โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็กแรกเกิด


5,825 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็กแรกเกิด

            โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก

ขอความช่วยเหลือ เด็กป่วย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 


          ทีมงาน Kapook.com ได้รับการติดต่อจากคุณยายท่านหนึ่ง ขอให้ช่วยเหลือหลานสาวที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง 

          คุณสง่า ฝอยทอง เป็นคุณยายของเด็กหญิง ณัชชา แซ่เห็น หรือ น้องออม ปัจจุบันมีอายุ 10 ปี ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน 
          เริ่มต้นน้องออมมีอาการไม่สามารถขยับขา และเดินไปไหนเองไม่ได้  ญาติจึงได้นำน้องออมไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการป่วย ภายหลังการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ที่ได้เดินทางไปตรวจถึง 3 แห่ง ทุกท่านระบุตรงกันว่า น้องออมป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง


          ปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้ยังไม่มียามารักษา ทั้งยังไม่สามารถหาสาเหตุอาการของโรคได้ ทราบเพียงแต่เกิดจาก การเสื่อมสลายของระบบกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อขยับไปมาได้  การรักษาจึงทำได้แค่เพียงรักษาเพื่อทุเลาอาการเท่านั้น ส่วนในกรณีของน้องออมนี้ เริ่มต้นจากที่ขาทั้งสองข้าง แล้วลุกลามไปที่กล้ามเนื้อส่วนแขน ทำให้เหยียดแขนตรงๆ ไม่ได้ 

          ขณะนี้ น้องออม อยู่ในการดูแลของคุณยายสองท่านคือ คุณสง่า ฝอยทอง มีรายได้จากการรับจ้างเย็บผ้าทั่วไป และ คุณกุล ม้าวงศ์ ที่ประกอบอาชีพขายล็อตเตอร์รี่ ด้านการเรียน น้องออมหยุดพักการเรียนมาแล้ว 1 ปี เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้ ทางโรงเรียนจึงอนุญาตให้น้องออมเลื่อนชั้นจาก ประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นปีที่ 3 ได้เป็นกรณีพิเศษ 
          สำหรับ ท่านที่ต้องการส่งความช่วยเหลือไปยัง น้องออม สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  เบอร์โทรศัพท์ 081 869 6457 โดยสิ่งของที่ น้องออม ต้องการขอรับความช่วยเหลือในตอนนี้คือ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ เสื้อผ้า และเครื่องใช้อื่นๆ  
          หรือหากท่านใดประสงค์จะช่วยเหลือเป็นตัวเงิน สามารถโอนเงินเข้าบัญชีชื่อ คุณสง่า ฝอยทอง ธนาคารกรุงเทพ สาขากาญจนบุรี เลขบัญชี 327-0-87-2017

ลงประกาศเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551


         เนื่องจากเว็บไซต์ Kapook.com ได้มีโครงการรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น จากทีมงานภายในกันเอง เพื่อจะเดินทางไปมอบให้กับ ครอบครัวของน้องออม ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551 นี้ ท่านใดที่มีความประสงค์จะร่วมมอบสิ่งของไปพร้อมกับคณะทีมงานของเรา สามารถส่งรายละเอียดมาได้ที่ [email protected] หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 911 0915-7#455 นะคะ
          ทั้งนี้ทีมงาน Kapook.com ขอเป็นตัวแทนกล่าวขอบพระคุณทุกท่าน แทนครอบครัวของน้องออม ณัชชา แซ่เห็น สำหรับทุกความเอื้ออาทรที่มอบให้ในรูปแบบกำลังใจ กำลังทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้งที่เดินทางไปมอบด้วยตนเอง และผ่านหน้าเว็บไซต์แห่งนี้ ขอขอบคุณมากค่ะ

              Link     https://hilight.kapook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ Acute Myocardial Infarction (Acute MI)
คือภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงและตายในที่สุด
สาเหตุ
เกิด จากการที่ก้อนไขมันในเส้นเลือดหัวใจเกิดการปริแตกออกทำให้เกิดการจับตัวกัน ของเลือด ทำให้เลือดไปเลียงหัวใจไม่ได้ สาเหตุที่เกิดจากการปริแตกของก้อนไขมัน อาจจะพบได้ว่าผู้ป่วยออกกำลังมามากก่อนมีอาการ หรือมีอารมณ์เครียด หรือเกิดหลังจากการเสียเลือด เช่นการผ่าตัด
อาการของโรค
เจ็บ แน่นหน้าอกเหมือนมีอาไรมากดทับตลอดเวลา อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นนานมากกว่า ๓๐ นาทีขึ้นไป
อาการอื่นๆที่อาจพบได้คือ คลื่นไส้ อาเจียน  อ่อนเพลีย ใจสั่น เวียนศรีษะ เหงื่อออก เหนื่อยหอบ แน่นในท้อง
สีแดง คือ บริเวณที่มีอาการเจ็บร้าวซึ่งพบได้ง่าย
สีชมพู คือ บริเวณกลางหน้าอก และบริเวณที่อาจเกิดอาการเจ็บร้าวได้
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
การรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับ
๑. การให้ออกซิเจน
๒. การให้ยาแก้ปวด
๓. การใช้ยายขายหลอดหลอด
๔. การใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือ ยาละลายลิ่ม
๕. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
โดย ทั่วๆไปผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เชี่ยวชาญทางโรค หัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เกดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรจะได้รับการตรวจสัญญาณชีพจรบ่อยๆ  และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนโตรกลีเซอรีน หรือ ไนเตรตใต้ลิ้น แล้วรีบมาโรงพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
๑. เพศชายอายุ ๔๐ ปี เพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
๒. การสูบบุหรี่
๓. ภาวะไขมันในเลือดสูง
๔. ความดันโลหิตสูง
๕. โรคเบาหวาน
๖. อ้วน
วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค
๑. ความคุมความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมอาหาร และการใช้ยา
๒. หยุดสูบบุรี่
๓. ลดระดับความมันในเลือด โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และกะทิ
๔. ปรับปริมาณแคลลอรี่ในอาหารให้พอดี เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง
๕. ออกกำลังกายพอประมาณทุกวัน หรืออย่างน้อย ครั้งละ ๒๐ นาที ๓ ครั้งต่อสัปดาห์
๖. ถ้าเป็นเบาหวานความควบคุมน้ำตาลให้ดี
การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous  Coronary Intervention PCI)
การ ขยายหลอดเลือดหัวใจเป็นการรักษาที่ตีบหรืออุดตันจากกลิ่มเลือดหรือก้อนไขมัน เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านบริเวณที่ตีบได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดหล่อเลี้ยง และรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอก
วิธี การจะคล้ายกับการฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือด โดยแพทย์จะสอดสายไปตามลอดเลือดและใช้บอลลูนเพื่อถ่างขยายในปัจจุบันส่วนมาก จะใช้ลวดในการถ่างขยายร่วมด้วย
ผู้ป่วยประเภทใดที่จะได้รับการรักษาโดยวิธีนี้
๑. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และแพทย์นัดมารักษา
๒. ผู้ที่มีเจ็บแน่นหน้าอก และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาของการเจ็บแน่นหน้าอกนาน
๖–๑๒ ชั่วโมง
ประโยชน์ของการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
๑. การใช้บอลลูนมีประสิทธิภาพสูงกว่าการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพราะมีโอกาศเปิดหลอดเลือดที่อุดตันให้มีการไหลเวียนที่ใกล้เคียงกับปกติได้ ถึง ๙๐%
๒. อุบัติการณ์ของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซ้ำ น้อยกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
๓. อัตราการเกิดเลือดอกในสมอง น้อยกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
๔. ใช้ในผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลภายใน ๖–๑๒ ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก
ข้อควรปฏิบัติหลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธี PCI
๑. ผู้ป่วยจะต้องนอนราบแลเหยียดขาข้างที่ทำหรือห้ามงอข้อมือข้างที่ทำ เป็นเวลา๖ - ๑๒  ชั่วโมง  ภายหลังการรักษา โดยที่แถบรัดที่ข้อมือ  หรือถุงทรายวางทับบริเวณขาหนีบที่สอดเข้มเข้าไปเพื่อหยุดเลือด
๒.  หากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป
๓.  ไม่ต้องตกใจ  หากพบว่ามีรอยช้ำและอาการขัดเวลาเดิน เพราะเกิดจากการสอดเข็มเข้าไปที่ขาหนีบรอยและอาการจะหายไปได้เอง
๔.  ระวังไม่ให้มีแผลเปียกน้ำ หรือซับบริเวณแผลให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ ทำความสะอาดแผลโดยใช้แอลกอฮอล์ และสำลีสะอาด
๕. พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ทำงานหนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือการเดิน
๖. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ปรุงจากไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว อาหารผัด ทอดหรือกะทิ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง
๗. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเอง สังเกตอาการผิดปรกติของตนเอง หากมีอาการแน่นหน้าอก รีบมาพบแพทย์
๘. มารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามนัด
วิธีการเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนรับการรักษา
๑. ผู้ป่วยและญาติรับฟังการอธิบายจากแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่และเซ็นยินยอมรับการรักษา
๒. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย ๖-๘ ชั่วโมงก่อนทำ
๓. นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยอาจใช้ยาคลายเครียดที่แพทย์จัดให้
๔. ท่านจะได้รับการทำความสะอาดและโกนขนข้อมือหรือขาหนีบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรักษา
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
จัดทำโดย : ร.อ.หญิงจิราพร  เชาว์โพธิ์ทอง
ที่ปรึกษา
พล.ต.นพ.ประสาท  เหล่าถาวร
พ.อ.นพ.ชุมพล  เปี่ยมสมบูรณ์
พ.อ.นพ.โสภณ  สงวนวงษ์
พ.อ.นพ.ชาญณรงค์  นาคสวัสดิ์
พ.ท.หญิงประนต  จิรัฐติกาล
รวมรวมโดย : นายเกียรติศักดิ์  บุญให้

           Link             https://www.9anant.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็กแรกเกิด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส
จากชื่อโรคข้างต้น เชื่อว่าหลายคนคงไม่คุ้นกับชื่อโรคนี้มาก่อน แต่เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน มีการปรากฏชื่อโรคนี้บนหน้าหนังสือพิมพ์ และก็มีการถามไถ่กันมาพอสมควรว่าโรคดังกล่าวนี้คืออะไร ..ฉะนั้น ตามไปดูกันว่าลักษณะของโรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสคืออะไร
คำ ว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อย ๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ เซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม” ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส
ใน ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อม โดยสมมุติฐานเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้เซลล์ประสาทนำ คำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำ สั่งเกิดการทำงานผิดปกติ ร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) มีความผิดปกติ แต่สมมุติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด
ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส
ข้อมูล ในประเทศสหราชอาณาจักรพบประชากรทุก ๆ 100,000 คนเป็นโรคเอแอลเอส ประมาณ 2 คนต่อปี อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี ดังนั้นโอกาสที่จะพบโรคเอแอลเอส ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรคเอแอลเอส ได้บ่อยประมาณ 1.5 เท่าของเพศหญิง และประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเอแอลเอส จะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่ชัดเจน จึงมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนว่านักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ
อาการและการดำเนินของโรคเอแอลเอส เป็นอย่างไร
เริ่ม ต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก ลุกนั่งลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้งสองข้างตั้งแต่ ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อ เต้นร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้วจะสำลัก ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก เพราะมีอาการเหนื่อย แต่เนื่องจากอาการของโรคเอแอลเอส คล้ายกับโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วยเอแอลเอสในช่วงต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น โดยทั่วไปเมื่ออาการเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรง และลีบที่แย่ลง ร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอแอลเอส ให้หายขาด และร้อยละ 50 ของผู้ป่วย เอแอลเอส โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2 ปี สาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอัน เนื่องมาจากการสำลัก

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ทำได้อย่างไร
เนื่อง จากโรคเอแอลเอส เป็นโรคที่รักษาไม่หาย การวินิจฉัยโรคเอแอลเอสจึงมีความสำคัญและจะต้องกระทำโดยแพทย์อายุรกรรมสาขา ประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์โดยอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคเอแอลเอส คือการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าหรือ อีเอ็มจี
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร
เมื่อ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองและให้กำลังใจที่ดีจากผู้ดูแลและครอบ ครัว จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ท้อแท้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีวิวัฒนาการรักษาโรคให้ดีขึ้นได้เหมือนกับโรคทางระบบ ประสาทชนิดอื่น ๆ ส่วนยาในปัจจุบันที่มีการยอมรับในวงการแพทย์ ช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้มีเพียงยา Riluzole (Rilutekา) โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของ เซลล์ และยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่แสดงถึงประโยชน์ ในการรักษาโรคเอแอลเอสด้วยยากลุ่มอื่น ๆ รวมทั้งการใช้สเต็มเซลล์ นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว การรักษาแบบประคับประคองก็มีความสำคัญมากเพื่อผลดีต่อสุขภาพในภาพรวม เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การทำกิจกรรมและการทำกายภาพบำบัดกล้าม เนื้อส่วนที่อ่อนแรงเพื่อป้องกันการลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ ใช้งานนาน ๆ และป้องการการติดของข้อ การรับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้หรือเหนื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้อกระ บังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่บ้าน ก็จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง.

             Link         https://www.bloggang.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


อัพเดทล่าสุด