โรคหูดับ โรคหูดับ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส โรคหูดับเป็นสาเหตูเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือไม่
โรคหูดับ
หูดับ ฟังเสียงดังนาน ๆ ต้องระวัง
หูดับ ฟังเสียงดังนาน ๆ ต้องระวัง
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ใคร ที่มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ความสามารถการได้ยินลดลง แถมยังทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือชอบเปิดเครื่องเล่น MP 3 เสียงดัง ๆ บ่อย ๆ เท่ากับว่า คุณกำลังเสี่ยงกับอาการ หูดับ อยู่ค่ะ แล้วอาการ หูดับ คืออะไร เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยหรือไม่ วันนี้มีข้อมูลเรื่อง หูดับ มาฝากกัน
โรคหูดับ คืออะไร
โรคหูดับ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็น โรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลง หรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว
อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วนั้น โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป และอาการของ โรคหูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้
อาการของ โรคหูดับ
จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย
กลุ่มเสี่ยง โรคหูดับ
โรคหูดับ เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชาย และเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดัง ๆ
สาเหตุการเกิด โรคหูดับ
ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่า โรคหูดับ หรือ เส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1.เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
ในบางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของ โรคหูดับ ว่าเกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้
2.เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้
3.ปฏิกิริยาทางอิมมูน
เนื่องจากพบหลักฐานว่า มีผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปัส กลุ่มอาการโคแกน ฯลฯ มีอาการหูดับร่วมด้วย จึงเชื่อกันว่า โรคหูดับ อาจจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตน เอง หรือที่เรียกว่า autoimmunity
4.การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane
โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้
อย่างไรก็ตาม การได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้ หูดับ ได้ จนสูญเสียได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบางรายเป็น โรคหูดับ เพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิด โรคหูดับ ได้เช่นกัน
ทั้ง นี้ยังมี โรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉย ๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการ หูดับเฉียบพลันนี้ อาจเกิดจาก
เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
การผิดปกติของเลือด
เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียน กระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
การได้รับการผ่าตัดหู
ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
ไม่ทราบสาเหตุ
ส่วน โรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่า ๆ รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere's Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40-60 ปีมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
การวินิจฉัย โรคหูดับ
เมื่อผู้ป่วยฟังเสียงไม่ได้ยิน หรือมีอาการ หูดับ ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที โดยแพทย์ หู-คอ-จมูก จะตรวจหูอย่างละเอียด และพิจารณาส่งไปตรวจวัดการได้ยิน ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
โดยการตรวจวัดระดับการได้ยิน เรียกว่า Hearing tests หรือ Audiometry แบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับเล็กน้อย (mild) 25-39 เดซิเบล
ระดับปานกลาง (moderate) 40-68 เดซิเบล
ระดับรุนแรง (severe) 70-94 เดซิเบล
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็นการตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อนทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่ และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจเป็นสาเหตุได้ โดยเนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma)
การรักษา โรคหูดับ
การรักษาที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน
ทั้ง นี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย
นอกจากนี้ยังมีการรักษา โรคหูดับ ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส ชื่อ อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัส HSV-1 และจะยิ่งได้ผลดีขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ส่วนยาลดปฏิกิริยาอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์ corticosteroids ก็ได้ผลดีเช่นกัน
การป้องกัน โรคหูดับ
ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค หูดับ คือ ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น ไม่ควรเปิดฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังจนเกินไป และฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก ๆ ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- กระทรวงสาธารณสุข
- lifedd.net
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
โรคหูดับ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส
โรคหูดับ
สเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus suis)
โรคสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อ Streptococcus suis เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมบวก ลักษณะเซลล์ของแบคทีเรียจะอยู่เป็นคู่ หรือเป็นสายยาวขนาดต่างๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในลูกสุกร พบในลูกสุกรตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหย่านม มักตรวจพบเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ในโพรงจมูก และต่อมทอนซิล บางครั้งจะพบเชื้อในช่องคลอดของแม่สุกร สุกรเหล่านี้จะเป็นแหล่งรังโรค ทำให้เชื้อแพร่ไปยังลูกสุกร หรือสุกรในฝูงได้
อาการในสุกร
เชื้อ S. suis เป็นเชื้อที่มีปัญหาอย่างมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ปัจจุบันพบจำนวน 34 serotype แต่ serotype ที่มักก่อให้เกิดโรคในสุกร ได้แก่ serotype ½, 2, 14 และ 19 โดยเฉพาะเชื้อ S. suis serotype 2 สามารถติดต่อสู่คนได้ และทำให้สมองอักเสบ
สุกรที่ติดเชื้อจะเกิดสภาวะเลือดเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูง และข้ออักเสบ และตายอย่างเฉียบพลัน สุกรบางตัวอาจตายโดยไม่แสดงอาการมาก่อน ในสุกรหย่านม อาการทางระบบประสาทจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสในฝูง โดยพบว่าเวลาขาจะไม่สัมพันธ์กัน นอนขาตะกุย มีอาการชัก เหยียดเกร็ง กรอกตาไปมา เยื่อบุตาบวมแดง นอกจากนี้ยังพบอาการปอดบวม และข้ออักเสบซึ่งเนื่องมาจากโลหิตเป็นพิษ สุกรบางตัวพบลิ้นหัวใจอักเสบมีฝีหนอง ระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว อาการของโรคที่เกิดขากเชื้อ S. suis จะคล้ายกับโรคแกลสเซอร์ที่เกิดจากเชื้อ Haemophilus parasuis และโรค edema disease ที่จากเชื้อ E. coli
อาการในคน
การติดเชื้อจากสุกรไปสู่คนเกิดจากการสัมผัสโดยตรง เช่นติดทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อหรือเลือดสุกรที่ไม่สุก การติดเชื้อทางการหายใจมีโอกาสน้อย และไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรง อาการที่พบได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน มีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง บางรายติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่พบภาวะเยื่อหุ้มสมอง บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ และอุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง บางรายติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจแบบกึ่งเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติ
เชื้อ S. suis ทำให้เกิดโรคในหลายระบบการเก็บตัวอย่างจะเน้นอวัยวะที่ได้รับผลจากการติด เชื้อ และเกิดความผิดปกติ เช่น หัวใจ ปอด ม้าม ไต สมอง ต่อมน้ำเหลือง หนองในข้อ รก ตัวอ่อนในแม่อุ้มท้อง และนมจากเต้านมอักเสบ ตัวอย่างทั้งหมดควรนำมาเพาะเชื้อโดยเร็ว โดย swab หนองจากข้อ และต้องนำมาเพาะเชื้อโดยทันที หรือไม่ช้ากว่า 3 ชั่วโมง การเก็บในอาหารเลี้ยงเชื้อ transport media จะช่วยรักษาสภาพของตัวอย่าง
การควบคุมและกำจัดโรคจากฟาร์มสุกร
เชื้อ S. suis serotype 2 เป็นเชื้อที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และทางสาธารณสุขมากกว่าเชื้อ S. suis serotype อื่น จึงได้มีการศึกษาวิธีกำจัดเชื้อออกจากฟาร์มมากกว่า serotype อื่น สุกรเป็นแหล่งหลักในการเป็นพาหะของเชื้อโดยที่เชื้อจะอาศัยอยู่ที่ crypt ของทอนซิล และโพรงจมูก เชื้อ S. suis สามารถที่จะวนเวียนอยู่ในประชากรของหนู mice ส่วนหนู rat พบว่าเชื้อจะไม่มีการเพิ่มจำนวนแต่สามารถที่เป็นพาหะแบบ mechanical ได้ พบว่าเชื้อสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ในกระเพาะของแมลงวันได้นานถึง 5 วัน
วิธีกำจัดเชื้อจากฟาร์มที่มีประสิทธิภาพดีได้แก่
1. การกำจัดเชื้อโดยวิธี depopulation & repopulation โดยทำ total depopulation ร่วมกับการทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อในโรงเรือน วิธีนี้จะใช้ได้ผลดีกับฟาร์มในระบบปิด
2. การให้ยาร่วมกับการหย่านม ทำได้โดยการหย่านมลูกสุกรที่อายุ 5 วัน ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม beta-lactam โดยการกินในแม่สุกรใกล้คลอด และลูกสุกรหย่านมจะสามารถกำจัดเชื้อ S. suis serotype 2 ได้ การใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มอื่นจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้
การป้องกันและรักษาในคน
โรคนี้สามารถรักษาให้หายโดยการให้ยาปฏิชีวนะ โดยยาที่รักษาได้ผลได้แก่ แอมพลิซิลิน, เพนนิซิลิน, ซีฟาแลคซิน, คลาวูลานิคแอซิค และซิโปรฟลอกซาซิน โดยธรรมชาติ เชื้อ Streptococcus จะถูกทำลายด้วยความร้อน การกินอาหารแบบปรุงสุกจึงลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคน นอกจาก นี้ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มหรือโรงฆ่าสัตว์ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล สวมรองเท้าบู๊ต หรือ สวมถุงมือระหว่างปฏิบัติงาน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
เอกสารอ้างอิง
พรเพ็ญ พัฒนโสภณ 2549. สเตรปโตคอคคัส ซูอิส จดหมายข่าว สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ปีที่5 ฉบับที่ 3
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคหูดับเป็นสาเหตูเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือไม่
ม่นานมานี้ ผมป่วย นอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล สถานที่แห่งเดียวกันกับที่เรียนหนังสืออยู่
ป่วยครั้งนี้ เป็นเกี่ยวกับเรื่อง “หู”
ไม่ใช่ว่าเป็นคนหูเบา แต่อย่างไร
ครั้งนี้เป็นโรค “หูดับ”
เริ่มต้นด้วยเช้าวันหนึ่ง ตื่นมา มีอาการหูอื้อขึ้นทันใด อื้อข้างขวาข้างเดียว พยายามกลืนน้ำลายเอื้อก ปิดปากปิดจมูกเป่าลม กดหู ทำกันทั้งวันแล้วก็ไม่หาย ทรมานมาก จึงไปห้องฉุกเฉิน และต่อมา ไปหา หมอเฉพาะทาง หู คอ จมูก ได้รับตรวจร่างกาย เข้าเครื่องวัดการได้ยินเสียง(ออดิโอแกรม) พบว่าเป็นโรคประสาทหูเสื่อมกะทันหัน (ภาษาอังกฤษ เขาว่า sudden sensorineural hearing loss(SSNHL)) อาจารย์หมอให้ยาแล้วกลับบ้าน
ไม่ดีขึ้นอีก! ครับท่านผู้ชม ต้องกลับไปพบอาจารย์หมอ ได้รับการเพิ่มขนาดยาเป็นอย่างมาก เป็นเช่นนี้สามถึงสี่รอบ ต่อมาจากยากิน กลายเป็นยาฉีด ต้องให้ยาทางกระแสเลือดทุกแปดชั่วโมง รวมถึงนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่หลายวัน ทั้งปวดหู ทั้งหูอื้อ เสียการเรียนมากครับ แต่สุขภาพต้องมาก่อน
ผู้อื่นที่รู้ว่าป่วยนอนอยู่โรงพยาบาล ก็หวังดี มาเยี่ยมกัน ซาบซึ้ง ขอกราบขอบคุณ แต่ปัญหาคือหลายคนที่มา มักจะคุยกันเสียงดังเป็นเวลาหลายชั่วโมง หูก็เลยหายช้า ประทับใจผู้มาเยี่ยม แต่หูก็อื้อต่อไป
เวลาป่วยนี้ ไม่มีใครรู้ดีเท่าคนที่ป่วยเองนะครับ คนทั่วไปเห็นผมปกติดี หลายคนไม่เข้าใจ หลายคนหาว่าแกล้ง
จริงๆแล้วหูดับเป็นเรื่องทรมานร่างกาย และจิตใจมาก การที่คุณหูอื้อ ปวดหู หูดับไปข้างหนึ่งนั้น ทำให้รำคาญ และทุกข์ใจมาก จนจะเป็นบ้าไปได้ ยังดีที่มีครอบครัว-มิตรแท้คอยให้กำลังใจ
ต่อ เนื่องจากหายช้า คุณหมอให้ไปทำ MRI คือสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้องอกที่เส้นประสาทหูหรือไม่ ปรากฏว่าโชคดี ไม่มีอะไรผิดปกติครับ
ตอนนี้ อาการหูอื้อดีขึ้นเยอะแล้วล่ะครับ แต่สิวขึ้นมากและตัวบวมแทนจากผลข้างเคียงจากยา และยังทานยาอยู่เป็นระยะ
สรุปว่าครั้งนี้เป็นโรคหูอื้อไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) แต่สันนิษฐานว่าเกิดจาก ไวรัส และการใช้โทรศัพท์มือถือโทรข้างเดียวเยอะไป ดังนั้นท่านผู้อ่านผู้ใช้โทรศัพท์เยอะควรระมัดระวังด้วยนะครับ และผลัดเปลี่ยนหูที่ใช้คุยโทรศัพท์บ้าง จะเป็นดี
นั่งย้อนความหลัง เกี่ยวกับเรื่องเจ็บๆป่วยๆ แล้ว ทำให้นึกถึงการมาเรียนหมอ
เรียนหมอเพราะแม่...
มีหลายเหตุผลที่แม่อยากให้เรียนหมอ ไม่ว่าจะเป็นการได้ช่วยเหลือผู้คนทุกข์ยาก การมีฐานะที่มั่นคง ฐานะทางสังคม มีเกียรติ ในการเป็นที่พึ่งของคนไข้
และที่แม่อยากให้ผมเรียนหมอ เหตุผลสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ผมเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรง ป่วยหลายโรค หากเป็นหมอก็จะสามารถดูแลรักษาตัวเองได้ดีขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ
เทียบกันในหมู่ลูกสามคนแล้ว ผมเป็นลูกคนโต และเป็นลูกที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุด
สงสัยคงต้องไล่เลียงไปตั้งแต่ผมเกิดมา
ผมเกิดมาด้วย น้ำหนักตัวเพียงแค่ 2,030 กรัม (คนทั่วไปสามกิโลกว่า ลูกดาราทั้งหลายตัวใหญ่สี่กิโลกันหมด) ผมเป็นเด็กที่มีภาวะ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้ากว่าคนปกติ (intrauterine growth retardation(IUGR)) เกิดมาตัวขนาดเท่าแมลงสาปได้ คุณย่าบอกไว้ เห็นตาโตหัวโตอย่างเดียว
แม้ว่าเกิดมาเป็นโรคร่างกายเล็กกว่าเด็กทั่วไป แต่โชคดีที่โรคนี้ไม่ทำให้สมองหด ลงไปด้วย นั่นคือไม่ลดระดับสติปัญญา เลยไม่ค่อยถูกใครด่าว่าโง่เท่าไรนัก ก็ดี
โตมาได้สักพัก เริ่มเป็นเด็กทารกภูมิแพ้ (Allergy) แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น แพ้วิปที่ไว้ทาอกเด็กเวลาหายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่ต้องแบกผมวิ่งโร่หาคุณหมอเด็ก ผู้เชี่ยวชาญ แพ้ไปทั่ว โตมาแพ้นมวัวอีก เพื่อนหาว่า ขี้แพ้
ตอนอยู่อนุบาลเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เคยเป็นโรคลำไส้เล็กส่วนปลายเน่า (Meckel’s diverticulum) ถ้าไม่ผ่าตัดก็ตาย โชคดีเป็นลูกหมอเลยวินิจฉัยได้ทันท่วงที
เป็นโรคทางพันธุกรรม G6PD คือเม็ดเลือดแดงขาดเอนไซม์บางชนิด เลยเม็ดเลือดแดงเปราะกว่าคนปกติ เหตุนี้ เคยแพ้ยารุนแรงจนเม็ดเลือดแดงแตกทั่วตัว เกือบอีกแล้ว
และเป็นคนป่วยบ่อย เป็นหวัด ท้องเสีย ฯลฯ ปีหนึ่งๆก็หลายครั้ง
ยังไม่นับอุบัติเหตุอีกมากมาย วีรกรรมที่ก่อไว้ตอนม.ปลาย คือวิ่งเล่นกับเพื่อนแล้วชนกระจก ทะลุกระจก เลือดอาบทั้งตัว, เหตุการณ์วิ่งหนีเพื่อนตกอัฒจรรย์ตอนมอต้น ขาหัก เหตุการณ์บ้าๆบอๆอีกมากที่เกิดจากความไม่ระมัดระวังฯลฯ
โถ ทำไปได้...
จากวิบากกรรมที่เล่ามา เคยมีเพื่อนผู้หญิงบอกว่า “เราคงไปด้วยกันไม่ได้หรอก เพราะว่าเธอไม่แข็งแรง อ่อนแอเกินไป ลูกเกิดมาจะอ่อนแอไปด้วย” เศร้า ไม่รู้เธอพูดจริงหรือพูดเล่น แต่ผมก็ไม่ได้สนเธอคนนี้มากนักหรอกนะ เธอ
ตอนนี้เรียนหมออยู่ มีเพื่อนบอกว่า หมอ เป็นอาชีพที่จะลาป่วย ก็ลาไม่ได้ จะลากิจก็ลาไม่ได้ โดยเฉพาะตอนเรียนอยู่ หากจะลาได้อย่างเดียวก็คือ ลามรณะ นับเป็นความโชคร้ายของนายชเนษฎ์เสียจริง
บุพการีบอกไว้ว่า ต่อให้มีความฝันยิ่งใหญ่ อยากทำประโยชน์ให้ผู้อื่น แต่ถ้าไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย
จากบทเรียนแห่งความเป็นจริงนี้ เอาเรื่องจริงมาเล่าเล่นๆให้ฟัง
เลยฝากให้ท่านผู้อ่านหมั่นรักษาสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ “อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐครับ”
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=