แตงกวากับโรคเก๊าท์ นมถั่วเหลือง โรคเก๊า โอเมก้า3 กับโรคเก๊าต์


25,015 ผู้ชม


แตงกวากับโรคเก๊าท์ นมถั่วเหลือง โรคเก๊า โอเมก้า3 กับโรคเก๊าต์

           แตงกวากับโรคเก๊าท์

         


เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?

เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

 
1.
เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
 
2.
ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
 
3.
พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
 
4.
พบก้อนขาวคล้ายหินปูน เรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?

 
1.
เมื่อมีอาการปวดข้อควรไป พบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง
 
2.
เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
 
3.
เอกซเรย์ข้อที่ปวด

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร? ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

 
1.
ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
 
2.
ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
 
3.
เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
 
4.
โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?

ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

 
1.
ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
 
2.
ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
 
3.
รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
 
4.
ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง

 
1.
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
 
2.
ควบคุมอาหารโดยงดรับ ประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
 
3.
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

สรุป

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทาง กรรมพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได้

ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)

อาหาร
มิลลิกรัม
อาหาร
มิลลิกรัม
เครื่องในไก่
290
ผักตำลึง
89
ถั่วเหลือง
263
เนื้อ
83
ชะอม
247
ถั่วลิสง
74
ตับ
241
หมู
70
กระถิน
226
ดอกกะหล่ำ
68
ถั่วแดง
221
ผักบุ้ง
54
ถั่วเขียว
213
ปลาหมึก
53
กึ๋น
212
หน่อไม้
47
กุ้ง
205
ถั่วฝักยาว
41
ปลาดุก
194
ถั่วลันเตา
41
ถั่วดำ
180
ต้นกระเทียม
39
ไก่
157
ผักคะน้า
34
เซ่งจี้
152
ผักบุ้งจีน
33
ใบขี้เหล็ก
133
ถั่วงอก, ถั่วแขก
28
สะตอ
122
ถั่วพู
19
                                              แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com                         

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

           
             นมถั่วเหลือง โรคเก๊า

นมวัว กับ นมถั่วเหลือง”

ทุกวันนี้เรามักได้ยินคำพูด คำถาม ข้อเปรียบเทียบถึงคุณค่าหรือคุณประโยชน์ของนมวัวกับนมถั่วเหลืองอยู่บ่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีผู้คนจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งไม่คุ้นเคยกับการดื่มนมวัวมาตั้งแต่เด็ก) มีอาการแพ้นมวัว กล่าวคือ เมื่อดื่มนมจะท้องเสีย และเด็กเล็กๆ หลายคนก็แพ้ (โปรตีนใน) นมวัว

อีกส่วนหนึ่งมาจากกระแสอาหารสุขภาพที่ไม่สนับสนุนให้กินเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ซึ่งรวมถึงนมวัวด้วย คนกลุ่มนี้จึงหันมากินเต้าหู้และน้ำเต้าหู้ ซึ่งก็คือนมถั่วเหลือง เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนจากพืชแทน ทั้งที่ความจริงตามข้อมูลทางวิชาการบอกว่า ทั้งนมวัวและนมถั่วเหลืองล้วนมีประโยชน์ มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป...เครื่องดื่มทั้ง ๒ ชนิดนี้ล้วนผ่านช่วงเวลาของการเป็นพระเอกกันมาแล้วตามยุคสมัย

ในสมัยโบราณคนไทยเรายังไม่นิยมดื่มนมวัวกันนัก กินอาหารตามปกติ ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว ฯลฯ จึงนับว่ามีประวัติศาสตร์การบริโภคนมวัวไม่นานนัก (เมื่อเทียบกับชาวตะวันตก) กระทั่งช่วงหนึ่งมีการรณรงค์ให้ดื่มนมวัวกันมาก มีการชูประเด็นเรื่องแคลเซียม ซึ่งนม ๑ กล่องมีมากถึง ๒๕ - ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ประมาณการณ์ว่าวันหนึ่งถ้าไม่ได้กินอาหารอื่นที่มีแคลเซียมเลย แค่ดื่มนมสัก ๓ กล่องก็ไม่ต้องกังวลแล้ว

ดูคนญี่ปุ่นสิ สมัยก่อนสงครามโลกตัวเล็กนิดเดียว พอตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา ได้กินนม เนยแบบฝรั่ง ตัวสูงใหญ่ขึ้นตั้งเยอะ สูงกว่าเราอีก

จนคุณแม่ยุคหนึ่งถึงกับไม่อยากให้ลูกดูดนมจากอกกันเลยทีเดียว เพราะคิดว่านมผสมมีการเสริมแคลเซียม และสารอาหารที่ครบถ้วนกว่า ถ้าต้องการให้ลูกแข็งแรง ร่างกายสูงใหญ่ ต้องนมวัวเท่านั้น

นับแต่นั้นมาคนไทยก็ดื่มนมวัวกันมากขึ้น ตั้งแต่เด็กทารก (ในรูปของนมผง) วัยรุ่นที่แทบจะดื่มแทนน้ำเพราะอยากสูง ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงให้นมบุตร ตลอดจนถึงวัยทองซึ่งเป็นที่ภาวะและวัยที่ผู้หญิงต้องสูญเสียมวลกระดูกมากที่ สุด

กระทั่งหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนให้ความสนใจเรื่องของสุขภาพมากขึ้น และเชื่อว่าอาหารที่มาจากพืชเหมาะสมกับมนุษย์มากกว่าอาหารที่มาจากสัตว์

มีการพูดถึงผลการวิจัยว่าอาหารจากสัตว์ก่อให้เกิดโรคมากมายหลายชนิด ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง บางข้อมูลบอกว่าการที่ดื่มนมวัวแล้วทำให้ร่างกายสูงใหญ่ไม่ได้เป็นเพราะ แคลเซียม แต่เป็นเพราะโกร๊ธ ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเติบโตของวัว คนจะมีน้ำหนักเพิ่ม ๓ กิโลกรัมโดยเฉลี่ยในเวลา ๓ เดือนหลังคลอด แต่ลูกวัวน้ำหนักจะเพิ่ม ๓๐ กิโลกรัมในเวลาเท่ากัน เด็กที่ดื่มนมวัวคือเด็กที่ได้รับสารอาหารที่มีไว้กระตุ้นลูกวัว และลูกวัวกินนมแม่แค่ ๑ ปี ในขณะที่เด็กกินนมวัวต่อเนื่องเป็น ๑๐ ปี ผลคือเด็กมีโครงสร้างสูงใหญ่ผิดปกติ

ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้คนจำนวนมากหันไปดื่มนมถั่วเหลือง โดยเฉพาะผู้สูงวัย เพราะโปรตีนในนมถั่วเหลืองย่อยง่ายกว่า ราคาถูกกว่า ได้ดื่มกันร้อนๆ แค่ ๕ บาท

ประเด็นสำคัญที่ทำให้คนเกิดความลังเล หรือกังวลเกี่ยวกับการดื่มนมทั้ง ๒ ชนิดนี้ น่าจะเป็นเรื่องของแคลเซียมเป็นหลัก เพราะถ้าเทียบกันแบบเพียวๆ ไม่นับรวมอาหารอย่างอื่น ในนมถั่วเหลืองมีแคลเซียมน้อยกว่านมวัวมาก แต่ก็มีหลายประการที่ชนะนมวัว

ลองมาดูข้อมูลของนมแต่ละชนิดกันเลยดีกว่า

นมวัว มีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ โปรตีน วิตามิน ไขมัน และส่วนสำคัญที่สุด คือ แคลเซียม ที่จัดได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการกินนมเลยทีเดียว

แม้จะมีคนจำนวนหนึ่งแพ้นมวัวเพราะไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลในนม อาจเลือกกินนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ซึ่งก็คือนมที่ถูกหมักด้วยจุลินทรีย์ (โดยมากนิยมใช้เชื้อแบคทีเรียแลคโตบาซิลัส) ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตสในนม กลายเป็นกรดแลคติก ซึ่งจะไปตกตะกอนในนมจนกลายเป็นโยเกิร์ตข้นๆ และมีรสเปรี้ยวกว่าเดิม

เมื่อแบคทีเรียช่วยย่อยน้ำตาลในนมให้แล้วก็หมดปัญหา แถมเชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตยังมีประโยชน์กับระบบขับถ่ายของคนเราด้วย เช่น ช่วยทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยทำให้เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้หยุดการเจริญเติบโต

นมถั่วเหลือง มีสารอาหารหลักเหมือนนมวัว แต่ปริมาณต่างกัน ดังจะปรากฏในการเปรียบเทียบนมวัว vs นมถั่วเหลือง ส่วนเหตุผลที่ทำให้นมถั่วเหลืองได้รับความนิยมมากขึ้นในคนสูงวัยก็ด้วยมีผล งานการวิจัยยืนยันถึงประโยชน์ของการบริโภคถั่วเหลืองว่าสามารถลดความ เสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง ที่สำคัญมีประโยชน์มากสำหรับคุณผู้หญิง

นอกจากนี้ในถั่วเหลืองมี Isoflavones ซึ่งมีประโยชน์ในสตรีวัยทอง เพราะออกฤทธ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) แต่อ่อนกว่ามาก จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้น โดยลดการละลายแคลเซียมออกจากกระดูก และช่วยลดอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนอย่างอื่น เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ไขมันสูง ช่องคลอดแห้ง อารมณ์แปรปรวน ฯลฯ

ในสัตว์ทดลองปรากฎว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้ง ๒๑ ชนิด และมีที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ๑๘ ชนิด เพราะเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดื่มนมถั่วเหลือง คือ วันละหนึ่งแก้ว และหากจะให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรดื่มในเวลาที่ท้องว่าง คือ ก่อนหรือหลังอาหาร ๒ ชั่วโมง เพราะนมถั่วเหลืองมีไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่แข็งแรงมาก ถ้ากินพร้อมมื้ออาหารจะทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารในมื้อนั้นๆ ลดลง

อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีข้อจำกัด นมถั่วเหลืองก็เช่นกัน คือ ไม่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าต์ รูมาติซั่ม รูมาตอยท์ เพราะจะทำให้มีอาการปวดในข้อ เมื่อเกิดคำถามว่า กินนมถั่วเหลืองแทนนมวัวได้หรือไม่! มาเทียบประโยชน์ให้เห็นกันอย่างชัดๆ เลยดีกว่า...

ในเรื่องของโปรตีน ถ้านมถั่วเหลืองจากสูตรทำถั่วเหลือง ๑ ส่วนต่อน้ำ ๘ ส่วน จะได้โปรตีนใกล้เคียงนมวัว คือดื่มนมถั่วเหลือง ๑ แก้ว (๒๐๐ มิลลิลิตร) จะได้โปรตีนประมาณ ๖ กรัม ในขณะที่นมวัว ๑ แก้วให้โปรตีน ๗ กรัม แต่คุณภาพโปรตีนในนมวัวมีความสมบูรณ์ของ กรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนดีกว่าโปรตีนจากนมถั่วเหลือง ที่มาจากพืช แต่คุณภาพโปรตีนในนมถั่วเหลืองก็สามารถเสริมให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเติมเครื่องต่างๆ ที่นิยมกัน เช่น ลูกเดือย สาคู ถั่วแดง ลงไป

พลังงานที่ได้จากนมวัวมีไขมันมากกว่านมถั่วเหลือง ๒ เท่า คือ นมวัว ๑ แก้วให้พลังงานประมาณ ๑๗๐ แคลอรี่ นมถั่วเหลืองจะให้เพียง ๘๐ แคลอรี่เท่านั้น แต่ถ้าคนที่ดื่มนมถั่วเหลืองเติมน้ำตาลมากจนมีรสหวานกว่านมสดรสหวาน ก็จะได้พลังงานพอๆ กัน

วิตามินในนมถั่วเหลือง มีวิตามินบี ๒ ประมาณ ๑ ใน ๑๐ ของนมวัวเท่านั้น แร่ธาตุ ถั่วเหลืองทั้งเมล็ดมีแร่ธาตุแคลเซียมสูงกว่าถั่วเมล็ดแห้งอื่นๆ แต่เมื่อนำมาทำเป็นนมถั่วเหลือง แคลเซียมถูกสกัดออกมาอย่างจำกัด ทำให้นมถั่วเหลืองที่ได้มีแคลเซียมต่ำ ประมาณ ๑ ใน ๖ ของนมวัวเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีการแนะนำว่าร่างกายควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ ๑,๐๐๐ มิลลิกรัม ซึ่งโดยทั่วไปในนมวัว ๑ มิลลิลิตรจะมีแคลเซียมประมาณ ๑ มิลลิกรัม นมวัว ๑ แก้ว (๒๕๐ มิลลิลิตร) จึงให้แคลเซียมประมาณ ๒๕๐ มิลลิกรัม (ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ร่างกายต้องการใน ๑ วัน)

นมถั่วเหลืองจึงไม่ใช่แหล่งที่ดีของแคลเซียม จะใช้แทนนมวัวเพื่อเสริมแคลเซียมไม่ได้ เว้นเสียแต่เป็นการดื่มนมถั่วเหลืองที่มีการเสริมแคลเซียม ซึ่งเป็นการเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้สมบูรณ์มากขึ้น

จึงขอสรุปว่า ให้เลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะสำหรับตัวเอง ถ้าไม่แพ้นมวัวอาจใช้วิธีผสมผสาน ดื่มนมถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมวันละ ๑ - ๒ แก้ว แต่ถ้าเป็นนมถั่วเหลืองธรรมดาไม่ได้เสริมแคลเซียม อาจดื่ม นมวัวบ้างวันละ ๑ - ๒ แก้วสำหรับผู้ใหญ่ หรือ ๒ - ๓ แก้วสำหรับเด็ก เช่นเดียวกับหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรืออาจผสมนมวัวผง ๒ - ๓ ช้อนโต๊ะลงในนมถั่วเหลือง ก็จะได้แคลเซียมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

แต่ถ้าไม่ชอบกลิ่นรส ก็เลือกกินอาหารอื่นๆ ที่มีแคลเซียมแทนได้ เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว ปลาซาร์ดีนกระป๋อง...เดินสายกลาง ไว้มีความสุขทั้งกายและสบายทั้งใจ

การแพ้นมวัว

ปัจจุบันเด็กไทยเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น และการแพ้โปรตีนในนมวัวเป็นสาเหตุการแพ้ที่พบมากในเด็กวัยขวบปีแรก ดังนั้น เมื่อคลอดลูกควรให้ลูกกินนมแม่ให้มากที่สุด ถ้าจำเป็นต้องให้นมเสริมและไม่มีประวัติการเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัวก็ สามารถให้นมผงธรรมดาได้ แต่ถ้ามีประวัติภูมิแพ้ อาจปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณานมที่เหมาะสมสำหรับลูก

อาการแพ้นมวัว

  1. อาการทางผิวหนัง มีผื่นคันตามร่างกาย
  2. อาการทางระบบทางเดินหายใจ เด็กจะป่วยบ่อยเนื่องจากการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ มีเสมหะมาก คัดจมูก
  3. อาการทางระบบทางเดินอาหาร มีอาการท้องเสีย น้ำหนักขึ้นน้อย

เมื่อสงสัยว่าลูกแพ้นมวัว ก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากวัวด้วย แต่ถ้าจำเป็นต้องให้นมผสมเสริมจริงๆ ควรให้ลูกดื่มนมที่ผลิตสำหรับเด็กภูมิแพ้กลุ่มนี้โดยเฉพาะ เช่น นมวัวที่ถูกย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง ทำให้โอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยลงด้วย สำหรับเด็กที่แพ้มากอาจต้องกินนมถั่วเหลืองแทน

สำหรับผู้ใหญ่ที่แพ้นมวัว ส่วนใหญ่เป็นเพราะร่างกายไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม การค่อยๆ เริ่มดื่มทีละน้อย เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายค่อยๆ สร้างเอนไซม์นี้ขึ้นมาทีละน้อย จนถึงจุดที่ร่างกายมีเอนไซม์มากพอ ก็จะสามารถดื่มนมได้ตามปกติ หากใช้วิธีนี้ไม่ได้ผลอาจกินโยเกิร์ตแทน แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ควรเลือกกินอาหารอื่นที่มีแคลเซียมสูงแทน

          Link   https://nif-tidthai.org

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             โอเมก้า3 กับโรคเก๊าต์

   


ใน ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น และหลายคนคงมีอาการปวด ตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมากๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ เวลามีอากาศเย็นขึ้นเช่น ในฤดูหนาว บุคคลประเภทนี้ มีความเป็นไปได้สูง ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบ (Arhritis) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคกลุ่มนี้ ซึ่งแยกออกมาได้กว่า 200 ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ สองชนิด คือ โรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบเรื้อรัง (Osteoarthritis) และโรคข้ออักเสบรูมาดอยด์ หรือปวดข้อรูมาดอยด์ (The Rumatoid arthritis) ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุของโรคต่างกันคือ
โรคข้อเสื่อมนั้น เกิดจากความทรุด โทรมของกระดูกอ่อน ที่หุ้มข้อกระดูกค่อยๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหว จนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น ส่วนโรคข้อักเสบรูมาดอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง และโรคนี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะช่วยอายุระหว่าง 22-55 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้ม ที่จะเป็นโรคนี่ได้มากกว่า เพศชายถึง 3 เท่า ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ไปตลอด แต่ในผู้ป่วยบ้างชนิดก็เป็นไปได้เช่นกัน
ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัว มากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีสิทธิ์เป็นได้นักกรีฑา นักวิ่ง นักกระโดดสูง ล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่หัวเข่า และข้อเท้ามากเป็นพิเศษ ในการวิ่งหรือกระโดด ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อกระดูก เหมือนคนที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน
สำหรับอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้วแนะนำ ให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับ ผู้ควบคุมน้ำหนัก เป็น อาหารไขมันต่ำ และเน้นให้กินผัก ผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วน หรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่างๆ ที่เป็นแหล่งเบต้า-แคโลทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ
นอก จากอาหารควบคุมน้ำหนักต่างๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมัน ปลาแต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่ สำหรับอาหารที่ควรพิจารณาเข้าไว้เป็นประจำ ก็คือ
ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 มากเช่น ปลาแชลมอน ปลาซาดีนปลากระบอก ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อนเป็นต้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคอักเสบรูมาดอยด์
ธัญพืชที่ไม่ขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮสวีด จมูกข้าวสารี ถั่วต่างๆ สำหรับถั่ว ไม่ควรกินมากเพราะมีแคลอรีสูง

ผักผลไม้ เช่นผักใบเขียวต่างๆ กล้วยที่เป็นแหล่งโปรแตสเซียม และใยอาหารควรกินอย่างน้อยให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แม้กระทั่ง ขิงก็พบว่ามีสารช่วยลดอาการอักเสบได้เช่นกัน จึงควรกินอย่างน้อย 5 กรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมไปถึงขึ้นฉ่าย ฝรั่งหรือเซเลอรีนั้น ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาดอยต์นั้น แพทย์แนะนำว่า ควรบริโภคถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้จากน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนอาหารที่ควรงดไปเลย หรือกินเพียงเล็กน้อย คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดสีจนขาว และอาหารรสเค็มจัด หรือหวานจัด ลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เนยแข็ง น้ำมันมะพร้าว

ทองหยอด

                                              แหล่งข้อมูล : www.yingthai-mag.com - ฉบับที่ 682 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2547                      
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
อาหารกับโรคเก๊าต์
 
อาการของผู้ที่เป็น ข้อเข่าเสื่อม
 
การรักษา ข้อเข่าเสื่อม
 
อาหารช่วยแก้ข้ออักเสบ

          Link      https://www.yourhealthyguide.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด