โรคหูดหงอนไก่ อาการของโรคหูดหงอนไก่ รูปโรคหูดหงอนไก่


3,410 ผู้ชม


โรคหูดหงอนไก่ อาการของโรคหูดหงอนไก่ รูปโรคหูดหงอนไก่

            โรคหูดหงอนไก่

โรคหูดหงอนไก่คืออะไร
ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่ ดังนี้ค่ะ
HPV หรือในชื่อเต็มว่า Human Papilloma Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดชนิดต่างๆ มีมากกว่า 180 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็ก่อโรคหูดแตกต่างกันไป ที่สำคัญมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ
หูดหงอน ไก่ เป็นหูดที่เรารู้จักกันดีมานาน แต่เดิมเราก็ไม่ได้เฉลียวใจถึงความร้ายกาจของมัน เป็นมาก็รักษากันไป แต่ในตอนหลังเราพบว่า หูดเหล่านี้นอกจากจะเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ เบอร์ 6 และ เบอร์11 แล้วก็มีหลายรายที่เกิดจากสายพันธุ์เบอร์ 16 และเบอร์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดุมีโอกาสทำให้กลายเป็นมะเร็งได้ หูดหงอนไก่จึงไม่ใช่หูดธรรมดาๆ อย่างที่เราเคยรู้จักกันซะแล้ว
การ ติดเชื้อ HPV มีมากแค่ไหน มีการประมาณการกันว่า ประชากรของไทยเรา ประมาณ 20 – 40 % ติดเชื้อ HPV แต่ส่วนใหญ่การติดเชื้อนั้นไม่แสดงอาการ ส่วนที่มีอาการไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ธรรมดาหรือสายพันธุ์ดุ ก็มีโอกาสหายเองได้เหมือนกัน โดยที่คนอายุน้อยมีโอกาสหายได้เองมากกว่าคนอายุมาก
หูดของอวัยวะสืบพันธุ์ มีอาการแสดงออกหลายแบบ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. หูดหงอนไก่ ( condyloma accuminata) เป็นหูดที่เรารู้จักกันดี โดยเฉพาะนักเที่ยวทั้งหลายทราบซึ้งกันเป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นดอกกะหล่ำหรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน เป็นติ่งเนื้ออ่อนๆ สีชมพู คล้ายหงอนไก่ หูดชนิดนี้ ชอบขึ้นตรงบริเวณที่อับชื้นและอุ่น
2. หูดผิวเรียบ (smooth papular warts) มีสีเนื้อ ผิวเรียบขนาด 1 – 4 มิลลิเมตร มักพบบริเวณเยื่อบุต่างๆ แต่ที่ผิวหนังก็อาจพบได้ ที่พบบ่อยๆ ก็ตรงโคนอวัยวะที่ถุงยางอนามัยคลุมไม่ถึง
3. หูดผิวหนัง (keratotic genital warts) ลักษณะก็เหมือนหูดตามผิวหนังทั่วไป บางรายอาจพบหูดนี้ ตามร่างกายก่อนที่จะเป็นที่อวัยวะเพศด้วยซ้ำไป
4. หูดแบน (flat warts) อาจเป็นหลายจุดใกล้ๆกันแล้วรวมตัวเป็นปื้นใหญ่ มักพบตามเยื่อบุต่างๆ หรือตามผิวหนังก็อาจพบได้
นอกจากนี้ยังมีชนิดย่อยๆ ที่พบได้เช่น
หูดยักษ์ ( Giant Condyloma Accumunata หรือ Buschke-Lowenstein tumor) เกิดจาก HPV สายพันธุ์ไม่ดุ (6, 11) แต่ดูน่ากลัวเพราะมีขนาดใหญ่
หูดในท่อปัสสาวะ ( Urethral Meatus Warts) เป็นหูดที่มีปัญหาในการรักษามากที่สุด เพราะมักจะไม่หายขาด หายแล้วกลับมาเป็นอีก เพราะนอกจากจะเกิดบริเวณปลายท่อปัสสาวะให้เจ้าของเห็นแล้ว ก็อาจยังมีในท่อปัสสาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย
หูดในทวารหนัก (Intra-Anal Warts) หูดพวกนี้พบมากในพวกเกย์ พบว่าเยื่อบุในทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูกจึงมีโอกาสเกิด มะเร็งได้เช่นเดียวกับปากมดลูก เมื่อปีที่แล้วมีรายงานใน New England Journal of Medicine ว่าพบมะเร็งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในทวารหนักด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามะเร็งนั้นกลายพันธุ์มาจากหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV
อวัยวะเพศอักเสบจากหูด (Papillomavirus-associat balanoprosthitis) อันนี้พบค่อนข้างบ่อย จะเกิดรอยแผลแตกเป็นร่องๆ โดนน้ำหรือโดนของเหลวในช่องคลอดจะแสบ เวลาแข็งตัวหรือเวลาร่วมเพศจะเจ็บ รักษาไม่ค่อยจะหายขาด เป็นๆหายๆ
มะเร็ง ปากมดลูก เดิมที่เราเคยโทษว่าเกิดจากเริมนั้น เดี๋ยวนี้พิสูจน์แล้วว่าเกิดจากเชื้อ HPV นี่แหละ ดังนั้นถ้าท่านเป็นหูดหงอนไก่ตรงอวัยวะเพศ ก็คงต้องตรวจป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) บ่อยหน่อย ตรวจปีละครั้งอาจไม่พอซะแล้ว หรือถ้าตรวจ Pap smear แล้วพบว่ามีเชื้อ HPV อยู่ละก้อ หมอก็ต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมด้วย
หญิงมีครรภ์ ถ้าเป็นหูดหงอนไก่อยู่ด้วย หูดจะขยายตัวอย่างเร็วมาก เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากในช่วงตั้งครรภ์ ต้องรีบรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่อย่างนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการคลอดได้ ซึ่งถ้าพบตอนคลอด หมอก็จะผ่าให้คลอดทางหน้าท้องแทนการคลอดตามธรรมชาติ
ในผู้ชาย: มักพบที่อวัยวะเพศ ส่วนที่อยู่ใต้หนังหุ้มปลายท่อปัสสาวะ อัณฑะ
ในผู้หญิง: พบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูกทวารหนัก และฝีเย็บ
ระยะ ฟักตัว ประมาณ 1 ถึง 6 เดือน หลังรับเชื้อมาแล้ว บางราย แค่สัปดาห์ก็แสดงอาการ บางรายเป็นเดือนๆค่อยแสดงอาการ แต่หลายๆราย ก็ไม่แสดงอากรเลยก็มี
การติดต่อ
โดยการร่วมเพศ และสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย
การป้องกัน ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะป้องกันได้นอกจากใช้ถุงยางอนามัยกับหญิงอื่นที่มิใช่ ภรรยา หรือ ในชายรักร่วมเพศก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเท่านั้น
การรักษา
การรักษามีหลายแบบ ทั้งทายา จี้เย็น จี้ด้วยไฟฟ้า เลเซอร์หรือแม้แต่การตัดออก แต่โดยปกติหมอจะเริ่มด้วยการทายา
ที่มา ที่ต้องขอขอบคุณด้วยค่ะ : BangkokHealth
Link : https://www.bangkokhealth.com/consult_htdoc/Question.asp?GID=6198

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              อาการของโรคหูดหงอนไก่

โรคหูดหงอนไก่

 ที่มาของภาพ : http://www.ajingdi.com/image/mypic/touch_girl(1).jpg 


โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ลักษณะเป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ รวมทั้งที่ทวารหนัก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า human papilloma virus โดยทั่วไปมักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อน คล้ายหงอนไก่ พบได้หลายรูปแบบ อาจมีจำนวนและขนาดที่แตกต่างกันได้มาก และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ตำแหน่งที่พบบ่อยเป็นที่บริเวณคอคอดของอวัยวะเพศชาย นอกจากนี้ยังพบได้มากที่บริเวณแคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิง ปกติ
โรคหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่อาจมีการฉีกขาดเลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้

ชื่ออังกฤษ : condyloma acuminata


ชื่อไทย : โรคหูดหงอนไก่

 

ชื่อย่อ: ไม่ปรากฎ

 

ผู้ค้นพบ : ไม่ปรากฎชื่อผู้ค้นพบ แต่กล่าวถึงในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

จัดอยู่ในกลุ่มของโรคประเภท : ระบบผิวหนัง


สาเหตุ : เชื้อ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ human papilloma virus (HPV) โดยเป็นการติดเชื้อที่ชั้นหนังกำพร้า เชื้อไวรัสในกลุ่มนี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่สามารถแยกเชื้อได้ในปัจจุบัน หลายชนิดพบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดเป็นมะเร็งทั้งในเพศชายและเพศหญิง ร้อยละ 90 ของโรคหูดหงอนไก่เกิดจาก HPV types 6 และ 11 ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการเกิดเป็นมะเร็ง


ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปานกลาง และถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV types 16, 18 ถือว่ามีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าเกิดจากการติดเชื้อมากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของเชื้อไวรัสกับการเกิดโรคมะเร็งกำลังได้รับการ ศึกษาอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ที่มาของภาพ : https://guru.sanook.com/picfront/main/resize_04062008035652.jpg


ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัส HPV นาน 1–6 เดือน


อาการ : ลักษณะ โรคหูดหงอนไก่ ปกติจะมีตุ่มหงอนไก่ คล้ายตุ่มหูด หรือหงอนของไก่ สีแดงสด บริเวณอวัยวะเพศ หรือข้างเคียง ถ้ากระทบแรงๆ อาจจะมีเลือดออกได้ บางครั้งถ้าอยู่ในช่องคลอดลึกอาจจะมองไม่เห็นแต่ มีอาจมีอาการตกขาวได้ ถ้าอยู่แถวปากช่องคลอด ก็จะเห็นได้ง่าย ในผู้ชายอาจเป็นที่ทวารหนัก หรือปลายอวัยวะเพศได้ การติดเชื้อไวรัส HPV บริเวณอวัยวะเพศ สามารถทำให้เกิดรอยโรคได้หลายแบบ ได้แก่


1. หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูงอกบานออกทางด้านนอก ดูคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ ในผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาติ บางครั้งอาจเกิดที่ปากท่อปัสสาวะ และอาจงอกลามลึกเข้าไปภายในได้ ผู้ชายรักร่วมเพศ มักพบหูดที่รอบทวารหนักซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในได้ ผู้หญิงพบบ่อยที่ปากช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV type 6,11

 ที่มาของภาพ : https://www.bangkokhealth.com/cimages/cervical02.jpg


2. หูดชนิดแบนราบ มักพบบริเวณปากมดลูก ลักษณะแบนราบ ส่วนใหญ่เกิดจาก HPV 16 ปัจจุบันพบว่าหูดชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก


3. หูดชนิดกลุ่ม ลึกษณะเป็นตุ่มขนาด 3 – 4 มม. สีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบ หรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกันหลายตุ่ม และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่เกิดจาก HPV type 16,18


4. หูดก้อนใหญ่ลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมากจนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุม อวัยวะเพศไว้ทั้งหมดส่วนใหญ่เกิดจาก HPVtype 6   บางคนอาจเรียกว่าเป็นหูดยักษ์ สาเหตุที่ทำให้หูดโตเร็ว ได้แก่ การตั้งครรภ์ ตกขาว ความสกปรก การติดเชื้อ


 การรักษา


1. ใช้วิธีจี้ด้วยสารเคมี เช่น podophylline หรือ สารเคมีชนิดอื่น หรือใช้ความเย็น หรือจี้ด้วยเลเซอร์


2. ในกรณีที่เป็นตอนตั้งครรภ์ อาจทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ต้องใช้การคลอดด้วยการ
ผ่าตัดแทน


3. สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน papillomavirus vaccine ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดผสมเชื้อไวรัสรวมสี่ชนิด ได้แก่ HPV types 6, 11, 16, 18 ซึ่งปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก แนะนำสำหรับผู้หญิงอายุ 9-26 ปี พบว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน

 

การติดต่อ มี 3 ทางหลัก


1.จากเพศสัมพันธ์โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนัง เป็นทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด


2.ติดต่อโดยการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่นเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัว สบู่อาบน้ำ


3.ติดต่อโดยการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น


การป้องกัน


1.การสวมถุงยางจะป้องกันได้เฉพาะผิวหนังขององคชาติและช่องคลอดเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันผิวหนังบริเวณอื่น


2.ช่วงที่เป็นโรคไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์


3.ให้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว


สะท้อนความคิด

-ทำไมถึงสนใจศึกษาโรคนี้ 

ข้าพเจ้าสนใจที่จะศึกษาโรคนี้เพราะโรคหูดหงอนไก่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชายเเต่สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้ด้วย


   
-คิดอย่างไรกับโรคนี้

โรคหูดหงอนไก่เป็นโรคที่น่ากลัว
    


แหล่งอ้างอิง

https://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-19-57/1193--condyloma-acuminata-Thursday Aug 06

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   รูปโรคหูดหงอนไก่

โรคหงอนไก่

โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

โรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)

ตำแหน่งที่พบโรคหูด

โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
  • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
  • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
หูดที่อวัยวะเพศหญิง หูดที่ทวาร หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่ปลายอวัยวะเพศ
 

อาการของโรคเป็นอย่างไร

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
  • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
  • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
  • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับผู้ชาย

  • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
  • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

สำหรับผู้หญิง

  • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
  • แคมใหญ่ แคมเล็ก
  • ช่องคลอด
  • ทวานหนัก

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

  • หนองในแท้ หนองในเทียม
  • โรคเอดส์
  • โรคซิฟิลิส
  • ตรวจภายในทำ PAP Smear
  • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

  • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
    • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
    • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
    • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
    • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
    • สามารถทำในคนท้องได้
  • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
  • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
    • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
    • อัตราการหาย 63-91%.
  • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
    • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
    • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
  • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
    • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
      • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
      • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
      • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
      • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
    • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
  • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
    • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
    • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

  • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
  • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
  • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
  • การฉีดวัคซีนป้องกัน

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โรคที่เกี่ยวข้อง

               Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด