การรักษาความดันต่ำ ความดันต่ำ ทำไง การรักษาความดันต่ำ
การรักษาความดันต่ำ
วามดันต่ำ
จันทร์/กรุงเทพฯ : ผู้ถาม
ผม มีปัญหาของเพื่อนจะมาขอ เรียนปรึกษาคุณหมอครับ คือเพื่อนผม มักจะมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ บ่อยครั้ง ซึ่งวัดความดันเลือดได้ค่าB.P. = ๘๐/๖๐ มิลลิเมตรปรอท
ขอเรียนถามคุณหมอดังนี้
๑. จากตัวเลขที่วัดได้แสดงว่า ความดันต่ำใช่หรือไม่
๒. ถ้าหากเกิดหน้ามืดล้มลง จะ มีวิธีช่วยเบื้องต้นอย่างไรก่อนจะนำส่งโรงพยาบาล
๓. การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำประจำจะต้องทำอย่างไรบ้าง
หวังว่าคุณหมอคงจะกรุณาตอบ ปัญหาให้ด้วยนะครับ
นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ : ผู้ตอบ
อาการ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะเป็นปัญหาที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เรามักจะทึกทักเอาว่าเกิดจากความ ดันเลือดต่ำเกินไป โดยเฉพาะถ้าไป วัดความดันเลือดแล้วพบว่าความดัน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติของคนทั่วๆไปทั้งๆ ที่ความดันก็ต่ำอย่างนี้มาเป็นปีๆ แล้ว แต่ไม่เคยวัด เลยไม่ทราบพอมีอาการอะไรก็ลองวัดความดันดู แล้วเราก็โทษว่าความดันต่ำทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ
ดังนั้น ผู้ใหญ่ทุกคนน่าจะวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อ จะได้ทราบความดันปกติของเราขณะ ที่เราสบายดีว่ามีระดับเท่าไร และตรวจดูว่าเราเป็นโรคความดันเลือดสูง หรือไม่ (ถ้าวัดได้สูงกว่า ๑๔๐/๙๐มิลลิเมตรปรอท หลายๆ ครั้ง ถือว่าเป็น โรคความดันเลือดสูง) และพอเวลามี อาการดังกล่าว แล้ววัดความดันเลือด ได้ต่ำกว่าระดับปกติของเราเกิน ๑๐ ถึง ๒๐ มิลลิเมตรปรอท จึงน่าจะเชื่อ ได้ว่าความดันต่ำเกี่ยวข้องกับอาการ หน้ามืดเวียนศีรษะ แล้วค่อยไปหาอีกทีหนึ่งว่าทำไมความดันถึงต่ำ และ หาทางป้องกันหรือรักษาต่อไป
ส่วนคำถามที่ถามมา ผมขอตอบปัญหาเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
๑. ทาง การแพทย์ตะวันตก ไม่ได้ให้ตัวเลขความดันเลือดไว้ว่าระดับเท่าไรจึงถือว่าความดันต่ำ ทั้งนี้ เพราะคนที่ความดันเลือด ๘๐/๖๐ มิลลิเมตรปรอท (ในท่านั่ง) ก็เป็น ความดันปกติของคนนั้นๆ ได้ ถ้าเขา ไม่รู้สึกถึงความผิดปกติอะไร ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เราตรวจพบอยู่บ่อยๆ ว่าคุณยายอายุ ๗๐ ปี หรือเด็กวัยรุ่น ที่มีความดันระดับนี้ก็สบายดี ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าความดันเลือดขณะ ปกติ เท่ากับ ๑๑๐/๘๐ มิลลิเมตร-ปรอท ระดับความดันที่ ๘๐/๖๐ มิลลิเมตรปรอท ก็ถือว่าต่ำ (กว่าปกติของคนคนนั้น)
ในกรณีที่เรา ไม่รู้ค่าความดันปกติ และมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ในท่ายืน ให้ลองวัดความดันในท่านั่งและท่ายืน ถ้าความดันตัวบน (ค่า ความดันตัวแรก) ในท่ายืนต่ำกว่าท่านั่งเกิน ๑๕ มิลลิเมตรปรอท เช่น ความดันในท่านั่งวัดได้ ๑๐๐/๘๐ ท่า ยืนได้ ๘๐/๗๐ มิลลิเมตรปรอท น่าจะแสดงว่าอาการดังกล่าวเกิดจากความดันเลือดต่ำ
๒. การช่วยผู้เป็นลม หน้ามืดล้มลง ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบในที่อากาศถ่ายเทได้ดี (ไม่ควรมุงดู) ยก เท้า ๒ ข้างสูงกว่าระดับหน้าอก เช่น ยกพาดบนเก้าอี้เตี้ยๆ เพื่อเพิ่มเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง สังเกตดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ ลักษณะการหายใจผิดปกติหรือไม่ คลำชีพจรที่คอเต้นอยู่หรือไม่ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจหรือคลำชีพจรไม่ได้ ต้องเริ่มการกู้ชีวิตเบื้องต้น (basic life support) โดย การช่วยหายใจและ/หรือนวดหัวใจซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้
แต่ถ้าผู้ป่วยหายใจ ได้ดี ชีพจรคลำได้ อาจให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดม ไม่ควรให้ยาหรือของเหลวใดๆ ใส่ปากผู้ป่วยขณะที่ยังไม่รู้ตัว เพราะ จะสำลักลงหลอดลมได้ ถ้าล้มลงศีรษะ กระแทกพื้นอย่างแรง อาจมีการบาดเจ็บที่คอหรือสมองได้ เวลาเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจะต้องหาอะไรหนุนคอ และยึดให้คอและศีรษะอยู่กับที่ เพื่อป้องกันการกดทับไขสันหลังที่คอ
๓. คนทั่วไปที่ความดันปกติต่ำกว่า ๑๐๐/๗๐ มิลลิเมตรปรอท แม้จะไม่มีอาการอะไร มักจะเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืดจะเป็นลมได้ง่าย กว่าเวลาที่เกิดการเสียน้ำหรือเลือดเช่น ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระสีดำเหมือน เฉาก๊วย (มีเลือดออกทางเดินอาหาร) หรือเวลาเครียด เวลาหิว พักผ่อนไม่ พอ อดหลับอดนอน ยืนนานๆ ในที่อากาศอบอ้าว ร้อน ฝุ่นควันมาก
ส่วนใหญ่มักเป็นในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ทนต่อ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ดีเท่า คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อย วันละ ๒๐ นาที สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๑ ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงเหตุ ที่ทำให้เป็นลมดังกล่าวข้างต้น
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
ความดันต่ำ ทำไง
ที่เราพูดว่าความดันต่ำ บางทีอาจจะไม่ได้ต่ำจริงก็ได้นะครับ เราต้องดูว่ามีปัญหาฮอร์โมน เกลือแร่ต่ำอะไรแบบนี้รึเปล่า
ความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกัน ส่วนใหญ่ไม่ใช่โรค มักจะเป็นอาการพวกลุกแล้วเวียนหัวมึนๆ เป็นเรื่องของร่างกายไม่ค่อยฟิต เขาเรียกว่า ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า (Autostatic Hypotension) พวกนี้เราจะเห็นว่าบางที คนอายุมากๆ เราจะเห็นว่าเวลานอนลุกตอนเช้าก็ล้มเพราะลุกเร็วเกินไป ต้องตะแคงตัวค่อยๆ ดัน มิเช่นนั้นจะวูบ มึน สาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะระบบร่างกายที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงมาข้าง ล่าง ทีนี้ถ้าเลือดไหลลงมามากเกินไป คราวนี้ก็มีผลทำให้เลือดส่วนที่เลี้ยงสมองน้อยลงไปแป๊บนึง ทีนี้ร่างกายก็จะมีระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยทำหน้าที่ทำให้เส้นเลือดแถวคอ แถวหน้าอก กันไว้ไม่ให้เลือดมันไหลลงมาเร็วเกินไป หากอายุมาก ปอดไม่ดี หรือกินยาความดันบางอย่างอาจทำให้ระบบควบคุมนี้เสียไปได้
ทีนี้ก็ต้องดูว่าเค้าออกกำลังกายดีมั้ย พวกนี้ปกติออกกำลังกายจะช่วยให้ดีขึ้น บางทีนอนพักผ่อนไม่พอก็ทำให้เป็นได้ หากนอนให้พอและออกกำลังกาย พอร่างกายฟิตหน่อย อาการก็จะดีขึ้นแล้ว แต่ไม่ถือว่าเป็นโรคครับ
นพ. วีระเดช สุวรรณลักษณ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ ร.พ. พญาไท 1
Link https://www.lisaguru.com/
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การรักษาความดันต่ำ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สมองอยู่มากเหมือนกัน คือเรื่องของ ความดันโลหิตต่ำ (HYPOTENSION)
ผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพกลัวกันมากๆอยู่ โรคหนึ่ง คือ โรคความดันโลหิตสูง (HYPER� TENSION) กลัวนักกลัวหนาจนกระทั่งว่าเวลาไปขอประกันชีวิต ที่บริษัทประกันชีวิตที่ไหนก็ตาม เขามักจะขอให้ไปตรวจโรคดูก่อน ถ้าพบว่าความดันโลหิตสูงมาก บริษัทประกันชีวิตนั้นๆ มักจะไม่รับประกัน
แต่ถ้าความดันโลหิตต่ำซึ่งตรงกันข้ามกับความดันโลหิตสูง บริษัทรับประกันชีวิตมักจะมองข้ามไป รับประกันชีวิตโดยไม่ลังเล
และถ้าไปคุยกับใครซึ่งรู้เรื่องการแพทย์หรือเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเสีย หน่อย บอกกับเขาว่า “ฉัน เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ” ก็มักจะได้รับคำทักว่า “ดีซิไม่ได้เป็นความดันสูงไม่เห็นจะน่ากลัวอะไร”
เรื่องของเรื่องก็คือ ความดันต่ำไม่เป็นอันตราย ก็จริง แต่ก็คงจะทำให้คุณเป็นคน อ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานทำการแบบออกแรงหน่อยก็ทำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น
ความดันโลหิตโดยทั่วๆไปสำหรับผู้ ใหญ่นั้น ถ้าเกิน 140/90 ขึ้นไป ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร หรือถ้าต่ำกว่า 100/60 ก็ถือว่าต่ำเกินควร
ตัวเลขเหล่านี้เราจะรู้ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต (SPHYG MOMANOMETER) ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดที่ต้องใช้หูฟัง (STETHOSCOPE) หรือจะเป็นเครื่องวัดอัตโนมัติแบบที่เรียกว่าดิจิตอลก็ได้
ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอสองประการ คือ จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่อง มาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ
สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่ คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ
อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง เวียนหัว หัวหมุนและคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงาน หนักไม่ค่อยจะได้ เหนื่อยง่าย ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คงเป็นเพราะว่า “คนเอว บางร่างน้อยไม่ค่อยมี เรี่ยวมีแรงอย่างนั้นแหละ”
ส่วนที่ความดันโลหิตต่ำเพราะมีโรคภัยเฉพาะหน้าเกิดขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นเพราะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะ อุบัติเหตุเสียเลือดมาก หรือมีสิ่งที่เป็นท้อกซิน มากเข้าสู่ร่างกายอย่างกะทันหัน หรือต้องรับยาเคมีบางอย่าง เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต้องรับเคมีบำบัด และต้องใช้รังสีบำบัด เป็นต้น
ขอพูดถึงวิธีแก้สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่ คงจะต้องตรวจเลือดก่อน แล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรก ต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด) แล้วดูเฮมาโตคริต (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด)
ถ้าชนิดของเลือดเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างแน่ใจว่าโลหิตจาง และถ้าวัดความดันโลหิต ว่าต่ำกว่าเกณฑ์ก็ต้องให้เลือดเป็นการด่วน แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์นะครับ คุณทำเองไม่ได้ เมื่อแก้อาการโลหิตจางตามนี้ได้แล้ว ความ ดันโลหิตของคุณน่าจะขึ้นมาได้อยู่ในระดับปกติ
แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษก็คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือดออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอน
ฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่ พบอาการผิดปกติอย่างอื่น ให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วนนะครับ
อ้อ โรคเฉพาะหน้าที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำอีกอย่างหนึ่งและไม่ค่อยมีใครสังเกตพบ ก็คือ ผู้ที่เป็นหวัดอย่างแรง หรือไปติดเชื้อหวัดใหญ่มา ความดันโลหิตมักจะต่ำ แต่ก็ไม่มีใครค่อยสังเกต เพราะถ้าใครเป็นหวัดใหญ่ ก็มักจะให้คนไข้นอนพัก ให้ยาแก้ไข้ ให้อาหารบำรุงไม่กี่วันก็จะหาย
แต่ข้อสังเกตนะครับ ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย ก็จะหายเร็วขึ้นแน่ๆ
ทีนี้ก็มาถึงการแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำโดยทั่วไป
1. แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้
จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
คุณอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15% ตามสูตรหนึ่งของเรา
2. กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.
และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด
3. แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน
4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด
5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3 ครั้ง
6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง
จาก.. คอลัมน์ชีวจิต หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++