โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง โรคผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด โรคผิวหนังบนใบหน้า


4,491 ผู้ชม


โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง โรคผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด โรคผิวหนังบนใบหน้า

           โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ มีอะไรบ้าง


โรคผิวหนัง


โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ (Men's Health)
เรื่อง รท.นพ.สรวิชญ์ สุบุญ
          ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
          1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็น ชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป
          2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกำพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็นที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง
          หน้าที่ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามินดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
          ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แบคทีเรีย รา และไวรัส

ชั้นผิวหนัง


1.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
          อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
          แผลพุพอง (impetiongo)
          เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้
          การรักษา เริ่ม ต้นด้วยการล้างทำความสะอาดบาดแผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
          รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
          เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น
          การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับ Furuncies และ Carbuncles จำเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
          ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
          เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้ำเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่างรวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
          ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
          เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
          ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

กลาก
กลากที่ง่ามเท้า


2.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา
          เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่
          กลาก
          ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่ ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ
           กลากที่ผิวหนัง เช่น ลำตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออกเรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก
          กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็นแผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก
            กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้ำตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจเปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง
            กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลำตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมหัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทำลาย
          การรักษา สำหรับ แผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อแทน

กลาก
กลาก


          เกลื้อน
          เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิต้านทานลดลง จึงทำให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง
          การรักษา มี ทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้ำทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการมาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่ จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกำจัดไปหมดแล้วก็ตาม
          การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้ารวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ

เริมที่ปาก
เริม


3.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส
          ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็นโรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวเชื้อเพื่อ พยายามกำจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ในร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่ำลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ ได้แก่
          เริม (Herpes Simplex)
          เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทำงานหนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทำให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ
            เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้ำหรือทานอาหารร่วมกัน
            เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
          ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บนฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดำเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้ำถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์

งูสวัด
งูสวัด


          งูสวัด (Herpes Zoster)
          เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคนถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต้องต่ำมากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว
          การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
          หูด (Wart)
          หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้ำตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด คือ
            Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
            Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า
            Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู พบที่อวัยวะเพศ
          Plantar Wart เป็นเม็ดแข็ง ขึ้นที่ได้ฝ่าเท้า
          Filitorm and Digitate Wart เป็นติ่งยื่นออกจากผิวหนัง พบบ่อยที่คอและใบหน้า
          การรักษา มี หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด แต่ที่พบบ่อยที่สุดอย่าง Verrucus Vulgaris มักรักษาด้วยการจี้ด้วยกรดซาลิไซลิก จี้ไฟฟ้าหรือผ่าตัดออก
          ทั้ง หมดที่กล่าวมานี้คือโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนิดใด หลักการสำคัญในการป้องกันก็คือ หมั่นดูแลรักษาสุขอนามัยของผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือ หากพบว่ามีแผล หรืออาการผิดปกติของผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ไม่ควรปล่อยให้เชื้อลุกลาม เพราะจะทำให้การรักษายากขึ้น หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

                     Link      https://health.kapook.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               โรคผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด

     แม้ว่าอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย แต่ที่ยืนพื้นสำหรับบ้านเราในขณะนี้ คือ ความร้อนและแสงแดดที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ร้อนจนน่าหงุดหงิดแบบนี้หลายคนจึงหาโอกาสไปคลายร้อนแถวชายทะเล ยิ่งทำให้มีโอกาสโดนแดดสูง ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนว่า การโดนแสงแดดมากเกินไปทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังได้
      นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคผิวหนัง ระบุว่า แสงแดดมีผลเสียต่อผิวหนัง โดยแบ่งผลที่เกิดขึ้นออกมา 2 ประเภท คือ ผลเสียที่เกิดขึ้นทันที โดยแสงแดดจะส่งผลทันทีโดยทำให้เกิดโรคผิวหนัง 40 โรค เช่น ผิวไหม้แดด ผิวคล้ำลง โรค SLE ที่มีอาการปวดข้อ และมีผื่นแดงรูปผีเสื้อ สิวบางชนิดที่กำเริบเมื่อโดนแดด โรคพอร์ไฟเรียที่มีอาการปวดท้อง ผิวไหม้แดดเป็นแผลและเกิดตุ่มน้ำ
      ส่วนผลเสียที่เกิดจากการสะสมระยะยาว คือ ผิวเหี่ยวแก่ เนื้องอกขั้นก่อนมะเร็ง และมะเร็งผิวหน้า โดย นพ.ประวิตร กล่าวว่า สมาคมโรคมะเร็งอเมริกา ระบุว่า คนอเมริกันทุกสีผิว 1 ใน 5 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง ซึ่งในส่วนของคนไทยเองก็พบมากเช่นกัน

alt


      “บางคนไม่ชอบทาครีมกันแดด แม้จำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งขณะแดดจัด เช่น การเล่นกีฬา หรือการเดินทางท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ที่ไม่ทาให้เหตุผลว่าทำให้แสบตา และทำให้เล่นกีฬาได้ไม่ดี อย่างนักกีฬากอล์ฟหรือเทนนิสที่มักจะเจอปัญหาเหงื่อไหลผ่านครีมกันแดดเข้าตา แล้วมีอาการแสบระคายเคือง ซึ่งอาจจะมีโอกาสที่คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากแสงแดดได้”
 
    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแนะนำการทาครีมกันแดด ว่า สำหรับผู้ที่เกรงว่าจะแสบตา ไม่ควรทาครีมกันแดดชิดขอบตาจนเกินไป ควรเว้นระยะประมาณครึ่งนิ้ว และควรมีผ้าซับหน้าเวลาเหงื่อออก หรืออาจจะใช้หมวกป้องกันแสงร่วมด้วย และควรเลือกครีมกันแดดที่มีเนื้อครีมซึบซาบผิวได้ดีและไม่ขวางการหลั่ง เหงื่อ
      “สำหรับผู้ที่มีแผนจะทำกิจกรรมกลางแดด ถ้าคาดว่าจะใช้เวลาเกิน 20 นาทีควรใช้ครีมกันแดด โดยควรใช้ที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป แต่ถ้าต้องออกแดดเป็นเวลานานมาก ต้องใช้ SPF 30 ขึ้นไป ควรทาล่วงหน้า 15-30 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำอย่างน้อยทุก 2 ชม.แต่ถ้าเป็นนักกีฬาเช่นว่ายน้ำควรทาบ่อยกว่านั้น ที่สำคัญคือ อย่าลืมดูวันหมดอายุ โดยยากันแดดส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งาน 3 ปี” นพ.ประวิตร แนะนำทิ้งท้าย

            Link    https://www.apichartclinic.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             โรคผิวหนังบนใบหน้า

สารเคมีที่ใช้ในการลอกหน้า

สารเคมีที่ใช้ในการลอกหน้ามีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความรุนแรงต่างกัน มีโรคแทรกซ้อนต่างกัน การศึกษาคุณสมบัติของสารเคมีที่ใช้ในการลอกหน้า จะช่วยให้ท่าน ได้ประโยชน์จากการลอกหน้า

1

รอยย่นก่อนลอกหน้า

1

รอยย่นจางลงหลังลอกหน้า

  1. Alphahydroxy Acid หรือ AHA หรือกรดผลไม้ (Fruit acid ) เป็นกรดที่ได้มาจากผลไม้ มีฤทธิ์ทำให้ผิวลอกเล็กน้อย กรดผลไม้จะซึมผ่านชั้นนอกของผิวหนังลงไป ทำให้เซลล์ชั้นนอกหลุดออกจากกัน ทำให้ผิวสดใส และผิวด้านนอกจะงอกขึ้นใหม่ หลังการทายาอาจจะมีอาการแสบคันเป็นเวลา 20 นาที แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หาย ก็ควรจะงดเครื่องสำอางชนิดนั้น หรือเลือกเครื่องสำอางที่มีความเข้มข้นต่ำลง กรดผลไม้เหมาะสำหรับรอยย่นที่ไม่มาก ผิวแห้งบางส่วนชนิดของกรดผลไม้
  • Citric Acid peels กรดผลไม้ที่ได้จาก มะนาว ส้ม สับปะรด เป็นกรดอย่างอ่อน
  • Glycolic Acid Peels เป็นกรดผลไม้ที่ได้จากน้ำอ้อย องุ่น กรดผลไม้ชนิดนี้จะกระตุ้นผิวหนังชั้นนอกให้ลอกออก และเร่งให้มีการสร้างเซลล์ใหม่
  • Lactic Acid Peel เป็นกรดผลไม้ที่ใช้ในการลอกหน้าสามารถทำให้เซลล์ที่ตายลอกออก กระตุ้นให้เซลล์เจริญขึ้นมาใหม่ กรดผลไม้นี้เตรียมมาจาก นมเปรี้ยว มะเขือเทศ
  • Malic Acid Peel เป็นกรดผลไม้ที่ได้จากผลแอปเปิล กรดผลไม้นี้จะรูขุมขนเปิดออกขับไขมันส่วนเกินออกมาช่วยป้องกันสิวเสี้ยน
  • Tartaric Acid Peels เป็นกรดผลไม้ที่ได้จากองุ่น ออกฤทธิ์เหมือนกรดผลไม้ทั่วๆไป

การใช้กรดผลไม้ในการลอกหน้า

  • ทำให้ผิวหน้าที่ขรุขระไม่มากเรียบเนียน
  • ปรับผิวหนังมิให้แห้ง
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากแดด
  • ช่วยในการรักษาสิว
  • ใช้ลบรอยด่างดำบนใบหน้า
  • อาจจะใช้ทาหน้าก่อนการลอกหน้าชนิดปานกลางหรือชนิดลึก
  • อาจจะต้องลอกหลายครั้ง
  • ต้องทาครีมกันแดดหลังจากการลอกหน้า
  1. Jessner's Peel ใช้ลอกหน้าชนิดปากกลาง ลอกหน้าได้ลึกกว่ากรดผลไม้ สารนี้ประกอบด้วย salicylic acid (BHA), lactic acid (AHA) และ resorcinol แพทย์จะทากรดผลไม้เพื่อให้หน้าท่านสะอาด หลังจากนั้นจะทา sJessner's Peel ท่านอาจจะรู้สึกปวดแสบบริเวณที่ทาซึ่งอาจจะบรรเทาโดยการใช้พัดลมช่วยเป่า หลังจากล้างเอาครีมออก ใบหน้าท่านจะมีสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อหายแล้วผิวหน้าจะดูดีขึ้น

  2. The Obagi Blue Peel ส่วนประกอบที่สำคัญคือ trichloracetic acid (TCA) ใช้ลอกหน้าในรายที่มีรอยตื้นๆ ผิวตกระไม่มาก ระหว่างการลอกหน้าจะมีอาการปวดแสบร้อนเหมือนกัน
  3. Phenol เป็นสารเคมีที่มีความเป็นกรดมากที่สุด ใช้ลอกหน้าชนิดลึก การลอกหน้าชนิดนี้จะมีอาการปวดแสบมากกว่าชนิดอื่น จำเป็นต้องใช้ยาชาและยากล่อมประสาท แพทย์จะต้องตรวจวัดความดันและการเต้นของหัวใจในระหว่างการลอกหน้า หลังการลอกหน้าชนิดนี้ห้ามไปตากแดดเพื่อให้ผิวเข้มขึ้น การลอกหน้านี้ให้ใช้เฉพาะใบหน้าเท่านั้น หากใช้บริเวณอื่นอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นได้ง่าย จะใช้ลอกหน้าสำหรับผู้ที่มีรอยโรคลึก เช่น รอยย่นลึก แผลเป็น ผิวหนังจะเริ่มสร้างใหม่ใน 10 วันช่วงแรกผิวจะมีสีแดง และจะกลายเป็นสีชมพูในหลายสัปดาห์-หลายเดือนเป็นต้น
 

ข้อบ่งชี้ในการใช้

  • ใช้ในการรักษาแผลจาก แสงแดด ยาคุมกำเนิด สิว
  • ใช้รักษารอยย่นที่ลึกจากอายุ
  • ใช้รักษามะเร็ง

ข้อแนะนำในการใช้

  • ใช้เฉพาะหน้าเท่านั้น
  • ไม่แนะนำสำหรับคนผิวคล้ำ
  • ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ
  • ระยะเวลาในการลอกหน้าประมาณ 1 ชั่วโมง
  • ใช้เวลานานหลายเดือนกว่าผิวหนังจะกลับคืนสู่ปกติ
  • ลบรอยกระได้อย่างถาวร
  • ต้องทาครีมกันแสงตลอดไป
  • ผลการรักษาค่อนข้างจะดี และอยู่ถาวร
  1. Trichloroacetic acid (TCA)ใช้ลอกหน้าชนิดปานกลาง ระหว่างที่มีการลอกหน้าจะมีอาการแสบร้อนและระคายเคือง หลังการลอกหน้า 7-10 วันผิวจะกลับปกติ ประโยชน์ในการใช้

  • ใช้ลบรอยย่นบนใบหน้า
  • ลบรอยแผลตื้นๆบนใบหน้า
  • แก้ปัญหาเรื่องเม็ดสีบนใบหน้า

ข้อที่ควรจะต้องพิจารณา

  • สามารถใช้กับส่วนอื่นของร่างกาย
  • อาจจะต้องให้กรดผลไม้หรือวิตามินเอทาหน้าก่อนที่จะลอกหน้า
  • ทาครีมไว้ 10-15 นาที
  • คนผิวสีเข้มจะได้ผลดีกว่า
  • สามารถลอกหน้าระดับลึกได้
  • อาจจะต้องลอกอีกเพื่อให้หน้าดูดี
  • ต้องทาครีมกันแดด
  • ใช้เวลาไม่นานผิวจึงจะปกติ

ข้อควรปฏิบัติหลังการลอกหน้า

หลังการลอกหน้าจะมีความรู้สึกแสบร้อนและบวมบริเวณใบหน้า อย่ายิ้ม อ้าปาก หรือการแสดงออกบนใบหน้ามากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดการฉีกขาดของผิวหนัง และเกิดแผลเป็น ข้อควรปฏิบัติหลังการลอกหน้า

  • ให้ใช้สบู่อ่อนล้างหน้า
  • อาจจะต้องใช้ครีมบำรุงผิวชนิดพิเศษ
  • อย่าทาครีมหรือเครื่องสำอางอื่น โดยที่ไม่รู้ส่วนประกอบเพราะอาจจะมีสารเคมีที่ใช้ในการลอกหน้าซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองกับใบหน้า
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด และให้ใช้ครีมกันแสงแดด
  • อย่าแกะหรือขัดสะเก็ด เพราะอาจจะทำให้เกิดแผลเป็น
  • หากเกิดเริมให้แจ้งแพทย์ผู้รักษา

ข้อห้ามใช้สารเคมีในการลอกหน้า

  • หากท่ายังต้องทำงานเจอแสงแดดอยู่
  • กำลังเป็นโรคเริม ไข้สุกใส
  • เป็นโรคหูด
  • ประวัติเป็น keloid
  • ประวัติใช้ยารักษาสิว Accutane ใน1 ปี
  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมลูก
  • เป็นโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นเอสแอลอี
  • ได้รับเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
  • คนที่มีผิวค่อนข้างคล้ำ


                 Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด