กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด


8,144 ผู้ชม


กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด

                กระดูกสันหลังเสื่อม

กระดูกสันหลังเสื่อม


         กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
ก่อนอื่นขออธิบายถึงลักษณะของข้อกระดูกสันหลังก่อนว่า กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางหลัง 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้องๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็กๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่นการก้ม การเงย ของคอ การก้มหลังและแอ่นหลัง เป็นต้น
ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
สำหรับการรักษาส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิดๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้จะมีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

ข้อกระดูกเสื่อม


          ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยสุดในบรรดาโรคที่เกี่ยวกับข้ออักเสบ ข้อกระดูกเสื่อมมีสาเหตุมาจากการใช้งานข้อนั้นๆ มาเป็นเวลานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูก ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงของข้อกระดูกเสื่อม จะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนของปลายกระดูกที่มาประกอบกันเป็นข้อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า กระดูกอ่อนคือส่วนปลายกระดูก สีขาวมัน เหมือนเช่น เวลาเรารับประทานขาไก่ เราจะเห็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนปลาย สีขาวมัน ผิวมีลักษณะเรียบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ก็เหมือนกระดูกอ่อนในคนอายุไม่มาก เวลาข้อกระดูกเสื่อม ผิวที่เรียบนี้จะขรุขระ เพราะมีการทำลายกระดูกอ่อน จนลงไปถึงตัวกระดูกข้างใต้ เวลามีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวด และจะขัดเวลาเริ่มมีการเคลื่อนไหว ข้อกระดูกที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อนก็จะเสื่อมเช่นนี้ได้เร็วกว่าปกติ
ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีทางหายขาด ถือเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องคอยประคับประคอง ไม่ให้มีการเสื่อมมากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าท่านยังไม่มีภาวะข้อกระดูกเสื่อม ท่านคงจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติตนเพื่อชะลอการเสื่อม            โดยหลักของการปฏิบัติตนคงจะไม่พ้นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ เพราะน้ำหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากรับแรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้ท่านจะต้องทราบว่า ท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันท่าใดที่ไม่ควรกระทำเพราะจะทำให้ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลังรับแรงมากเกินไป การบริหารร่างกายเฉพาะส่วนเช่น การบริหารกล้ามเนื้อหลัง จะช่วยชลอข้อสันหลังเสื่อมได้
สำหรับรายละเอียดการดูแลรักษา หรือการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกระดูกเสื่อม ท่านสามารถสอบถามได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ หรือที่เรียกว่าศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์นะคะ


ข้อเข่าเสื่อม


             ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเกือบทุกคนก็ว่าได้ เพราะการใช้งานตั้งแต่คนเราเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ล้วนแล้วแต่มีแรงไปกระทำที่ข้อเข่าทั้งสิ้น ซ้ำร้ายบางคนน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้รวดเร็วกว่าวัยอันสมควรนอกจากนี้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น กระดูกบริเวณข้อเข่าหัก หรือเอ็นที่ยึดข้อเข่าขาด แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มีส่วนทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดขึ้นคือ ผิวของกระดูกอ่อนหายไป จนทำให้ผิวข้อส่วนนั้นกลายเป็นเนื้อกระดูก ไม่ใช่กระดูกอ่อนที่มาสัมผัสกันเวลาข้อเข่าเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และบางครั้งทำให้ข้ออักเสบ บวม มีน้ำในข้อเข่า และต้องไปรับการเจาะเอาน้ำออก ข้อเข่าที่เสื่อมนี้เวลางอเข่ามากๆ เช่นนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ ผิวข้อยิ่งเบียดกันมากจะยิ่งมีอาการปวดมากจนบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่ามากๆ ได้
ท่านพอที่จะทราบการเปลี่ยนแปลงและอาการของข้อเข่าเสื่อมแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีอาการหรือเริ่มมีอาการ ท่านสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วได้ โดยการระมัดระวังในการใช้เข่า ไม่ปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรเป็น การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงแล้วยกขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่ลงไปที่กระดูกข้อเข่าได้บ้าง สำหรับท่านที่มีอาการแล้ว ควรลดกิจกรรมลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาลดการอักเสบของข้อ และการอธิบายให้ระวังการใช้ข้อเข่า บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย และถ้าไม่หาย การรักษาอาจจะใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่า เพื่อผ่าตัดทำให้ข้อเข่าเรียบขึ้น หรืออาจใช้การผ่าตัดจัดข้อเข่าให้ตรงขึ้นในรายที่ข้อเข่าโก่ง และบางรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากๆ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงจะทำให้หายปวดได้

 

 

ปัญหาการใช้ยาในคนสูงอายุ


            ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะต้องรับประทานยาไม่มากก็น้อย ยาบางอยางไม่ใช่ยาอันตราย เช่น วิตามิน ยาบำรุงต่างๆ แต่ยาบางอย่างก็เป็นยาอันตราย ซึ่งต้องการความระมัดระวัง ทั้งจำนวนและเวลาที่ควรรับประทาน เนื่องจากการออกฤทธิ์ของยานั้นมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของยา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะคำนวณแล้วว่า ควรจะให้รับประทานกี่มื้อ ห่างกันทุกกี่ชั่วโมง ดังนั้นการเลื่อนเวลาออกไปเพราะลืม หรือเลื่อนเวลาออกไปเพราะมื้ออาหารไม่แน่นอน หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นยาที่ต้องการความแน่นอนของระยะเวลา ซึ่งผู้สูงอายุเองหรือลูกหลาน อาจจะต้องทำความเข้าใจ และถามแพทย์ผู้รักษาให้แน่ใจในวิธีการรับประทานที่ถูกต้องและควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้ผลดีต่อตนเอง
สิ่งที่ควรจะกระทำอย่างยิ่งคือการจดรายละเอียด วิธีการรับประทานยาของยาแต่ละชนิดที่แพทย์สั่งไว้ให้ชัดเจน พร้อมกับชื่อยาแต่ละอย่างถ้าท่านทราบ ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจะเขียนชื่อยาติดไว้ที่ข้างซองเสมอ การเตรียมยาไว้ให้พร้อมทุกมื้อใน 1 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ลืมรับประทานยา และจะได้ไม่สับสนว่ารับประทานมื้อนี้แล้วหรือยัง ท่านอาจจะเตรียมใส่ซอง หรือกล่องพลาสติก ซึ่งเดี๋ยวนี้กล่องสำหรับใส่ยาโดยเฉพาะ มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จะยังมีความสะดวกมากขึ้น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร หรือยาก่อนนอน เตรียมไว้ให้พร้อมในตอนเช้า แล้วท่านจะไม่ลืมรับประทานยา แต่มีข้อควรระวังในกรณีที่บ้านท่านมีเด็กเล็กๆ ที่กำลังซนอยู่ด้วย ท่านต้องเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือของหนูน้อยเหล่านี้ด้วย ถ้าท่านเผลอ เด็กเหล่านี้อาจรับประทานยาของท่านเข้าไป ซึ่งยาบางอย่างจะมีอันตรายต่อเด็กอย่างมากด้วย


สมองฝ่อในผู้สูงอายุ


           สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม

                 Link       https://www.scc.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               กระดูกสันหลังยุบ

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังยุบ  

ค่าใช้จ่ายในการทำ vertebroplasty หรือการฉีดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปรักษากระดูกสันหลังยุบตัว ในรพ.เอกชน ประมาณ 80,000 ถึง 120,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ายุบตัวกี่ปล้องยุบมากยุบน้อย ไม่รวมค่าทำ MRI เพื่อตรวจวินิจฉัยอีกประมาณ 6,000 – 8,000 บาท ครับ

1. ซีเมนต์ซ่อมกระดูก ( bone cement) เป็นสารสังเคราะห์หลายตัว ตัวหลักชื่อ polymethylmetacrylate (PMM) ซึ่งเมื่อส่วนย่อยเป็นผงกับเป็นน้ำมาผสมกันแล้วก็จะแข็งตัวเหมือนเวลาเราผสม ปูนซีเมนต์ก่อสร้าง มันอยู่ในร่างกายคนได้นาน ทางการแพทย์ใช้มานานหลายสิบปีแล้ว

2. โรคกระดูกหลังยุบตัว ( compression fracture of spine) หรือเรียกง่ายๆว่าโรคหลังโกงในคนสูงอายุนะแหละ ภาวะนี้เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง อันได้แก่ ( 1) ตัวกระดูกเองไม่แข็ง ( 2) กล้ามเนื้อที่ช่วยรับแรงกดแทนกระดูกคือกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง ก็ไม่แข็ง ทำให้มีแรงกระทำต่อกระดูกมาก ( 3) ท่าร่างไม่ถูกต้อง คือชอบทำหลังค่อมๆก้มๆ เวลานั่งก็ชอบทำตัวงอๆไม่ชอบยืดอก ทำให้น้ำหนักหัวและลำตัวท่อนบนกระทำต่อกระดูกสันหลังส่วนหน้ามากกว่าส่วน หลัง ( 4) อาจมีบางจังหวะที่เกิดแรงขย่มมากกว่าปกติ เช่นตกมาจากที่สูง หรือแม้กระทั่งเดินลงบันไดแบบกระแทกตัวลงแรงๆ ก็เป็นการตั้งต้นให้กระดูกที่จะยุบไม่ยุบแหล่อยู่แล้วยุบตัวลงได้ เมื่อกระดูกหลังยุบตัวลง เรียกภาษาชาวบ้านก็คือหลังหัก หลังก็จะงองุ้ม ถ้าเป็นน้อยอาจจะดูไม่ค่อยออก ต้องเอ็กซเรย์ดูจึงจะเห็น แต่ถ้าเป็นมากลำตัวจะค่อมและโน้มไปข้างหน้ามากจนต้องอาศัยไม้เท้าช่วยค้ำยัน เวลาเดิน

3. ความรู้แพทย์ปัจจุบันทำให้เราช่วยแก้ปัญหาเมื่อกระดูกสันหลังยุบได้ระดับ หนึ่ง โดยเมื่อมันยุบใหม่ๆก็รีบทำการง้างกระดูกที่ยุบให้อ้าขึ้น อาจจะโดยการใช้บอลลูนเป่าลมเข้าไปช่วยง้าง ( kyphoplasty) แล้วอัดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปในโพรงกระดูก ( vertebroplasty) หรือฉีดซีเมนต์อัดเข้าไปดื้อๆโดยไม่ต้องเอาบอลลูนเข้าไปอ้า เมื่อทิ้งให้ซีเมนต์ซ่อมกระดูกแข็งตัวขึ้น แนวกระดูกสันหลังก็จะกลับมาใกล้เคียงปกติมากขึ้นไม่ค่อมมากเกินไป การทำหัตถการทั้งสองอย่างนี้ทำได้โดยฉีดยาชาโดยไม่ถึงขั้นต้องดมยาสลบ และในบางสถาบันก็ทำแบบผู้ป่วยนอก คือไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

4. ที่สำคัญอย่างที่สุดคือการที่คนตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป ควรหันมาใส่ใจป้องกันกระดูกหักเมื่อตนสูงอายุขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การป้องกันกระดูกพรุน โดย

4.1 โภชนาการที่ดี ไม่รีดน้ำหนักให้ตัวเองผอมเกินไป ได้รับแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติเพียงพอ เช่นนม นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น

4.2 ให้ตัวเองได้รับแสงแดดบ้าง อย่าเอาแต่ทาครีมกันแดดตะพึด แสงแดดที่จะให้วิตามินดีต้องเป็นแดดแก่ๆระหว่าง 10.00 – 15.00 น. และต้องรับตรงๆ ไม่ผ่านกระจกหน้าต่างหรือกระจกรถยนต์

4.3 ออกกำลังกายทุกวัน โดยต้องมีอาการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ หรือเล่นกล้ามด้วย ทั้งนี้อย่าลืมเล่นกล้ามเนื้อหลัง เช่นใช้ท่ากายบริหาร หรือท่ารำกระบองต่างๆ

4.4 ฝึกหัดท่าร่าง ( posturing) ให้เป็นนิสัยที่ดีติดตัว คือต้องหัดยืดตัวเสมอ นั่งก็หลังตั้งตรง ยืนก็ยืดหลังตรง เมื่อใดที่นึกขึ้นได้ก็ให้แขม่วท้องแบบทหาร หัดแขม่วท้องบ่อยๆ เพราะการแขม่วท้องเป็นการเล่นกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยค้ำกระดูกสันหลังที่สำคัญ

หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายในการทำ vertebroplasty หรือการฉีดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปรักษากระดูกสันหลังยุบตัว ในรพ.เอกชน ประมาณ 80,000 ถึง 120,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ายุบตัวกี่ปล้องยุบมากยุบน้อย ไม่รวมค่าทำ MRI เพื่อตรวจวินิจฉัยอีกประมาณ 6,000 – 8,000 บาท ครับ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

                        Link   https://www.health.co.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    โรคกระดูกสันหลังคด

       
       กระดูก สันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้ สามารถตั้งตรงได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนว เส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดพบประมาณ 2-3 % ของประชากร พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย โรคกระดูกสันหลังคดเกิด ได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด

      กระดูกสันหลังคด เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันค่ะ เช่น พันธุกรรม การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง สิ่งแวดล้อม เนื้องอก ซึ่งแบ่งประเภทของกระดูกสันหลังคดได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. กระดูกสันหลังผิดรูปตั้งแต่แรกเกิด ในกรณีนี้เป็นสาเหตุที่เกิดจากเด็ก มีการสร้างกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ เช่น กระดูกสันหลังมีการเชื่อมติดกันผิดรูป หรือกระดูกสันหลังแหว่ง เป็นต้น
2. มีโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่สมดุล กระดูกสันหลังมีโอกาสเอียงไปมาซ้ายหรือขวาได้
3. กระดูกสันหลังเจริญผิดปกติในภายหลัง ซึ่งเป็นกรณีที่เด็กเกิดมาใหม่ๆ กระดูกสันหลังไม่ผิดปกติ แต่ต่อมาจะค่อย ๆ เพิ่มความองศาความเอียงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เพราะกระดูกสันหลังเจริญเติบโตไม่เท่ากัน เช่น เบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง

      ทั้ง 3 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยที่ 3 เป็นสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคดที่พบมากที่สุดค่ะ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่นหรืออายุประมาณ 10-12 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

แนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

      การรักษาโรคกระดูกสันหลังคดขึ้นกับมุมการคด  การเปลี่ยนแปลงของมุม  และอายุของผู้ป่วย

  • มุมการคดน้อยกว่า 25 องศา :  ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ  ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน
  • มุมการคดมากกว่า 25 องศา : รักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ(Brace)  เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน เพิ่มความแข็งแรง  ช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้มุมการคดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม
  • มุมการคดมากกว่า 45 องศา : อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่  การผ่าตัดนี้ใช้หลักการเดียวกับการรักษากระดูกหักคือการใช้โลหะช่วยดาม กระดูกสันหลังให้ตรง
การใส่ Brace หรืออุปกรณ์คัดลำตัว

      ถ้า กระดูกสันหลังคดน้อยกว่า 40 องศา ขั้นต้นอาจทำการรักษาด้วยการใส่ Brace หรือเรียกว่าอุปกรณ์คัดลำตัว เพื่อช่วยยันไม่ให้กระดูกคดเพิ่มขึ้น แต่ว่าการใส่ Brace ไม่ทำให้กระดูกสันหลังที่คดสามารถ ตรงขึ้นมาได้ เพียงแต่ไม่ทำให้คดมากกว่าเดิมค่ะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยประคองกระดูกสันหลังไว้จนกระทั่งกระดูกโตเต็มที่ และจะไม่คดต่อไปอีก โดยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

      แต่ การใส่ Brace จะต้องใส่ตลอดเวลา หากผู้ป่วยไม่ได้ใส่ตลอดเวลาแล้วมีผลให้กระดูกสันหลังบิดตัวไปเยอะ ทำให้องศาความคดเพิ่มขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด
การ ผ่าตัด

      การ รักษาด้วยการผ่าตัดคือ การผ่าตัดกระดูกที่คดให้ตรงขึ้นด้วยการตามเหล็ก เพื่อคงความตรงไว้อย่างนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับอาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงเท่า นั้นค่ะ เช่น ถ้าไม่ทันได้สังเกตแล้วปล่อยให้คดมากกว่า 40 องศาหรืออาจถึง 90 องศา ถือว่าคดในระดับอันตราย หรือรักษาด้วยการใส่ Brace แล้วไม่ได้ผลที่สำคัญ การผ่าตัดนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะต้องพิจารราร่วมกับคุณหมอ หากต้องรักษาด้วยวิธีนี้

      ข้อดี : สามารถทำให้หลังที่คดตรงได้ถาวร โดยต้องพักฟื้นจนกว่ากระดูกเชื่อมติดกันใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งถ้าคนไข้ไม่มีปัญหากับการตามโลหะในภายหลัง เช่น เหล็กไปกดทับเนื้อทำให้เจ็บ ก็สามารถใส่โลหะนั้นไว้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องผ่าออก

      ข้อเสีย : การผ่าตัด ลักษณะนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ค่าการผ่าตัดต่อครั้งต้องใช้เงินประมาณ 2-3 แสนบาทขึ้นไป วิธีการผ่าตัดจะใกล้ไขสันหลังและเส้นประสาท อาจเสี่ยงต่อการที่ไขสันหลัง และเส้นประสาทถูกยืดหรือถูกกดทับทำให้เส้นประสาทไม่ทำงาน ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอจะระวังเป็นพิเศษ ทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

รายชื่อแพทย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคด, กระดูกสันหลังงอ นพ.พรเอนก ตาดทองอาการกกระดูกสันหลังคด,การรักษากระดูกสันหลังคด นพ.ธงชัย ธีระจรรยาภรณ์
 ภาวะกระดูกสันหลังคด,สาเหตุกระดูกสันหลังคด นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัต

 แนวทางการรักษากระดูกสันหลังคด,กระดูกสันหลังคดจากพันธุกรรม นพ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์

 

กระดูกสันหลังคดเกิดจากอะไร,ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด นพ.หาญพงศ์ ฟักทองพรรณ์ โรคกระดูกสันหลังคด,การรักษากระดูกสันหลังคด นพ.ธเนศ วัฒนะวงษ
ปัจจัยกระดูกสันหลังคด,กลุ่มผู้ป่าวโรคกระดูกสันหลังคดนพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ             สาเหตุกระดูกสันหลังคด,ความเสี่ยงการเป็นกระดูกสันหลังคด นพ.กันต์ แก้วโรจน์

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=



               Link       https://www.vejthani.com

อัพเดทล่าสุด