เมนูอาหารโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เมนูอาหารโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์


56,559 ผู้ชม


เมนูอาหารโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เมนูอาหารโรคเก๊าท์ อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์

              เมนูอาหารโรคเก๊าท์

อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์

อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์

ไก่ทอด

อาหารที่ทานกับการเป็นเกาต์ (Men's Health)
เรื่องโดย เจดีย์
          ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือก ๆ แกล้มขาหมูทอดมัน ๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเกาต์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชน ชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ

          ทั้งนี้เกาต์จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้
          มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เกาต์ มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า กรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเอง หลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเกาต์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)
 
          อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสดงต่อร่างกายของเขา) จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ในกรณีของคนที่มีอาการของ โรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง
          คนป่วยโรคเกาต์ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว
          เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเกาต์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง
"ไก่" กับ "เกาต์"
          "อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเกาต์จริง ๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะ ๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเกาต์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ
รู้หรือเปล่าว่า...
          ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยมักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
การหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มี "พิวรีน" สูง
          นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกกับ Men’s Health ว่า "คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมด แต่อาจต้อง "ลด" ปริมาณลง" และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ว่าจะ "งดหรือลดอะไร" หากอยากห่างไกลจากอาการปวดข้ออันทรมาน
          1.ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
              เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
              ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
              ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี)
          2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่
              เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อกระต่าย เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ ไข่นกกระทา
              ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง)
          3.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม ได้แก่
              เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)
          4.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
          แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก (ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ระบุว่า เบียร์มีพิวรีนเยอะสุด) แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นอดใจงดดื่มได้ก็งดเถอะครับ นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกายังรายงานว่า น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วยครับ
อาหารที่แนะนำให้ทาน
          จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ไว้ดังนี้
เชอร์รีสด

          งานวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน
เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลือง
          คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี
          งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
          มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม
น้ำและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
          น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เมนูลดอาการปวดข้อ
          เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
วันที่ 1
          มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
          มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
          มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล
วันที่ 2
          มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
          มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
          มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.
วันที่ 3
          มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอม และมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
          มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
          มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
          ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เมนูอาหารโรคเก๊าท์

อาหารที่ควร หรือไม่ควรทาน สำหรับคนเป็นโรคเกาต์

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า "กรดยูริก" คือ สารที่เป็นตัวการทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ สาเหตุสำคัญก็มาจาก "สารพิวรีน" ทั้งที่มีอยู่ในร่างกายและที่มีอยู่ในอาหาร และวิธีการจำกัดอาหาร จะช่วยควบคุมกรดยูริกได้เฉพาะกรดยูริกที่เกิดจากสารพิวรีนที่ได้มาจากอาหาร ที่รับประทานเท่านั้น ในผู้ป่วยโรคเกาต์เอง เมื่อมาพบแพทย์ก็มักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์กลับไปในเรื่องการปฏิบัติตัว การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานบางอย่างที่มีข้อยกเว้น และข้อแนะนำที่สำคัญก็คือ การปฏิบัติตัวให้เกิดขึ้นกับพฤติกรรมการกินที่ผู้ป่วยหลายคนบอกว่า เปลี่ยนไปเพราะโรคเกาต์

อาหารที่ควร หรือไม่ควรทานสำหรับคนเป็นโรคเก๊าต์ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3กลุ่ม ตามปริมาณของสารพิวรีนในอาหาร

1. อาหารที่มีสารพิวรีนมาก

อาหาร ที่มีสารพิวรีนมากจะมีผลต่อการอักเสบของโรคเกาต์ และมีผลอย่างมากต่อการเกิดโรคเกาต์ สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนมากที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่ ตับ, น้ำต้มเนื้อ, น้ำเกาเหลา, ไต, น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น, ตับอ่อน, น้ำซุปใส, ปลาไส้ตัน, น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน, ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์ เช่น เบียร์, หอยเชลล์, ปลาทู, ปลารัง, เนื้อไก่, เป็ด, นก และไข่ปลา

อาหารที่ไม่ควรกินสำหรับคนเป็นเกาต์ อาหารที่ไม่ควรทานสำหครับคนเป็นโรคเกาต์ (gout)

2. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง

อาหาร ที่มีสารพิวรีนปานกลาง ก็ยังถือว่าต้องควบคุมปริมาณการรับประทานซึ่งหมายถึงผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้ ในปริมาณจำกัด สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลางที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อวัว, กระเพาะ, ผ้าขี้ริ้ว, เอ็น, เนื้อหมู, เนื้อปลา, ปู, กุ้ง, หอย, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง, ถั่วเขียว ผัก, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักโขม, เห็ด, ดอกกะหล่ำ, ชะอม รวมทั้ง กระถิน

ควรลดปริมาณเนื้อวัว เนื้อหมู สำหรับคนเป็นเกาต์ เพราะมีสารพิวรีนปริมาณปานกลาง คนเป็นเกาต์ควรงดทานกุ้ง หรือทานในปริมาณพอเหมาะ

3. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย

อาหาร ที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบจะไม่มีสารพิวรีนเลย เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้โดยไม่แสลง สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลยที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรควบคุมปริมาณการรับประทาน ได้แก่ ขนมจีน, เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด, วุ้นเส้น, บะหมี่, เส้นหมี่, ขนมปังปอนด์, มะกะโรนี, ข้าวโพด, แคร็กเกอร์สีขาว, ไข่, นม

อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกาต์ บะหมี่ เป็นอาหารที่มีพิวรีนน้อย เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกาต์

ผลิตผลจากนม เช่น เนยแข็ง ไอศกรีม, น้ำมัน, น้ำมันพืช, กะทิ, เนย, น้ำมันหมู, ผัก, ผลไม้ทุกชนิด, เกาลัด, เม็ดมะม่วงหิมพานต์

ขนมหวานต่างๆ ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ, ชา, โกโก้ และ ช็อกโกแลต

ทั้งนี้ นอกจากการงดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการปฏิบัติตัวอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ ดังนี้

1. ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
2. ดื่มน้ำวันละมากๆ เพื่อช่วยขับถ่ายกรดยูริก
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้าชนิดต่างๆ เบียร์
4. หากจะต้องทำการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคเกาต์ เพื่อป้องกันโรคเกาต์กำเริบหลังผ่าตัด
5.หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามทำจิตใจให้สงบ

บทความโดย หนังสือพิพม์เดลินิวส์
  
            Link    https://www.foodietaste.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
  
              อาหารสําหรับคนเป็นโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์

โรคเก๊าฑ์  โดยนพ.สุเมธ เถาหมอ
โรค เก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น  เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

 

สาเหตุ
สา เหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอน
ไปเรื่อย ๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริค ในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยู ริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ผู้ป่วย โรคเก๊าท์งดอาหารใด ๆ ที่มียูริคสูงเลยและการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใดและเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วยที่มี อายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น   เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่า ๆ
อาการ
อา การของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ  ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น  อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นหลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด
การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้ กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4  เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้
2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้  การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง  ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ
 - ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
 การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
 - เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา
มี ผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย  แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้
  
  
อีกบทความหนึ่งวึ่งจะกล่าวถึงการดูแลเรื่องอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ด้วย
 
โรค เก๊าท์ เกิดจากการเผาผลาญพิวรีนในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคคั่งในเลือดสูงแ ลตามข้อเล็ก ๆ และอวัยวะบางแห่ง อาจเกลือโซเดียมยูเรตเกาะอยู่ทำให้เกิดอาการที่อวัยวะนั้นๆ  ส่วนมากอากาศจะเกิดเป็นครั้งคราว มักจะกำเริบมากขึ้น เมื่อบริโภคอาหารพวก นิวคลีโอโปรตีน และไขมันมาก  หรือขณะดื่มแอลกอฮอล์และการออกกำลังกาย ทำให้กรดยูริคมากขึ้น
การกรดยูริคในร่างกายเกิดได้ 2 ทางคือ  

1.เกิด จากกสารพิวรีน  หรือนิวคลิโอโปรตีน  ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่บริโภคส่วนนี้เป็นกรดยูริคที่เกิดจากสาเหตุภาย นอก จำนวนพิวรีนที่เกิดจากอาหารบริโภค  จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนพิวรีนที่มีในอาหาร ถ้าบริโภคอาหาร เครื่องในสัตว์ จะทำให้มีกรดยูริคสูงขึ้น อาหารบางชนิดกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีกรดยูริคเพิ่มมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า กรดยูริคจะเปลี่ยนแปลงไปตามอาหารบริโภคที่มีโปรตีน การออกกำลังกาย และตามการทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร
2.เกิด จากสารพิวรีน ที่ได้จากการสลายตัวของพวกเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย เป็นกรดยูริคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย กรดยูริคที่เกิดจากส่วนนี้ ย่อมจะเปลี่ยนไปตามการสลายตัวของอวัยวะ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น หรือมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
อาการของโรคเก๊าท์
1.ระยะ แรกมักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใด  มักพบอาการปวดที่หัวแม่เท้าก่อน  อาการมักเกิดขึ้นภายหลังการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมาก ๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงข้อที่อักเสบจะตึงร้อน เป็นมัน ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น  ใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน
2.ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขึ้นเรื้อรัง อาจมีอาการเป็นระยะ ๆ เนื่องจากผลึกยูเรตเป็นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูกเยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม  เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้ที่เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อ และเกิดปุ่มขึ้นที่ใต้ผิวหนัง มักเริ่มที่หัวแม่เท้า และปลายใบหูก่อน ข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะอยู่  อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูป และเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ
3.อาการแทรกซ้อน  พบว่า  ร้อยละ 25  ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย  ผลึกยูเรตอาจสะสมอยู่ในส่วนหมวกไต ทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดการทำงานของไต หรือทำลายเนื้อไต ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว
การควบคุมอาหาร เนื่องจาก กรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) 
1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2.ไข่ 3.ธัญญพืชต่าง ๆ 4.ผักต่าง ๆ 5.ผลไม้ต่าง ๆ 6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) 8.ไขมัน
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) 
1.เนื้อหมู 2.เนื้อวัว 3.ปลากระพงแดง 4.ปลาหมึก 5.ปู 6.ถั่วลิสง 7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ 9.ข้าวโอ๊ต 10.ผักโขม 11.เมล็ดถั่วลันเตา 12.หน่อไม้
อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป)    * อาหารที่ควรงด 
1.หัวใจ ไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง
การกำหนดอาหาร 
อาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว
1.พลังงาน  ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้  เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น  แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง  ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่
2.โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก
3.ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย
4.คาร์โปไฮเดรท  ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ  และผลไม้  ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย
5.แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์  จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง
การจัดอาหาร

ใน การจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด  ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ
1.ในระยะที่มีอาการรุนแรง  ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต
2.งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด  และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
3.จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5.อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น
 
 
             Link           https://www.vibhavadi.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               

อัพเดทล่าสุด