โรคหูดที่อวัยวะเพศ ยารักษาโรคหูดที่อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย


36,150 ผู้ชม


โรคหูดที่อวัยวะเพศ ยารักษาโรคหูดที่อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย

   โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย          
  
ลักษณะนูนเหมือนหัวกะหล่ำ

  
ตุ่มนูนเล็กผิวด้านบนแห้งหนา

  
ตุ่มนูนแต่แบนด้านบน

  
เป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ลักษณะชุ่มชื้น

 
         
  หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ (ตอนที่ 1)   เจนจิต ฉายะจินดา .  
 

หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ (ตอนที่ 1)

 

อ.พญ.เจนจิต  ฉายะจินดา 

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

            หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังคงพบได้มากในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์การป้องกันดีอย่างไรก็ตาม  เนื่อง จากลักษณะนิสัยของไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่าฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (เอชพีวี)ที่ถ่ายทอดถึงกันได้ง่ายโดยผู้ที่ให้เชื้ออาจจะไม่มีอาการอะไรเลย  และผู้รับเชื้ออาจได้รับเชื้อนั้นมานานหลายปีกว่าจะเกิดอาการ  ในปัจจุบันพบว่าหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 1 มีหูดหงอนไก่  โดยจะพบรอยโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  หูดหงอนไก่ไม่ได้ทำให้ใครเสียชีวิต  แต่ทำลายความมั่นใจในชีวิตอย่างมาก รวมทั้งต้องเสียเงินและเวลาในการรักษามากมาย  แต่สุดท้ายกลับพบว่า ร้อยละ 30- 70 เกิดซ้ำหลังจากหยุดการรักษาไป 6 เดือน

หูดหงอนไก่เกิดจากอะไร 

            หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดความเสี่ยงต่ำ  ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสเอชพีวีกว่า 200 สายพันธุ์  แต่มีเพียง 40 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก  แบ่งเพิ่มเติมลงไปอีกเป็นชนิดความเสี่ยงสูงซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง  ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18 เป็นต้น  และ ชนิดความเสี่ยงต่ำซึ่งไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่ 6, 11 เป็นต้น  ในกลุ่มหลังนี้สัมพันธ์กับการเกิดหูดหงอนไก่

            ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อเอชพีวีจะต้องเป็นโรคใดโรคหนึ่ง  พบว่าร้อยละ 75 ของหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ได้รับเชื้อนี้ไปแล้ว  แต่ประมาณร้อยละ 80-90  จะสามารถกำจัดเชื้อไปได้เองที่ 2 ปี   ยกเว้นผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เช่น การตั้งครรภ์  โรคเอดส์ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดรอยโรคได้  อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่มีอาการใดเลยก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่นได้

            ตั้งแต่รับเชื้อมาจนเกิดอาการเป็นได้ตั้งแต่ 1 เดือน – 2 ปี หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เดือน  เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อซ่อมแซมชั้นที่เหนือขึ้นไป  เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส  เซลล์ที่แบ่งตัวจะเปลี่ยนรูปร่างและหน้าที่จนควบคุมไม่ได้  เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา

อะไรคือลักษณะของหูดหงอนไก่ 

            อาการของโรคหูดหงอนไก่เป็นได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย  ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด  ทวารหนัก  หรือท่อปัสสาวะ  บางรายมีเลือดออกจากก้อน  คันถึงคันมาก  ตกขาวผิดปกติ  หรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ

            การวินิจฉัยมักทำได้โดยการดูรอยโรค  ซึ่งเป็น 4 แบบ  ได้แก่ นูนยื่นออกมาคล้ายดอกกะหล่ำปลี,  ตุ่มนูนเล็กๆ  แห้งๆ คล้ายมีขี้ไคลคลุม, ตุ่มนูนแบน, และ ตุ่มนูนเล็กสีเนื้อชุ่มชื้น   บางคนมีหลายชนิดปนกันได้  หูดอาจมีขนาดแตกต่างกัน  เรียงตัวติดกันหรือกระจายไปทั่ว  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวีกลับไม่พบว่ามีรอยโรคเลย 

รอยโรคที่หลากหลายนี้ทำให้เกิดความสับสนกับโรคอื่นๆได้ ได้แก่ ผื่นของโรคซิฟิลิสระยะที่ 2  หูดข้าวสุก  ไฝ  โรคผิวหนังบางชนิด  จนถึงลักษณะปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ของบางคนที่มีติ่งยื่นออกมาคล้ายหูดหงอนไก่

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ 

            เป้าหมายของการรักษาคือ ความสวยงาม  บรรเทาอาการ  และลดความกังวลใจ  วิธีการรักษามีให้เลือกหลายรูปแบบทั้ง การใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป  แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือผู้ป่วยทำเอง  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการรักษา ได้แก่ ความชอบของผู้ป่วย  ราคา  ผลข้างเคียงของการรักษา  และประสบการณ์ของแพทย์  โดยทั่วไปหูดที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมรักษาได้ง่ายกว่า  โดยพบว่าถ้าขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรมักรักษาด้วยยาสำเร็จ  ประสิทธิภาพของวิธีการรักษาแตกต่างกันไปและมีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้อีกทุกวิธี  โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา

            การรักษาด้วยยาชนิดที่แพทย์ทาให้  โดยแพทย์มักจะนัดทุก 1 สัปดาห์  โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง  ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้  ชนิดแรก คือ โพโดฟีโลทอกซิน (Podophylotoxin) เป็นสารสีเหลืองน้ำตาล  ลักษณะเหนียว  ทำให้เซลล์ตายโดยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์  ยานี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นแผล และปวด  หากเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เส้นประสาทอักเสบ ชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ และ เกล็ดเลือดต่ำ  ยาทาชนิดที่ 2 คือ ไตรคลอโรเซติกแอซิด (80-90% Trichloroacetic acid; TCA)  ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย  หูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน  ทำให้เกิดผิวหนังระคายเคือง เป็นแผลเลือดออกได้

            ยาที่ให้ผู้ป่วยทาเองในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ อิมิควิโมด (5% Imiquimod/ Aldara®) ทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่เกิน 16 สัปดาห์   ยานี้จะกระตุ้นภูมิต้านทานเฉพาะที่   ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง  ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดงเฉพาะที่   และ โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%)   เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์  วิธีการใช้คือทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน แล้วเว้น 4 วัน  แต่ไม่เกิน 4 รอบ  อาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย  เช่นเดียวกับยาที่แพทย์ทาให้  ก่อนทายาเองทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง  

 

หูดหงอนไก่นำไปสู่อะไรได้บ้าง 

            หูดหงอนไก่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง  แต่ธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอาจติดเชื้อได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน  หากติดสายพันธุ์ชนิดความเสี่ยงสูงร่วมด้วยก็มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งขึ้น  หูดหงอนไก่ที่ใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์อาจขัดขวางการคลอดจนต้องผ่าตัดคลอดได้  และหูดหงอนไก่ยังสามารถเกิดที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียงของทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคนี้  ทำให้มีผลต่อการหายของทารกจนอาจเสียชีวิตได้  การรักษามักต้องผ่าตัดออกซึ่งมักต้องทำหลายครั้ง  สร้างความทุกข์ทรมานมาก

การเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่ 

            เกิดได้บ่อยถึงร้อยละ 70  ที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังสิ้นสุดการรักษา  สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ ยาไม่มีประสิทธิภาพ  การติดเชื้อซ้ำจากคู่นอน  หรือ  การเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายตนเองที่เพิ่งก่อให้เกิดรอยโรค

หูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

            จะเห็นได้ว่าไม่มีการรักษาวิธีใดดีที่สุดหรือสามารถรับประกันได้ว่าโรคนี้จะหายขาดได้  รวมถึงคู่ชีวิตของผู้ป่วยก็มักจะติดเชื้อเอชพีวีไปเรียบร้อยแล้ว  วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับใครเลยตลอดชีวิต  แม้ กระนั้นก็ตาม การสัมผัสอย่างรุนแรงที่อวัยวะเพศภายนอกด้วยวัตถุหรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัส เอชพีวีนี้ก็ยังคงสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้

            ถุง ยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่สามารถลดการถ่ายทอดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ หลายชนิด ตั้งแต่ เอดส์ หนองใน หนองในเทียม พยาธิในช่องคลอด เป็นต้น  แต่ไม่สามารถลดการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ดีเพราะ เชื้อนี้สามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป ตั้งแต่รอบทวารหนัก ฝีเย็บ หัวเหน่า เป็นต้น  ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยไม่ครอบคลุมถึง

            ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถลดการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้  หากได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน  จากหลักการที่ว่า ร้อยละ 90ของหูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 6 และ 11  การผลิตวัคซีนได้ใช้ส่วนเปลือกของไวรัสส่วนเล็กๆ มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย  เมื่อฉีดแล้วร่างกายจะจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระดับที่สูงมาก  จนสามารถลดการติดเชื้อของไวรัสที่เซลล์ของเยื่อบุได้  ดังนั้นการแบ่งตัวของเซลล์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และไม่เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา  อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้จะมาในรูปร่วมกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเข็มเดียวกัน  ไม่มีการทำวัคซีนแยกออกมา  เป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, และ 1

                   Link   https://www.si.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

              โรคหูดที่อวัยวะเพศ

โรคหงอนไก่

โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

โรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)


ตำแหน่งที่พบโรคหูด

โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
  • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
  • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
หูดที่อวัยวะเพศหญิง หูดที่ทวาร หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่ปลายอวัยวะเพศ
fbgoogle

อาการของโรคเป็นอย่างไร

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
  • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
  • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
  • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับผู้ชาย

  • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
  • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

สำหรับผู้หญิง

  • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
  • แคมใหญ่ แคมเล็ก
  • ช่องคลอด
  • ทวานหนัก

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

  • หนองในแท้ หนองในเทียม
  • โรคเอดส์
  • โรคซิฟิลิส
  • ตรวจภายในทำ PAP Smear
  • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

  • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
    • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
    • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
    • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
    • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
    • สามารถทำในคนท้องได้
  • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
  • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
    • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
    • อัตราการหาย 63-91%.
  • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
    • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
    • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
  • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
    • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
      • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
      • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
      • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
      • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
    • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
  • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
    • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
    • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

  • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
  • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
  • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
  • การฉีดวัคซีนป้องกัน

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โรคที่เกี่ยวข้อง

                Link    https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                   ยารักษาโรคหูดที่อวัยวะเพศ

 

หูด เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาของผิวหนัง เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่ก็เป็นได้ แต่จะพบได้น้อยในคนอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปหูดมีหลายชนิด อาจมีขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น อาจขึ้นเดี่ยว ๆ หรือหลายอันก็ได้มักขึ้นที่มือ เท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า ฝ่ามือฝ่าเท้า อาจขึ้นตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมทั้งที่อวัยวะเพศ หูดเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายแต่อย่างไร นอกจากทำให้แลดูน่าเกลียดน่ารำคาญ หรืออาจมีอาการปวดได้เป็นบางครั้ง ส่วนมากจะยุบหายได้เองตามธรรมชาติ (แม้จะไม่ได้รับการรักษา) ภายหลังที่เป็นอยู่หลายเดือน บางคนอาจเป็นอยู่เป็นปี ๆ กว่าจะยุบหาย เมื่อหายแล้วอาจกลับเป็นใหม่ได้อีก

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสตระกูล Papillomavirus ที่ผิวหนังและเยื่อบุ เชื้อนี้ทำให้เกิดตุ่มนูนที่เรียกว่า Papilloma จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Humanpapilloma virus (HPV) เพราะก่อโรคในคนเท่านั้น HPV ที่เป็นต้นเหตุของโรคหูดมีมากกว่า 150 ชนิดแต่ละชนิดทำให้เกิดตุ่มที่ผิวหนังแตกต่างกัน

 

หูดชนิดพบเห็นทั่วไป เรียกว่า common warts จะมีลักษณะเป็นตุ่มกลมแข็ง ผิวหยาบ ออกเป็นสีเทา ๆเหลือง ๆ หรือน้ำตาล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 มิลลิเมตร มักจะขึ้นตรงบริเวณที่ถูกเสียดสีง่าย (เช่นนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า หนังศีรษะ เป็นต้น) และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หูดที่เป็นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าจะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ๆ หยาบๆ แต่จะแบนราบเท่าระดับผิวหนังที่ปกติ เพราะมีแรงกดขณะเดินใช้งาน ลักษณะคล้าย ๆ ตาปลา แต่จะแยกกันได้ตรงที่หูดถ้าใช้มีดฝานอาจมีเลือดไหลซิบ ๆ และอาจมีอาการเจ็บปวดได้ หูดที่เป็นติ่ง (Filiform warts) จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ ขึ้นที่หนังตา ใบหน้า ลำคอ หรือริมฝีปาก

การติดเชื้อหูดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1.โรคหูดที่ผิวหนังที่ไม่ใช่หูดที่อวัยวะเพศ ได้แก่

หูดแบนราบ (Flat or Plane warts) เป็นที่เป็นตุ่มแบนราบ ขนาด 2-4 มม. พบกระจายอยู่ที่หน้า แขน ขา ตุ่มหูดมักไม่มีอาการใดๆ อาจมีขุยเล็กน้อย ตุ่มหูดที่หน้าและคอบางครั้งยื่นออกไปเหมือนกิ่งไม้เล็กๆ ขนาด 1-2 มม. เรียกหูดชนิดนี้ว่า Filiform warts

หูดสามัญ (Common warts) หูดชนิดนี้พบเป็นก้อนนูนเดี่ยวๆหรืออยู่กันเป็นกลุ่ม ผิวของก้อนมีลักษณะเป็นหนาม ขรุขระ เกิดบริเวณใดของผิวหนังก็ได้ พบบ่อยตามแขนขา หลังมือ นิ้วมือมีขนาด 1มม.-1 ซม.

หูดรอบจมูก เล็บ (Periungual and subungual wart) เป็นตุ่มหรือก้อนผิวขรุขระที่รอบจมูกเล็บหรืออยู่ใต้เล็บ เป็นหูดที่รักษาให้หายขาดยากมีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง เพราะโครงสร้างของพื้นเล็บเป็นรอนๆเชื้อหูดจึงหลบซ่อนอยู่ได้

หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า(Palmar and plantar warts) ตุ่มหรือก้อนหูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้ามักโตยื่นลงไปในเนื้อผิวหนังเพราะถูกกดทับ จากการยืนเดิน ถ้าก้อนหูดกดประสาททำให้เกิดอาการเจ็บ ปวดได้ ตุ่มหูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้าขนาดเล็กอาจรวมตัวกันเป็นปื้นใหญ่เรียกว่า Mosaic warts

2.โรคหูดที่อวัยวะเพศ (Anogenital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ เป็นก้อนนูนรูปร่างคล้ายหงอนไก่ (Condyloma accuminata) เกิดที่บริเวณอวัยวะเพศของผู้ชายและผู้หญิง ในผู้ชายหูดเป็นก้อนนูนคล้ายหงอนไก่ที่หนังหุ้มปลาย Corona glandes องคชาติ รอบทวารหนัก บางครั้งพบในท่อปัสสาวะด้วยเรียกว่า urethral warts สำหรับผู้หญิงจะพบหูดที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก และรอบทวารหนัก

 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) ซึ่งมีประมาณ 70 ชนิด เมื่อเชื้อไวรัสแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนัง ก็จะเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นหูดงอกออกจากผิวหนังส่วนที่ปกติ หูดสามารถติดต่อโดยการสัมผัสถูกคนที่เป็นหูดโดยตรง ระยะฟักตัว 2-18 เดือน

 

แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการดูลักษณะของโรคที่เป็นว่าเหมือนกับโรค หูดหรือไม่ แต่ในบางครั้งอาจต้องขูดบริเวณผิวของตุ่มเพื่อที่จะหาเส้นเลือดที่ถูกอุด ตัน(clotted blood vessels) แต่ถ้าแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อาจต้องนำตัวอย่างของตุ่มไปทำการ วิเคราะห์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้

 

HPV บางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็ง เช่น HPV ชนิด 16, 18 ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก HPV ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนัง

 

หลักการดูแลรักษาหูดที่ผิวหนังคือทำลายผิวหนังที่มีเชื้อไวรัสออกให้ หมด วิธีที่ใช้อยู่มีดังนี้: ใช้สารเคมี ไฟฟ้า Ellman ความเย็น หรือ คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์

การพิจารณาเลือกวิธีการรักษาหูดขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

1.อายุผู้ป่วย เช่น เด็ก อาจไม่จำเป็นต้องให้การรักษาเพราะ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยหูดจะหาย ไปเองในระยะเวลา 2 ปี
อย่าง ไรก็ตามาผู้ปกครองบางรายอาจมีความกังวล ซึ่งจริงๆแล้วหูดไม่มีอันตรายอะไร แต่การรักษาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและเกิดแผลเป็นได้ จึงน่าจะติดตามดูอาการรอเวลาให้ตุ่มหูดหายเองจากประสบการณ์ผู้ปกครองส่วน ใหญ่มักขอให้รักษาโรคหูดให้หายไปโดยเร็ว

2.หูดเป็นมากน้อยเพียงใด เป็นมานานเท่าใด ตำแหน่งที่เป็น หูดที่เป็นมากและเป็นมานานไม่หายไปเองหรือเป็นในตำแหน่งที่ผิวหนังมีเคอราติ นหนาควรพิจารณาให้การรักษาด้วยยาทาที่มีกรดเป็นส่วนผสม จี้ความเย็น ไฟฟ้าหรือ Ellman

3.ความต้านทานของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความต้านทานไม่ดี เช่น รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นโรคติดเชื้อ HIV ควรรีบให้การรักษาด้วยยาทา หรือ ใช้ความเย็น การใช้ไฟฟ้าหรือเลเซอร์เผาหูดต้องระวังควันที่เกิดจากการจี้หูดเพราะมีการ ศึกษาแล้วพบ เชื้อไวรัส HIV อยู่ในควันไฟ ผู้ที่จะใช้เทคนิกดังกล่าวต้องใส่หน้ากากหรือ Mask กรองควันไฟที่มีเชื้อปนเปื้อน

4.ความต้องการของผู้ป่วย หูดบางชนิดมีขนาดเล็ก เช่น หูดแบนราบ ผู้ป่วยไม่มีความเดือดร้อนก็อาจไม่ต้องให้การรักษา

5.เครื่องมือที่มีอยู่ และความชำนาญของแพทย์ผู้รักษา

สารเคมีที่ใช้รักษาหูด มีหลายชนิดดังนี้

1. กรดชนิดต่างๆ กรดที่ใช้รักษาหูดได้แก่ salicylic acid และ lactic acid ในประเทศไทยมียาสำเร็จรูปที่มีขายอยู่คือ

  • DuofilmR ประกอบด้วย 16.7% salicylic acid ผสม 16.7% lactic acid
  • CollomaxR ประกอบด้วย salicylic acid 2 กรัม + lactic acid 0.5กรัม + polidocanol 0.2 กรัม
  • VerumalR ประกอบด้วย 10% salicylic acid + 0.5 % fluorouracil + 8% DMSO

2. สารเคมีที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (Immune response modifying agent) สารเคมีกลุ่มนี้ที่มีขายในประเทศไทยคือ immiquimod cream

การใช้ยาทารักษาหูดมีข้อสังเกตดังนี้

1. การรักษาด้วยวิธีนี้เจ็บน้อย ได้ผลช้า ต้องการความเข้าใจและร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ หูดในบริเวณฝ่าเท้าที่มีเคอราตินหนา ควรต้องฝานเคอราตินออกด้วยใบมีดเบอร์ 30 ก่อนที่จะทายาเพราะยาที่ทาจะพอกอยู่บนผิวของก้อนหูดทำให้กรดไม่สามารถซึมลง ไปกัดเนื้อหูดที่อยู่ส่วนลึกได้

2. นัดติดตามผลทุก 1-2 สัปดาห์เพื่อดูว่าก้อนหูดยุ่ย และหลุดลอกออกหรือไม่ ถ้าพบว่าเคอราตินยังหนาก็ให้ฝานเอาเนื้อหูดส่วนบนๆออกอีก ทำเช่นนี้หลายครั้งก้อนหูดจะถูกดันให้ตื้นขึ้นแล้วลอกหลุดไป

3. ยากลุ่ม Immune response modifying agent เช่น immiquimod ครีม ใช้รักษาหูดที่อวัยวะเพศและรอบทวารหนักได้ผลดี ส่วนหูดผิวหนัง เช่น ที่มือ แขน ขา ได้ผลไม่ดีเพราะผิวหนังบริเวณนี้มีเคอราตินหนา ยาซึมเข้าสู่ผิวหนังได้น้อย

การจี้ด้วยไฟฟ้า(electrodesication) เป็นวิธีที่ใช้รักษาหูดที่ได้ผลดี เครื่องมือราคาถูก หูดที่ฝ่าเท้าถ้าจะใช้วิธีนี้ต้องระวังอย่างใช้ไฟฟ้าทีมีพลังงานสูงเพราะอาจ ทำให้เกิดแผลเป็น ในตำราโรคผิวหนังทั่วไปแนะนำไม่ให้ใช้วิธีนี้เพราะอาจเกิดแผลเป็นที่ฝ่าเท้า ถ้าจะใช้วิธีนี้ให้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่แรงมากจี้ที่ขอบของก้อนหูดแล้วใช้กรรไก โค้งปลายแหลมตัดตามรอยที่จี้ไฟฟ้าไว้แล้วเลาะเอาก้อนหูดออก ใช้ Currete ขูดที่พื้นแผลที่ยกก้อนหูดออกไปให้เกลี้ยง ใช้กรรไกรโค้งปลายแหลมตัดขอบผิวหนังที่อยู่รอบหูดออกเพื่อกำจัดผิวหนังที่ อาจมีเชื้อไวรัสอยู่ออกพบว่าได้ผลดี

การจี้ด้วยความเย็น เป็นวิธีรักษาหูดที่ได้ผลดีอาจใช้ไม้พันสำลีจุ่มไนโตรเจนเหลวที่ให้ความเย็น -196 C จี้ลงที่ก้อนหูด หรือ ใช้ Spray canister เป็นกระป๋องบรรจุไนโตรเจนเหลวที่มีหัวพ่นพ่นที่ก้อนหูดจนเห็นเป็นสีขาวนาน 5-25 วินาที มักต้องนัดมาทำซ้ำใน1-2 สัปดาห์ถัดไป อย่างไรก็ตามการใช้ไนโตรเจนเหลวมีข้อดีเพราะสามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคหูดที่ มีการติดเชื้อHIVร่วมด้วยได้ ไม่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของควันที่มีเชื้อไวรัส HIV อยู่เหมือนเครื่องจี้ไฟฟ้าและแสงเลเซอร์

การรักษาด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ จะไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะเครื่องมือมีราคาแพงเหมาะที่จะมีใช้ในหน่วยงาน ที่มีผู้ชำนาญทางด้านนี้

การดูแลรักษาหูดที่อวัยวะเพศและรอบทวารหนักหรือหูดหงอนไก่(Anogenital warts) หูดชนิดนี้มีความพิเศษที่ ตอบสนองดีต่อ 25% Podophyllin in tincture benzoin ทายานี้ที่ตุ่มหูดจะทำให้ตุ่มยุบลงได้ใน 1-2 สัปดาห์ทั้งนี้ขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เทคนิคในการทายานี้คือ ระวังไม่ให้ยาสัมผัสผิวหนังปกติเพราะอาจเกิดผื่นระคายสัมผัส แนะนำให้ทาขี้ผึ้งวาสลินบนผิวหนังปกติรอบตุ่มหูดก่อนทายา Podophyllin เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผื่นระคายสัมผัส ผู้ป่วยไม่ควรนำยา 25% Podophyllin กลับไปทาเองที่บ้านเพราะผู้ป่วยอาจทายามากเกินจนเกิดผลข้างเคียง

มียาทารุ่นใหม่คือ Purified podophyllotoxin ที่มีความเข้มข้นของตัวยาแน่นอน ระคายผิวหนังน้อยสามารถนำไปทาเองที่บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยานี้มีปริมาณการใช้ไม่มากจึงยังไม่มีบริษัทยานำ เข้ายานี้มาขายในประเทศไทย
ยากลุ่ม immunoresponse modifier คือ 5% Immiquimod cream ใช้รักษาหูดหงอนไก่ได้ผลดี วิธีทายานี้ให้ทายาลงบนก้อนหูดให้ทั่วก่อนนอนสัปดาห์ละ 3 วัน หูดจะยุบใน 8-10 สัปดาห์ อัตราการกลับเป็นโรคซ้ำลดลง เหลือเพียงร้อยละ 13

ข้อแนะนำ

  • 1. ควรหาทางป้องกัน โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นหูด
  • 2. เมื่อเป็นหูดพยายามอย่าเกาบริเวณที่เป็น อาจลุกลามหรือแพร่กระจายไปตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Podophyllin, Salicylic acid, Lactic acid, Immiquimod cream

แหล่งอ้างอิง

1.อภิชาติ ศิวยาธร, กนกวลัย กุลทนันทน์ บรรณาธิการ. โรคผิวหนังต้องรู้ : สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน. 2545, 83-85.
2.ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. 2548, 231-234.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด