดซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ จะหายใจด้วยเหงือก ต่อมาเมื่อโตเป็นตัวเต็มวัยอยู่บนบก จึงจะหายใจด้วยปอด)

3. สัตว์บกชั้นต่ำ เช่น ไส้เดือนดิน

- มีผิวหนังที่เปียกชื้น และมีระบบหมุนเวียนเลือดเร่งอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซ

4. สัตว์บกชั้นสูง มี 3 ประเภท คือ

4.1 แมงมุม

 

4.2 แมลงต่าง ๆ

 

4.3 สัตว์มีกระดูกสันหลัง

 

- มีแผงปอดหรือลังบก (Lung Book) มีลักษณะเป็นเส้น ๆ ยื่นออกมานอกผิวร่างกาย ทำให้สูญเสียความชื้นได้ง่าย

- มีท่อลม (Trachea) เป็นท่อที่ติดต่อกับภายนอกร่างกายทางรูหายใจ และแตกแขนงแทรกไปยังทุกส่วนของร่างกาย

- มีปอด (Lung) มีลักษณะเป็นถุง และมีความสัมพันธ์กับระบบหมุนเวียนเลือด

 

 

4. ระบบขับถ่ายในสัตว์

ในเซลล์หรือในร่างกายของสัตว์ต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยาเคมีจำนวนมากเกิดขึ้นตลอดเวลา และผลจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตและของเสียที่ต้องกำจัดออกด้วยการขับถ่าย สัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะและกระบวนการกำจัดของเสียออกนอกร่างกายแตกต่างกันออกไป สัตว์ชั้นต่ำที่มีโครงสร้างง่าย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ส่วนสัตว์ชั้นสูงที่มีโครงสร้างซับซ้อน การกำจัดของเสียจะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เฉพาะ

ระบบขับถ่ายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

 

รูปแสดงระบบขับถ่ายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

 

ชนิดของสัตว์

โครงสร้างหรืออวัยวะขับถ่าย

1. ฟองน้ำ

- เยื่อหุ้มเซลล์เป็นบริเวณที่มีการแพร่ของเสียออกจากเซลล

2. ไฮดรา แมงกะพรุน

- ใช้ปาก โดยของเสียจะแพร่ไปสะสมในช่องลำตัวแล้วขับออกทางปากและของเสียบางชนิดจะแพร่ทางผนังลำตัว

3. พวกหนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้

- ใช้เฟลมเซลล์ (Flame Cell) ซึ่งกระจายอยู่ทั้งสองข้างตลอดความยาวของลำตัว เป็นตัวกรองของเสียออกทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว

4. พวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน

- ใช้เนฟริเดียม (Nephridium) รับของเสียมาตามท่อ และเปิดออกมาทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว

5. แมลง

- ใช้ท่อมัลพิเกียน (Mulphigian Tubule) ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ระหว่างกระเพาะกับลำไส้ ทำหน้าที่ดูดซึมของเสียจากเลือด และส่งต่อไปทางเดินอาหาร และขับออกนอกลำตัวทางทวารหนักร่วมกับกากอาหาร

6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง

- ใช้ไต 2 ข้างพร้อมด้วยท่อไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะขับถ่าย

 

5. ระบบประสาท

ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งงาน การติดต่อเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม การรับคำสั่งและการปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำกิจกรรมได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ระบบประสาทของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

 

รูปแสดงระบบประสาทของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

ชนิดของสัตว์

ระบบประสาท

1. ฟองน้ำ

- ไม่มีระบบประสาท

2. ไฮดรา แมงกะพรุน

- เป็นพวกแรกที่มีเซลล์ประสาท โดยเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันคล้ายร่างแห เรียกว่า ร่างแหประสาท (Nerve Net)

3. หนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย

- เป็นพวกแรกที่มีระบบประสาทเป็นศูนย์ควบคุมอยู่บริเวณหัว และมีเส้นประสาทแยกออกไป ซึ่งจะมีระบบประสาทแบบขั้นบันได (Ladder Type System)

4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น ไส้เดือนดิน แมลง หอย

- มีปมประสาท (Nerve Ganglion) บริเวณส่วนหัวมากขึ้น และเรียงต่อกันเป็นวงแหวนรอบคอหอยหรือหลอดอาหาร ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระบบประสาท และมีเส้นประสาททอดยาวตลอดลำตัว

5. สัตว์มีกระดูกสันหลัง

- มีสมองและไขสันหลังเป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกาย มีเซลล์ประสาทและเส้นประสาทอยู่ทุกส่วนของร่างกาย

 

6. ระบบสืบพันธุ์ในสัตว์

6.1 ประเภทของการสืบพันธุ์ของสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) เป็นการสืบพันธุ์โดยการผลิตหน่วยสิ่งมีชีวิตจากหน่วยสางมีชีวิตเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากการใช้เซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ การแตกหน่อ การงอกใหม่ การขาดออกเป็นท่อน และพาร์ธีโนเจเนซิส

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ได้แก่ การสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำบางพวก และสัตว์ชั้นสูงทุกชนิด

สัตว์บางชนิดสามารถสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ เช่น ไฮดรา การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดราจะใช้วิธีการแตกหน่อ

6.2 ชนิดของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีหลายชนิดดังนี้

1. การแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์ที่หน่วยสิ่งมีชีวิตใหม่เจริญออกมาภายนอกของตัวเดิมเรียกว่า หน่อ (Bud) หน่อที่เกิดขึ้นนี้จะเจริญจนกระทั่งได้เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเดิม แต่มีขนาดเล็กว่า ซึ่งต่อมาจะหลุดออกจากตัวเดิมและเติบโตต่อไป หรืออาจจะติดอยู่กับตัวเดิมก็ได้ สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา ฟองน้ำ ปะการัง

 

รูปแสดงการแตกหน่อของไฮดรา

 

2. การงอกใหม่ (Regeneration) เป็นการสืบพันธุ์ที่มีการสร้างส่วนของร่างกายที่หลุดออกหรือสูญเสียไปให้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ ทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้น สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ ได้แก่ พลานาเรีย ดาวทะเล ซีแอนนีโมนี ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด

 

รูปแสดงการงอกใหม่ของพลานาเรียและดาวทะเล

 

3. การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation) เป็นการสืบพันธุ์โดยการขาดออกเป็นท่อน ๆ จากตัวเดิมแล้วแต่ละท่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ พบในพวกหนอนตัวแบน

4. พาร์ธีโนเจเนซีส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์ของแมลงบางชนิดซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ ในสภาวะปรกติ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาพะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้ง หนาเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียจะผลิตไข่ที่ฟักออกมาเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กัน แล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว แมลงที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ ได้แก่ ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำ ในพวกแมลงสังคม เช่น ผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์ในลักษณะนี้เหมือนกัน แต่ในสภาวะปรกติไข่ที่ฟักออกมาจะได้ตัวผู้เสมอ

6.3 ชนิดของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพสของสัตว์ มี 2 ชนิด ดังนี้

1. การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน (Monoecious) โดยทั่วไปไม่สามารถผสมกันภายในตัว ต้องผสมข้ามตัว เนื่องจากไข่และอสุจิจะเจริญไม่พร้อมกัน เช่น ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน

 

รูปแสดงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดราตัวอ่อนหลุดจากรังไข่ แล้วเจริญเติบโตต่อไป

 

2. การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มีเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่ต่างตัวกัน (Dioeciously) ในการสืบพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้มีการปฏิสนธิ 2 แบบ คือ

2.1 การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization) คือ การผสมระหว่างตัวอสุจิกับไข่ที่อยู่ภายในร่างกายของเพศเมีย สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบรี้ ได้แก่ สัตว์ที่วางไข่บนบกทุกชนิด สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม

2.2 การปฏิสนธิภายนอก (External fertilization) คือการผสมระหว่างตัวอสุจิกับไข่ที่อยู่ภายนอกร่างกายของสัตว์เพศเมีย การปฏิสนธิแบบนี้ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เข้าไปผสมไข่ได้ สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ ได้แก่ ปลาต่าง ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ที่วางไข่ในน้ำทุกชนิด

 

7. ระบบโครงกระดูกและการเจริญเติบโตของสัตว์

7.1 ประเภทของโครงกระดูกหรือโครงร่างแข็งของสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. โครงร่างแข็งที่อยู่ภายนอกร่างกาย (Exoskeleton) พบได้ในแมลง เปลือกกุ้ง ปู หอย เกล็ดและกระดองสัตว์ต่าง ๆ มีหน้าที่ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่ภายใน

 

 

รูปแสดงโครงร่างแข็งที่อยู่ภายนอกร่างกายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

2. โครงร่างแข็งที่อยู่ภายในร่างกาย (Endoskeleton) ได้แก่ โครงกระดูกของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมด

 

7.2 การเจริญเติบโของสัตว์

สัตว์ที่มีโครงร่างหุ้มนอกร่างกาย และมีโครงร่างแข้งอยู่ภายในร่างกาย จะมีแบบแผนของการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ดังนี้

1. การเจริญเติบโตของสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งหุ้มนอกร่างกาย เช่น แมลง กุ้ง ปู มีการเจริญเติบโตได้ยาก ดังนั้นเมื่อเจริญวัยจะต้องมีการสลัดเปลือกเก่าทิ้งไปที่เรียกว่า ลอกคราบ (Molting) เพื่อให้ผิวร่างกายที่อ่อนนิ่มเติบโตได้แล้วจึงสร้างโครงแข็งหรือเปลือกมาหุ้มใหม่ และต่อไปก็จะเจริญด้วยการลอกคราบอีก เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป ทำให้ลักษณะเส้นกราฟการเจริญเติบโตเป็นรูปขั้นบันได ซึ่งเส้นกราฟจะมีลักษณะเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นระยะที่สิ่งมีชีวิตมีการลอกคราบและเติบโตขึ้น สลับกับการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในบางช่วง

 

กราฟแสดงการเจริญเติบโตของมวนน้ำ

 

ส่วนหอยมีโครงร่างแข็งหุ้มนอกร่างกายเหมือนกัน แต่ไม่ต้องลอกคราบ มันจะสร้างเปลือกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตัวมันที่อยู่ภายในก็จะขยายใหญ่ตามไปด้วย

สำหรับแมลง การเจริญเติบโตของแมลงแบ่งออกได้เป็น 2 พวก ดังนี้

ชนิดการเจริญเติบโตของแมลง

ลักษณะการเจริญเติบโต

1. ไม่มีเมตามอร์โฟซีส (Ametamorphosis)

 

วัฏจักรชีวิตของแมลงสองง่าม

- ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในการเจริญเติบโต คือ

ไข่ (egg) ® ตัวอ่อน (young) เหมือนตัวเต็มวัย แต่เล็กกว่า ® ตัวเต็มวัย (adult)

ตัวอย่างแมลง เช่น ตัวสองง่าม ตัวสามง่าม แมลงหางดีด

2. มีเมตามอร์โฟซีส (Metamorphosis)

2.1 เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ (Complete Metamophosis)

 

วัฏจักรชีวิตของด้วง

- มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นขั้น ๆ ในระหว่างกานเจริญเติบโต แมลงที่เจริญเติบโตลักษณะนี้ ได้แก่ แมลงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 1.

- มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ขั้น คือ

ไข่ (egg) ® ตัวอ่อน (larva) ® ดักแด้ (pupa) ® ตัวเต็มวัย (adult)

ตัวอย่างแมลง เช่น ผึ้ง ด้วง แมลงวัน มด ต่อ แตน ไหม

 

วัฏจักรชีวิตของแมลงวัน

2.2 เมตามอร์โฟซีสแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Metamorphosis)

ตัวอย่างแมลง เช่น แมลงปอ ชีปะขาว จิ้งโจ้น้ำ

- มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น คือ

ไข่ (egg) ® ตัวอ่อนในน้ำ (naiad) ® ตัวเต็มวัย (adult)

 

วัฏจักรชีวิตของแมลงปอ

2.3 เมตามอร์โฟซีสแบบค่อยเป็นค่อยไป(Gradual Metamorphosis)

ตัวอย่างแมลง เช่น แมลงสาป จิ้งหรีด จักจั่น เรือด มวนต่าง ๆ

 

วัฏจักรชีวิตของแมลงสาป

- มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น คือ

ไข่ (egg) ® ตัวอ่อนบนบก (nymph) ® ตัวเต็มวัย (adult)

 

 

2. การเจริญเติบโตของสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งอยู่ภายในร่างกาย มีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับคน โดยมีเส้นกราฟของการเจริญเติบโตเป็นรูปตัวเอส (Growth Curve) เช่นเดียวกัน แต่ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ในระหว่างการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง นั้นก็คือสัตว์พวกนี้จะมีเมตามอร์โฟซีส ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ช่วงชัดเจน คือ ช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ และช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกซึ่งมีลำดับขั้นการเจริญเติบโต คือ

ไข่ ® ลูกอ๊อด ® ตัวเต็มวัย

 

 

7.3 ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์

ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของสัตว์มีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม ความสัมพันธ์ของระบบเหล่านี้ทำให้สัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในรางกายสัตว์ ได้แก่

1. การเคลื่อนที่ของสัตว์ เป็นสมบัติที่สำคัญที่ทำให้สัตว์แตกต่างจากพืช โดยปรกติสัตว์จะเคลื่อนที่เข้าหาสิ่งที่มีประโยชน์หรือสิ่งที่ต้องการในการ ดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม การผสมพันธ์ หรือการเลี้ยงดูตัวอ่อน แต่จะเคลื่อนหนีจากสิ่งที่ไม่ต้องการหรือเป็นอันตราย เช่น ศัตรูหรือผู้ล่า การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่ว่าวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังจะเคลื่อนที่ได้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ส่วนสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบกล้ามเนื้อ ระบบโครงกระดูก และระบบประสาท

2. การเจริญเติบโตของสัตว์ตั้งแต่ตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย จะต้องอาศัยทุกระบบในร่างกาย และระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานประสานสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้การเจริญเติบโตของสัตว์เป็นไปตามปรกติ เช่น

- ระบบย่อยอาหาร จะเป็นระบบที่นำสารอาหารต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย เพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเจริญเติบโต

- ระบบหายใจ นำก๊าซที่เซลล์ต้องการเข้าสู่ร่างกายและกำจัดก๊าซที่เซลล์ไม่ต้องการออกนอกร่างกาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

- ระบบหมุนเวียนเลือด นำสารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย และนำสารที่เซลล์ไม่ต้องการไปยังอวัยวะขับถ่ายเพื่อกำจัดออกนอกร่างกาย

- ระบบขับถ่าย กำจัดของเสียที่เซลล์ไม่ต้องการออกนอกร่างกาย

- ระบบโครงกระดูก ถ้าเป็นโครงร่างแข็งที่อยู่ภายนอกร่างกาย จะช่วยป้องกันอันตรายภายในไม่ให้ได้รับอันตราย แต่ถ้าเป็นโครงร่างแข็งที่อยู่ภายใน จะช่วยในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่

ระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมกลไกลการทำงานของทุกระบบในร่างกาย

            Link       https://school.obec.go.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เมื่อสัตว์เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็พร้อมที่สะสืบพันธุ์เพื่อที่จะเพิ่มลูกหลาน ทำให้สัตว์แต่ละชนิดสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้

อัพเดทล่าสุด