โรคระบบขับถ่าย โรคระบบขับถ่าย 3โรค ข่าวโรคระบบขับถ่าย


12,477 ผู้ชม


โรคระบบขับถ่าย โรคระบบขับถ่าย 3โรค ข่าวโรคระบบขับถ่าย

         โรคระบบขับถ่าย

         ปกติร่างกายเราควบคุมให้เรากลั้นปัสสาวะไว้ได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม โดยส่วนของบริเวณกระเพาะปัสสาวะที่ต่อกับท่อปัสสาวะจะมีหูรูดบีบไว้ไม่ให้ ปัสสาวะเล็ดออกมา เมื่อปริมาณของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเต็ม กระเพาะปัสสาวะก็จะเริ่มบีบตัว เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ...

ภพร้อมกันนั้นหูรูดจะขยายตัวออกให้ปัสสาวะขับออกมา หากมีความผิดปกติของหูรูด เช่นภหูรูดไม่ทำงาน ก็ไม่สามารถจะเก็บปัสสาวะไว้ในกระเพาะปัสสาวะได้ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดราด ซึ่งพบได้บ่อยในสุภาพสตรีภโดยเฉพาะสตรีที่คลอดบุตรหลายคน ทำให้เกิดการหย่อนยานของมดลูกที่เรียกว่ากระบังลมหย่อน หรือมดลูกหย่อนภนอกจากนั้นเกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่ใกล้กับหูรูดกระเพาะปัสสาวะ

ปัญหา ปัสสาวะเล็ดราด กลั้นไม่อยู่ หรือควบคุมไม่ได้ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 6 ของประชากร อาการดังกล่าวพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ปัสสาวะเล็ดราดอาจจะเป็นแค่เพียงหยดซึมเป็นช่วงๆ หรือตลอดเวลา หรือราดจนเปื้อนเสื้อผ้าภายใน โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถจะควบคุม หรือกลั้นเอาไว้ได้ บางท่านต้องใช้แผ่นรองซับปัสสาวะ หรือสวมใส่ถุงเก็บปัสสาวะ สภาพดังกล่าวยังผลทำให้เสียสุขภาพพลานามัยต้องเฝ้าระวังดูแลรักษาตนเอง รวมทั้งเสียสุขภาพจิตที่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามความต้องการ

กลไกการกลั้นปัสสาวะในสตรี

เกิด จากผลรวมของความตึงตัวของเนื้อเยื่อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะส่วนต้นและส่วนกลาง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะหดรัดตัว และปิดตลอดเวลา ทำให้น้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเล็ดออกมาได้ถ้าตัวเรายังไม่ต้อง การให้ปัสสาวะไหลออกมา แต่ถ้าต้องการขับปัสสาวะจะเกิดสัญญาณประสาทไปยังกระเพาะปัสสาวะให้มีการหด ตัวและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หย่อนตัวทำให้แรงดันในท่อปัสสาวะลดลง น้ำปัสสาวะจึงไหลออกมาได้

สาเหตุ

  1. ปัสสาวะเล็ดราดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ภอาจจะมีปัญหาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบ เล็ดราด หรือขัดกระปริบกระปรอยภเนื่อง มาจากการอักเสบติดเชื้อซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนหรืออั้นปัสสาวะไว้มากจนเกินไป เช่น เมื่อต้องเดินทางไกล การอักเสบนี้รักษา และป้องกันได้โดยพยายามถ่ายปัสสาวะทิ้งทันที่ เมื่อมีโอกาสเสี่ยงต่อการอักเสบดังที่กล่าวข้างต้นภควรจะดื่มน้ำ 1-2 แก้ว เพื่อให้ปัสสาวะมากขึ้นแต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
  2. สำหรับสตรี 30-40 ปีขึ้นไป หลังคลอดบุตรแล้ว 2-3 คนภพ บว่าประมาณ 4-6% มีอาการปัสสาวะบ่อย และเล็ดราดขณะที่ไอ จาม ยกของ หรือเดินขึ้นบันได อาการปัสสาวะเล็ดแบบนี้ สาเหตุเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะเสื่อมสมรรถภาพในการปิดกั้น ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากกล้ามเนื้อกระบังลมช่องเชิงกรานหย่อนตัวลง แพทย์จะสามารถตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อพิจารณาความรุนแรงของอาการ และให้การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดเพื่อให้หายเป็นปกติได้ภการรักษาด้วยวิธีการฝึกหัดกล้ามเนื้อหูรูดช่องเชิงกรานภซึ่ง เรียกว่าการฝึกหัด พี.ซี. หรือกล้ามเนื้อช่องเชิงกราน ด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน จะช่วยรักษาอาการที่ไม่รุนแรงมากนักให้หายขาดได้ การฝึกหัดดังกล่าวมีประโยชน์ในการป้องกันเหมาะสมที่จะใช้กับสตรีหลังคลอด บุตร เพื่อลดปัญหาดังกล่าวตั้งแต่แรก
  3. ปัสสาวะเล็ดราดในกลุ่มผู้สูงอายุภส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากภาวะความเคยชินที่ผิดปกติภความเสื่อมสมรรถภาพของกระเพาะปัสสาวะรวมทั้งระบบประสาทในสมองภจึงทำให้อาการปัสสาวะผิดปกติพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน

ภาวะ กระเพาะปัสสาวะไวเกิน เป็นกลุ่มอาการของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตมากนัก แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก จึงจำเป็นที่แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่อาจมีส่วนดูแลผู้ป่วย เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้ความสำคัญ และให้การรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้หายหรือบรรเทาจากภาวะดังกล่าว และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การรักษา

  1. เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น การรักษาจึงใช้แนวทางรักษาหลายชนิดมาผสมผสานกัน
  2. รักษาภาวะที่ก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะไวเกิน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
  3. การใช้ยาที่มีฤทธิ์คลายการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดดื่มน้ำก่อนนอน
  5. หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุนการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำชา กาแฟ
  6. การจัดที่นอนใหม่ให้เข้าห้องน้ำได้สะดวกขึ้น
  7. การฝึกกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมบำบัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้สมองส่วนกลางส่งสัญญาณมายับยั้งวงจรการปัสสาวะ โดยการฝึกปัสสาวะให้เป็นเวลา และเพิ่มช่วงเวลาการถ่ายปัสสาวะให้มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งหลักการเบี่ยงเบนความสนใจ

การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

การ ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดส่วนนอกของท่อปัสสาวะหนาตัว และแข็งแรงขึ้น โดยปกติการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะใช้ในการรักษาภาวะไอ-จามจนปัสสาวะเล็ด แต่พบว่าสามารถนำมาใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ด้วย

การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานภโดย วิธีการออกกำลังแบบคีเกล (Kegel exercise) ซึ่งทำได้โดยการ เกร็งขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ ประมาณ 2-3 วินาที แล้วผ่อนคลายสลับกันไปเมื่อทำได้ดี ขึ้นให้เกร็งค้างไว้ นานประมาณ 10 วินาที โดยทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ได้ ประมาณ 100 ครั้งต่อวันภการออกกำลังกายแบบคีเกลนี้สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

            Link      https://www.108health.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 
                โรคระบบขับถ่าย 3โรค

โรคลำไส้อักเสบ

ต้นเหตุของโรคลำไส้อักเสบ
        ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกิน ก็มีส่วน คือ พบว่าการกินอาหารไขมันสูง  กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber)ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ
หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปี หรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบ แต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล

อาการ
        อาการมากหรือน้อยขึ้นกับบริเวณและระยะของโรค บางรายอาจมีอาหารเพียงแน่นท้อง ท้องอืด หรือปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเดิน นอกจากอาการปวดท้อง ผู้ป่วยมักมีไข้ร่วมด้วย การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยอาการแสดงของโรค การตรวจอุจจาระ

การตรวจร่างกาย
        การตรวจร่างกายและการตรวจเพื่อแยกแยะว่าไม่ได้เป็นความผิดปกติของลำไส้อื่นๆ ในระยะแรกอาจวินิจฉัยแยกจากโรคแผลลำไส้อักเสบได้ยาก ต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์
 


โรคริดสีดวงทวาร

        เป็นโรคที่พบว่ามีคนไข้เป็นจำนวนมาก พบได้ในเพศหญิงและเพศชาย โดยปกติอาการในระยะแรกจะไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ
กล่าวคือ เป็นโรคที่สามารถหายได้เองในระยะแรก แต่บางคนอาจมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว คนที่มีการดำเนินของโรคมากขึ้นจะมีจำนวนไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปี ก่อนจะถึงระดับที่รุนแรงจนกระทั่งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
            1. ท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
            2. ท้องเสียเรื้อรัง
            3. ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุนี้โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว
            4. พันธุกรรม
            5. ความชรา

การรักษาโรคริดสีดวงทวาร
        มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนั้นควรพิจารณาจากชนิดและความรุนแรงของโรคเป็นหลักในการรักษา
            1. การใช้ยาระงับอาการ ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น เช่น อาการปวด การอักเสบ
และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาทา ยารับประทาน ยาเหน็บ ยาฉีด
            2. การใช้ยางรัด (rubber band ligation)
            3. การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด (infrared photocoagulation)
            4. การจี้ริดสีดวงทวารด้วย bipolar coagulation
            5. การผ่าตัดริดสีดวงทวาร

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
            1. ระวังอย่าให้ท้องผูก ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และ
ยาเพิ่มเส้นใย (เช่น psyllium,เมธิลเซลลูโลส)และต้องถ่ายอุจจาระอย่างน้อยวันละ 1ครั้งเป็นประจำ
เพราะท้องผูกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
            2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์โดยการออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน
จะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
            3. ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8แก้ว เพื่อทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มขึ้น ทำให้
ง่ายต่อการขับถ่ายและเป็นการลดการเสียดสีกับเส้นเลือดที่บริเวณทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการที่พึงระวัง
   1.มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ ทั้งจำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระที่ออกมา
   2.มีเลือดเก่าๆ และมูกออกทางทวารหนัก
   3.ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
   4.น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้
   5.คลำก้อนได้ที่บริเวณท้อง และมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่

การวินิจฉัย
   1·ตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าทางทวารหนัก แล้วถ่ายเอกซเรย์
   2·การตรวจด้วยกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ สามารถดูรอยโรคได้โดยตรง และสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ได้ด้วย
   3·การติดตามผลการรักษา ทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหา CEA

การรักษา
   1.การผ่าตัด
   2.รังสีรักษา
   3.เคมีบำบัด
   4.การรักษาแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาวะผู้ป่วย

การป้องกัน
   1.ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และควบคุมระบบการขับถ่ายให้เป็นเวลา
   2.รับประทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ
   3.หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนไหม้เกรียม จากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน
   4.ลดอาหารไขมันสูง
   5.ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปหรือที่มีโรคเกี่ยวกับทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ แผลอักเสบเรื้อรัง เนื้องอก
ควรได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง
   6.ผู้ที่มีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
   7.ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์

 
   1.มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกสลับกับท้องเดิน มีเลือดเก่าๆและมูกปน
   2.ท้องอืด แน่นเฟ้อ เรื้อรัง
   3.น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด โลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้

            Link     https://www.thaigoodview.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
             ข่าวโรคระบบขับถ่าย

ระบบขับถ่าย

          การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่าง กาย  และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย  ไต  ตับ  และลำไส้  เป็นต้น

            ไต  มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย  อยู่ด้านหลังของช่องท้อง
            ลำไส้ใหญ่  มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
โครงสร้างของระบบขับถ่าย
            ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของ เสียออกจากร่างกาย  ไตของคนมี  1  คู่  อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่ กระเพาะปัสสาวะ  ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
             เคี้ยวอาหารให้ละเอียด  และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย  คือ  อาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  และควรดื่มน้ำให้มาก
การกำจัดของเสียออกทางไต
            ไต  เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว  มีขนาดประมาณ  10  กว้าง  6  เซนติเมตร  และหนาประมาณ  3  เซนติเมตร  มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ  ไตมี  2  ข้างซ้ายและขวา  บริเวณด้านหลังของช่องท้อง  ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว  บริเวณส่วนที่เว้า  เป็นกรวยไต  มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ
             โครงสร้างไต  ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  หน่วยไต  ชั้นนอก  เรียกว่า  คอร์ดเทกซ์  ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา  ภายในไตประกอบด้วย  หน่วยไต  มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก  วันหนึ่งๆ  เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต  ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่  1200  มิลลิลิตร  หรือวันละ  180  ลิตร  ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ  แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ  500  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ  250  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ใน  1  วัน  คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1  –  1.5  ลิตร
           การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง  ในรูปของเหงื่อ  เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่  เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง  โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง  ต่อมเหงื่อมี  2  ชนิด คือ
           1.  ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก  มีอยู่ทั่วผิวหนัง ในร่างกาย  ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา  เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ  99  สารอื่นๆ  ร้อยละ 1  ได้แก่  เกลือโซเดียม  และยูเรีย
            2.  ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่  จะอยู่ที่บริเวณ  รักแร้  รอบหัวนม  รอบสะดือ  ช่องหูส่วนนอก  อวัยวะเพศบางส่วน  ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ  สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น  ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ  จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่  ที่เรียกว่า  รูเหงื่อ

การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่


            กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย  จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่  โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม  สารอาหารที่มีประโยชน์  ต่อร่างกายได้แก่  น้ำ  แร่ธาตุ  วิตามิน  และกลูโคส  ออกจากกากอาหาร  ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง  จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง  และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก  ที่เรียกว่า  อุจจาระ
การกำจัดของเสียทางปอด
             ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด  จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
               การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณ ของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย  ไต  ตับและลำไส้  เป็นต้น
การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์  เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรค ริดสีดวงทวารหนักได้
               การปัสสาวะ  ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง  ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้น ปัสสาวะไว้นานๆ  จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้

              การดื่มน้ำ  การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน  จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น  การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของ เสียอย่างปกติ
           Link    https://school.obec.go.th/
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=+++++++++++++++++++++++++++++=

อัพเดทล่าสุด