โรคหูชั้นกลางอักเสบ ป้องกันภัยเงียบโรคหูชั้นกลางอักเสบในวัยรุ่น โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก


1,676 ผู้ชม


โรคหูชั้นกลางอักเสบ ป้องกันภัยเงียบโรคหูชั้นกลางอักเสบในวัยรุ่น โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

             โรคหูชั้นกลางอักเสบ

โรคหูชั้นกลางอักเสบ


     โรคหูชั้นกลางอักเสบพบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึงอายุ 5 ปี มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเกิดจากโรคภูมิแพ้  เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในคอหอยหรือโพรงจมูกอยู่แล้ว ส่วนเชื้อไวรัสที่ก่อโรคมักมาจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดนำ มาก่อน  จากนั้นเชื้อทั้งสองประเภทจะกระจายเข้าสู่หูชั้นกลางโดยผ่านทางท่อยูสเตเชีย นซึ่งเป็นทางติดต่อระหว่างโพรงจมูกกับหูชั้นกลาง
     อาการของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบคือ ไข้สูง ร้องกวน งอแง บางรายอาจมีอาการของไข้หวัดและภูมิแพ้ร่วมด้วยหรือนำมาก่อน  เด็กอาจแสดงอาการว่าเจ็บหูโดยใช้มือจับบริเวณหูหรือดึงใบหูของตัวเอง  เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบจะตรวจพบเยื่อแก้วหูแดง อาจพบน้ำหรือหนองอยู่ในหูชั้นกลาง
     ภาวะแทรกซ้อนของโรคหูชั้นกลางอักเสบที่พบได้คือ เยื่อแก้วหูทะลุและมีน้ำหนองไหลออกมา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหูลดน้อยลง ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ การลุกลามของเชื้อไปสู่อวัยวะสำคัญโดยเฉพาะสมอง ทำให้เกิดฝีในสมองได้
     การรักษาผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบประกอบด้วย
     1.การใช้ยาต้านจุลชีพ (ยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ)  แต่เดิมยากลุ่มนี้จำเป็นสำหรับ
ผู้ ป่วยหูชั้นกลางอักเสบทุกราย ในปัจจุบันยาต้านจุลชีพอาจไม่จำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือมีการอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือภูมิแพ้ เนื่องจากอาการในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักทุเลาได้เอง
     2.ยาอื่นๆ เช่น ยาแก้ปวด ยารักษาอาการหวัดและภูมิแพ้
     3.การรักษาอื่นๆ เช่น การระบายน้ำจากหูชั้นกลางโดยการเจาะออก
โดย จุฬาคิดส์คลับ

              Link    https://www.chulakid.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                ป้องกันภัยเงียบโรคหูชั้นกลางอักเสบในวัยรุ่น

ป้องกันภัยเงียบ…โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเล็ก ก่อนสายอาจ “ตาย-พิการ”  ตอน 1

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อร้ายแรงที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นโรคไกลตัว เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะไม่สูงมากเมื่อเทียบกับโรค อื่น ๆ โดยพบว่าในแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 170,000 ราย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะพบอุบัติการณ์ของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบน้อยกว่าโรคอื่น ๆแต่ความรุนแรงของโรคมีสูงมาก และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย และครอบครัวได้มากมายมหาศาล เพราะนอกจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะก่อห้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตแล้วผู้รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบและทุพพลภาพในระยะยาว เช่น สมองถูกทำลาย หูหนวก หรืออาจจะสูญเสียความสามารถในการใช้แขนขา เป็นต้น โดยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้แก่ ทารก เด็กเล็ก และวัยรุ่น

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และหนอนพยาธิ เป็นต้น โดยเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเซลล์สมองทำให้ไม่สามารถสั่งการและควบคุมการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ได้ ซึ่งการดำเนินของโรคจะเร็วมากเพียง 2-3 วัน และจะยิ่งรุนแรงหากเกิดกับทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ และอาการแสดงมักไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดโรคดีที่สุด

