วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่ การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ภาพโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง


9,014 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่ การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ภาพโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

              วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่

วิธีการรักษาหูดหงอนไก่ (สำหรับคนที่ยังเป็นไม่มาก)

ทีนี้เพื่อนๆก็พอจะรู้จักเจ้า หูดหงอนไก่ นี้กันมาบ้างแล้ว  ตอนนี้เรามาคุยเรื่องปัญหาของมันกันบ้างดีกว่า 


  ขอออกตัวก่อนนะครับ ว่าผมเองก็เพิ่งจะหายจากเจ้าหูดหงอนไก่นี้มาไม่นาน และเข้าใจหัวอกคนเป็นโรคนี้อยู่ว่าวิตกเพียงใด เลยต้องหาเวลาว่างมาหัดทำ Blog เผื่อจะได้มีประโยชน์กับเพื่อนๆที่เผชิญชะตากรรมเดียวกัน แล้วก็จะบอกวิธีการรักษาและดูแลตัวเองจากประสบการณ์ตรง จนเริ่มดีขึ้นและหาย ตอนเป็นทีแรกยังไม่ได้สนใจอะไรจนมันใหญ่ขึ้น (ผมเป็นตรงปากท่อปัสสาวะ)  ทีนี้ก็เริ่มจิตตก คิดมากเพราะมันลามกันลึกเข้าไปข้างใน ชนิดที่ว่าปลิ้นดูลงไปด้านในรูปัสสาวะกันเลย ก็ยังไม่เห็นว่ามันลึกลงไปขนาดไหน เพราะมันอยู่ด้านในท่อเลย มันจะลามไปถึงตรงไหนยังไง แล้วจะมีอาการร้ายแรงอะไรตามมา เรื่องก็เริ่มจากตรงนี้ ยังไม่รู้จะปรึกษาใคร ถาม Google ก่อนเลย  แต่ก็ยังไม่รู้จักชื่อโรค ยังไม่มี keyword ในหัวเลย  ได้แต่พิมกามโรค อะไรบ้างก็ว่ากันไป จนมาเจอรูปแล้วมันตรงกับที่เราเป็น ก็เลยรู้มาว่าเจ้าตัวนี้ชื่อว่าหูดหงอนไก่  ตั้งแต่นั้นทุกอย่างก็เริ่มง่าย ใช่สิก็เรารู้จักชื่อมันแล้วนิ แต่ก็ไม่นิ่งนอนใจเพราะเจ้าหูดนี่เล่นลามกันชนิดวันต่อวัน มองที่ไรก็คิดมากทุกที   แล้วยิ่งกว่านั้นที่สำคัญเลยก็คือการตรวจเลือด เพราะเจ้าหูดนี้จะมีก็ต่อเมื่อเรามีเชื่อ HPV  (ไม่ใช่ HIV นะครับ อย่าเพิ่งตกใจไป ชื่ออาจจะคล้ายๆ แต่ความร้ายแรงห่างกันมากมายนัก )  แต่สิ่งนึงที่อยากจะบอกเพื่อนๆในนี้คือ อยากให้ตรวจเลือดกันก่อน ไปคลีนิคหรือ รพ. ให้ไวหน่อย เพราะว่าเราอาจจะเป็นโรคอื่นที่ตามมาด้วยรึเปล่า  อันนี้สำคัญ เพราะโรคนี้เป็นบ่อเกิดของมะเร็งในลำใส้ได้ (ในกรณีที่ขึ้นในรูทวาร ) หากเราไม่รักษาอย่างทันท่วงที  โรคนี้เกิดได้ทั้ง ญ และ ชาย  แถมยังขึ้นได้ที่ จุดอับซอกขา  ใต้สะดือลงมา แต่โดยทั่วไปจะขึ้นกัน ตามอวัยวะเพศ เพราะเป็นที่อับและมีเชื่อโรคมากมายจากมากมีเพศสัมพันธ์ แต่ผู้ชายจะรักษาได้ง่ายกว่าผู้หญิง  และเชื่อได้เลยว่าผู้ที่เป็นโรคนี้กว่า 80% ไม่กล้าที่จะไปพบแพทย์  ซึ่งก็เป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิง แต่หากผู้ใดที่เป็นมากและลามอย่างรวดเร็วผมแนะนำให้รีบไปหา แพทย์เร็วที่สุดอย่าให้มันลามลงไปในที่อับที่ทำการรักษาลำบาก เพราะจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากและมีค่าใช้จ่ายที่แพง อาจถึงขั้นผ่าตัด ซึ่งไม่ควรรีรอ  แต่ว่าโรคนี้ก็ไม่ได้มีแต่ความเลวร้ายซะทีเดียว บางคนซึ่งส่วนน้อย ก็อาจจะหายเอง เพราะร่างกายเราจะมีภูมิต้านทานต่อต้านโรคนี้ขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ แต่ต้องได้รับวิตามินที่เพียงพอ  ไม่เป็นโรคหวัด หรือโรคอื่นๆอยู่ วิตามินที่สำคัญก็คือวิตามิน C และการออกกำลังกาย จะช่วยให้เจ้าหูดนี้ไม่ลุกลาม ซึ่งจะอธิบายการดูแลร่างกายในส่วนต่อไป 


วิธีการรักษาในปัจจุบัน


ปัจจุบันมีวิธีการรักษาหูดหลายวิธี ดังต่อไปนี้


 


1. ยาทา วิธีการใช้ยาคือ ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นโรค หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นผิวหนังปกติ ควรล้างให้สะอาด
หลัง ทายา 4 ชั่วโมง หูดจะแห้งหลุดไปในเวลาไม่กี่วัน  ปัจจุบันมียาตัวใหม่ออกมาชื่อ Aldara cream  ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้ผลในระยะยาว แต่จะใช้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อยังเป็นไม่มาก หรือยังไม่ลุกลามจนเยอะนั่นเอง (ซึ่งเจ้าของ Blog เองก็หายจากตัวยานี้)


                2. กรดในความเข้มข้นใช้กัดหูดได้ ให้แต้มยาที่ตัวหูดด้วยความระมัดระวัง สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทำซ้ำ 4 ครั้ง
ยังไม่หายถือว่าการรักษาไม่ได้ผล


3. ครีมที่มีฤทธิ์ขัดขวางการสังเคราะห์ DNA ใช้ทาวันละ 1 – 2 ครั้ง แต่ยานี้ทำให้ผิวถลอกเป็นวงกว้าง
และเกิดอาการเจ็บปวดได้มาก จึงเป็นยาที่ใช้ได้ลำบาก


4. วิธีอื่นๆที่ใช้รักษาหูดได้แก่การจี้ความเย็นการจี้ไฟฟ้าการผ่าตัดการรักษาควารอยู่ในความดูแลและข้อแนะ
นำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ส่วน ใครเป็นอยู่และต้องการฝากผมซื้อยาส่งให้ สั่งได้เลยนะครับ  เมลล์มาได้ที่ [email protected] หรือ 083-9938342 กมลรัตน์ครับ ผมจะส่ง EMS ไปให้ไม่เกิน 1-2 วันถึงครับ
              Link    https://www.bloggang.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
               การรักษาโรคหูดหงอนไก่

โรคหูดเกิดจากเชื้อไวรัสส่วนใหญ่จะหายเอง การรักษาทำได้โยการใช้ครีมทา ใช้กรดทา การผ่าตัด การใช้ความเย็น

การรักษา

การรักษาด้วยตัวเอง

พึงระลึกเสมอว่าหูดเกิดจากเชื้อไวรัสหายเองได้ 65 % ในเด็กร้อละ 50 หายภายใน 6 เดือน ร้อยละ 90 หายใน 2 ปี ดังนั้นการใช้ยาทาไม่ควรใช้แรงเกินไป การรักษามีหลายวิธีควรเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง

การใช้ plaster

  • ใช้ plaster กันน้ำปิดบริเวณที่เป็นหูดหลายชั้น ใช้ได้ผลดีกับหูดที่เล็บ ปิดไว้ประมาณ 6 วัน
  • แกะ plaster ออก 12 ชั่วโมงและติด plaster ซ้ำ
  • plaster จะลดอากาศและความชื้นทำให้เชื้อไม่เจริญเติบโต

การใช้กรด salicylic

  • กรด salicylic ที่ขายตามร้านขายยามีด้วยกันสองรูปแบบ คือแบบน้ำยา หรือแบบ plaster อาบน้ำยา
  • บริเวณที่เป็นหูดให้แช่น้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาที
  • หลังจากนั้นใช้ตะไบเนื้อที่แข็งออก
  • ทายาหรือปิด plaster
 

การรักษาที่โรงพยาบาล

  1. การขูดออกโดยสันมีดหรือใช้ไฟจี้ Eletrodessication and curettage ใช้ไฟแรงไปอาจเกิดแผลเป็น และปวด
  2. การใช้ laser
  3. Cryosurgery เป็นการจี้ด้วย nitrogen เหลว และน้ำแข็งแห้งวิธีนี้สะดวก และไม่ไคร่เกิดแผลเป็น
  4. การใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น 40% salicylic acid,10% Lactic acid,30-50% Trichloroacetic acid ยามีขายที่ร้านขายยามีสองชนิดคือ ชนิดที่เป็นแผ่นเคลือบยา และชนิดที่เป็นน้ำยาเข้มข้น วิธีการใช้ ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นหูด แล้วติดplaster หรือทายา หลังจากนั้นจะใช้หินขัดเท้า หรือตะไบขูดเอาเนื้อตายออกทีละน้อยซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นปีในการเอาเนื้อ งอกออกจนหมด
  5. หูดที่เป็นติ่งใช้กรรไกรเฉือนหลังใช้ยาชาเฉพาะที่พ่น
  6. หูดหงอนไก่ใช้  25% podophyllin 
  7. หูดที่ผ่าเท้า ห้ามใช้ไฟจี้ หรือตัดออก เพราะจะทำให้เจ็บเวลาเดิน วิธีการรักษา
  • เฉือนให้บางลง หรือ
  • ปิดด้วย 40%salicylic acid plaster หรือ
  • ทาด้วย nitrogen เหลว หรือ
  • ใช้มีดทู่ๆค่อยๆแซะหูด

การป้องกัน

  • สำหรับหูดที่อวัยวะเพศจะฉีดวัคซีนป้องกันได้ อ่านที่นี่

เมื่อไรที่จะต้องให้แพทย์ตรวจ

  • อาการไม่ดีขึ้นภายใน 12 สัปดาห์หลังจากใช้ยา salicylic acid
  • หูดมีการเปลี่ยนแปลงสี หรือขนาด
  • หูดนั้นเลือดออกง่าย
  • เป็นหูดที่อวัยวะเพศควรจะต้องปรึกษาแพทย์

โรคหูด ชนิดของหูด การรักษาโรคหูด

โรคที่เกี่ยวข้อง

   Link      https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  ภาพโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

   
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  
  
ลักษณะนูนเหมือนหัวกะหล่ำ

  
ตุ่มนูนเล็กผิวด้านบนแห้งหนา


  
ตุ่มนูนแต่แบนด้านบน

  
เป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ลักษณะชุ่มชื้น

 
   
  หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ (ตอนที่ 1)   เจนจิต ฉายะจินดา .  
 

หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ (ตอนที่ 1)

 

อ.พญ.เจนจิต  ฉายะจินดา 

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

            หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังคงพบได้มากในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์การป้องกันดีอย่างไรก็ตาม  เนื่อง จากลักษณะนิสัยของไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่าฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (เอชพีวี)ที่ถ่ายทอดถึงกันได้ง่ายโดยผู้ที่ให้เชื้ออาจจะไม่มีอาการอะไรเลย  และผู้รับเชื้ออาจได้รับเชื้อนั้นมานานหลายปีกว่าจะเกิดอาการ  ในปัจจุบันพบว่าหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 1 มีหูดหงอนไก่  โดยจะพบรอยโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  หูดหงอนไก่ไม่ได้ทำให้ใครเสียชีวิต  แต่ทำลายความมั่นใจในชีวิตอย่างมาก รวมทั้งต้องเสียเงินและเวลาในการรักษามากมาย  แต่สุดท้ายกลับพบว่า ร้อยละ 30- 70 เกิดซ้ำหลังจากหยุดการรักษาไป 6 เดือน

หูดหงอนไก่เกิดจากอะไร 

            หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดความเสี่ยงต่ำ  ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสเอชพีวีกว่า 200 สายพันธุ์  แต่มีเพียง 40 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก  แบ่งเพิ่มเติมลงไปอีกเป็นชนิดความเสี่ยงสูงซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง  ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18 เป็นต้น  และ ชนิดความเสี่ยงต่ำซึ่งไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่ 6, 11 เป็นต้น  ในกลุ่มหลังนี้สัมพันธ์กับการเกิดหูดหงอนไก่

            ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อเอชพีวีจะต้องเป็นโรคใดโรคหนึ่ง  พบว่าร้อยละ 75 ของหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ได้รับเชื้อนี้ไปแล้ว  แต่ประมาณร้อยละ 80-90  จะสามารถกำจัดเชื้อไปได้เองที่ 2 ปี   ยกเว้นผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เช่น การตั้งครรภ์  โรคเอดส์ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดรอยโรคได้  อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่มีอาการใดเลยก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่นได้

            ตั้งแต่รับเชื้อมาจนเกิดอาการเป็นได้ตั้งแต่ 1 เดือน – 2 ปี หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เดือน  เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อซ่อมแซมชั้นที่เหนือขึ้นไป  เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส  เซลล์ที่แบ่งตัวจะเปลี่ยนรูปร่างและหน้าที่จนควบคุมไม่ได้  เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา

อะไรคือลักษณะของหูดหงอนไก่ 

            อาการของโรคหูดหงอนไก่เป็นได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย  ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด  ทวารหนัก  หรือท่อปัสสาวะ  บางรายมีเลือดออกจากก้อน  คันถึงคันมาก  ตกขาวผิดปกติ  หรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ

            การวินิจฉัยมักทำได้โดยการดูรอยโรค  ซึ่งเป็น 4 แบบ  ได้แก่ นูนยื่นออกมาคล้ายดอกกะหล่ำปลี,  ตุ่มนูนเล็กๆ  แห้งๆ คล้ายมีขี้ไคลคลุม, ตุ่มนูนแบน, และ ตุ่มนูนเล็กสีเนื้อชุ่มชื้น   บางคนมีหลายชนิดปนกันได้  หูดอาจมีขนาดแตกต่างกัน  เรียงตัวติดกันหรือกระจายไปทั่ว  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวีกลับไม่พบว่ามีรอยโรคเลย 

รอยโรคที่หลากหลายนี้ทำให้เกิดความสับสนกับโรคอื่นๆได้ ได้แก่ ผื่นของโรคซิฟิลิสระยะที่ 2  หูดข้าวสุก  ไฝ  โรคผิวหนังบางชนิด  จนถึงลักษณะปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ของบางคนที่มีติ่งยื่นออกมาคล้ายหูดหงอนไก่

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ 

            เป้าหมายของการรักษาคือ ความสวยงาม  บรรเทาอาการ  และลดความกังวลใจ  วิธีการรักษามีให้เลือกหลายรูปแบบทั้ง การใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป  แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือผู้ป่วยทำเอง  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการรักษา ได้แก่ ความชอบของผู้ป่วย  ราคา  ผลข้างเคียงของการรักษา  และประสบการณ์ของแพทย์  โดยทั่วไปหูดที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมรักษาได้ง่ายกว่า  โดยพบว่าถ้าขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรมักรักษาด้วยยาสำเร็จ  ประสิทธิภาพของวิธีการรักษาแตกต่างกันไปและมีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้อีกทุกวิธี  โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา

            การรักษาด้วยยาชนิดที่แพทย์ทาให้  โดยแพทย์มักจะนัดทุก 1 สัปดาห์  โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง  ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้  ชนิดแรก คือ โพโดฟีโลทอกซิน (Podophylotoxin) เป็นสารสีเหลืองน้ำตาล  ลักษณะเหนียว  ทำให้เซลล์ตายโดยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์  ยานี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นแผล และปวด  หากเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เส้นประสาทอักเสบ ชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ และ เกล็ดเลือดต่ำ  ยาทาชนิดที่ 2 คือ ไตรคลอโรเซติกแอซิด (80-90% Trichloroacetic acid; TCA)  ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย  หูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน  ทำให้เกิดผิวหนังระคายเคือง เป็นแผลเลือดออกได้

            ยาที่ให้ผู้ป่วยทาเองในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ อิมิควิโมด (5% Imiquimod/ Aldara®) ทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่เกิน 16 สัปดาห์   ยานี้จะกระตุ้นภูมิต้านทานเฉพาะที่   ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง  ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดงเฉพาะที่   และ โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%)   เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์  วิธีการใช้คือทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน แล้วเว้น 4 วัน  แต่ไม่เกิน 4 รอบ  อาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย  เช่นเดียวกับยาที่แพทย์ทาให้  ก่อนทายาเองทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง  

 

หูดหงอนไก่นำไปสู่อะไรได้บ้าง

            หูดหงอนไก่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง  แต่ธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอาจติดเชื้อได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน  หากติดสายพันธุ์ชนิดความเสี่ยงสูงร่วมด้วยก็มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งขึ้น  หูดหงอนไก่ที่ใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์อาจขัดขวางการคลอดจนต้องผ่าตัดคลอดได้  และหูดหงอนไก่ยังสามารถเกิดที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียงของทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคนี้  ทำให้มีผลต่อการหายของทารกจนอาจเสียชีวิตได้  การรักษามักต้องผ่าตัดออกซึ่งมักต้องทำหลายครั้ง  สร้างความทุกข์ทรมานมาก

การเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่

            เกิดได้บ่อยถึงร้อยละ 70  ที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังสิ้นสุดการรักษา  สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ ยาไม่มีประสิทธิภาพ  การติดเชื้อซ้ำจากคู่นอน  หรือ  การเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายตนเองที่เพิ่งก่อให้เกิดรอยโรค

หูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้หรือไม่

            จะเห็นได้ว่าไม่มีการรักษาวิธีใดดีที่สุดหรือสามารถรับประกันได้ว่าโรคนี้จะหายขาดได้  รวมถึงคู่ชีวิตของผู้ป่วยก็มักจะติดเชื้อเอชพีวีไปเรียบร้อยแล้ว  วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับใครเลยตลอดชีวิต  แม้ กระนั้นก็ตาม การสัมผัสอย่างรุนแรงที่อวัยวะเพศภายนอกด้วยวัตถุหรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัส เอชพีวีนี้ก็ยังคงสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้

            ถุง ยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่สามารถลดการถ่ายทอดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ หลายชนิด ตั้งแต่ เอดส์ หนองใน หนองในเทียม พยาธิในช่องคลอด เป็นต้น  แต่ไม่สามารถลดการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ดีเพราะ เชื้อนี้สามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป ตั้งแต่รอบทวารหนัก ฝีเย็บ หัวเหน่า เป็นต้น  ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยไม่ครอบคลุมถึง

            ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถลดการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้  หากได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน  จากหลักการที่ว่า ร้อยละ 90ของหูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 6 และ 11  การผลิตวัคซีนได้ใช้ส่วนเปลือกของไวรัสส่วนเล็กๆ มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย  เมื่อฉีดแล้วร่างกายจะจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระดับที่สูงมาก  จนสามารถลดการติดเชื้อของไวรัสที่เซลล์ของเยื่อบุได้  ดังนั้นการแบ่งตัวของเซลล์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และไม่เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา  อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้จะมาในรูปร่วมกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเข็มเดียวกัน  ไม่มีการทำวัคซีนแยกออกมา  เป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, และ 18


                Link     https://www.si.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    

อัพเดทล่าสุด