โรคขาดสารอาหารมีกี่โรค ขาดสารอาหาร เด็ก1ปี การขาดสารอาหารของเด็กไทย


1,670 ผู้ชม


โรคขาดสารอาหารมีกี่โรค ขาดสารอาหาร เด็ก1ปี การขาดสารอาหารของเด็กไทย

            โรคขาดสารอาหารมีกี่โรค

 โทษของการขาดสารอาหาร

ประเทศไทยแม้จะได้ชื่อว่า  เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากมายหลายชนิด  เพราะนอกจากจะสามารถผลิตอาหารพอเลี้ยงประชากรในประเทศได้แล้ว  ยังมากพอที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ปีละมาก ๆ อีกด้วย  แต่กระนั้นก็ตาม  ยังมีรายงานว่า  ประชากรบางส่วนของประเทศยังเป็นโรคขาดสารอาหารอีกจำนวนไม้น้อย  โดยเฉพาะทารกและเด็กอ่อน วัยเรียน  เด็กเหล่านี้อยู่ในสภาพที่ร่างกายไม้เจริญเติบโตเต็มที่  มีความต้านทานต่อโรคติดเชื้อต่ำ  นอกจากนี้นิสัยโดยส่วนตัวของคนไทยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารทั้งนี้เพราะคนไทยเลือกกินอาหารตามรสปาก  รีบร้อนกินเพื่อให้อิ่มท้อง  หรือกินตามทที่หามาได้  โดย ไม่คำนึงถึงว่ามีสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายครบถ้วนหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้โดยไม่รู้สึกตัว

                            นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า  เมื่อกินอาหารเข้าสู่ร่างกายแล้วและอาหารก็จะถูกย่อยสลายโดยอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย   ให้เป็นสารอาหารเพื่อนำไปทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

                              1.ให้พลังงานและความร้อนเพื่อใช้ในการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น การหายใจ  การยืดหดของกล้ามเนื้อ  การย่อยอาหารเป็นต้น

                              2.สร้างความเจริญเติบโตสำหรับเด็ก  และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชำรุดทรุดโทรมในผู้ใหญ่

                              3.ช่วยป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรค  ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

                              4.ช่วยควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย

                             ดังนั้นถ้าร่างกายของคนเราได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคขาดสารอาหารได้

  โรคขาดสารอาหารที่สำคัญและพบเห็นบ่อยในประเทศไทยมีดังนÕé

1.โรคขาดโปรตีนและแคลอรี

โรคขาดโปรตีนและแคลอรีเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันที่มีคุณภาพดีไม่เพียงพอ  เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี  โดยเฉพาะทารกและเด็กก่อนวัยเรียน  อันเนื่องมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เอาใจใส่เริ่งการกินอาหารหรือไม่มีความรู้ทางโภชนาการดีพอ  ลักษณะอาการของโรคมี 2 รูปแบบ  คือ  ควาซิออร์กอร์ ( Kwashiorkor ) และมาราสมัส ( Marasmus )

1.1.ควาชิออร์กอร์  เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอย่างมาก  มักเกิดกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมข้นหวาน  นมผงผสม  และให้อาหารเสริมประเภทข้าวหรือแป้งเป็นส่วนใหญ่  ทำให้ร่างกายขาดโปรตีนสำหรับการเจริญเติบโตและระบบต่าง ๆ บกพร่อง  ทารกจะมีอาการซีด  บวมที่หน้า  ขา  และลำตัว  เส้นผมบางเปราะและร่วงหลุดง่าย  ผิวหนังแห้งหยาบ  มีอาการซึมเศร้า  มีความต้านทานโรคต่ำ   ติดเชื้อง่าย  และสติปัญญาเสื่อม

1.2.มาราสมัส   เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหรประเภท โปรตีน  คาร์โบไฮเดรตและไขมันผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับเป็นควาชิออร์กอร์แต่ไม่มีอาการบวมที่ท้อง  หน้า  และขา  นอกจากนี้ร่างกายจะผอมแห้ง  ศรีษะโตพุงโร  ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่  ลอกออกเป็นชั้นได้  และท้องเสียบ่อย

อย่างไรก็ตาม  อาจมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะทั้งควาชิออร์กอร์  และมาราสมัสในคนเดียวกันได้

              

   รูป   ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและแคลอรี

ประเภทควาชิออร์กอร์และมาราสมัส

 จากการสำรวจพบว่า  ทารกและเด็กก่อนวัยเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโรคขาดโปรตีน  และแคลอรีมากที่สุด   นอกจากนี้จากรายงานสถานภาพโภชนาการในประเทศไทยของกองโภชนาการ  กรมอนามัย  ยังพบอีกว่าในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะในชนบทมีภาวะโภชนาการไม่ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์   มีอาการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย   และขณะตั้งครรภ์งดกินอาหารประเภทโปรตีน    เพราะเชื้อว่าเป็นของแสลงทำให้ได้รับพลังงานเพียงร้อยละ  80  และโปรตีนร้อยละ 62 - 69  ของปริมาณที่ควรได้รับ

การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น  ด้วยเหตุนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการส่งเสริมให้เลี้ยงทารกด้วยนมมารดามากขึ้น  และส่งเสริมให้เด็กดื่มนมวัวน้ำนมถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น  เพราะน้ำนมเป็นสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดเนื่องจากประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ ครบทั้ง 5 ประเภท

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีหน่วยงานหลายแห่งได้ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการผลิตอาหารที่ให้คุณค่าโปรตีนแต่มีราคาไม่แพงนัก  ให้คนที่มีรายได้น้อยได้กินกันมากขึ้น  สถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร   มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ได้ค้นคว้าทดลองผลิตอาหารโปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์  เช่น  ใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่เรียกว่า  โปรตีนเกษตร  ที่ผลิตในรูปของเนื้อเทียม  และโปรตีนจากสาหร่ายสีเขียว  เป็นต้น

 2.โรคขาดวิตามิน

นักเรียนคงได้ทราบมาแล้วว่า  นอกจากร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันแล้ว  ยังต้องการสารอาหารประเภทวิตามิน ( และแร่ธาตุ )  อีกด้วยเพื่อช่วยทำให้ร่างกายสมบูรณ์ขึ้น  คือ  ช่วยควบคุมให้อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ได้ตามปกติถึงแม้ร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทนี้ในปริมาณน้อยมาก  แต่ถ้าขาดไปจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์และเกิดโรคต่าง ๆ ได้  โรคขาดวิตามินที่พบในประเทศไทยส่วนมากเป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ  วิตามินบีหนึ่ง  วิตามินบีสอง  และวิตามินซี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

2.1.โรคขาดวิตามินเอ   เกิดจากอาหารที่มีไขมันต่ำและมีวิตามินเอน้อยคนที่ขาดวิตามินเอ  ถ้าเป็นเด็กการเจริญเติบโตหยุดชะงัก  สุขภาพอ่อนแอ  ผิวหนังหยาบแห้งมีตุ่มสาก ๆ เหมือนหนังคางคกเนื่องจากการอักเสบบริเวณก้น  แขน  ขา  ข้อศอก  เข่า  และหน้าอก  นอกจากนี้จะมีอาการอักเสบในช่องจมูก  หู  ปาก  ต่อมน้ำลาย  เยื่อบุตาและกระจกตาขาวและตาดำจะแห้ง   ตาขาวจะเป็นแผลเป็นที่เรียกว่า  เกล็ดกระดี่   ตาดำขุ่นหนาและอ่อนเหลวถ้าเป็นรุนแรงจะมีผลทำให้ตาบอดได้  ถ้าไม่ถึงกับตาบอดก็อาจจะมองไม่เห็นในที่สลัวหรือปรับตาในความมืดไม่ได้  เรียกว่า  ตาฟาง  หรือ  ตาบอดกลางคืน

 

 รูป     โรคตาเป็นเกล็ดกระดีที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ

การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินเอ   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีไขมันและอาหารจำพวกผลไม้  ผักใบเขียว  ผักใบเหลือง  เช่น  มะละกอ  มะม่วงสุก  ผักบุ้ง  คะน้า  ตำลึง  มันเทศ  ไข่  นม  สำหรับทารกควรได้กินอาหารเสริมที่ผสมกับตับหรือไข่แดงบด

2.2.โรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบีต่ำและกินอาหารที่ไปขัดขวางการดูดซึมวิตามินบีหนึ่ง  คนที่ขาดวิตามินบีหนึ่งจะเป็นโรคเหน็บชาซึ้งจะมีอาการชาทั้งมือและเท้า   กล้ามเนื้อแขนและขาไม่มีกำลัง  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมร่วมด้วย  ถ้าเป็นมากจะมีอาการใจสั่นหัวใจโตและเต้นเร็ว  หอบ  เหนื่อย  และอาจตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