โดยอาการของโรคนี้ จะไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก จะมีแต่เพียงอาการ ทั่ว ๆ ไปซึ่งคล้ายกับโรคไข้หวัด เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ก้มคอลำบาก คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ตาไวต่อแสง เซื่องซึม แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากอาการทั่ว ๆ ไปของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คล้ายไข้หวัด ซึ่งคนไทยเราเป็นกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ทำ ให้คุณพ่อคุณแม่มองข้าม จนบางครั้งเกิดอันตรายเกินแก้ไขได้ทันเวลา และอาการดังที่กล่าวมา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกคน และไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ หากเข้าข่ายสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

แม้ว่าโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะเป็นโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรง แต่พ่อแม่สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โดยให้ทารกกินนมแม่รับ ประทานอาหารหลักครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอเพียง รวมทั้งรักษาสุขอนามัยเป็นประจำสม่ำเสมอ ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ รวมทั้งปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม ที่สำคัญในปัจจุบันมีการพัฒนา วัคซีนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในเด็กเล็กที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส และเชื้อเอ็นทีเอชไอได้แล้ว แต่หากต้องการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมใน วงกว้างต้องอาศัยความร่วมมือแบบ 360 องศา ระหว่างกุมารแพทย์ พ่อแม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐในการช่วยสนับสนุนและร่วมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง


โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยได้ ร่วมกับ ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย จัดรณรงค์วันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก 2012 ซึ่งตรงกับวันที่ 24 เมษายน 2555 เพื่อร่วมรณรงค์ให้คนไทยเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมทั้งโรคที่อาจจะเป็นต้นตอสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งนี้เพื่อลดอุบัติการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กไทยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการขานรับสมาพันธ์ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Confederation of Meningitis Organizations : CoMo) ได้กำหนดวันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก (World Meningitis Day) ขึ้นเป็นปีที่ 8 ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรสมาชิกกว่า 34 องค์กร จาก 22 ประเทศ เพื่อผนึกกำลังรณรงค์ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อสู้กับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในวงกว้างในหมู่ประชาชนทั่วไป.

ข้อมูลจาก ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

                 Link   https://ascannotdo.wordpress.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

รคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก ภัยร้ายหลบในสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ' PDF พิมพ์ อีเมล
บทความ - นานาสาระ
เขียนโดย sptthai   

 p6thurl2.jpg

โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่กลับเป็นโรคที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก และมักมองข้ามอันตราย เนื่องจากอาการของโรคหูชั้นกลางอักเสบ มักจะแฝงมาพร้อมกับโรคไข้หวัด และอาการจะเหมือนกับอาการข้างเคียงของไข้หวัด เช่น หูอื้อ เจ็บหู ฟังไม่ค่อยได้ยิน พร้อมกับพ่อแม่ที่เข้าใจว่าเป็นผลมาจากเด็กเป็นไข้ไม่สบายเท่านั้น และคิดว่าอาการหูอักเสบนี้จะหายไปเองเมื่อเด็กหายป่วย 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมีอันตรายมากกว่าที่คิด หากไม่ได้รับการตรวจหูและรักษาอย่างจริงจัง แม้อาการภายนอกจะหายไป แต่เชื้อโรคจะยังคงแฝงตัวมีอาการซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งอันตรายมาก เพราะนอกจากจะมีโอกาสพัฒนาไปสู่หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นโรคหู น้ำหนวก ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้และพัฒนาการที่สมบูรณ์ของเด็ก ๆ แล้ว ยังมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ โดยเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจนำไปสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อในอวัยวะอื่น ๆ อย่างโรคอีพีดี และโรคปอดบวมได้
เนื่องจากหูอยู่ในบริเวณฐานสมอง และมีช่องทางเชื่อมถึงกันได้หมดตั้งแต่สมองจนถึงปอด ดังนั้นการที่เชื้อจะกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องง่าย เช่น จากหูไปสู่สมอง ทำให้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง หรือจากหูไปสู่ปอด ทำให้เป็นโรคปอดบวม และปอดอักเสบได้ หรือจากหูไปสู่กระแสเลือด ทำให้เป็นโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้การรักษายากขึ้นไปอีก และเด็กก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้น้อยลง
สาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบ สามารถเกิดได้ ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยที่เกิดจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถรักษาให้หายเองได้ ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้หายช้า และสามารถเป็นซ้ำได้อีก หรือเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และใช้เวลาในการรักษานาน โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบที่พบบ่อยคือ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส และเชื้อฮีโมฟิลุส ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในลำคอและโพรงจมูกของเด็กเล็ก เป็นเชื้อที่มีความรุนแรง แฝงตัวมากับเชื้อหวัดและปอดบวม 
“โรคหูชั้นกลางอักเสบ” นี้คนทั่วไปมักจะรู้จักกันในนามของ “โรคหูน้ำหนวก” เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากการที่ท่อปรับความดันหูชั้นกลางยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ ประกอบกับการสัมผัส คลุกคลีกับบุคคล และสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดภาวะติดเชื้อ เป็นหวัดได้บ่อย ซึ่งจากโรคหวัดที่เป็นลุกลาม ก็มีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบต่อเนื่องไปยังท่อปรับความดันหูชั้นกลาง มีผลทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันได้ 
วิธีการสังเกตอาการคือ หากเด็กเป็นไข้หวัด ไม่สบาย มีไข้สูง ปวดหูมาก ถ้าเป็นเด็กเล็ก จะร้องกวน เอามือกุมหูข้างที่ปวดไว้ และอาการปวดหูอาจเป็นมากขึ้นเวลากลางคืน ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจหู เพราะอาจเป็นอาการของ โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน และหากไม่ได้รับการรักษาในขั้นนี้ แม้ว่าระยะต่อมาอาการปวดหูก็จะเริ่มทุเลา ไข้เริ่มลดลง แต่เชื้ออาจหลงเหลืออยู่ การอักเสบยังคงดำเนินต่อ และเด็กอาจจะเริ่มสูญเสียการได้ยิน คือมีอาการหูอื้อการได้ยินลดลงและพัฒนาไปสู่โรคหูชั้นกลางอักเสบชนิดมีของ เหลวขัง โดยในระยะนี้แก้วหูยังไม่ทะลุ หรือหากเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่มีแก้วหูทะลุ แต่ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทำให้มีหนองไหลเป็น ๆ หาย ๆ มีกลิ่นเหม็น การได้ยินลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นอาจกลายเป็น โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจากการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร “The American Journal of Otology” พบว่าในคนที่เป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ตามมา เช่น ใบหน้าเป็นอัมพาต เยื่อหุ้ม สมองอักเสบ ฝีในสมอง และติดเชื้อรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็ว จะสามารถทำให้หายเป็นปกติได้ แต่ถ้าละเลยการรักษา เมื่อการได้ยินและประสาทหูเสื่อมลง ก็จะไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้
ดังนั้น พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการป้องกัน ควรให้เด็กดูดนมแม่เพื่อเสริมภูมิต้านทานตามธรรมชาติ ดูแลเด็กให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ให้เป็นหวัดบ่อย  สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี และหากเด็กเป็นไข้ไม่สบายและมีอาการเจ็บหู หรือเวลาพูดแล้วเด็กไม่ค่อยได้ยิน เปิดทีวีเสียงดัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหู และการเสริมภูมิต้านทานด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไอพีดีพลัส ปอดบวม และหูชั้นกลางอัก เสบ เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วย ซึ่งกุมารแพทย์จะแนะนำให้ฉีดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากเป็นช่วงที่พบบ่อย ก็จะช่วยให้เด็กแข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาได้ โดยเฉพาะเด็กที่ป่วยเป็นหวัดบ่อย ๆ และเด็กที่พ่อแม่นำไปฝากสถานเลี้ยงเด็ก เพราะเป็นแหล่งรวมพาหะของเชื้อโรค ที่ทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อได้บ่อย 
พัฒนาการด้านการได้ยิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของเด็ก  การดูแลและป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคหูชั้นกลางอักเสบ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป  
ข้อมูลจาก ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด