
กระดูกสันหลังคด
พร้อมรึยัง? จัดการกับ กระดูกสันหลังคด (Lisa) เคย มีคนทัก หรือได้ส่องกระจกดูร่างกายตัวเองดี ๆ บ้างรึเปล่า? ถ้าไหล่ไม่เท่ากัน เอวไม่ตรงกัน แล้วไม่ได้รักษาตั้งแต่ตอนยังเป็นวัยรุ่น มันก็อาจหนักหนาขึ้นเมื่อถึงตอนนี้ อาจจะได้เวลาต้องรู้จักกับกระดูกสันหลังคดเพื่อรับมือและรักษาไว้แต่เนิ่น ๆ แล้วล่ะ ตามสถิติแล้ว "กระดูกสันหลังคด" ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวนัก เพราะมีความชุกถึง 1% (ที่มา : ภาวะกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น โดย นพ.ทายาท บูรณกาล) และเด็กผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กผู้ชายถึง 10 เท่า แต่ข่าวดีก็คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องรักษา แต่ก็ใช่ว่าไม่จำเป็นต้องรู้จัก เพราะเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ หากปล่อยไว้ กระดูกสันหลังคดอาจมีผลกับชีวิตเราได้มากมายเลยล่ะ
"กระดูกสันหลังคด" ก็คือกระดูกสันหลังเบี้ยวซ้าย-ขวาผิดปกติ นิยามทางการแพทย์ หมายถึงการที่กระดูกสันหลังคดมากกว่า 10 องคา พบว่าเกิดได้ในส่วนคอ หลังและเอว หรือมากกว่าหนึ่งจุดในคนเดียวกัน แต่หากยังคดไม่ถึง 30 องศา มักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วย แต่อาจคดเพิ่มได้ทุกปี ๆ แต่ถ้าโตเต็มวัยแล้วกระดูกคดไม่เกิน 50 องศา ก็จะไม่มีการคดเพิ่มในอนาคต
คนที่โต ๆ แล้วก็อาจกระดูกสันหลังคดได้ สาเหตุ การเกิดกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่ มักจะแตกต่างจากในเด็กหรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ โดยส่วนมากแล้วกระดูกสันหลังคดมักจะเกิดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือช่วงวัยรุ่น และพบในเด็กสาวมากกว่าเด็กหนุ่ม และก็มักจะได้รับการรักษาในช่วงวัยรุ่น อย่างไรเสียคนที่เคยกระดูกสันหลังคดในวัยเด็ก ก็จะโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็ยังต้องอยู่เผชิญกับอาการของโรคต่อไป (หรือผลกระทบจากการรักษา) ส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม

กลุ่มที่ได้รับการรักษาแล้วในช่วงวัยรุ่น

กลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเลย

กระดูกสันหลังคดซึ่งเกิดจากการเสื่อมตามอายุ (Degenerative Scoliosis) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกระดูกพรุนในกระดูกสันหลังก็ได้
จะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกสันหลังคด 
หลายครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าลำตัวยื่นออกมาข้างหน้า หรือรูปร่างตัวเองเปลี่ยนไป หรือสังเกตว่าเมื่อใส่เสื้อผ้าแล้วรู้สึกไม่เหมือนที่เคย

คุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีกระดูกสันหลังคด เนื่องจากบางครั้งเราอาจเห็นอาการได้จากด้านหลังเท่านั้น แต่คุณอาจรู้สึกว่ารอบเอวไม่เท่ากัน หรือรู้สึกว่าสะโพกข้างใดข้างหนึ่งยานออกมาเกินกว่าอีกข้างหนึ่ง ทดสอบได้โดยการใส่กระโปรงแล้วดูที่เอว

เวลาที่ก้มลงมาข้างหน้าจะเห็นว่ากระดูกซี่โครงทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน

อาจเห็นหลังโปนออกมาเล็กน้อย

ยืนตรงแล้วสังเกตดูว่า หัวไหล่หรือสะโพกข้างใดข้างหนึ่งสูงกว่ารึเปล่า ถ้าเห็นความแตกต่างนี้ ลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาดูว่ากระดูกสันหลังคดหรือไม่

เด็ก ๆ หรือวัยรุ่นที่กระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่จะไม่มีรายงานว่าเจ็บปวด สำหรับผู้ป่วยในวัยนี้ หากรู้สึกว่าเจ็บก็ควรจะมีการตรวจที่นอกเหนือไปจากการเอ็กซเรย์ เนื่องจากอาจมีสาเหตุซ่อนเร้นที่ทำให้กระดูกสันหลังคด ยกตัวอย่าง เช่น เนื้องอกของกระดูก (Osteoid Osteoma) อาจทำให้กระดูกสันหลังคดได้เช่นกัน
ใน ขณะเดียวกัน กลุ่มคนไข้กระดูกสันหลังคดที่เป็นผู้ใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เพราะมีอาการเจ็บปวด เนื่องจากพอเราแก่ตัวลงกระดูกสันหลังก็จะยืดหยุ่นน้อยลง ของเหลวในหมอนรองกระดูกน้อยลง และทำให้ข้อต่อเกิดอาการอักเสบ 
สิ่งที่ตามมาจาก "กระดูกสันหลังคด" กระดูกสันหลังคดอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา อย่างเช่น การปวดหลังที่เกิดจากข้ออักเสบ มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการคดมากเกินไปที่กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือเส้นประสาทเสียหายจากการคด หรือการผ่าตัดก็อาจทำให้ไขสันหลังอักเสบได้ ในขณะเดียวกันการใส่เสื้อเกราะรักษาอาการกระดูกคด หรือตัวอาการเองอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิต และไม่มีความนับถือตัวเองด้วย
ถ้าเราต้องรับการรักษา... มีคนมากมายที่กระดูกสันหลังคด แต่ไม่ต้องรับการรักษา เนื่องจากมุมที่คดค่อนข้างน้อย ดังนั้น หลังจากสังเกตอาการแล้ว สิ่งแรกที่คุณควรทำ ก็คือปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
1.รักษาโดยไม่ผ่าตัด ใน กรณีที่กระดูกสันหลังที่คดมีมุมองศาไม่มากนัก จะต้องมีการสังเกตว่ากระดูกคดมากขึ้นหรือไม่ และต้องติดตามรักษาอย่างใกล้ชิดทุก 4-6 เดือน ถ้าเห็นว่ามุมองศาเพิ่มขึ้นจนถึง 25-30 องศาหรือมากกว่า มักจะใช้การใส่เสื้อเกราะ (Brace) เพื่อชะลอไม่ให้อาการทรุดหนักยิ่งขึ้นไปอีก ชนิดของเสื้อเกราะอาจมีได้หลากหลาย ผู้ป่วยจะต้องใส่ตลอดเวลายกเว้นเวลาอาบน้ำ และค่อย ๆ ลดจำนวนชั่วโมงลง
2.รักษาโดยการผ่าตัด หากเกิดในเด็กแพทย์อาจต้องรอให้กระดูกหยุดเติบโตเสียก่อน (แต่ในหลายกรณีเด็กอาจต้องการการผ่าตัดก่อนที่กระดูกจะคดยิ่งไปกว่านั้น) โดยปกติแล้ว หากกระดูกสันหลังคดเกิน 40 องศา อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน การผ่าตัดมักจะเป็นการจัดแนวกระดูกสันหลัง จากนั้น แพทย์จะใช้อุปกรณ์โลหะเพื่อยืดแนวไว้จนกว่าจะหายดี บางครั้งอาจผ่าตัดบริเวณแผ่นหลัง หนังท้องใต้ซี่โครง และอาจต้องมีการใช้เสื้อเกราะร่วมด้วย
ในคนไข้ผู้ใหญ่ เป้าหมายของการผ่าตัด คือการชะลอไม่ให้อาการทรุดหนักขึ้น และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การผ่าตัดอาจทำให้เจ็บปวดน้อยลงก็จริง แต่ก็ควรตระหนักว่าเป้าหมายคือ การให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้สบายยิ่งขึ้น
การไม่ดื่มนมหรือกินจั๊งก์ฟู้ด ทำให้เกิดกระดูกสันหลับคดด้วยรึเปล่า? ในกรณีนี้หายากมาก ๆ กระดูกสันหลังคด อาจเกิดจากปัญหาโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการมีแคลเซียมน้อยเกินไปจนทำให้กระดูกอ่อนลง อย่างไรก็ตาม การที่คุณจะกินอะไรหรือกินมากเท่าไหร่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง คด และก็ยังไม่มีการศึกษาว่าจั๊งก์ฟู้ดทำให้เกิดโรคนี้ด้วย

Expert’s Corner Get to Know Scoliosis รู้จักกระดูกสันหลังในฐานะปัญหาใกล้ตัวกับ นพ.ธีรชัย ผาณิตพงศ์ ศัลยแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท ร.พ.พญาไท 3
ไลฟ์สไตล์มีผลต่อการเกิดกระดูกสันหลังคดรึเปล่าคะ? ส่งผลค่อนข้างมากครับ โดยเฉพาะการทำงานที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ก็จะทำให้เราเผลอใช้กล้ามเนื้อไม่สมดุล อาจจะใช้บางมัดมากเกินไป บางมัดน้อยเกินไป ทำให้เกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อ การสมดุลของกระดูกสันหลังสูญเสียไป หรือการนั่งอยู่ในท่าที่เอียงตัวอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้โครงสร้างกระดูก สันหลังผิดปกติ เกิดความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกคดหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
การรักษาเจ็บปวดหรือใช้เวลานานมั้ยคะ? เพราะว่ากระดูกสันหลังคดจะมีความผิดปกติทั้งของตัวข้อต่อและตัวกระดูก การรักษาจึงจำเป็นต้องดัดกระดูกกลับคืนที่แล้วยืดตรงด้วยเหล็ก ซึ่งค่อนข้างใช้เวลารักษานาน ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนข้อที่คดว่ามากน้อยเพียงใดครับ
ปล่อยไว้นาน ๆ จะส่งผลอย่างไร? เมื่อกระดูกสันหลังคดจะทำให้สมดุลของร่างกายผิดไป อย่างเช่น ถ้ากระดูกสันหลังบริเวณหนึ่งคดเอียงไปด้านหนึ่ง จะทำให้กระดูกส่วนอื่น ของกระดูกสันหลังบิดกลับไปด้านตรงข้ามเพื่อรักษาแนวตรงของร่างกายเอาไว้ แล้วเกิดการคดงอเป็นรูป "S" และความเสื่อมก็จะลุกลามไปในกระดูกสันหลังส่วนอื่นด้วยครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
| |
ภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น ที่ผู้ป่วยนิยมพูดกันบ่อยๆ คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพจะเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การยกของหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น พบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังด้านหลัง (ข้อต่อฟาเซ็ท) ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและ ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขาชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นก็จะทำ ให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน | อาการภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท | อาการ แสดงที่พบบ่อยๆ มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำ ให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ | | การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท | สำหรับวิธี ป้องการอันดับแรกคือการเล่นกีฬา การออกกลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประการที่สอง ลดงานของกล้ามเนื้อหลังลง โดยการปรับท่านั่งให้หลังตรง หรือเดินตัวตรง และประการที่สามคือการลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วย ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังให้เบาแรงในการทำงานลง ด้วย | การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท | การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทมี หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูก สันหลังและ แนวทางในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของหมอนรองกระดูกบวมแตกไปกดทับเส้น ประสาทและส่งผลขั้นรุนแรง รักษาโดย 1.การผ่าตัด เพื่อที่จะตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนหมอนรองกระดูกใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยขึ้น และมีความเสี่ยงน้อยลง การผ่าตัดแผลเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และโอกาสในการติดเชื้อน้องลงเทคโนโลยีในการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยกล้องจุล ทัศน์มาช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขั้น รุนแรง ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวการผ่าตัดด้วยกล้องจุล ทัศน์มี 2 แบบ โดยแบบที่หนึ่ง เป็นกล้องจุลทัศน์ที่เป็นตัวขยายเฉพาะจุด และแบบที่สองเป็นกล้องนำทาง ซึ่งจะเป็นการเจาะท่อเข้าไปภายในเพื่อที่จะสามารถมองเห็นในจุดที่จะทำงานผ่า ตัด โดยแพทย์สามารถมองที่จอแสดงผลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับตัวกล้อง และจะมีอุปกรณ์ผ่าตัดอีกชุดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการผ่าตัด ซึ่งแพทย์สามารถมองจากจอแสดงผลได้และทำการผ่าตัดเฉพาะจุดได้ง่ายขึ้นก่อนการ ทำผ่าตัดทุกครั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังรุนแรงมากจะต้องทำการเอกซเรย์สนามแม่เหล็กหรือ MRI ก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะหาจุดที่เป็นสาเหตุของอาการ และบอกได้แน่นอนที่สุดว่าความที่จะแก้ที่จุดไหน 2.รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง 3.รักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ (Nucloplasty) ได้ผ่านการ รับรองโดยองค์การ อาหารและยาจากสหรัฐอเมริกาการรักษา โดยวิธี Nucleoplasty (Coblation) โดยใช้คลื่น RF(RADIOFREQUENCY) ความร้อนประมาณ 40-70° C สลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาท โดย ไม่มีการ ทำลาย หรืออันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง ซึ่งหัวเข็มที่ปล่อยคลื่น RF ขนาดเข็มฉีดยาเบอร์ 17 สอดผ่านผิวหนังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง ้ | | รายชื่อแพทย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง | | | |
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระดูกสันหลังเคลื่อน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน |
|
| | กระดูก สันหลังประกอบด้วยข้อต่อต่างๆ เพื่อยึดกระดูกสันหลังแต่ละข้อเข้าด้วยกันประกอบด้วยข้อต่อด้านข้างสองข้าง (facet joint) ด้านหน้าเป็นหมอนรองกระดูก และมีเส้นเอ็นยึดอยู่โดยรอบ เพื่อคงสภาพการเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เอาไว้ เมื่อเกิดการใช้งานมาก ๆ หรือมีความเสื่อมของข้อต่อต่าง ๆ เส้นเอ็นต่าง ๆ รอบ ๆ กระดูกสันหลัง ก็จะทำให้การยึดเหนี่ยวของกระดูกสันหลังเสียไป ทำให้เกิดการเลื่อนหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลังได้ ดังภาพ โรคกระดูกสันเคลื่อนพบได้มากในวัยกลางคนขึ้นไปจนถึงวัยสูงอายุ อาการมักจะค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการปวดหลังบริเวณเอว ปวดเมื่อย ๆ มักจะปวดมากเวลานั่งนาน ๆ หรือเดินไกล ๆ เมื่อมีการเคลื่อนตัวของกระดูกมากขึ้น จนมีการกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นเช่น ปวดร้าวลงขา ขาชา อ่อนแรง ซึ่งอาการมักจะเป็นที่ขาทั้ง 2 ข้าง มากหรือน้อยขึ้นอยู่ความรุนแรงของการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
การรักษาในเบื้องต้นถ้า อาการไม่รุนแรง มีการเคลื่อนไม่มาก ยังไม่มีการกดทับเส้นประสาท ก็จะใช้การรักษาโดยทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกายกล้ามเนื้อในท่าที่เหมาะสม ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดทับต่อกระดูกสันหลัง รวมทั้งการกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นครั้งคราว แต่ถ้ามี การเคลื่อนมากหรือมีอาการของการกดทับเส้นประสาทเกิดขึ้นแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยเหล็ก ไม่ให้มีการเคลื่อนตัวมากขึ้นไปอีก  จาก ภาพจะเห็นได้ว่าการผ่าตัดจำเป็นผ่าตัดใหญ่เนื่องจากต้องใส่เหล็กเข้าไปใน กระดูกสันหลัง แต่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกสันหลังผ่านกล้อง ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลง - โดยแทนที่จะมีแผลผ่าตัดยาวอยู่ตรงกลางแพทย์จะผ่าตัดบริเวณด้านข้างของกระดูกสันหลังทั้ง 2 ข้างด้วยแผลขนาดเล็ก ๆ - แล้วจึงยึดกระดูกสันหลังผ่านช่องเล็ก ๆ โดยใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด โดยจะทำแบบเดียวกันทั้ง 2 ข้าง ข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้คือ แผลผ่าตัดเล็ก มีการสูญเสียเลือดในระหว่างผ่าตัดน้อย โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องให้เลือดระหว่างผ่าตัด มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังน้อยกว่าการผ่าตัดแบบแผลใหญ่ดังนั้นผู้ป่วยจะ ฟื้นตัวได้เร็ว และใช้เวลารักษาตัวในรพ.ไม่นาน |
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++