ผลกระทบการขาดสารอาหารประเทศแอฟริกา การขาดสารอาหารประเทศแอฟริกา จัดเวทีประชาคม เด็กขาดสารอาหาร
ผลกระทบการขาดสารอาหารประเทศแอฟริกา
ชาวแอฟริกันนับพันอดตายจากความช่วยเหลือล่าช้า
ออกซ์แฟมและเซฟ เดอะ ชิลเดรน (Save the Children) องค์กรให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ประชาชนในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกหลายพันคนต้องเสียชีวิตจากการขาดอาหาร เนื่องจากประชาคมโลกไม่ใส่ใจในระบบการเตือนภัยภาวะขาดแคลนอาหารล่วงหน้าของ องค์กรระหวางประเทศต่างๆ ทำให้การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันการณ์
จากรายงานขององค์กรระหว่างประเทศดังกล่าว ในปี 2554 จำนวนผู้เสียชีวิตจากการขาดแคลนอาหารในเคนยา เอธิโอเปีย และโซมาเลีย อยู่ในระหว่าง 50,000-100,000 ราย โดยการที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลเคน ย่าและเอธิโอเปียไม่ยอมรับว่าการขาดแคลนอาหารในประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น คือการที่นานาชาติให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยล่าช้าเกินไป เนื่องจากรัฐบาลผู้บริจาคส่วนใหญ่ต้องการหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับภัย พิบัติในการตัดสินใจอนุมัติความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างๆ ทำให้ความช่วย เหลือส่วนใหญ่ล่าช้าเกินไป ส่งผลให้ชาวแอฟริกันจำนวนมากต้องเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น
ทั้งนี้ รายงานของออกซ์แฟมยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลนานาชาติควรให้ความสำคัญกับการแจ้งเตือนภาวะขาดแคลนอาหารล่วงหน้าโดย องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ซึ่งสามารถพยากรณ์การเกิดภาวะอดอยากได้ล่วงหน้าถึง 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่าช้าดังกล่าวอีก
Link https://news.voicetv.co.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การขาดสารอาหารประเทศแอฟริกา
จะกล่าวว่า ปี พ.ศ 2554 เป็นปีแห่งภัยธรรมชาติก็ว่าได้ ตั้งแต่แผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่ญี่ปุ่นในเดือนเมษายน หมอกควันจากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ซึ่งก่อให้เกิดหมอกควันเป็นอุปสรรคต่อการเดิน ทางทางอากาศภายในยุโรปในเดือนพฤษภาคม น้ำท่วมในประเทศจีน คลื่นความร้อนในยุโรปตะวันออกและในสหรัฐอเมเริกา ภูเขาไฟในอินโดนีเซีย น้ำท่วมและดินถล่มในเกาหลีใต้ รวมถึงอุทกภัยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่เป็นผลจากพายุ หมุนนกเต็น ภัยธรรมชาติเหล่านี้ไร้พรมแดน ไม่มีประเทศใดสามารถหลุดพ้นการได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ไปได้ ภัยพิบัติเหล่านี้ไม่มีพาสปอร์ต และไม่ต้องการวีซ่าในการเข้าไปทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชากร ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ธรรมชาติมีอิทธิพลเหนือการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน มนุษย์ต้องปรับตัวเข้าหาธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด ซึ่งการปรับตัวของประชากรในส่วนต่างๆ ของโลกย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและลักษณะภูมิประเทศ
ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ 2554 ประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคจงอยแอฟริกา (Horn of Africa) กำลังประสบภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี ในทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลกนี้ ประชากรประมาณ 13 ล้านคน กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภัยแล้ง โดยเฉพาะในประเทศโซมาเลียที่รัฐบาลขาดศักยภาพในการดูแลประชาชน ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ประชากร 6 ใน 10,000 คนเสียชีวิตทุกวันเพราะขาดอาหารและน้ำดื่มที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การที่ไม่มีฝนตกติดต่อกันยาวนานถึง 9 เดือนในภูมิภาคนี้ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลงถึงขีดสุด และทำให้ฝูงปศุสัตว์ที่เป็นปัจจัยหลักในการหาเลี้ยงชีพของประชากรในภูมิภาค นี้ล้มตายเป็น จำนวนมากเนื่องจากขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ในบางกรณี ประชาชนต้องนำหญ้าแห้งจากหลังคาบ้านมาใช้แทนอาหารเลี้ยงฝูงปศุสัตว์ของตน เพื่อยื้อชีวิตของสัตว์เหล่านั้นให้นานที่สุด อีกทั้งราคาอาหารในภูมิภาคนี้ก็ถีบตัวขึ้นสูงถึง 135% เมื่อเทียบกับราคาอาหารในปี พ.ศ 2553 ดังนั้น เมื่อฝูงสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพหลักล้มตายลง ประชาชนจึงขาดปัจจัยในการซื้อหรือแลกอาหารมาประทังชีวิต เป็นเหตุให้ประชาชนชาวโซมาเลียจำนวนมากเดินทางอพยพไปยังค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยในเมือง Dadaab ประเทศเคนยา เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางด้านอาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรค ซึ่งในขณะนี้มีจำนวนผู้อพยพมากเกินกว่าที่ค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะรับมือได้ เนื่องจากอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค รวมถึงที่พักอาศัยไม่เพียงพอ โดยผู้อพยพจะเดินทางโดยเท้าเป็นเวลาหลายสิบวันเพื่อหาความช่วยเหลือจากค่าย ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ในหลายๆ กรณี ผู้อพยพที่ขาดอาหารและน้ำดื่มมาเป็นเวลาหลายวันมีอาการป่วยหนักและเสียชีวิต ระหว่างทาง หรือภายหลังจากที่มาถึงค่ายลี้ภัยเพียงไม่กี่วัน อัตราการเสียชีวิตจะสูงเป็นพิเศษในกรณีที่ผู้ลี้ภัยเป็นเด็กเล็ก กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF แถลงการณ์ว่า เยาวชนในประเทศโซมาเลีย เคนยา และเอธิโอเปียกว่าสองล้านคนกำลังอยู่ในสภาวะขาดสารอาหาร โดยในจำนวนนี้มีเยาวชน 5 แสนคน ที่มีอาการขาดสารอาหารรุนแรงในระดับที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
การให้ความช่วยเหลือของนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงองค์การของสหประชาชาติ เช่น UNICEF และโครงการอาหารโลก (WFP) เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยแล้งครั้งนี้อยู่ในประเทศ โซมาเลียซึ่งอยู่ในพื้นที่อิทธิพลของกลุ่ม al-Shabaab ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่ต่อต้านรัฐบาลโซมาเลีย และมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลไคดา โดยองค์การที่ถูกกลุ่ม al-Shabaab ห้ามเข้าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ Care, International Medical Corps, UNDP รวมถึง WFP ซึ่งเป็นองค์การที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับ อาหารและน้ำดื่มซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้ประสบภัยมากที่สุดในขณะนี้ การขนส่งปัจจัยความช่วยเหลือก็เป็นไปได้อย่างยากลำบากเนื่องจากมีการรีดไถ และจับตัวประกันในบริเวณเหล่านั้น อีกทั้งน่านน้ำโซมาเลียยังจัดเป็นเขตน่านน้ำที่อันตรายที่สุดในโลกเนื่องจาก ภัยจากโจรสลัด ทำให้การขนส่งปัจจัยความช่วยเหลือจำพวกอาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรคทางน้ำเป็นไปได้ยาก อีกหนึ่งอุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภูมิภาคนี้ คือ ระยะเวลาขนส่งปัจจัยความช่วยเหลือซึ่งกินเวลานานประมาณ 7-12 วันต่อการขนส่งหนึ่งครั้ง ทางองค์การ UNICEF รายงานว่าการขนส่งอาหารที่จำเป็นต่อการรักษาอาการขาดสารอาหารจำพวกถั่ว เหลือง ใช้เวลาในการจัดหาและขนส่งนานถึง 20 วันจากประเทศอินเดีย และระยะเวลาในการขนส่งจะยาวนานกว่านี้ถึงหนึ่งเท่าตัวหากวัตถุดิบมาจากทวีป ยุโรป การขนส่งที่เป็นไปได้อย่างยากลำบากและกินเวลานาน หมายถึงความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่ล่าช้าและไม่ทันการณ์ ทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้ป่วยลดน้อยลง บางครอบครัวที่มีลูกหลายคน พ่อแม่ถึงกับต้องตัดสินใจที่จะปล่อยให้ลูกที่มีสุขภาพอ่อนแอตายเพื่อที่จะ รักษาชีวิตของลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงกว่าเอาไว้
เหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับประชากรในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ภูมิภาคนี้เปรียบเสมือนผู้ป่วยที่ถูกรุมเร้าโดยภัยแล้ง เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และราคาอาหารที่มีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆมาโดยตลอด หากภัยแล้งครั้งนี้จัดว่าเป็นภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี ซึ่งมีความรุนแรงเกินขีดความสามารถของรัฐบาลในประเทศเหล่านี้จะดูแลประชากร ของตนได้ แต่ทว่าความช่วยเหลือจากนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศยังเป็นไปได้ด้วย ความยากลำบาก ล่าช้า และไม่เพียงพอ
ในยุคปัจจุบันที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์ต้องปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ และวางแนวทางป้องกันและบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้จาก ภัยธรรมชาติเหล่านี้ ทว่าแต่ละประเทศมีขีดความสามารถรวมถึงปัจจัยที่ต่างกัน และประเทศในแถบทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะบริเวณจงอยแอฟริกานี้ จะมีโอกาสตั้งรับภัยธรรมชาติเหล่านี้น้อยมาก ประเทศในแถบนี้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง รัฐบาลขาดศักยภาพในการดูแลประชาชนของตน ประชากรมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเนื่องจากขาดสารอาหาร การเกษตรไม่เป็นผล และการปศุสัตว์ล้มเหลวเนื่องมาจากภัยแล้งที่ต่อเนื่องมายาวนาน เมื่อภัยธรรมชาติเหล่านี้ไม่มีพรมแดน ความช่วยเหลือและน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ที่กำลังประสบภัยก็ควรที่จะไม่มี พรมแดนขวางกั้นเช่นกัน ในขณะที่โลกใบใหญ่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยกันนี้ กำลังทำการทดสอบความสามารถในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ทุกคน ในเมื่อเราไม่ใช่ไดโนเสาร์ และเราเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีความเจริญก้าวหน้าสูงสุดบนโลกใบนี้ เราก็ไม่ควรจะเพิกเฉยเพียงเพราะคิดว่าภัยพิบัติเหล่านั้นมันยังมาไม่ถึงตัว เรา ในเมื่อธรรมชาติได้ส่งสัญญานเตือนภัยมามากมายหลายครั้ง หากเราไม่ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และเตรียมรับมือกับภัยที่อาจจะมาถึงตัวเราได้ทุกเมื่อแล้ว ในอนาคตข้างหน้าเผ่าพันธุ์มนุษย์อาจะเป็นเพียงเผ่าพันธุ์ในประวัติศาสตร์ดัง เช่นไดโนเสาร์ที่เรารู้จักก็เป็นได้
จัดเวทีประชาคม เด็กขาดสารอาหาร
การทำเวทีประชาคมเรียนรู้งานอนามัยแม่และเด็ก โดยการมีส่วนร่วม 2
ขอเล่าต่อเนื่องนะคะ เมื่อเสร็จพิธีการเปิดและ พี่วนิดาก็ให้ทุกคนแนะนำตัวเอง ทำกิจกรรมให้ถอดตำแหน่ง อายุออก กล้าพูดคุยกันมากขึ้น และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากจะบอกว่ากระบวนการของการประชุมกลุ่มตัวผู้เขียนและพี่วนิดา เรากระซิบ และปรับเปลี่ยนวิธีการกันตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับบรรยากาศ และเวลา เราตั้งโจทย์ให้กลุ่มคิดว่าคาดหวังอะไรในการมาร่วมประชุมครั้งนี้
ใครอย่าไปยืนกลางวงนะ แก่ไม่รู้ด้วยเพราะทุกคนเอาอายุ และตำแหน่งมากองใว้
ต่อจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์ว่าในพื้นที่ตำบลป่าไร่มีปัญหาแม่และเด็กอะไรบ้าง ดิฉันต้องอยู่เป็นผู้อำนวยความสะดวกกลุ่มที่ 1 ซึ่งมีความคิดพร่างพรูมาก แต่กลุ่ม 2 ของพี่วนิดายังรู้สึกเหนียม ๆ ค่อย ๆ คิดเมื่อเห็นว่าทั้ง 2 กลุ่มคิดต่อไม่ออกแล้ว ทีมงานของศูนย์อนามัย (ผู้เขียนและพี่วนิดา) จึงนำเสนอข้อมูลสุขภาพแม่และเด็กของพื้นที่ตำบลป่าไร่ ที่เราศึกษามาก่อนให้เวทีได้ทราบ ทำให้กลุ่มคิดปัญหาเพิ่มได้อีก
ขั้นต่อไปให้แต่ละคนใช้สติกเกอร์ที่แจกให้คนละ 3 ชิ้น ติดที่ปัญหาที่เห็นว่าสำคัญที่สุด โดยจะติดที่ปัญหาเดียว หรือกระจายทุกปัญหาก็ได้ เมื่อดูเปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่มแล้วเห็นว่าทั้ง 2 กลุ่มชั่งน้ำหนักออกมาใกล้เคียงกันคือ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และ แม่ไม่กินยาบำรุง แต่บังเอิญกลุ่มที่ 1 ที่ดิฉันดูแลเสร็จก่อน จึงใช้ปัญหาตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเป็น 4 ด้านคือ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และ ระบบบริการ กลุ่มที่ 2 จึงต้องวิเคราะห์ปัญหาที่กลุ่มตัวเองจัดลำดับเป็นอันดับ 2 คือ แม่ไม่กินยาบำรุง เพราะจะได้ไม่ซ้ำซ้อน การวิเคราะห์ได้ข้อมูลมากขึ้น
เมื่อเสร็จเรื่องแม่ก็ต่อเรื่องเด็ก 0-72 เดือนใช้กระบวนเดิม
กลุ่มที่ 1 มองปัญหาเรื่องเรื่องวัคซีนไม่ครบมากที่สุด
กลุ่มที่ 2 มองปัญหาเรื่องเด็กขาดสารอาหาร
เสร็จขั้นตอนนี้ก็ปาเข้าไป 12.25 น.แล้ว ขอไปทานอาหารกลางวันก่อนนะคะ
Link https://www.gotoknow.org/
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=