การพยาบาลผู้ป่วยขาดสารอาหาร โภชนาการเด็กขาดสารอาหาร ตะคริวขาดสารอาหารอะไร


5,867 ผู้ชม


การพยาบาลผู้ป่วยขาดสารอาหาร โภชนาการเด็กขาดสารอาหาร ตะคริวขาดสารอาหารอะไร

            การพยาบาลผู้ป่วยขาดสารอาหาร

การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ
Digg!
  • Currently 3.71/5
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5

Rating 3.7/5 (7 votes)

caregiver3.jpgเมื่อ พูดถึงเรื่องความแก่ ฉบับนี้จึงต้องขออนุญาตเขียน เรื่องคนแก่หรือคนชราหน่อยก็แล้วกันครับ ทุกคนคงจะยอมรับกันว่าคนชรากำลังกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม นับวันคนชราก็จะยิ่งมากขึ้น เพราะคนอายุยืนขึ้น เด็กเกิดน้อยลง สัดส่วนของประชากรในวัยชราก็เลยสูงขึ้นทุกปี ปีนี้มีสัดส่วนของคนชรามากกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน 

คนทุกคนหากไม่ตายไปตั้งแต่หนุ่มสาว ก็หนีวัยชราไปไม่พ้นหรอกครับ ก่อนอื่นคงต้องมาดูกันก่อนว่า ความแก่คืออะไร ความแก่หรือความชราเป็นสภาพร่างกายที่แปรเปลี่ยนไปตามอายุ เราก็เลยเรียกผู้สูงอายุว่าคนชรา โดยทั่วไปเรามักจะเข้าใจว่าความชรานั้นเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด แต่ในข้อเท็จจริงไม่ใช่อย่างนั้น

350x233_seniorhousing.jpg สัตว์บางประเภทแม้จะมีอายุมากแต่ก็ไม่รู้จักแก่ ถึงวันจะตายมันก็ตายของมันเสียเฉยๆ โดยไม่จำเป็นต้องแก่ก่อนที่จะตาย ตัวอย่างเช่น กุ้งมังกร ปลาสเตอร์เจียน ปลาฉลาม จระเข้บางพันธุ์ และเต่ายักษ์บนเกาะกาลาปากอสในมหาสมุทรแปซิฟิก สัตว์เหล่านี้แม้จะมีอายุมากขนาดไหน แต่กลับไม่แสดงลักษณะที่ให้เห็นเลยว่าชราภาพหรือแก่แล้ว

ส่วนมนุษย์นั้นยังหนีความชราไม่พ้น ในอนาคตหากมีเทคโนโลยีมากพอ นักวิทยาศาสตร์อาจจะค้นพบ วิธีการที่จะไม่ต้องแก่ได้ แต่อาจจะเลี่ยงความตายไม่ได้ ตามทฤษฎีที่เชื่อกันนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า มนุษย์อาจมีอายุขัยได้ยาวนานถึง 120-140 ปี แต่ในข้อเท็จจริงมีน้อยคนนักที่จะมีอายุได้ยืนยาวถึงระดับนั้น

เหตุที่คนอายุไม่ยืนยาวถึง 120 ปี ก็เนื่องมาจากมีหลายปัจจัยที่บั่นทอนชีวิตให้สั้นลง ดังเช่นalz7.jpg ความเจ็บป่วยที่เกิดมาตลอดช่วงชีวิต สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการทำงานที่ใช้ร่างกายอย่างหักโหม พฤติกรรมของมนุษย์เองที่สร้างความเสี่ยงให้กับตนเอง เช่นการบริโภคมากเกินไป น้อยเกินไป บริโภคอย่างไม่สมดุล การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า สภาพจิตใจ ฯลฯ

หากพิจารณากันที่ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายโดยรวม ความชรานั้นเขาให้เริ่มต้นนับกันที่อายุ 65 ปี นักวิทยาศาสตร์เขาแบ่งความแก่เป็น 3 ช่วง คือ แก่อ่อน (young old) หรืออายุระหว่าง 65-75 ปี แก่แก่ (old old) ซึ่งมีอายุระหว่าง 75-85 ปี และช่วงสุดท้ายคือแก่แก่มาก (oldest old) หรือมีอายุมากกว่า 85 ปีขึ้นไป

 ลองไปถามคนแก่เถอะว่าพอใจกับสภาพความแก่ของตนเองหรือเปล่า ไม่มีใครพอใจหรอก ร่างกายเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ย่อมมีสภาพที่ไม่น่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ ผิวหนังเหี่ยวย่น ดวงตาฝ้าฟาง หูตึง ฟันหลอ ผมขาว ผมบาง ศีรษะล้าน หลังโกง ฯลฯ

 นอกจากจะมีรูปลักษณ์ที่ไม่น่ามองแล้ว ยังมีอาการป่วยเจ็บที่เป็นผลพวงตามมาอีก สร้างความทุกข์ให้กับทั้งตนเองและลูกหลาน ทำงานทำการได้ยาก ต้องพึ่งพาคนอื่น อาจจะเดินเหินไม่ได้กลายเป็นคนพิการ เหตุนี้เองที่ทำให้มนุษย์กลัวความชราเป็นนักเป็นหนา อยากหลีกหนีไปเสียให้พ้นๆ

giftguidemorganvalleylamb.jpg มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย ที่พยายามแสวงหาหนทาง หรือหาสิ่งที่เชื่อว่า จะช่วยให้ตนเองหนีพ้นจากความชราได้ หรือเพียงทำให้สภาพความชราชะลอตัวลง ดูเหมือนอาหาร และโภชนาการนี่แหละครับ ที่อาจจะนับเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นทางออก มีคนจำนวนไม่น้อยครับ ที่เชื่อว่าอาหารจะมีส่วนช่วยทำให้ความชราชะลอลงได้

  ความสำคัญของอาหาร และโภชนาการต่อคนชรานั้น มีอยู่หลายประการครับ ประการแรกคือ ช่วยทำให้คนชราไม่ขาดอาหาร ที่ช่วยทางด้านนี้ก็เพราะคนชรามีแนวโน้มว่าจะขาดสารอาหารได้ง่ายเหลือเกิน

มีคำถามอยู่บ่อยครับว่า ทำไมคนชราจึงมักเป็นโรคขาดสารอาหาร คำตอบก็คือ เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะชราภาพ สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไป กลไกการทำงานทั้งภายนอก และภายในเกิดความผิดปกติ ปรากฏว่าแต่ละกลไกล้วนส่งผลทำให้ภาวะโภชนาการของร่างกาย ถูกกระทบได้ทั้งนั้น

ลองมาดูกันดีกว่าว่ามีกลไกอะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงในวัยชรา


การขาดอาหารของคนชรา เป็นผลมาจากกลไกการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อันได้แก่572286_great_hope_mini.jpg การสัมผัสและรับรู้รสชาติอาหารลดลง สุขภาพในช่องปากเปลี่ยนไป มีปริมาณน้ำลายลดน้อยลง (xeropstomia) ปัญหาฟันผุ รากฟันไม่แข็งแรง ทางเดินอาหารลดประสิทธิภาพของการย่อยและดูดซึมสารอาหาร บักเตรีจากลำไส้เจริญเติบโตล่วงล้ำเข้ามาในทางเดินอาหาร

    นอกจากนี้เมแทบอลิซึมในร่างกายยังเปลี่ยนแปลง เช่น ความทนทานต่อกลูโคสลดลง เมแทบอลิซึมพื้นฐานค่อยๆ ลดลง ระบบหัวใจและหลอดเลือดลดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้มากขึ้น มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันอื่นสูงขึ้น การทำงานของไตลดลงมาก การกรองโปรตีนต่างๆ ทำได้ยากขึ้น ระบบกล้ามเนื้อลดลง มีไขมันเข้าไปแทนที่มากขึ้น อีกทั้งผู้สูงอายุเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับประสาทได้มากขึ้น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ระบบภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุจะมีภูมิคุ้มกันในระบบต่างๆ ลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย สภาวะทางจิตใจเปลี่ยนแปลง มีอาการซึมเศร้าได้ง่าย

  เมื่อปี ค.ศ.1989 ทางกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาเขากำหนดไว้ว่าใครที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป ควรจะต้องลดพลังงานจากอาหารให้น้อยลงประมาณ 600 กิโลคาลอรีต่อวันสำหรับผู้ชาย และ 300 กิโลคาลอรีต่อวันสำหรับผู้หญิง หมายความว่าผู้สูงอายุไม่ค่อยจะมีกิจกรรมอะไรแล้วน่าจะได้อาหารน้อยลง ไม่ยังงั้นต้องเจอปัญหาโรคอ้วนแน่ๆ

     คนทั่วไปต้องการพลังงานจากอาหาร 2,000-2,500 กิโลแคลอรี ให้ลดลง 600 หมายถึงแนะนำให้ได้รับประมาณ 1,500 กิโลแคลอรี แต่หากพิจารณากันในข้อเท็จจริงกลับพบว่าผู้สูงอายุยุคใหม่แม้อายุจะมากแล้ว แต่กลับมีกิจกรรมมากขึ้น กว่าแต่ก่อนแยะ การลดอาหารจึงไม่จำเป็น แม้จะได้อาหารเท่าเดิมก็ไม่น่าจะมีปัญหา ดังนั้น นักโภชนาการสมัยใหม่ เขาไม่แนะนำให้ลดการรับประทานอาหาร

        ที่น่าสังเกตคือ เขากำหนดผู้สูงอายุไว้ตั้งแต่อายุ 51 ปีขึ้นไป อันที่จริงอายุ 51 ปียังไม่แก่หรอกครับ แต่ในยุคนั้นเขาพิจารณาจากข้อมูลที่ว่าคนอายุเกิน 50 ปี เริ่มจะมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่ใช้กำลังกายน้อยลงแล้วเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าแก่ อย่าเพิ่งตกใจครับ  

    เราลองมาดูกันว่าหากสูงอายุแล้ว แม้จะได้รับพลังงานเท่าปกติ แต่สัดส่วนของอาหารแต่ละกลุ่ม แต่ละชนิดอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างอาหารประเภทโปรตีนนั่นไง

  ผู้สูงอายุจะมีปริมาณโปรตีนในร่างกายประมาณ 60-70% เท่านั้นเมื่อเทียบกับคนในวัยหนุ่มสาว โปรตีนหรือกล้ามเนื้อหายไป สัดส่วนของไขมันในร่างกายกลับเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อคนทั่วไปต้องการโปรตีน วันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ผู้สูงอายุก็ควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากเกิดการสูญเสียปริมาณโปรตีนออกจากร่างกายผู้สูงอายุมากขึ้น

     โดยสรุปแล้วผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 1.1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือหมายความว่าผู้สูงอายุควรจะได้โปรตีนมากขึ้นประมาณ 10-20% ลองสังเกตดูก็ได้นะครับว่า ผู้สูงอายุมีอาการขาดโปรตีนบ้างหรือเปล่า อย่างเช่น สังเกตจากการเจ็บป่วยบ่อยขึ้น เพราะภูมิต้านทานลดลง เป็นผลมาจากโปรตีนในร่างกายน้อยลง

    วิธีสังเกตง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งคือ ผู้สูงอายุมักมีอาการคันเล็กคันน้อยอยู่บ่อยๆ แสดงว่า ร่างกายเริ่มจะขาดโปรตีน ดังนั้น หากได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นสักหน่อยก็น่าจะดีต่อสุขภาพ แต่อย่าเสริมโปรตีนกันจนเกินขนาดหรือเสริมมากจนเกินไป เพราะจะสร้างปัญหามากกว่าจะให้ประโยชน์ เพียงแค่ให้กินอาหารตามปกติแล้วเสริมอาหารประเภทเนื้อ ประเภทปลาให้มากขึ้นพอประมาณเท่านั้น

  ในกรณีของแป้ง ต้องระวังนิดหน่อย เพราะผู้สูงอายุมักจะทนกับอาหารที่มีน้ำตาลมากนักไม่ได้ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องความทนทานต่อกลูโคสลดลง (glucose tolerance) ทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นมากลายๆ ได้


    ควรให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อยลงสักหน่อย หากชอบอาหารหวานจากน้ำตาลทราย ก็ต้องให้ลดลงบ้าง การเป็นเบาหวานขณะที่อายุมากแล้วไม่ใช่เรื่องสนุกสักเท่าไหร่ ควรให้อาหารที่มีแป้งเชิงซ้อน มากกว่าที่จะให้น้ำตาล ควรเพิ่มใยอาหารมากขึ้นด้วย ผักผลไม้ที่ไม่หวานนักน่าจะเป็นประโยชน์

    ผู้สูงอายุหลายคนอาจมีปัญหาเรื่องแพ้นมก็ได้ ดื่มนมหรืออาหารที่เข้านมอาจเจอปัญหาท้องร่วงท้องเสีย หรือท้องอืดท้องเฟ้อ ที่เป็นอย่างนี้ก็เนื่องมาจากความไม่ทนทานต่อน้ำตาลแลคโตสของผู้สูงอายุนั่น เองครับ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มนมที่ไม่มีแลคโตส หรือโดยการให้รับประทานโยเกิร์ตซึ่งเป็นนมเปรี้ยว ที่บักเตรีย่อยสลายแลคโตสในนมจนหมดเปลี่ยนไปกรดไปหมดแล้ว นมเปรี้ยวจึงเปรี้ยวเพราะกรด น้ำตาลลดน้อยลงไปแล้ว  

    ในเรื่องไขมันนั้น ผู้สูงอายุมักมีปัญหาไขมันสูงในเลือดได้บ่อยทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอด เลือดมากขึ้น ผู้สูงอายุเมืองไทยเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากขึ้น เรื่องนี้ก็รู้ๆ กันอยู่ เป็นผลมาจากไขมันในเลือดสูงนี่แหละ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้สูงอายุลดการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวมากไป ต้องระวังปริมาณไขมันอย่าให้เกิน 30% ของพลังงานที่ร่างกายได้รับก็แล้วกัน หากไม่รู้ว่า 30% เป็นปริมาณสักเท่าไหร่ วิธีง่ายๆ คือ ลดไขมันลงก็เท่านั้น หากจะรับประทานไขมันก็ควรเป็นไขมัน ประเภทกรดไขมันไม่อิ่มตัวแต่ก็อย่าให้กรดไขมันกลุ่มนี้มากจนเกินไป โดยปกติจะพิจารณาให้กรดไขมันอิ่มตัว ไม่เกิน 10% กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง 10% กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง 10%

  การแนะนำให้รับประทานน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมากๆ อย่างเช่นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลืองเป็นการแนะนำที่ผิด เพราะจะเร่งทำให้ร่างกาย สะสมอนุมูลอิสระได้มากขึ้นได้ ทางที่ดีแนะนำให้บริโภคน้ำมันพืชสลับกันจะดีกว่า เป็นน้ำมันรำข้าวบ้าง ปาล์มโอเลอินบ้าง ถั่วเหลืองบ้าง

  ในเรื่องของเกลือแร่นั้น ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการขาดเกลือแร่สักเท่าไหร่ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากกล้ามเนื้อในร่างกายมีปริมาณลดลงทำให้ ความต้องการเกลือแร่ลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องความไม่ทนทานต่อกลูโคส อาจแสดงว่าผู้สูงอายุต้องการ แร่ธาตุโครเมียมมากขึ้นก็ได้

    นอกจากนี้แล้วการสูญเสียมวลกระดูกอาจทำให้ต้องเสริมธาตุแคลเซียมให้กับผู้ สูงอายุกันบ้าง ส่วนเรื่องวิตามินนั้น เพียงแค่เสริมวิตามินบีรวมบ้างบางครั้งก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่สำคัญคือเรื่องน้ำ ผู้สูงอายุขาดน้ำได้ง่าย เป็นเพราะกระหายน้ำน้อยลง ไม่ค่อยดื่มน้ำสักเท่าไหร่ ผู้สูงอายุจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ หากมีภาวะท้องผูก หรือแม้กระทั่งท้องเสียจะต้องแนะนำให้ดื่มน้ำมากขึ้น ดูแลผู้สูงอายุให้ได้อย่างนี้ ก็น่าจะเป็นการตอบแทนบุญคุณท่านได้บางส่วนแล้วครับ


            Link     https://www.eldercarethailand.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              โภชนาการเด็กขาดสารอาหาร

ญหาโภชนาการในเด็ก: การขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร (Protein energy malnutrition)

ทั่วไป

วัยเด็กต้องการอาหาร โปรตีน (Protein) และกำลังงานสารอาหาร (พลังงานสาร อาหาร หรือ Energy) มากกว่าวัยอื่น เพราะต้องใช้โปรตีนและกำลังงานสารอาหารในการเจริญเติบโตและในการพัฒนาการ

ในอดีต การขาดอาหารในเด็ก หรือที่เรียกว่าการขาดโปรตีนและกำลังงานสาร อาหาร (Protein energy malnutrition) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในประเทศไทย หลัง จากนั้นเมื่อการแพทย์และการสาธารณสุขดีขึ้น ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง กลับเป็นว่าพบปัญหาโรคอ้วนตามแบบสังคมตะวันตกมากขึ้น

ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ปัญหาการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารอาจกลับมาเป็นปัญหาของประเทศไทยอีก จากภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงจากภัยธรรม ชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน การตกงาน การขาดความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก และการมีลูกในวัยรุ่นอาจทำให้การเลี้ยงดูเด็กไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากขึ้นอีก

ภาวะทุโภชนาการหมายถึงอะไร?

ภาวะทุโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ทารกและเด็กบริโภคอาหารและได้รับกำลังงานสารอาหารไม่ถูกต้องทั้ง ปริมาณ ชนิด และคุณภาพ ซึ่งอาจจะได้รับมากเกินความต้องการ จนกลายเป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือ อาจได้รับน้อยเกินไปจนเกิดภาวะขาดโภชนาการ (Under nutrition) ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร (Protein energy malnutrition) หรือบางคนได้อาหารเพียงพอ แต่สัดส่วนของอาหารไม่ถูกต้อง (Imbalance nutrition) หรือบางคนอาจได้อาหารและกำลังงานเพียงพอแต่ขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งในที่นี้จะเน้นเฉพาะเรื่องการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะทุโภชนาการ?

สาเหตุ/ปัจจัยของภาวะทุโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันตั้งแต่

  1. ปัญหาทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของประเทศ
  2. แหล่งอาหารในชุมชน
  3. ความจำกัดของครอบครัวที่จะผลิตหรือซื้ออาหาร
  4. การขาดความรู้ที่ถูกต้องของครอบครัวในการเลี้ยงดูและในการจัดอาหารให้ แก่ทารกและเด็ก และมีความเชื่อบางอย่างที่ห้ามกินอาหารบางชนิด
  5. การเจ็บป่วยของทารกและของเด็ก ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อย เช่น ปัญหาการติดเชื้อ ปัญหาท้องร่วง/ท้องเสียเรื้อรัง การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ไม่ดี ท่อน้ำดีตีบตัน ทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันผิดปกติ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
  6. ปัญหาพันธุกรรมบางอย่างทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ปกติ เพราะมีความผิดปกติในการย่อยสารอาหารบางอย่าง
  7. การขาดความเอาใจใส่ในการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพตามวัย

ภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารเกิดจากอะไร?

ภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร (PEM, Protein energy malnutrition) เป็นกลุ่มของความผิดปกติที่เกิดจากการได้รับโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่ เพียง พอกับความต้องการของร่างกาย มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุของภาวะทุ โภชนาการ จึงทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน (Under weight) หรือเลี้ยงไม่โต (Failure to thrive) โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเปอร์เซนไตล์ (Percentile) ที่ 3 ของค่ามาตรฐานน้ำหนักเทียบกับอายุ (สามารถหาดูกราฟ/Graph การเจริญเติบโตของเด็กตามเพศ อายุ ในสมุดประจำตัวเด็กที่โรงพยาบาลแจกให้ตั้งแต่แรกเกิด ส่วนเปอร์เซนไตล์ คือ ระดับคะแนนทางสถิติ ที่ใช้เปรียบเทียบตัวแปรต่างๆดังกล่าวแล้วทางการเจริญเติบโตของเด็กในวัย ต่างๆ เช่น น้ำหนัก และส่วนสูง)

ถ้าภาวะนี้รุนแรงขึ้นและเรื้อรังมากขึ้นจะทำให้เด็กตัวเตี้ยหรือแคระแก รน ถ้ามีปัจ จัยที่ทำให้เสียเมตาบอลิสึม (Metabolism, ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย) เช่น การติดเชื้อ จะก่อให้เกิดการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารที่ส่งผลให้มีอาการปรากฎชัดเจน เช่น ภาวะบวมทั่วตัวจากขาดโปรตีนอย่างรุนแรงเรียกว่า Kwashiorkor หรือภาวะผอมแห้งจากขาดกำลังงานสารอาหารอย่างรุนแรงเรียกว่า Marasmus ซึ่งคือ การมีกล้ามเนื้ออ่อนเหลว และมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย

เด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารจะมีอาการอย่างไร?

อาการที่พบโดยทั่วไปของเด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร คือ มีการเจริญเติบโตไม่สมวัย น้ำหนัก และส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ ในกรณีที่มีการขาดกำลังงานสารอาหารเรื้อรัง เด็กจะมีอารมณ์หงุดหงิด ไม่มีความสุข นอกจากจะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารแล้ว ยังมักจะขาดสารอื่นๆร่วมด้วย เช่น ขาดธาตุเหล็ก ขาดธาตุสังกะสี และขาดวิตามินต่างๆ เป็นต้น

ในกรณีที่ขาดกำลังงานสารอาหารรุนแรง จะพบอาการได้ 3 ลักษณะคือ

  1. ลักษณะบวมทั่วตัว เรียกว่า Kwashiorkor
  2. ไม่บวม เรียกว่า Marasmus แต่จะพบมีแก้มเหี่ยว ตัวเหี่ยว ไม่มีกล้ามเนื้อ และไม่มีไขมัน
  3. มีอาการทั้งสองอย่างร่วมกัน เรียกว่า Marasmic kwashiorkor

อนึ่ง เด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารรุนแรงพบในประเทศยากจน ขาดแคลนอาหารและมีโรคระบาด หรือในภาวะสงคราม หรือในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เช่น ในเด็กที่แพ้นมวัวและเลี้ยงด้วยน้ำข้าว ซึ่งทำให้ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารรุนแรง

ในประเทศไทยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน เรายังพบเห็นภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารชนิดรุนแรงทั้ง Kwashiorkor และ Marasmus แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบแล้ว ซึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าในบริเวณที่อยู่ไกลจากตัวเมืองมากๆ ยังพบมีผู้ป่วยขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารจนเนื้อที่ข้างแก้มเปื่อยจนขาด หายไปเป็นรู เรียกว่า Noma คิดว่าในประเทศไทยในถิ่นที่ทุรกันดารมากๆอาจยังพบได้

สรุปอาการของการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารอย่างรุนแรงตามอวัยวะต่างๆ

มีดังนี้

ใบหน้า: ในกลุ่มที่เป็นชนิดบวมทั่วตัว ใบหน้าจะเหมือนดวงจันทร์ (Moon face) คือแก้มป่องบวม ส่วนกลุ่มที่ไม่บวม ใบหน้าจะเหี่ยวแห้ง เรียกว่า Simian facies ซึ่งดูแล้วหน้าคล้ายลูกลิง

ดวงตา: ตาแห้ง เมื่อเปิดตาดูเปลือกตาด้านในจะซีด บางคนมีเกล็ดแห้งๆ ที่ตาขาวที่เรียกว่าเกล็ดกระดี่ (Bitot spots) ซึ่งแสดงถึงการขาดวิตามินเอขั้นรุนแรง และมีอาการบวมรอบๆเบ้าตา

ช่องปาก: มีการอักเสบที่มุมปาก ริมฝีปาก ลิ้น ต่อมน้ำลายโต และในพวกที่ขาดวิตามินซี จะมีเหงือกอักเสบ และเลือดออกง่าย

ฟัน: เคลือบฟันเป็นรูเล็กๆ หรือมีฟันขึ้นช้า

ผม: ไม่เป็นเงา แห้ง หักง่าย ผมร่วง สีเปลี่ยนเป็นจางลง ขนตาสั้น ห่าง

ผิวหนัง: เหี่ยวย่นในพวก Marasmus แต่ผิวหนังบวมมันในพวก Kwashiorkor และทั้งสองกลุ่ม ผิวแห้ง รูขุมขนเป็นตุ่มหนา ผิวหนังมีทั้งสีเข้มขึ้น และ/หรือสีจางลง ผิวลอก และเมื่อเป็นแผลจะหายช้า

เล็บ: เล็บจะบาง นิ่ม หรือเป็นรูปช้อนงอนขึ้น มีร่องหรือมีเส้นนูนบนเล็บ

กล้ามเนื้อ: ไม่มีกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณสะโพก ต้นขา เมื่อเคาะที่แก้มจะมีกล้ามเนื้อบริเวณริมฝีปากกระตุก ซึ่งเป็นอาการของการขาดธาตุแคลเซียม

กระดูก: มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากขาดแคลเซียม วิตามินดี หรือวิตามินซี

ช่องท้อง: ช่องท้องโตขึ้น อาจมีตับโตเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อตับจากมีการจับของไขมันเพิ่มขึ้น (Fatty liver) และอาจมีน้ำในช่องท้อง

ระบบหัวใจและหลอดเลือด: หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำ และการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง

ระบบประสาทและพัฒนาการ: มีพัฒนาการโดยรวมช้า ความจำผิดปกติ การตอบสนองของระบบประสาท (รีเฟล็กซ์/Reflex) ช้าลงหรือสูญเสียไป

ระบบโลหิต: มีภาวะซีด และเลือดออกง่าย

พฤติกรรม: หงุดหงิด ซึม เฉย ไม่ร่าเริง

เด็กวัยใดพบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด?

เด็กที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด คือ เด็กวัยก่อนเรียน เนื่องจาก

  1. วัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ความต้องการโปรตีนและกำลังงานสาร อาหารต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าวัยอื่นๆ
  2. ยังไม่สามารถกินอาหารด้วยตนเองได้เต็มที่
  3. วัยนี้มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นๆ
  4. พฤติกรรมการเลี้ยงดู ความเชื่อของผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำให้เด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอ

แพทย์รักษาภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารอย่างรุนแรงอย่างไร?

แพทย์จะมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารอย่าง รุนแรง โดยผู้ที่มีอาการรุนแรงนี้แพทย์จะให้นอนรักษาในโรงพยาบาล และแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 การรักษาระยะเฉียบพลัน

ระยะที่ 2 ระยะที่เด็กเริ่มดีขึ้น

ระยะที่ 3 เป็นระยะฟื้นฟู

การรักษาในระยะที่ 1 ใน 24 ชั่วโมงแรกแพทย์จะรักษาภาวะร่วมต่างๆ เช่น ภาวะไม่สมดุลของสารเกลือแร่ ภาวะซีด/โลหิต จาง ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะติดเชื้อ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา (การทำงานของอวัยวะต่างๆ) กลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว ซึ่งในระยะนี้แพทย์จะต้องเจาะเลือดตรวจระดับสารเกลือแร่และสารเคมีต่างๆใน เลือด ทำการเอกซเรย์อวัยวะต่างๆถ้าจำเป็น ส่งสารคัดหลั่งต่างๆเพาะเชื้อ และตรวจดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเสียชีวิตได้ในระยะนี้

เมื่อรักษาภาวะเฉียบพลันผ่านพ้นไปแล้ว จะเข้าระยะที่เริ่มดีขึ้น แพทย์จะเริ่มต้นรักษาด้านโภชนาการอย่างช้าๆ ให้อาหารทีละน้อย โดยค่อยๆเพิ่มกำลังงานสารอาหารจาก 25-50 กิโลแคลอรี/น้ำหนักผู้ป่วย 1 กิโลกรัม(กก.)/วัน จนสูงถึง 150 กิโลแคลอรี/กก./วัน การให้นมในระยะนี้ต้องให้นมที่มีน้ำตาลแลกโตส (Lactose) น้อย หรือไม่มีน้ำ ตาลแลกโตสเลย เพราะในระยะนี้ ในเด็กที่ขาดกำลังงานสารอาหารรุนแรง ลำไส้มักสร้างน้ำย่อยน้ำตาลแลกโตสได้น้อย ถ้ากินแลกโตสมากอาจเกิด/ท้องเสีย ท้องอืด และปวดท้องได้ และการให้สารเกลือแร่ต่างๆก็ต้องเริ่มแต่น้อยๆก่อนเช่นเดียวกัน

เมื่อผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารได้ดีขึ้น จึงเข้าสู่การรักษาในระยะฟื้นฟู โดยให้ปริมาณกำลังงานสารอาหารสูงขึ้นเป็นวันละ 150-200 กิโลแคลอรี/กก./วัน ในระยะนี้เริ่มเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กไม่ควรเริ่มเร็วในระยะที่ 1 หรือ 2 เพราะในระยะดังกล่าว สารในร่างกายที่จะจับธาตุเหล็กไปใช้มีน้อย การเสริมธาตุเหล็กในระยะนั้นๆจึงยังไม่ได้ประโยชน์

ป้องกันภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารที่รุนแรงอย่างไร?

ป้องกันภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารที่รุนแรงได้โดย

  1. มีนโยบายระดับชาติในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ มีการกระจายแหล่งอาหาร และการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเพื่อการรักษาทันทีที่พบกรณีปัญหา
  2. มีการให้สุขศึกษารายบุคคลและการเพิ่มสื่อมวลชนในการกระจายองค์ความรู้ เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้อาหารเสริมระยะหย่านม การรักษาอุจจาระร่วง/ท้องเสียตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และการบริโภคประเภทอาหารให้ถูกต้องและให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเด็ก
  3. การผลิตอาหารและมีอาหารให้เพียงพอทั้งในระดับชุมชนและในระดับครอบ ครัว
  4. การลดอัตราการเพิ่มของประชากร
  5. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการป้องกันภาวะติดเชื้อ
  6. การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาในศูนย์โภชนาการตามเกณฑ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม

เด็กเลี้ยงไม่โตหมายความว่าอย่างไร?

ปัญหาทุโภชนาการในเด็กเล็ก หรือภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารที่พบบ่อย คือ เด็กเลี้ยงไม่โต (Failure to thrive) ซึ่งหมายถึง เด็กที่มีปัญหาในการเจริญเติบ โต ซึ่งคือ เด็กที่น้ำหนักตัวไม่ขึ้น น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติเมื่อเทียบกับเด็กที่มี อายุ เพศ และเชื้อชาติเดียวกัน หากเกิดในระยะยาวนานและรุนแรง อาจมีปัญหาเรื่องส่วนสูงและรอบศีรษะไม่เติบโตตามปกติร่วมด้วย

เด็กเลี้ยงไม่โต อาจเป็นผลจากปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ (เช่น จากถูกทอด ทิ้ง หรือจากมีความรุนแรงในบ้าน) ด้วย แต่ส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้มักเกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ

เด็กเลี้ยงไม่โตก่อปัญหาอะไรบ้าง?

ภาวะเด็กเลี้ยงไม่โต ทำให้เกิดปัญหาดังนี้

  1. ตัวเตี้ย (Short stature)
  2. มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายลดลง ทำให้เจ็บป่วยง่าย

ดังนั้นการพบปัญหาเด็กเลี้ยงไม่โตได้เร็วและรีบให้การรักษา จะป้องกันไม่ให้เด็กสูญเสียการพัฒนาตามวัยในระยะยาว

อะไรเป็นสาเหตุของเด็กเลี้ยงไม่โต?

สาเหตุของเด็กเลี้ยงไม่โต คือ

  1. ได้รับอาหารและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น จากเทคนิคการให้อาหาร เศรษฐกิจ สังคมไม่ดี และจากปัญหาเลี้ยงดู
  2. มีการดูดซึมอาหารจากลำไส้ผิดปกติ เช่น ท้องร่วง/ท้องเสียเรื้อรัง หรือแพ้น้ำตาลแลกโตสในนม
  3. มีการใช้กำลังงานสารอาหารมาก หรือมีความต้องการกำลังงานสารอาหารมากในกรณีมีโรคบางอย่าง เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็ง หรือมีการอักเสบของลำไส้เรื้อรัง โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจ เมื่อผู้ป่วยหอบเหนื่อยมาก ก็จะใช้กำลังงานมากขึ้น)

แพทย์วินิจฉัยเด็กเลี้ยงไม่โตได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยเด็กเลี้ยงไม่โตได้จาก การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบศีรษะในเด็กเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ในเด็กเล็กจะวัดความยาว (นอนวัดความยาว วัดจากเส้นตั้งฉากกับส่วนเหนือสุดของศีรษะจนถึงส้นเท้าเด็ก) เมื่อวัดแล้วในแต่ละตัวแปร (Parameter) คือ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ ควรนำมาเปรียบเทียบกับค่ากราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต (Growth chart) ที่ใช้เทียบตาม เพศ อายุ และเชื้อชาติ ซึ่งในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ในประเทศไทยก็มีกราฟการเจริญเติบโต น้ำหนัก ส่วนสูง เทียบตามเพศและอายุของเด็กไทย ซึ่งกราฟทั่วไปมักจะมี น้ำหนักเทียบกับอายุ (Weight-for-age) ส่วนสูงเทียบกับอายุ (Length-for-age หรือ Height-for age ) รอบศีรษะเทียบกับอายุ (Head circumference-for-age) และน้ำ หนักเทียบกับส่วนสูง (Weight-for-height)

เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปของการวินิจฉัยเด็กเลี้ยงไม่โตที่แน่ชัด ดังนั้น ข้อแนะ นำที่จะวินิจฉัยเด็กเลี้ยงไม่โตมีดังนี้

  1. น้ำหนักต่ำกว่าเปอร์เซนไตล์ ที่ 3 แต่บางสถาบันใช้เปอร์เซนไตล์ที่ 2
  2. น้ำหนักตัวน้อยกว่า 80% ของน้ำหนักที่ควรเป็น เมื่อเปรียบเทียบกับอายุโดยกราฟเปรียบเทียบการเจริญเติบโตมาตรฐาน
  3. น้ำหนักเปรียบเทียบกับส่วนสูงลดลง (ได้แก่ Weight-for- age น้อยกว่า Length-for-age, Weight for length น้อยกว่า เปอร์เซนไตล์ที่ 10)
  4. อัตราการเพิ่มน้ำหนักน้อยกว่าที่คาดหมายตามอายุ ได้แก่

    26 ถึง 31 กรัมต่อวัน ในเด็กอายุ 0 ถึง 3 เดือน

    17 ถึง 18 กรัมต่อวัน ในเด็กอายุ 3 ถึง 6 เดือน

    12 ถึง 13 กรัมต่อวัน ในเด็กอายุ 9 ถึง 12 เดือน

    7 ถึง 9 กรัมต่อวัน ในเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี

เด็กเลี้ยงไม่โตมีระดับความรุนแรงอย่างไร?

มีผู้แบ่งระดับความรุนแรงของเด็กเลี้ยงไม่โตหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แบ่งเป็น มีอาการน้อย (อาการ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้ออาการจากการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร) มีอาการปานกลาง และมีอาการมาก ซึ่งการแบ่งความรุนแรงดังกล่าวอาจสำคัญน้อยกว่าการหาว่าสาเหตุเกิดจากอะไร

แพทย์ให้การรักษาเด็กเลี้ยงไม่โตอย่างไร?

เป้าหมายสำคัญสำหรับการรักษาเด็กเลี้ยงไม่โต คือ การให้อาหารให้เพียงพอจนเด็กสามารถเติบโตได้ทันเพื่อน ซึ่งการจัดการ จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงประเภทและปริมาณอาหาร เวลาการให้อาหาร สิ่งแวดล้อม และขจัดปัญหาทางจิตใจที่มีผลทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาเลี้ยงไม่โต และที่สำคัญเน้นการเลี้ยงดูของมารดา บิดา และผู้เลี้ยงดูเด็ก โดยประเด็นนี้จะเน้นเรื่องการให้ความรู้ในการให้อาหารให้เหมาะสม เนื่องจากการรักษาเด็กเลี้ยงไม่โตนี้ ผู้เลี้ยงดูเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

การจัดการปัญหาเด็กเลี้ยงไม่โตจะขึ้นกับความต้องการของเด็กแต่ละคน แต่ละครอบครัว ซึ่งต้องการการประเมิน และทราบรายละเอียดเพื่อวางแผนทั้งในเรื่องการรักษาโรคต่างๆที่เป็นอยู่ สภาวะโภชนาการ การพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย พฤติกรรมและจิตสังคม ตลอดจนการสนับสนุนทางด้านความรู้และกำลังใจแก่ผู้เลี้ยงดู

ในพวกที่มีอาการไม่มาก แพทย์มักจะให้คำแนะนำปรึกษาเป็นผู้ป่วย-นอก แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์ต้องให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุของภาวะเลี้ยงไม่โตและเพื่อรักษาอาการ ตลอดจนสร้างทีมงานในสหสาขาวิชาชีพ ได้ แก่ แพทย์ นักโภชนาการ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อเป็นทีมช่วยเหลือเด็กและครอบครัวตามความจำเป็นในแต่ละสาขาที่เกี่ยว ข้อง

ความต้องการกำลังงานสารอาหารของเด็กเป็นอย่างไร?

ปริมาณกำลังงานจากสารอาหารชนิดต่างๆ ได้จากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย มีหน่วยเป็นกิโลแคลอรี (Kilocalorie) หรือเป็นแคลอรี (Calorie)

กลุ่มสารอาหารที่ให้กำลังงานแก่ร่างกายเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการใน ปริมาณมาก (Macronutrients) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ที่ให้กำลังงาน 4 กิโลแค ลอรีต่อกรัม แต่ไขมันต่างๆให้กำลังงานแตกต่างกันตั้งแต่ 3.3 ถึง 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม (แล้วแต่ว่าเป็นไขมันชนิดที่มีโมเลกุลสั้น หรือยาวต่างกัน)

ทารกและเด็กในแต่ละช่วงอายุต้องการกำลังงานแตกต่างกัน โดยอาหารที่ทารกและเด็กรับประทานควรมีสัดส่วนกำลังงานที่สมดุล กล่าวคือ ในแต่ละวัน ควรได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 40-60% จากโปรตีน 7-15% และจากไขมัน 30-35%

ความต้องการกำลังงานที่ได้จากสารอาหารจะค่อยๆลดลงเมื่ออายุของเด็กมาก ขึ้น โดยทารกในขวบปีแรก ต้องการกำลังงานต่อวันประมาณ 80-120 กิโลแคลอรี/กก./วัน และความต้องการจะค่อยๆ ลดลงประมาณ 10 กิโลแคลอรี/กก./วัน ทุกช่วง 3 ปีของอายุที่เพิ่มขึ้น

กำลังงานนี้นำไปใช้ในการทำงานต่างๆของร่างกาย ในการเคลื่อนไหว ในการออกกำลังกาย และในการเจริญเติบโต

มารดา บิดา ผู้ปกครองควรทราบว่าอาหารชนิดใดให้ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อจัดเตรียมอาหารให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

ในเด็กทารก นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นให้อาหารเสริมตามวัย และให้นมแม่ควบคู่ไปด้วย (ดูคำแนะนำจากสมุดประจำตัวเด็กที่ทุกโรงพยา บาลจะแจกหลังเด็กคลอด)

ควรดูแลเด็กเลี้ยงไม่โตอย่างไร?

ควรดูแลเด็กเลี้ยงไม่โต ดังนี้

  1. จัดการให้เด็กได้รับกำลังงานสารอาหารอย่างเพียงพอ
  2. สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวโดยเฉพาะ พ่อ แม่ กับลูกให้ดีขึ้น และเน้นในส่วนของการให้อาหารแก่เด็ก
  3. รักษาโรคหรือภาวะทางกาย หากเด็กมีปัญหานั้นๆ
  4. ในเด็กบางคนต้องการการกระตุ้นการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ ซึ่งบิดา มารดา และคนดูแลเด็ก จะได้รับคำแนะนำในการดูแลเด็กจาก แพทย์ และพยาบาล
  5. ช่วยเหลือในด้านจิตสังคมแก่ครอบครัว
  6. ให้กำลังใจแก่บิดา มารดา และผู้ดูแล

ควรนำเด็กพบแพทย์เมื่อใด?

บิดา มารดาและผู้ดูแล ควรติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กจากสมุดคู่มือที่ได้รับจากโรง พยาบาลตั้งแต่เมื่อแรกเกิด ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งเรื่องการเจริญเติบ โต พัฒนาการ การให้นม การให้อาหารเสริม และการฉีดวัคซีนป้องกัน โรค ในสมุดนั้นจะมีกราฟการเจริญเติบโต ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง และเส้นรอบศีรษะ บิดา มารดา คนดูแล ควรดูกราฟนั้นให้เป็น (ขอความรู้จากพยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครด้านดูแลสุขภาพ) และใช้ติดตามการเจริญเติบโตของบุตรหลาน หากการเจริญเติบโตเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจมากไป หรือน้อยไป ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้หาสาเหตุของความผิดปกติซึ่งอาจมีปัญหาจากโรค หรือจากภาวะผิดปกติอื่นๆ ตลอดจนปัญหาด้านโภชนาการ เพื่อที่จะได้แก้ไขรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที

บรรณานุกรม

  1. กุสุมา ชูศิลป์. ภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานในเด็ก. ใน: สุขชาติ เกิดผล, อวยพร ปะนะมณฑา, จามรี ธีรตกุลพิศาล, ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์, จรรยา จิระประดิษฐา. บรรณาธิการ. วิชากุมารเวชศาสตร์. ขอนแก่น. แอนนาออฟเซต, 2552:หน้า851-76.
  2. กุสุมา ชูศิลป์. หลักการให้อาหารทารกและเด็ก. ใน: สุขชาติ เกิดผล, อวยพร ปะนะมณฑา, จามรี ธีรตกุลพิศาล, ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์, จรรยา จิระประดิษฐา. บรรณาธิการ. วิชากุมารเวชศาสตร์. ขอนแก่น. แอนนาออฟเซต, 2552:หน้า 827-49.
  3. Grover Z, Ee LC. Protein energy malnutrition. Pediatr Clin N Am 2009;56:1055-68.
  4. Kirkland RT, Motil KJ. Etiology and evaluation of failure to thrive (undernutrition) in children younger than two years. https://www.uptodate.com/contents/etiology-and-evaluation-of-failure-to-thrive-undernutrition-in-children-younger-than-two-years. Retrieved December 15, 2011.
  5. Kirkland RT, Motil KJ. Management of failure to thrive (undernutrition) in children younger than two years. https://www.uptodate.com/contents/management-of-failure-to-thrive-undernutrition-in-children-younger-than-two-years. Retrieved December 15, 2011.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    ตะคริวขาดสารอาหารอะไร

เรื่องของตะคริวกับการขาดแร่ธาตุ
แมกนีเซียม ( Magnesium )
แมกนีเซียมคืออะไร
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น

แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง

แต่เป็นที่น่า เสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน

ดัง นั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต

หน้าที่และประโยชน์
แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์ โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของ แมกนีเซียม มีดังนี้

1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
9. อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
10.ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต
11.จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
12.ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
13.ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วย โรคหัวใจ
14.ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
15.บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
16.การรับประทานแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
17.ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
18.ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด

แคลเซียม vs. แมกนีเซียม
หน้าที่ ของ แมกนีเซียม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเป็นตะคริว คือ แมกนีเซียม มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวหลังจากการหดตัว การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียมไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น ถ้าขาดมากๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งอย่างรุนแรง และเป็นตะคริวได้ ด้านอารมณ์จะรู้สึกหงุดหงิด สับสน ตื่นเต้นง่าย หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น แมกนีเซียมป้องกันแคลเซียมจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอด เลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ

ในโลกของแร่ธาตุตาม ธรรมชาติ แคลเซียม และ แมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันโดยจะแยกออกจากกันมิได้ แมกนีเซียม ช่วยร่างกายในการดูดซึม แคลเซียม และ แคลเซียม ก็มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อร่างกายในการย่อยสลาย แมกนีเซียม แคลเซียม นั้นไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สร้างเสริมกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกเปราะ กระดูกพรุน และยังช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตบำรุง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อและกระบวนการการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ของร่างกาย ในขณะที่ แมกนีเซียม จะช่วย แคลเซียม สร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการเป็นตะคริว กระตุ้นระบบประสาทควบคุมการใช้น้ำตาลของร่างกาย รวมถึงช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนอันเป็นปัจจัยสำคัญในการบำรุงกล้ามเนื้อ และเซลล์ต่างๆ นอกจากนั้นยังควบคุมมิให้ระบบการหดตัวของหลอดเลือดทำงานผิดปกติทำให้เลือดใน หลอดเลือดไหลได้สะดวก และหากสาเหตุของการเป็นตะคริวเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือสตรีมีครรภ์ที่มีระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ และควรจะบริโภค แคลเซียม เสริม ก็ควรจะบริโภค แมกนีเซียม เสริมด้วย เนื่องจาก แคลเซียม และ แมกนีเซียม จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน

ในการรับประทาน แมกนีเซียม ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

สาเหตุ หนึ่งของการเกิดตะคริว ได้แก่ การที่ร่างกายเสียสมดุลระหว่างแร่ธาตุ แคลเซียม และ แมกนีเซียม และ/หรือ ขาด วิตามินอี ดังนั้นจึงควรจะรับประทาน แมกนีเซียม และ แคลเซียม ให้สมดุลกัน โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยอาหารที่มี แคลเซียม มากได้แก่ นม ผักใบเขียว งา กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก เป็นต้น ส่วนอาหารที่มี แมกนีเซียม สูง ได้แก่ ผลไม้เปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช (เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สี) และผักใบเขียว เป็นต้น

ขนาดรับประทาน
มาตรฐานกำหนด (ที่มา : https://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/min4.htm (อย.)) เด็กทารก ต้องการประมาณวันละ 50-70 มก. เด็กโต ต้องการประมาณวันละ 150-250 มก. ผู้ใหญ่ต้องการประมาณวันละ 350-450 มก. หญิงมีครรภ์และระยะให้นมบุตรประมาณวันละ 450-600 มก. อาหารทั่วไปที่มี แมกนีเซียม ประมาณ 300-800 มก. ก็จะเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้

ผลของการรับประทาน แมกนีเซียม ไม่เพียงพอ
จาก การทดลองกับสัตว์พบว่า ถ้าให้อาหารที่มี แมกนีเซียม ต่ำเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มีแมกนีเซียมนาน 100 วันขึ้นไป มักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซียมในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาด แมกนีเซียม ได้ คนพวกนี้มักมี แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชักคล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)

การขาด แมกนีเซียม จะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะถูกทำลาย และประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่ายกายจะสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียม ถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน มีโอกาสขาด แมกนีเซียม ได้ง่าย

การดูด ซึมจะถูกควบคุมด้วยพาราธัยรอยด์ ฮอร์โมน และจำนวนของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร กรดไฟติกที่พบในข้าวอาจป้องกันการดูดซึมของ แมกนีเซียม อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลั่งจากต่อมแอดรีนัลจะคอยควบคุมจำนวนของ แมกนีเซียม ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะและการดื่มเหล้าจะเพิ่มจำนวนของ แมกนีเซียม ที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ การได้รับฟลูออไรด์หรือสังกะสีปริมาณมากๆ จะไปเพิ่มการขับถ่าย แมกนีเซียม ทางปัสสาวะให้มากขึ้นเช่นกัน

ผลการรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไป
ขณะ นี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนีเซียม มากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียม สูงอาจช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบได้

ในกรณีปกติหากได้รับ แมกนีเซียม มากเกินไป ไตจะทำการขับออกนอกร่างกาย แต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจไม่ถูกขับออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม ไม่สมดุล เป็นผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่องจากระบบประสาทกลาง

การรับประทานแมกนีเซียม
แนะ นำให้รับประทาน แมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมประมาณวันละ 300 มก. และควรรับประทาน แมกนีเซียม ที่ไม่มีผลทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว เช่น แมกนีเซียม ออกไซด์ และ แมกนีเซียม ฟอสเฟต ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการสร้างความหนาแน่นของกระดูก

ข้อควรระวังในการรับประทาน แมกนีเซียม คือ ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

แมกนีเซียมเหมาะสำหรับใคร

► ผู้มีความเครียดสูง

► ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ

► ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)

► ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลม เหล้า ในปริมาณมาก

► ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ

► ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis

                Link     https://www.thaimtb.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด