วิธีรักษาโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับโรคเก๊าท์


8,034 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับโรคเก๊าท์

             วิธีรักษาโรคเก๊าท์

         


แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ

 
1.
รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบ พลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษา อาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
 
2.
ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
 
3.
รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน

การรักษาในระยะเฉียบพลัน

 
1.
จุดประสงค์เพื่อรักษา อาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น
 
2.
ยาต้านการอักเสบชนิดที่ ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน
 
3.
ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
 
4.
การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม
 
5.
การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว
 
6.
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ

การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด

 
1.
การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค
 
2.
ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
 
3.
ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยม ใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
 
4.
ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า
 
5.
ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา

นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้

 
1.
หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิด กรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์
 
2.
พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ
 
3.
ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนิน ชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย
 
4.
ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
                                              แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com                      
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
อาหารกับโรคเก๊าต์
 
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร

             Link     https://www.yourhealthyguide.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์

อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์


ไก่ทอด

อาหารที่ทานกับการเป็นเกาต์ (Men's Health)
เรื่องโดย เจดีย์
          ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือก ๆ แกล้มขาหมูทอดมัน ๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเกาต์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชน ชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ

          ทั้งนี้เกาต์จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้
          มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เกาต์ มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า กรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเอง หลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเกาต์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)
 
          อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสดงต่อร่างกายของเขา) จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ในกรณีของคนที่มีอาการของ โรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง
          คนป่วยโรคเกาต์ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว
          เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเกาต์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง
"ไก่" กับ "เกาต์"
          "อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเกาต์จริง ๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะ ๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเกาต์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ
รู้หรือเปล่าว่า...
          ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยมักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
การหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มี "พิวรีน" สูง
          นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกกับ Men’s Health ว่า "คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมด แต่อาจต้อง "ลด" ปริมาณลง" และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ว่าจะ "งดหรือลดอะไร" หากอยากห่างไกลจากอาการปวดข้ออันทรมาน
          1.ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
              เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
              ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
              ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี)
          2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่
              เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อกระต่าย เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ ไข่นกกระทา
              ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง)
          3.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม ได้แก่
              เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)
          4.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
          แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก (ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ระบุว่า เบียร์มีพิวรีนเยอะสุด) แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นอดใจงดดื่มได้ก็งดเถอะครับ นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกายังรายงานว่า น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วยครับ
อาหารที่แนะนำให้ทาน
          จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ไว้ดังนี้
เชอร์รีสด

          งานวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน
เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลือง
          คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี
          งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
          มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม
น้ำและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
          น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เมนูลดอาการปวดข้อ
          เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
วันที่ 1
          มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
          มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
          มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล
วันที่ 2
          มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
          มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
          มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.
วันที่ 3
          มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอม และมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
          มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
          มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
          ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
         Link    https://health.kapook.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                 อาหารสําหรับโรคเก๊าท์

อาหารที่ควร หรือไม่ควรทาน สำหรับคนเป็นโรคเกาต์

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า "กรดยูริก" คือ สารที่เป็นตัวการทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ สาเหตุสำคัญก็มาจาก "สารพิวรีน" ทั้งที่มีอยู่ในร่างกายและที่มีอยู่ในอาหาร และวิธีการจำกัดอาหาร จะช่วยควบคุมกรดยูริกได้เฉพาะกรดยูริกที่เกิดจากสารพิวรีนที่ได้มาจากอาหาร ที่รับประทานเท่านั้น ในผู้ป่วยโรคเกาต์เอง เมื่อมาพบแพทย์ก็มักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์กลับไปในเรื่องการปฏิบัติตัว การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานบางอย่างที่มีข้อยกเว้น และข้อแนะนำที่สำคัญก็คือ การปฏิบัติตัวให้เกิดขึ้นกับพฤติกรรมการกินที่ผู้ป่วยหลายคนบอกว่า เปลี่ยนไปเพราะโรคเกาต์

อาหารที่ควร หรือไม่ควรทานสำหรับคนเป็นโรคเก๊าต์ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3กลุ่ม ตามปริมาณของสารพิวรีนในอาหาร

1. อาหารที่มีสารพิวรีนมาก

อาหาร ที่มีสารพิวรีนมากจะมีผลต่อการอักเสบของโรคเกาต์ และมีผลอย่างมากต่อการเกิดโรคเกาต์ สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนมากที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่ ตับ, น้ำต้มเนื้อ, น้ำเกาเหลา, ไต, น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น, ตับอ่อน, น้ำซุปใส, ปลาไส้ตัน, น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน, ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์ เช่น เบียร์, หอยเชลล์, ปลาทู, ปลารัง, เนื้อไก่, เป็ด, นก และไข่ปลา

อาหารที่ไม่ควรกินสำหรับคนเป็นเกาต์ อาหารที่ไม่ควรทานสำหครับคนเป็นโรคเกาต์ (gout)

2. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง

อาหาร ที่มีสารพิวรีนปานกลาง ก็ยังถือว่าต้องควบคุมปริมาณการรับประทานซึ่งหมายถึงผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้ ในปริมาณจำกัด สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลางที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อวัว, กระเพาะ, ผ้าขี้ริ้ว, เอ็น, เนื้อหมู, เนื้อปลา, ปู, กุ้ง, หอย, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง, ถั่วเขียว ผัก, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักโขม, เห็ด, ดอกกะหล่ำ, ชะอม รวมทั้ง กระถิน

ควรลดปริมาณเนื้อวัว เนื้อหมู สำหรับคนเป็นเกาต์ เพราะมีสารพิวรีนปริมาณปานกลาง คนเป็นเกาต์ควรงดทานกุ้ง หรือทานในปริมาณพอเหมาะ

3. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย

อาหาร ที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบจะไม่มีสารพิวรีนเลย เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้โดยไม่แสลง สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลยที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรควบคุมปริมาณการรับประทาน ได้แก่ ขนมจีน, เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด, วุ้นเส้น, บะหมี่, เส้นหมี่, ขนมปังปอนด์, มะกะโรนี, ข้าวโพด, แคร็กเกอร์สีขาว, ไข่, นม

อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกาต์ บะหมี่ เป็นอาหารที่มีพิวรีนน้อย เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกาต์

ผลิตผลจากนม เช่น เนยแข็ง ไอศกรีม, น้ำมัน, น้ำมันพืช, กะทิ, เนย, น้ำมันหมู, ผัก, ผลไม้ทุกชนิด, เกาลัด, เม็ดมะม่วงหิมพานต์

ขนมหวานต่างๆ ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ, ชา, โกโก้ และ ช็อกโกแลต

ทั้งนี้ นอกจากการงดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการปฏิบัติตัวอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ ดังนี้

1. ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
2. ดื่มน้ำวันละมากๆ เพื่อช่วยขับถ่ายกรดยูริก
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้าชนิดต่างๆ เบียร์
4. หากจะต้องทำการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคเกาต์ เพื่อป้องกันโรคเกาต์กำเริบหลังผ่าตัด
5.หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามทำจิตใจให้สงบ

           Link   https://www.foodietaste.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด