โรคหูดับจากหมู โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข
โรคหูดับจากหมู
เพชรบูรณ์เตือน เปิปสุก ๆ ดิบ ๆ ระวัง โรคหูดับ
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
สธ.เพชรบูรณ์ เตือน คนชอบเปิปอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ระวังโรคหูดับ คุกคาม ปีนี้ตายไปแล้ว 5 ราย
สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผย ข้อมูลตัวเลขผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือ โรคหูดับ ในปี 2553 ว่า ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - ปัจจุบัน มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 23 คน เสียชีวิตแล้ว 5 คน มากสุดที่อำเภอเมือง รองลงมาเป็นอำเภอเขาค้อ และอำเภอชนแดน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ และลาบดิบ หรือ รับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ที่ปรุงโดยใช้เลือดดิบ จากสถิติพบว่า จังหวัดภาคเหนือพบผู้ป่วยโรคหูดับมากขึ้น เนื่องจากยังมีคนบางกลุ่มนิยมกินลาบ ลู่ ซึ่งทำจากหมูดิบ ๆ โดยเฉพาะการนำมาแกล้มเหล้า
ทั้ง นี้ โรคหูดับ นั้น เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็น โรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลง หรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด
สำหรับการรักษา โรคหูดับ นั้นต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน ทั้งนี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
โรคหูดับจากหมูเรียกว่า
โรคไข้หูดับ
โรคไข้หูดับเป็นอย่างไร
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้อนี้จะทำให้สุกรป่วย และตายได้บ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน ไข้หูดับในคนมีการรายงานครั้งแรกในโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2511 หลังจากนั้นมีการรายงานประปรายทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 215 ราย และเสียชีวิตถึง 38 ราย (ร้อยละ 18 ) คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 800 ราย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะประเทศไทย และประเทศเวียดนาม
สำหรับประเทศไทยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2553 พบ 19 รายงานมีผู้ป่วยรวม 301 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ โดย 3 รายงานดังกล่าว (พ.ศ. 2537, 2549 และ 2552) เป็นผู้ป่วยในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึง 91 ราย
เชื้อจากหมู่สู่คนได้กี่ทาง
การติดเชื้อไข้หูดับ
เชื้อนี้ผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ เช่น ลาบหมู โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู เช่น ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่านการติดเชื้อในคนเกิดได้สองวิธี คือ
- จากการรับประทาน
- หรือการสัมผัสเนื้อ และเลือดดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของสุกรที่ป่วย
ยังไม่มีรายงานการติดต่อของไข้หูดับ จากคนสู่คน
ใครผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้
ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วย และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดเป็นพิษ และเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ
Link https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++==
ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Streptococcus suis แกรมบวก รูปร่างกลม การติดต่อ ผ่านระบบทางเดินหายใจ, nose-to-nose contact, เชื้อสามารถเข้าทางบาดแผลและรอยถลอกได้, เชื้อสามารถอยู่ในฝุ่นละอองและอุจจาระ, การใช้อุปกรณ์ที่ติดเชื้อ, การปนเปื้อน secretion และ excretion
ปัจจัยเสี่ยง ภาวะเครียดของหมู , การจัดการที่ไม่ดีในฟาร์มสุกร อาการ หมูไข้ขึ้นๆลงๆ ซึม ท่ายืนผิดปกติ ataxia ต่อมาชักแบบถีบจักรยาน ตาบอดและหูหนวก ข้อบวมอักเสบ ปอดบวม ตาถลน ติดเชื้อในกระแสโลหิต ผิวหนังแดง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การรักษาและการป้องกัน เลี้ยงสุกรแบบ all-in/all-out มีการจัดการฟาร์มที่ดี แก้ไขสุขาภิบาลให้ดีขึ้น มีความเข้มงวดใน biosecurity เลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ
การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสสุกรที่ติดโรค ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ผู้ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ชำแหละเนื้อสุกร แม่บ้าน สัตวบาล สัตวแพทย์ เชื้อเข้าทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา การบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่สุก ระยะฟักตัว 1-3 วัน อาการในคน มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นเหียน สับสน กลัวแสง คอแข็ง ข้ออักเสบ มักมีอาการปวดในข้อก่อน 1-2 วัน ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกถาวรภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากหายป่วยอาจมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่รุนแรง อาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต มีผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต และระบบโลหิต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ มีผื่นจ้ำเลือดทั้งตัว และช็อก | ||
สำหรับเจ้าหน้าที่ 1) ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคติดเชื้อ สเตร็ปโตคอดคัส ซูอิส และให้รายงานเข้าระบบการเฝ้าระวังโรค ( รง.506 ) และออกสอบสวนควบคุมโรค กรณีมีผู้ป่วยเสียชีวิตหรือมีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน 2) ให้ความรู้แก่ประชาขนโดยอาศัยเครือข่าย อสม. , SRRT ตำบล เพื่อให้ประชาชนได้รู้และทราบถึงความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ สำหรับประชาชน Link https://dpc9.ddc.moph.go.th +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ |