ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเก๊าท์ เมนูอาหารของคนเป็นโรคเก๊า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงโรคเก๊าท์
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเก๊าท์
ยาแก้โรคเก๊าท์(ยาสมุนไพร) เรืองแผนไทยเภสัช
สรรพคุณ แก้โรคเก๊าท์ โดยบำรุงไตให้ดีขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดกรดยูริคต้องขออภัยด้วย เนื่องจากช่วงนี้สมุนไพรขาด
จึงไม่สามารถผลิตยาแก้โรคเก๊าท์ได้โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์เป็นอาการที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดมีปริมาณที่สูงเกินกว่าการอยู่ในรูปของสารละลาย
ในเลือดได้ จึงเกิดการตกผลึกสะสมอยู่ในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ โดยเฉพาะในส่วนที่สัมผัสอากาศเย็นกว่า
บริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า ทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น(tophus)อาการของโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น
โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน
(ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้คิดไว้ก่อนว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์)
โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท
ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆ ให้เห็น แล้วเมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก
อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้น
เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค(tophus) สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
ถ้าเป็นโรคเก๊าท์นานๆ จะทำให้ข้อบิดเบี้ยวได้สาเหตุของโรคเก๊าท์
สาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากประสิทธิภาพของไตในการขับกรดยูริคออกจากร่างกายไม่ดี
ร่างกายจึงมีการสะสมของกรดยูริค เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยมากกว่า20ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ชาย ระดับกรดยูริคจะสูงตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะทำให้กรดยูริคไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับกรดยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตะกอน
ไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริคในเลือดสูงเพศชาย ระดับกรดยูริคในเลือดไม่เกิน 7 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร(1 เดซิลิตร)
เพศหญิง ระดับกรดยูริคในเลือดไม่เกิน 6 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร(1 เดซิลิตร)การรักษาโรคเก๊าท์
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แบ่งการรักษาโรคเก๊าท์ออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรกผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะได้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยได้ยา colchicine หรือ ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยา colchicine โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 4 เม็ด
โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวดในบางประเทศแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์กิน colchicine ทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียง
คือท้องเสีย นั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อที่อักเสบของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่เคยหายอักเสบก่อนเกิดอาการท้องเสีย
ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึกไม่ดีต่อการใช้ยานี้ ถ้าการกินยา colchicine ไม่เกิน
4 เม็ดต่อวัน จะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อยมากช่วงต่อมาผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะได้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้งควรให้ยาลดกรดยูริค
การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับกรดยูริคในเลือดลง
ทำให้ตะกอนกรดยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ- ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กินๆ หยุดๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้
ไม่แนะนำให้กินยา
- ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ถูกวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจกรดยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมีกรดยูริคสูง ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป
มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยกินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่กรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่ได้เป็นโรคเก๊าท์
ซึ่งการกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้ (ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบโรคเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องกินยาลดกรดยูริค)ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ห้ามนวดตรงข้อโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้ออักเสบรุนแรงขึ้น
การรักษาโรคเก๊าท์ด้วยยาสมุนไพรบำรุงไต
เนื่องจากกรดยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง
ทางการแพทย์แผนจีน จึงให้ความสำคัญกับไต ซึ่งทำหน้าที่ขับกรดยูริคออกจากร่างกายดังนั้นความสำคัญของการรักษาโรคเก๊าท์ จึงอยู่ที่การใช้ยาสมุนไพรบำรุงไตให้แข็งแรง
มีศักยภาพในการขับกรดยูริคและปรับสภาพเลือด ให้ผลึกของกรดยูริคที่สะสมตามข้อสามารถละลายออกมา
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็จะหายเป็นปกติได้ ส่วนผู้ที่ไม่เป็นโรคเก๊าท์ แต่ตรวจพบว่ากรดยูริคสูงในเลือดสูง
ก็สามารถรับประทานได้โดยไม่มีอันตรายวิธีรับประทานยาแก้โรคเก๊าท์(ยาสมุนไพร) เรืองแผนไทยเภสัช
รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนหรือหลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง โดยเลี่ยงจากยาอื่นๆ 2 ชั่วโมง(ถ้ามี)
ในช่วงที่รับประทานยาแก้โรคเก๊าท์อยู่นี้ ควรงดกาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ห้ามรับประทานหน่อไม้และอาหารรสเค็ม อาหารที่เป็นโปรตีนสูง
ยาเม็ดทุกตำรับ บรรจุในแผงอลูมิเนียมฟอยล์ (Strip pack)
ข้อดี คือ
- ป้องกันความชื้นและเชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่เม็ดยา
โดยทั่วไปในบรรยากาศจะมีทั้งความชื้นและเชื้อจุลินทรีย์
หากเป็นยาที่ใส่ขวด เมื่อเปิดขวดแล้ว ยาจะมีการปนเปื้อนของเชื้อ
ความชื้นในบรรยากาศ ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต
ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย - พกพาสะดวก สำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง
- ป้องกันไม่ให้ยาเสื่อมคุณภาพจากแสงสว่าง
ยาเม็ดทุกตำรับ เป็นยาตอกเม็ด (Tablet)
ข้อดี คือ
- ปราศจากวัตถุกันเสีย
เนื่องจากยาที่บรรจุแคปซูล ส่วนของเปลือกแคปซูลทำมาจากเจลาติน
ซึ่งเจลาตินก็ทำมาจากกระดูกหรือหนังสัตว์ จึงเป็นแหล่งอาหารของ
เชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้นผู้ผลิตเปลือกแคปซูลจำเป็นต้องใส่วัตถุกันเสีย และถ้าหากผู้ผลิตเปลือกแคปซูลใช้เจลาตินที่ไม่สะอาด ก็จะต้องใส่
วัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้บริโภค - ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อบางชนิด
เนื่องจากเจลาตินทำมาจากกระดูกหรือหนังสัตว์ เช่น วัว หมู
จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อวัวบ้า และขัดกับหลักของท่านที่รับประทานเจ หรือมังสวิรัติ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมนูอาหารของคนเป็นโรคเก๊า
อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์
อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์
อาหารที่ทานกับการเป็นเกาต์ (Men's Health)
เรื่องโดย เจดีย์
ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือก ๆ แกล้มขาหมูทอดมัน ๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเกาต์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชน ชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ
ทั้งนี้เกาต์จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้
มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เกาต์ มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า กรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเอง หลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเกาต์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)
อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสดงต่อร่างกายของเขา) จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ในกรณีของคนที่มีอาการของ โรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง
คนป่วยโรคเกาต์ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว
เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเกาต์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง
"ไก่" กับ "เกาต์"
"อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเกาต์จริง ๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะ ๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเกาต์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ
รู้หรือเปล่าว่า...
ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยมักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
การหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มี "พิวรีน" สูง
นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกกับ Men’s Health ว่า "คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมด แต่อาจต้อง "ลด" ปริมาณลง" และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ว่าจะ "งดหรือลดอะไร" หากอยากห่างไกลจากอาการปวดข้ออันทรมาน
1.ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี)
2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่
เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อกระต่าย เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ ไข่นกกระทา
ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง)
3.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม ได้แก่
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)
4.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก (ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ระบุว่า เบียร์มีพิวรีนเยอะสุด) แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นอดใจงดดื่มได้ก็งดเถอะครับ นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกายังรายงานว่า น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วยครับ
อาหารที่แนะนำให้ทาน
จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ไว้ดังนี้
เชอร์รีสด
งานวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน
เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลือง
คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม
น้ำและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เมนูลดอาการปวดข้อ
เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
วันที่ 1
มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล
วันที่ 2
มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.
วันที่ 3
มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอม และมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงโรคเก๊าท์
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ |
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ คือปัจจัยทางกรรมพันธุ์และภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกรดยูริคสูงในเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับกรดยูริคหรือ สารพิวรีนเข้าไปมากหรือมีการสลายของคลีโอโปรตีนซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ มาก หรือกรดยูริคที่มีอยู่ไม่สามารถถูกขับถ่ายออกมาทางไตได้ตามปกติ ทำให้กรดยูริคคั่งอยู่ในเลือดมากเกิดภาวะยูริคสูงในเลือด อาการของโรคเก๊าท์ระยะแรก มักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใดมักพบในอาการปวดที่หัวแม่เท้า หัวเข่า หรือข้อเท้าก่อน อาการมักเกิดขึ้นภายหลังจากการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงที่ข้อที่อักเสบตึงร้อนเป็นมัน ผู้ป่วยมักมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลียมีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดงแต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขั้นเรื้อรังอาจมีอาการเป็นระยะเนื่องจาก ผลึกยูเรตเ)้นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูก เยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็นทำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อม เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อและเกิดปุ่มขึ้น ที่ใต้ผิวหนังมักเริ่มที่หัวแม่เท้าและปลายหูก่อนข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะ อยู่ อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูปและเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ อาการแทรกซ้อนพบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย ผลึกยูเรตอาจจะสะสมอยู่ในส่วนกรวยไตทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดขวางการทำงานของไตหรือทำลายเนื้อไตทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว การควบคุมอาหารเนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุม สารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพิวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
การจัดอาหาร
ตัวอย่างอาหารจำกัดพิวรีนอย่างเข้มงวด
+++++++++++++++++++++++=+++++++++++++++++++++++++++= |