15 โรคหน้าฝน รับมือโรคหน้าฝน โรคหน้าฝน 2555
15 โรคหน้าฝน
เตือนประชาชนระวัง 15 โรคหน้าฝน หวั่นเชื้อแพร่ระบาดได้ง่าย
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศที่ชื้นเย็น ทำให้เชื้อโรค หลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ที่สำคัญเช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู ไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัดนก เป็นต้น ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาลทุกแห่ง จับตาเป็นพิเศษตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 ขอให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด โดยโรคที่ต้องติดตามต่อเนื่องคือโรคไข้หวัดนก ที่แพร่ระบาดมาจากสัตว์ปีก ซึ่งในไทยไม่พบผู้ป่วยมาเป็นเวลาเกือบ 6 ปี แต่ประมาทไม่ได้ เพราะหากมีโรคนี้เกิดขึ้นในฤดูฝน เชื้ออาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนที่อยู่ในช่วงระบาดใน ฤดูฝน โดยได้ให้กรมควบคุมโรคออกประกาศคำเตือนประชาชน เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ไม่ให้เจ็บป่วย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่มักมาพร้อมกับฤดูฝนที่พบบ่อยมี 5 กลุ่ม รวม 15 โรค ได้แก่ 1.กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร ที่พบบ่อย มี 5 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ และตับอักเสบ สาเหตุเกิดจากกินอาหาร ดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือกินสุกๆ ดิบๆ 2.กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย 5 โรค ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ และโรคปอดบวม โดยเฉพาะโรคปอดบวม มีอันตรายอาจถึงชีวิตได้ อาการเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็วหรือ หอบเหนื่อย 3.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคไข้ฉี่หนู อาการเด่นของโรคนี้คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะมักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง
4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) ตัวนำโรคมาจากยุงรำคาญ ซึ่งมักแพร่พันธุ์ตามแหล่งน้ำในทุ่งนา และโรคมาลาเรีย ซึ่งมียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่าเป็นพาหะนำโรค ทั้ง 3 โรคนี้ อาการเริ่มจากมีไข้สูงปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ อาจทำให้พิการภายหลังได้ และ 5.กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก กระเด็นเข้าตา
ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในช่วงฤดูฝนในปี 2554 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน พบผู้ป่วยจาก 15 โรค ฤดูฝน 658,429 คน มากที่สุด คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 397,703 คน รองลงมาคือโรคปอดบวม 63,945 คน และไข้หวัดใหญ่ 32,950 คน เสียชีวิตรวม 551 คน อันดับ 1 จากปอดบวม 401 คน โรคฉี่หนู 74 คน ไข้เลือดออก 40 คน และอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 21 คน
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Link https://www.thaihealth.or.th/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รับมือโรคหน้าฝน
ตรียมตัวให้พร้อม รับมือ กับ(โรค)หน้าฝน
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
ใน ช่วงรอบเดือนที่ผ่านมาสภาพอากาศของบ้านเรา ต้องเจอกับสายฝนที่โปรยปรายหนักเกือบทั่วทุกที่ของประเทศ ทำให้ผู้คนที่ใช้ชีวิตประจำวันต้องปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวันให้สอด คล้องเข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศแบบนี้
การ ดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝนของแต่ละคนจึงมีความสำคัญ เนื่องจากฤดูมรสุมแบบนี้ไม่ได้มีแค่สายฝนที่เทกระหน่ำลงมาเพียงอย่างเดียว แต่บรรดาสารพัดโรคชนิดต่างๆ ก็อาศัยในช่วงฤดูนี้ออกมาระบาดสู่คนในสังคมเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ประกาศเตือนให้ เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ เป็นช่วง 90 วันอันตรายและให้สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่งเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยโรคที่ต้องระวังเป็นพิเศษ แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มรวม 15 โรคได้แก่
1. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ สาเหตุเกิดจากกินอาหารดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือกินอาหารสุกๆ ดิบๆ
2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง โดยโรคที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ ไข้ฉี่หนู อาการเด่น คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรงและตาแดง
3. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย
4. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค คือ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบเจอี มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรคและโรคไข้มาลาเรีย มียุงก้นป่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหนะนำโรค ทั้ง 3 โรคนี้ อาการเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศรีษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ อาจทำให้พิการภายหลังได้ และ
5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
ขณะเดียวกัน ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน
นอกจากจะดูแลในเรื่องสุขภาพ แล้ว หน้าฝนแบบนี้ ปัญหาหนึ่งที่น่าห่วงคือ เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะเป็นที่เข้าใจในกลุ่มผู้ใช้รถอยู่แล้วว่า ถ้าฝนตกโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากถนนที่ ลื่นและทัศนวิสัยในการมองเห็นขณะขับรถก็ไม่ชัดเจน ดังนั้น การเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถก็มีส่วนช่วยให้การเดินทางปลอดภัยมากยิ่ง ขึ้น และควรตรวจเช็คหรือเตรียมสภาพความพร้อมของรถที่จะใช้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น สัญญาณไฟต่างๆ ที่ ปัดน้ำฝน ควรตรวจว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ รวมถึงเรื่องของระบบเบรคที่ควรเช็คให้สามารถใช้งานได้ดีในสภาพถนนเปียกลื่น ในส่วนของยางรถ ก็ต้องดูว่าสภาพยางยังพร้อมใช้งาน โดยการสังเกตที่ดอกยางว่ายังละเอียดอยู่หรือไม่ นอกจากนั้นการเติมลมยางให้มีแรงดันลมมากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อให้หน้ายางแข็ง ซึ่งจะช่วยให้ยางมีกำลังในการรีดน้ำดียิ่งขึ้น
ในเรื่องของการขับรถในขณะฝนตก อันดับแรกเลยคือการใช้ความเร็วที่ไม่เร็วมากคือไม่ควรเกิน60 กม./ชม. เพราะหากใช้ความเร็วมากโอกาสที่รถจะไถลออกถนนเป็นไปได้สูง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาจะชะล้างคราบดินและฝุ่นละอองที่ติดอยู่บนพื้นถนน ซึ่งมีลักษณะคล้ายการละเลงโคลน และถ้าหากใช้ความเร็วสูงก็อาจทำให้รถไถลจนเกิดอุบัติเหตุได้
นอก จากนั้นการขับรถก็ไม่ควรขับรถชิดคันหน้ามากเกินไป เนื่องจากสภาพถนนที่เปียกลื่น ทำให้ต้องใช้ระยะทางในการหยุดรถเพิ่มขึ้น ผู้ขับขี่ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากกว่าการขับขี่ในช่วงปกติ 10-15 เมตร เพื่อให้สามารถหยุดรถได้ทัน
หน้า ฝนในปีนี้ถึงแม้ฝนจะตกหนักมากเพียงใด แต่หากเราดูแลสุขภาพอนามัยของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่นการออกกำลังกายให้ร่างกายอบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สะอาด เพียงแค่นี้เราก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันในช่วงที่ฝนเทลงมาได้อย่างมีความสุข โดยที่โรคร้ายต่างๆ ไม่กล้าอย่างกรายเข้ามา
ที่มา: คมสัน ไชยองค์การ Team content www.thaihealth.or.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคหน้าฝน 2555
เมืองน่านคุมเข้มโรคหน้าฝน หลังพบโรคมือเท้าปากระบาดในเด็ก
เมื่อเวลา 09.00 น.นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน พร้อมเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและอนามัยเข้าตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนใน โรงเรียนสามัคคีวิทยา (เทศบาลบ้านพระเนตร) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้ออกให้คำแนะนำแก่ เจ้าหน้าที่ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก พร้อมทั้งให้ครูอาจารย์ ผู้ดูแลเด็กสอนวิธีการล้างมืออย่างถูกวิธีให้กับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้น อนุบาลถึงมัธยมศึกษา เพื่อป้องกันโรคที่มากับฤดูฝน โดยเฉพาะมือ เท้า ปาก หลังพบในพื้นที่จังหวัดน่าน เริ่มมีการระบาดของโรคมือเท้าปากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 10 ปี จำนวน กว่า 10 ราย กระจายอยู่ใน 3 - 4 อำเภอ โดยให้แยกเด็กที่ป่วยไปพักรักษาตัวที่บ้านรออาการหายดีถึงจะให้กลับมาเรียน ได้ ซึ่งในขั้นแรกเด็กจะมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ มือเท้า ปากเป็นตุ่มมีแผลเบื่ออาหาร อาเจียน นอกจากนั้น ยังพบโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดน่านมีผู้ป่วยอีก 31 ราย จากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนไม่พบเป็นโรคมือเท้าปากและไข้เลือดออก
นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า แม้จะยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคมือเท้าปากและไข้เลือดออกในเด็กนักเรียน โรงเรียนดังกล่าว แต่ก็พบว่า เด็กมีอาการไข้หวัดหลายราย จึงแนะนำให้ทางเจ้าหน้าที่ครูผู้ดูแลเด็กเล็กได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้า หน้าที่สาธารณสุข โดยการฝึกให้เด็กรู้จักวิธีการล้างมือด้วยเยลฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี และมีการทำความสะอาดเก็บรักษาของเล่นเด็กอย่างดีเพื่อป้องกันโรคที่เป็น อันตรายสำหรับเด็กเล็กโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปากที่กำลังมีการระบาดตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดน่าน โดยเน้นการป้องกันเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยของร่ายกาย ผู้ปกครองควรหมั่นตัดเล็บเด็กให้สั้น ทำความสะอาดล้างมือเท้าอย่างถูกวิธี รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ สถานที่สะอาด รวมทั้งของเด็กเล่นต่างๆ ต้องหมั่นทำความสะอาดด้วย ขณะนี้ ในจังหวัดน่านยังไม่พบสายพันธุ์ที่มีอาการรุนแรง แต่ก็ได้เข้มงวดในการป้องกันอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้ระบาดไปมากกว่านี้ต่อไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++