โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษาโรคกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกได้ที่ไหน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (เดลินิวส์)
โดย : ดร.นพ.จรุงไทย เดชเทวพร
จากชื่อโรคข้างต้น เชื่อว่าหลายคนคงไม่คุ้นกับชื่อโรคนี้มาก่อน แต่เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน มีการปรากฏชื่อโรคนี้บนหน้าหนังสือพิมพ์ และก็มีการถามไถ่กันมาพอสมควรว่าโรคดังกล่าวนี้คืออะไร ..ฉะนั้น ตามไปดูกันว่าลักษณะของโรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอสคืออะไร
คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจาก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอสเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ เซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม" ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930
สาเหตุของ โรคกล้ามเนื้ออ่อน แรงเอแอลเอส
ใน ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อมโดย สมมุติฐานเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้เซลล์ประสาทนำ คำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำ สั่งเกิดการทำงานผิดปกติ ร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) มีความผิดปกติ แต่สมมุติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด
ใครบ้างที่มีโอกาสเกิด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส
ข้อมูล ในประเทศสหราชอาณาจักรพบประชากรทุกๆ 100,000 คน เป็นโรคเอแอลเอส ประมาณ 2 คนต่อปี อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี ดังนั้นโอกาสที่จะพบโรคเอแอลเอส ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรคเอแอลเอส ได้บ่อยประมาณ 1.5 เท่าของเพศหญิง และประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเอแอลเอส จะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่ชัดเจน จึงมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนว่านักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ
อาการและการดำเนินของโรคเอแอลเอส เป็นอย่างไร
เริ่ม ต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก ลุกนั่งลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้งสองข้างตั้งแต่ ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อ เต้นร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้ว จะสำลัก
ผู้ ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก เพราะมีอาการเหนื่อย แต่เนื่องจากอาการของโรคเอแอลเอส คล้ายกับโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วยเอแอลเอสในช่วงต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น โดยทั่วไปเมื่ออาการเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรง และลีบ อาการที่แย่ลง และมีอาการร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอแอลเอส ให้หายขาด และร้อยละ 50 ของผู้ป่วย เอแอลเอส โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2 ปี สาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอัน เนื่องมาจากการสำลัก
การวินิจฉัย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส ทำได้อย่างไร
เนื่อง จากโรคเอแอลเอส เป็นโรคที่รักษาไม่หาย การวินิจฉัยโรคเอแอลเอสจึงมีความสำคัญและจะต้องกระทำโดยแพทย์อายุรกรรมสาขา ประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์โดยอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคเอแอลเอส คือการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าหรือ อีเอ็มจี
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร
เมื่อ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง และให้กำลังใจที่ดีจากผู้ดูแลและครอบ ครัว จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ท้อแท้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีวิวัฒนาการรักษาโรค ให้ดีขึ้นได้เหมือนกับโรคทางระบบประสาทชนิดอื่น ๆ
ส่วน ยาในปัจจุบันที่มีการยอมรับในวงการแพทย์ ช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้มีเพียงยา Riluzole (Rilutekา) โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของ เซลล์ และยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่แสดงถึงประโยชน์ ในการรักษาโรคเอแอลเอสด้วยยากลุ่มอื่นๆ รวมทั้งการใช้สเต็มเซลล์
นอก เหนือจากการใช้ยาแล้ว การรักษาแบบประคับประคอง ก็มีความสำคัญมากเพื่อผลดีต่อสุขภาพในภาพรวม เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกิจกรรมและการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันการ ลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานนานๆ และป้องการการติดของข้อ การรับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้า ผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้ หรือเหนื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่บ้าน ก็จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จุล ทิสยากร
เด็ก หญิงตุ๊กตา อายุ 11 เดือน ได้รับการเข้าอยู่โรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ด้วยอาการหายใจหอบ มารดาของเด็กหญิงตุ๊กตา ให้ประวัติว่า เด็กหญิงตุ๊กตาเป็นเด็กที่แข็งแรงดี และได้รับวัคซีนต่างๆตามที่แพทย์แนะนำ เด็กสบายดีจนกระทั่ง 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล เด็กเริ่ม มีอาการหายใจเร็วและแรง แต่ไม่มีไข้ การตรวจร่างกายของแพทย์พบว่าอุณหภูมิร่างกาย 36.4oซ อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วกว่าปกติและเด็กค่อนข้างซึม แพทย์ได้ให้ออกซิเจน แก่เด็กร่วมกับการฉีดยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล 1 ชั่วโมงเด็กมีอาการเลวลง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าเดิม หายใจลำบากมากขึ้นและมีเสียงดัง และเริ่มไม่ค่อยรู้สึกตัว แพทย์ผู้ดูแลจึงได้ขอย้ายเด็กเข้าโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เมื่อเด็กมาถึงห้องไอซียู ของโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ แพทย์พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วกว่าปกติมาก ชีพจรเต้นเบา มือและเท้าเย็น ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและภาพเอ็กซ์เรย์ร่วมกับอาการและการตรวจร่างกาย ทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าเด็กผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งสนับสนุนโดย การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiography) แพทย์ได้อธิบายให้บิดามารดาของเด็กผู้ป่วยเข้าใจว่าโรคของผู้ป่วยรุนแรงมาก แม้ว่าแพทย์จะให้การรักษาเต็มที่ เด็กผู้ป่วยก็ยังมีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิต แพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจและต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจพร้อมกับให้ออกซิเจน แม้ว่าแพทย์จะได้ให้ยาหลายอย่าง เด็กผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการเลวลง และเริ่มมีน้ำเป็นฟองสีชมพูในท่อช่วยหายใจ ซึ่งบ่งบอกว่าเด็กผู้ป่วยกำลังมีภาวะปอดบวมน้ำจากหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว อย่างมาก แพทย์ได้พยายามช่วยเด็กผู้ป่วยอย่างเต็มที่แต่หัวใจของเด็กผู้ป่วยก็ค่อยๆ เต้นช้าลงๆจนกระทั่งหยุดเต้นไปแม้ว่าแพทย์จะได้ให้ยาอีกหลายตัว รวมเวลาที่เด็กผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯเพียง 2 ชั่วโมง และรวมเวลาตั้งแต่เด็กเริ่มมีอาการของการเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิตไม่ถึง สองวันเต็ม
ผล การตรวจศพยืนยันว่าแพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง คือเด็กผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อเสียหายไปเกือบหมดจนหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปรับ ออกซิเจนที่ปอดและไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนเด็กผู้ป่วยเกิดอาการภาวะปอดบวมน้ำและภาวะช็อคจากความล้มเหลวของกล้าม เนื้อหัวใจ
ความ รุนแรงของโรคในเด็กผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันมาก คือ บางคนจะมีเพียงอาการเหนื่อยง่ายในขณะที่บางคนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป พวกที่อาการรุนแรงมากได้แก่ กลุ่มที่คล้ายกับเด็กผู้ป่วยรายนี้คือ มีอาการช็อค เด็กผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่แพทย์ผู้ดูแลรักษาเด็กต้องหนักใจมากที่ สุด เพราะเด็กผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก และที่น่าตกใจและยอมรับได้ยากคือการดำเนินของโรคนี้ในเด็ก ผู้ป่วยที่รุนแรงจะเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก เช่นเดียวกับเด็กผู้ป่วยรายนี้ คือ ตั้งแต่เด็กเริ่มมีอาการจนกระทั่งเสียชีวิตใช้เวลาไม่ถึงสองวัน เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเด็กผู้ป่วยเป็นโรคนี้ แพทย์ต้องรีบอธิบายให้พ่อแม่ของเด็กเข้าใจถึงความจริงข้อนี้ มิฉะนั้นพ่อแม่ของเด็กจะเข้าใจผิดว่าแพทย์ให้การดูแลรักษาไม่ดี เพราะเมื่อเด็กเข้าอยู่โรงพยาบาลตอนแรกอาการยังไม่มากนัก แต่ทำไมเมื่อแพทย์เริ่มให้การดูแลรักษาแทนที่เด็กจะดีขึ้น เด็กกลับมีอาการเลวลงเรื่อยๆจนเสียชีวิต แพทย์ต้องอธิบายให้พ่อแม่ของเด็กเข้าใจว่าเด็กที่เป็นโรคนี้ชนิดรุนแรง ขณะที่เด็กได้รับการรักษาอยู่นั้น ขบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจก็อาจจะกำลังเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาจนถึงจุด ที่ไม่เหลือกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ดีมากพอที่หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไป ปอดและไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดภาวะช็อคจนทำให้เสียชีวิต
ใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบชนิดรุนแรงนั้น แม้ว่าในปัจจุบันจะมียาบางชนิดซึ่งอาจจะช่วยได้บ้าง แต่อย่างน้อยผู้ป่วยจะต้องมีเวลามากพอที่จะให้โอกาสให้ตัวยาได้ออกฤทธิ์ บ้าง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยซึ่งเป็นชนิดรุนแรงที่แพทย์สามารถช่วยดูแลรักษาในระยะ แรกให้รอดชีวิต ผู้ป่วยก็มักจะไม่หายขาดจากโรคหัวใจ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมาก เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นกล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถกลับสู่สภาพกล้ามเนื้อหัวใจ ที่ปกติ และยังคงเป็นกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติและทำหน้าที่ได้น้อยกว่าปกติตลอด ไป เพราะฉะนั้นแม้ผู้ป่วยจะรอดชีวิตจากระยะเฉียบพลันผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการ หัวใจล้มเหลวตลอดไปและอาจเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
วิธี การรักษาวิธีเดียวในปัจจุบันที่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้คือ การปลูกถ่ายหัวใจหรือการเปลี่ยนหัวใจให้ใหม่ซึ่งก็มีความเสี่ยงต่อการเสีย ชีวิตเช่นเดียวกัน
โดย สรุป โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่น่ากลัวมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่อาการรุนแรง เพราะโอกาสเสียชีวิตในระยะแรกของโรคสูงมากโดยเฉพาะกลุ่มเด็กทารกแรกคลอด พวกที่รอดชีวิตจากระยะแรกของโรคยังอาจเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เรื้อรังซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มียารักษา นอกจากการรักษาด้วยยาที่ทำให้อาการลดน้อยลง การรักษาวิธีหนึ่งที่ใช้กันในปัจจุบันคือการปลูกถ่ายหรือการผ่าตัดเปลี่ยน หัวใจซึ่งก็มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต จึงน่าจะกล่าวได้ว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัสเป็นมัจจุราชที่ ไร้ความปรานี
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รักษาโรคกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกได้ที่ไหน
โรคหน้ากระตุก (Hemifacial spasm)
โรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก/ตาขยิบ (Orbicularis spasm)
โรคกล้ามเนื้อเปลือกตาเต้น/เขม่น (Myokymia)
โรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก/ตาขยิบ (Orbicularis spasm)
โรคกล้ามเนื้อเปลือกตาเต้น/เขม่น (Myokymia)
ปัญหากล้ามเนื้อของเปลือกตาเต้นระริกเป็นพักๆ สามารถพบได้ในคนทั่วไป ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับความเครียด และจะเป็นช่วงสั้นๆ แล้วอาการจะทุเลาหายไปได้เอง แต่ก็มีบางรายที่อาการยังคงเป็นต่อเนื่อง คือเป็นๆหายๆอยู่นับเดือน และมักจะไม่สัมพันธ์กับความเครียด
ส่วนอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุกเป็นช่วงๆหรือที่เรียกว่า เปลือกตากระตุก ถ้าอาการดังกล่าวเป็นลักษณะกึ่งตั้งใจ ( Tics ) พวกนี้มีสาเหตุจากความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และทำจนเป็นนิสัย ส่วนในกลุ่มที่มีอาการขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดจากการทำงานที่ผิดเพี้ยนของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ( Facial nerve ) ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดเช่นมีก้อนเนื้องอกหรือเส้นเลือดไปกดเส้น ประสาท หรือไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนก็ได้
กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ( Hemifacial Spasm ) เป็นภาวะที่รุนแรงกว่าของโรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก แรกๆอาการก็มีเพียงเปลือกตากระตุก เมื่ออาการเรื้อรังและเป็นหนักขึ้น ก็จะลามมาดึงรั้งมุมปากด้านเดียวกันให้กระตุกไปพร้อมๆกัน ก่อความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย ทำให้เสียบุคคลิกภาพ และสูญเสียความมั่นในใจในตนเอง
การรักษา
1. การฉีด Botulinum toxin ( Botox ) ซึ่ง เป็นสารพิษที่เจือจางเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อที่กระตุก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเป็นอัมพาตชั่วคราว เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่อาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดสารดังกล่าว และเกิดดื้อต่อการรักษาได้ในระยะยาว
2. การผ่าตัดเปิดกระโหลกศีรษะบริเวณหลังใบหู เข้าไปแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาทโดยใช้ แผ่น Teflon หรือ Titanium คั่นกลางเอาไว้ ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจจะเกิดได้เช่น เกิดอัมพาตของใบหน้าซีกดังกล่าว ( Bell’s palsy )จากการกระทบกระเทือนเส้นประสาทเส้นที่ 7 หรือสูญเสียการได้ยินของหูข้างนั้น จากการกระทบกระเทือนประสาทหูที่อยู่ใกล้กัน เป็นต้น
3. การนวดตา เป็นเทคนิคที่พัฒนามา อย่างต่อเนื่องจากการรักษาโรคตาหลายๆโรคที่ยังรักษาไม่ได้จนประสบความสำเร็จ ต่อมามีผุ้ป่วยที่มีอาการเปลือกตาเขม่นเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีการรักษาที่ชัดเจน เมื่อได้รับการแนะนำให้นวดตา ประกฎว่า อาการดังกล่าวหายไปได้ และเมื่อมีผุ้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก ก็ได้ลองแนะนำให้ผู้ป่วยนวดตา ก็ปรากฎว่าสามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ล่าสุด มีผุ้ป่วยที่อาการรุนแรงจนมีการกระตุกของมุมปากร่วมด้วย( Hemifacial spasm ) มาปรึกษา 2 ราย รายหนึ่ง คือคุณรุจิรา คำต่อม อายู 37 ปี ได้รับการรักษาด้วยการฉีด Botox มาร่วม 4 ปี และเริ่มดื้อยา ใบหน้าเริ่มผิดรูป อีกรายหนึ่ง คือคุณสมใจ รัตนารมย์ อายุ 51 ปี ยังไม่เคยรักษามาก่อน หลังจากได้รับคำแนะนำให้นวดตา จากการติดตามผล 1 เดือนต่อมา ประกฎว่า อาการดีขึ้นทั้ง 2 ราย การกระตุกของใบหน้าลดลง ทั้งความรุนแรง ( เดิมเวลาใบหน้ากระตุก จะได้ยินเสียงดังตึ๊กๆในหูข้างเดียวกันด้วย ขณะนี้ ไม่มีเสียงดังกล่าวแล้ว ) และความถี่ของการกระตุกก็ห่างออกไปเรื่อยๆจนใกล้จะหายขาดแล้ว
สรุป หากการนวดตา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกให้หายขาดได้อย่างถาวร ก็จะทำให้การค้นคว้าวิจัยโรคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องกลไกการเกิดโรคและวิธีรักษา
ตัวอย่างผู้ป่วย
ผศ. พัชรพร สุคนธสรรพ์ สำนักวิชา พยาบาลศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย โทร. 081-5330137
นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
e-mail [email protected] or [email protected]
ติดต่อเข้ารับการรักษา ศูนย์ฟื้นฟูประสาทตาและการมองเห็น โรงพยาบาลเอกชัย.
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น.
โทร. 03-441-7999 หรือสายด่วน โทร. 1715
ส่วนอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุกเป็นช่วงๆหรือที่เรียกว่า เปลือกตากระตุก ถ้าอาการดังกล่าวเป็นลักษณะกึ่งตั้งใจ ( Tics ) พวกนี้มีสาเหตุจากความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และทำจนเป็นนิสัย ส่วนในกลุ่มที่มีอาการขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดจากการทำงานที่ผิดเพี้ยนของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ( Facial nerve ) ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดเช่นมีก้อนเนื้องอกหรือเส้นเลือดไปกดเส้น ประสาท หรือไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนก็ได้
กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ( Hemifacial Spasm ) เป็นภาวะที่รุนแรงกว่าของโรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก แรกๆอาการก็มีเพียงเปลือกตากระตุก เมื่ออาการเรื้อรังและเป็นหนักขึ้น ก็จะลามมาดึงรั้งมุมปากด้านเดียวกันให้กระตุกไปพร้อมๆกัน ก่อความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย ทำให้เสียบุคคลิกภาพ และสูญเสียความมั่นในใจในตนเอง
การรักษา
1. การฉีด Botulinum toxin ( Botox ) ซึ่ง เป็นสารพิษที่เจือจางเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อที่กระตุก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเป็นอัมพาตชั่วคราว เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่อาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดสารดังกล่าว และเกิดดื้อต่อการรักษาได้ในระยะยาว
2. การผ่าตัดเปิดกระโหลกศีรษะบริเวณหลังใบหู เข้าไปแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาทโดยใช้ แผ่น Teflon หรือ Titanium คั่นกลางเอาไว้ ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจจะเกิดได้เช่น เกิดอัมพาตของใบหน้าซีกดังกล่าว ( Bell’s palsy )จากการกระทบกระเทือนเส้นประสาทเส้นที่ 7 หรือสูญเสียการได้ยินของหูข้างนั้น จากการกระทบกระเทือนประสาทหูที่อยู่ใกล้กัน เป็นต้น
3. การนวดตา เป็นเทคนิคที่พัฒนามา อย่างต่อเนื่องจากการรักษาโรคตาหลายๆโรคที่ยังรักษาไม่ได้จนประสบความสำเร็จ ต่อมามีผุ้ป่วยที่มีอาการเปลือกตาเขม่นเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีการรักษาที่ชัดเจน เมื่อได้รับการแนะนำให้นวดตา ประกฎว่า อาการดังกล่าวหายไปได้ และเมื่อมีผุ้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก ก็ได้ลองแนะนำให้ผู้ป่วยนวดตา ก็ปรากฎว่าสามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ล่าสุด มีผุ้ป่วยที่อาการรุนแรงจนมีการกระตุกของมุมปากร่วมด้วย( Hemifacial spasm ) มาปรึกษา 2 ราย รายหนึ่ง คือคุณรุจิรา คำต่อม อายู 37 ปี ได้รับการรักษาด้วยการฉีด Botox มาร่วม 4 ปี และเริ่มดื้อยา ใบหน้าเริ่มผิดรูป อีกรายหนึ่ง คือคุณสมใจ รัตนารมย์ อายุ 51 ปี ยังไม่เคยรักษามาก่อน หลังจากได้รับคำแนะนำให้นวดตา จากการติดตามผล 1 เดือนต่อมา ประกฎว่า อาการดีขึ้นทั้ง 2 ราย การกระตุกของใบหน้าลดลง ทั้งความรุนแรง ( เดิมเวลาใบหน้ากระตุก จะได้ยินเสียงดังตึ๊กๆในหูข้างเดียวกันด้วย ขณะนี้ ไม่มีเสียงดังกล่าวแล้ว ) และความถี่ของการกระตุกก็ห่างออกไปเรื่อยๆจนใกล้จะหายขาดแล้ว
สรุป หากการนวดตา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกให้หายขาดได้อย่างถาวร ก็จะทำให้การค้นคว้าวิจัยโรคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องกลไกการเกิดโรคและวิธีรักษา
ตัวอย่างผู้ป่วย
ผศ. พัชรพร สุคนธสรรพ์ สำนักวิชา พยาบาลศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย โทร. 081-5330137
นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
e-mail [email protected] or [email protected]
ติดต่อเข้ารับการรักษา ศูนย์ฟื้นฟูประสาทตาและการมองเห็น โรงพยาบาลเอกชัย.
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น.
โทร. 03-441-7999 หรือสายด่วน โทร. 1715
นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
5 ธันวาคม 2552
5 ธันวาคม 2552
ติดต่อ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++