 

 รูป  ผู้ป่วยเป็นโรคเหน็บชาเนื่องจากการขาดวิตามินบีหนึ่ง

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งให้เพียงพอและเป็นประจำ   เช่น  ข้าวซ้อมมือ  ตับ  ถั่วเมล็ดแห้ง  และเนื้อสัตว์  และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามินบีหนึ่ง  เช่น  ปลาร้าดิบ  หอยดิบ  หมาก เมี่ยง  ใบชา  เป็นต้น

 2.3.โรคขาดวิตามินบีสอง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบี สองไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินบีสองมักจะเป็นแผลหรือรอยแตกที่มุมปากทั้งสองข้างหรือซอกจมูกมีเกล็ดใสเล็ก ๆ ลิ้นมีสีแดงกว่าปกติและเจ็บ  หรือมีแผลที่ผนังภายในปากรู้สึกคันและปวดแสบปวดร้อนที่ตา  อาการเหล่านี้เรียกว่า  เป็นโรคปากนกกระจอก  คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  และอารมณ์หงุดหงิด

 

 

 

 รูป   โรคปากนกกระจอกเนื่องจากการขาดวิตามินบีสอง

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีสอง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีสองให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  นมปรุงแต่ง  นมถั่วเหลือง  น้ำเต้าหู้  ถั่วเมล็ดแห้งข้าวซ้อมมือ  ผัก  ผลไม้  เป็นต้น

 2.4.โรคขาดวิตามินซี  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินซีไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินซีมักจะเจ็บป่วยบ่อย  เนื่องจากมีความต้านทานโรคต่ำ  เหงือกบวมแดง  เลือดออกง่าย  ถ้าเป็นมากฟันจะโยกรวน  และมีเลือดออกตามไรฟันง่าย  อาการเหล่านี้เรียกว่าเป็น  โรคลักปิดลักเปิด

 

 รูป   โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากการขาดวิตามินซี

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินซี   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินซีให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  ส้ม  มะนาว  มะขามป้อม  มะเขือเทศ  ฝรั่ง  ผักชี  เป็นต้น

 จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  โรคขาดวิตามิน  ส่วนมากมักจะเกี่ยวกับวิตามินประเภทละลายได้ในน้ำ  เช่น  วิตามินบี  วิตามินอี  และวิตามินเค  มักจะไม่ค่อยเป็นปัญหาโภชนาการ   ทั้งนี้เพราะวิตามินเหล่านี้บางชนิดร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเเองได้  เช่น  วิตามินดี  ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งและได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอ  รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนสารที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งใต้ผิวหนังที่เป็นวิตามินดีได้  วิตามินเค  ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่

 3.โรคขาดแร่ธาตุ

แร่ธาตุนอกจากจะเป็นสารอาหารที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติแล้ว  ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายอีกด้วย  เช่น  เป็นส่วนประกอกบของกระดูกและฟัน  เลือด  กล้ามเนื้อ  เป็นต้น  ดังที่กล่าวแล้ว  ดังนั้น  ถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุก็อาจจะทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะผิดปกติ  และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้  ดังนี้

                           3.1.โรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  เกิดจากการกินอาหารที่มีแคลเซียมยมและฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ  คนที่ขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสจะเป็นโรคกระดูกอ่อน  มักเป็นกับเด็ก  หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร  ทำให้

ข้อต่อกระดูกบวม  ขาโค้งโก่ง  กล้ามเนื้อหย่อน  กระดูกซีโครงด้านหน้ารอยต่อนูน  ทำให้หน้าอกเป็นสันที่เรียกว่าอกไก่   ในวัยเด็กจะทำให้การเจริญเติบโตช้าโรคกระดูกอ่อนนอกจากจะเกิดจากการขาดแร่ธาตุทั้งสองแล้ว  ยังเกิดจากการได้รับแสงแดดไม่เพียงพออีกด้วย

 

 รูป   โรคกระดูกอ่อน เนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส

                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้มากและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก  ผักสีเขียว  น้ำมันตับปลา เป็นต้น

                           3.2.โรคขาดธาตุเหล็ก   เกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือเกิดจากความผิดปกติในระบบการย่อยและการดูดซึม  คนที่ขาดธาตุเหล็กจะเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายสร้างเฮโมโกลบินได้น้อยกว่าปกติ  ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร   มีความต้านทานโรคต่ำ  เปลือกตาขาวซีด  ลิ้นอักเสบ  เล็บบางเปราะ  และสมรรถภาพในการทำงานเสื่อม

  

                                    รูป    ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจางและมีลิ้นอักเสบและซีด

                             การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุเหล็ก  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูงเป็นประจำ   เช่น  ตับเครื่องในสัตว์  เนื้อสัตว์  ผักสีเขียว  เป็นต้น

                           3.3.โรคขาดธาตุไอโอดีน  เกิดจากการกินอาหารที่มีไอโอดีนต่ำหรืออาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีนในร่างกาย  คนที่ขาดธาตุไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก  และต่อมไทรอยด์บวมโต  ถ้าเป็นตั้งแต่เด็กจะมีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ  ร่างกายเจริญเติบโตช้า  เตี้ย  แคระแกร็น  สติปัญญาเสื่อม  อาจเป็นใบ้หรือหูหนวกด้วย  คนไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นโรคนี้กันมาก  บางทีเรียกโรคนี้ว่า  โรคเอ๋อ

  

      รูป     ผู้ป่วยเป็นโรคคอพอกเนื่องจากการขาดธาตุไอโอดีน

                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุไอโอดีน  ทำได้โดยการกินอาหารทะเลให้มาก  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  เป็นต้น  ถ้าไม่สามารถหาอาหารทะเลได้ก็ควรบริโภคเกลืออนามัย  ซึ่งเป็นเกลือสมุทรผสมไอโอดีนที่ใช้ในการประกอบอาหารแทนได้  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีน  เช่น  พืชตระกูลกระหล่ำปลี  ซึ่งก่อนกินควรต้มเสียก่อน

                            โดยกล่าวสรุป  การขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลาย ๆ ประเภท  นอกจากจะมีผลทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงและเป็นโรคต่าง  ๆ ได้แล้ว  ยังทำให้การดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก  อีกทั้งยังมีผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของประชากรโดยตรง  ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาของประเทศในที่สุด  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเลือกกินอาหารอย่างมีคุณภาพ  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงเสมอไป  แต่ต้องการกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเพียงกับร่างกายต้องการในแต่ละวัน  นั่นคือ  กินให้ดี  แล้วก็จะส่งผลถึงสุขภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย  ซึ่งก็คือ  อยู่ดี  ด้วย

                          อย่างไรก็ตาม  โรคที่เกี่ยวกับสารอาหารไม่ใช่มีเฉพาะโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารเท่านั้น  การที่ร่างกายได้รับสารอาหารบางประเภทมากเกินไปก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นเดียวกัน  โรคที่เกิดจากการได้รับสารอาหารมากเกินไปความต้องการของร่างกายมีหลายโรคที่พบเห็นบ่อย  คือ  โรคอ้วน

                            โรคอ้วน  เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย  ทำให้มีการสะสมของไขมันภายในร่างกายเกินความจำเป็น  คนที่เป็นโรคอ้วนอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา  เช่น  สภาพจิตใจไม่ปกติ  ความต้านทานโรคต่ำ  ติดโรคง่าย  เป็นโรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  เป็นต้น

 

รูป   ผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน

                            ปัจจุบันสภาวะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา  ประกอบกับการมีค่านิยมการบริโภคอาหารแบบตะวันตก  เช่น  พิซซ่า  แซนด์วิช  มันฝรั่งทอด  ไก่ทอด  เป็นต้น  จึงทำให้ได้รับไขมันจากสัตว์ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลสูง  ดังนั้นนักเรียนควรใช้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ศึกษามาให้ประโยชน์ต่อตนเอง  โดยการเลือกกินอาหารที่มีไขมันให้พอเหมาะเพื่อป้องกันโรคอ้วน  โรคไขมันและคอเลสเทอรอลในเลือดสูง  ซึ่งจะมีผลต่อโรคอื่น ๆ ต่อไป  นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคอ้วนได้ถ้าอ้วนมาก ๆ ควรปรึกษาแพทย์  อย่าใช้ยา  สบู่  ครีม  หรือเครื่องมือลดไขมัน  ตลอดจนการกินยาลดความอ้วน  เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

              Link   https://www.kr.ac.th/tech

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                ขาดสารอาหาร เด็ก1ปี


เริ่มต้นดี...ด้วยอาหารเช้า

เริ่มต้นดี...ด้วยอาหารเช้า

แม่และเด็ก - อาหารเช้า

เริ่มต้นดี...ด้วยอาหารเช้า
(modernmom)
โดย: หน่วยอุ่น
          15 % ของเด็กไทยรับอาหารเช้าไม่เพียงพอ พบส่งผลต่อการเรียนรู้

          25 % คือสัดส่วนของพลังงานจากอาหารเช้าที่เด็กได้รับทั้ง ๆ ที่เป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน
          เด็ก วัย 1-3 ปีเป็นวัยของการเติบโต พัฒนาการด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่า หนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของร่างกายให้แข็งแรง ก็หนีไม่พ้นอาหารการกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเช้า ซึ่งส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพและการเรียนรู้ของ เด็กค่ะ

          ข้อมูล จากสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า เด็กเล็กที่รับอาหารเช้าไม่เพียงพอมีมากถึง 15 % ทั้งที่มื้อเช้าเป็นมื้อหลักและเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน เนื่องจากเด็กจะไม่ได้รับอาหารมาตั้งแต่มื้อเย็นนับแล้วนานถึง 10-13 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายขาดน้ำตาลกลูโคสที่จะไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้ลดประสิทธิภาพลง
          ตาม หลักแล้วพลังงานในแต่ละวันควรได้จากอาหาร 3 มื้อเท่า ๆ กัน คือ มื้อละประมาณ 30 % และจากอาหารว่างอีก 10 % แต่จากการสำรวจพบว่าเด็กไทยได้พลังงานจากมื้อเช้าประมาณ 25 % ส่วนอีกประมาณ 60 % ได้จากมื้อกลางวันและมื้อเย็น ที่เหลือเป็นอาหารว่าง ซึ่งอุดมไปด้วยน้ำตาลและไขมัน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน ไขมัน ฯลฯ
          การ ที่เด็ก ๆ อดอาหารเช้ามีผลต่อสุขภาพและการเรียนรู้ เมื่อได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง อาจทำให้ปวดศีรษะ มึน ปวดท้องและมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะได้ ในระยะยาวอาจเป็นโรคขาดสารอาหาร นอกจากนั้นยังส่งผลต่ออารมณ์ของเด็กด้วย เพราะเด็กที่ไม่ได้กินมื้อเช้า จะหิวจนทำให้สมาธิลดน้อยลง หงุดหงิด สับสน อ่อนเพลียและง่วงนอน
ปริมาณอาหารที่เหมาะสม

          จริง ๆ แล้วในแต่ละวันเด็กวัย 1-3 ขวบต้องการสารอาหารไม่ต่างกัน จะต่างกันที่ปริมาณเท่านั้น หากได้รับปริมาณอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการ เด็กก็จะได้สารอาหารครบถ้วน
          สำหรับ ปริมาณข้าวเด็ก 1 ขวบ 4 ทัพพี เด็ก 2 ขวบ 5 ทัพพี และเด็ก 3 ขวบ 6 ทัพพี นอกจากนั้นในแต่ละมื้อควรมีผักเป็นส่วนประกอบ 2-4 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ให้เป็นอาหารว่าง 2 มื้อและหลังอาหาร 1 มื้อ รวม 3 ครั้งต่อวัน เนื้อสัตว์มื้อละ 1 ½ ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่วันละ 1 ฟองสำหรับเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไปควรให้ดื่มนมวันละ 2 แก้วค่ะ
เมนูอาหารเช้าสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี
          อาหารเช้าควรประกอบไปด้วยสารอาหารจาก 3 กลุ่มสำคัญ คือคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งกลุ่มที่กินง่าย รสไม่จัด
           คาร์โบไฮเดรต ร่าง กายที่ขาดอาหารมาตั้งแต่มื้อเย็น ทำให้ขาดน้ำตาล ซึ่งได้จากคาร์โบไฮเดรตที่เด็ก ๆ ขาดไม่ได้ในมื้อเช้า ไม่ว่าจะเป็นข้าว ขนมปัง ฯลฯ
           โปรตีน เตรียมกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้พร้อมเรียนรู้ คุณแม่ต้องเลือกแหล่งโปรตีนให้เหมาะกับเด็กค่ะ เนื้อสัตว์จำพวก ไก่ หมูสับ รวมถึงไข่และเต้าหู้ก็ได้ค่ะ
           วิตามินและเกลือแร่ เติมความสดใสยามเช้าด้วยวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งพบมากในผักและผลไม้ เช่น วิตามินซีจากส้ม ฝรั่ง หรือธาตุเหล็กจากผักใบเขียวและเนื้อสัตว์ เช่น ตำลึง ตับ เนื้อแดง ฯลฯ
6 เมนูอร่อยของหนู ๆ
          เมนู ที่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ ควรมีส่วนประกอบของแหล่งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต อย่างข้าว ขนมปัง เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ และไข่ ใส่ผักให้หลากหลาย เพราะเป็นอาหารหลัก ที่เด็กควรได้รับเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับมื้อเช้า ที่ทำง่ายใช้เวลาน้อย หากเตรียมส่วนผสมต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมก่อนก็จะช่วยให้ประหยัดเวลาไปอีกมากเลยทีเดียว อย่าง 6 เมนูดังนี้ค่ะ
             ซุปมักกะโรนีหมูสับ
             ไข่คน
             ข้าวต้มตำลึง
             แซนด์วิชทูน่า
             ข้าวหมูซีอิ๊ว
             ขนมปังชุบไข่
Modern Mom’s Tip

          เมนูเหล่านี้นอกจากทำง่ายแล้ว ยังสามารถเตรียมไว้ก่อนได้ โดยหั่นผักแล้วนำไปลวก เก็บใส่กล่องแยกไว้ ปิดฝากให้สนิทหรือใส่ถุงซิบล็อค เก็บไว้กินได้หลายครั้งและนำไปใส่ได้อีกหลายเมนู ไม่เสียเวลาเตรียมทีละมื้อ
          ทุกจานสามารถเสิร์ฟคู่กับผลไม้สด น้ำผลไม้ หรือนม ก็จะช่วยให้มื้อเช้าของลูกมื้อครบคุณค่าสารอาหารมากขึ้นค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    การขาดสารอาหารของเด็กไทย

          การบริโภคอาหารของคนไทย

          อาหารมีความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพของคนเรา และมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะโภชนาการซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพ คนที่กินอาหารมากเกินไปจะเกิดภาวะโภชนาการเกิน เป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆ หากกินอาหารไม่เพียงพอก็ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร ส่งผลถึงประสิทธิภาพของร่างกายได้ อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ หรือโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ตลอดจนสารเคมีต่างๆ ล้วนส่งผลถึงความไม่ปลอดภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเรา ซึ่งเราก็ประสบปัญหาทั้ง 3 ด้านดังกล่าวข้างต้น แต่ปัญหาเรื่องโภชนาการเกินเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนับเป็นปัญหาที่ท้าทายนักวิชาการด้านโภชนาการอย่างมาก ส่วนปัญหาการขาดสารอาหารแม้จะลดความรุนแรงลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีอยู่ สำหรับปัญหาความปลอดภัยของอาหารก็ยังพบเห็นได้ไม่น้อยในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้นักวิชาการด้านโภชนาการและผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจึงได้พยายาม ดำเนินการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว วิธีหนึ่งที่ได้ดำเนินการเพื่อหาข้อมูลในการแก้ไขปัญหาคือ การสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทย
         การสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทยจะทำให้ทราบว่าคนไทยกินอาหารอะไรบ้าง กินอย่างไร ในปริมาณเท่าไร เพราะเมื่อทราบว่าคนไทยกินอะไรบ้างก็จะสามารถทราบภาวะโภชนาการโดยรวมหรือ ภาพรวมของภาวะโภชนาการของคนไทย หรือทำให้ทราบแนวโน้มว่าคนไทยจะประสบปัญหาโภชนาการอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาว่าคนไทยจะมีความปลอดภัยในการ บริโภคอาหารหรือไม่ อย่างไร เสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อน เช่น อะฟล่าทอกซินหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น ซึ่งในการดำเนินการสำรวจดังกล่าวต้องทำโดยใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง ตั้งแต่การเลือกกลุ่มบุคคลที่จะสำรวจ โดยต้องพยายามเลือกกลุ่มบุคคลที่สามารถเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งหมด แบบสอบถามที่จะใช้เป็นเครื่องมือก็ต้องมีมาตรฐาน ที่สำคัญคือต้องมีเงินทุนเพียงพอในการสำรวจด้วย และเมื่อสำรวจเสร็จสิ้น การวิเคราะห์ประมวลข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก จึงเห็นได้ว่าการสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทยนั้นต้องใช้พละกำลังในทุกด้าน อย่างมหาศาลทีเดียว และข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาก็นับว่าคุ้มค่า เพราะสามารถนำมาใช้ในการวางยุทธวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการที่เกิด ขึ้น
          การสำรวจด้านโภชนาการของคนไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาได้มี 2 หน่วยงานดำเนินการสำรวจ คือ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการเมื่อ พ.ศ. 2546 รายงานผลการสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำรวจข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2546-2547 และรายงานผลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งการสำรวจด้านโภชนาการของทั้ง 2 หน่วยงานทำให้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ทำงานด้านอาหารและ โภชนาการของประเทศไทย และเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ จึงขอนำมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านได้ทราบ
          การสำรวจภาวะโภชนาการของกองโภชนาการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลด้าน อาหารและโภชนาการ ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานคนไทยและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของครัวเรือนมาใช้ในการ กำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานโภชนาการของประเทศ โดยได้ทำการศึกษาภาวะโภชนาการของประชากรทุกกลุ่มอายุ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของทารก เด็กวัยก่อนเรียน เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ตลอดจนศึกษาข้อมูลพื้นฐานคนไทย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของครัวเรือน พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 50,001-100,000 บาทต่อปี โดยจำนวนครึ่งหนึ่งของครัวเรือนดังกล่าวมีรายได้มากกว่า 96,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ครัวเรือนที่อยู่ในภาคกลางมีรายได้สูงสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ต่ำสุด และครัวเรือนส่วนใหญ่จ่ายเงินเป็นค่าอาหารร้อยละ 21-40 ของรายได้ ส่วนภาวะโภชนาการพบเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ 7.9 ภาวะอ้วนร้อยละ 4.0 เด็กอายุ 6-14 ปีในเขตเมืองพบภาวะอ้วนร้อยละ 9.5 เยาวชนในเขตเมืองอายุ 15-18 ปีพบภาวะอ้วนร้อยละ 17.7 ส่วนผู้ใหญ่พบว่ากลุ่มอายุ 30-59 ปีมีภาวะอ้วนมากที่สุด โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือพบภาวะอ้วนในผู้หญิงร้อยละ 46.2 และผู้ชายร้อยละ 32.0
          สำหรับการขาดสารอาหารพบว่าภาคใต้มีภาวะขาดสารอาหารมากที่สุด คือมีการเจริญเติบโตด้อยทั้งน้ำหนักและความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าภาคอื่น อีกทั้งพบปัญหาอ้วนสูงเป็นที่สองรองจากภาคกลาง และพบปัญหาคอเลสเตอรอลสูงมากที่สุด นอกจากนี้การสำรวจของกองโภชนาการในครั้งนี้พบว่าในทุกภาคมีปัญหาคอพอกในเด็ก วัยเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งยังพบว่าเด็กกลุ่มวัยทำงาน หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรประสบปัญหาโลหิตจางมากขึ้น โดยพบในชนบทมากกว่าในเมือง ส่วนการบริโภคน้ำตาลของกลุ่มวัยทำงานพบว่าค่าเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลและ อัตราความชุกของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มขึ้นตามอายุ และร้อยละ 40 ของกลุ่มคนวัยทำงานในเมืองมีพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรสก่อนชิมทุกครั้ง
          รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของกองโภชนาการนี้ พบพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น เด็กวัยรุ่นงดบริโภคอาหารบางมื้อ พบการกินขนมขบเคี้ยวมาก และในทุกกลุ่มอายุพบว่ามีการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น จึงทำให้ได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย ประเด็นที่คณะผู้สำรวจฝากให้คิดคือ วิถีชีวิตที่ใช้กำลังกายน้อยลงทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งพบว่ามีการออกกำลังน้อย
          สำหรับการสำรวจข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาตินั้น ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลครอบคลุมอาหาร 17 กลุ่ม รวมอาหารประมาณ 500 รายการ ซึ่งเป็นอาหารสด อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป ตลอดจนอาหารที่มีเฉพาะท้องถิ่น อาหารตามฤดูกาล โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล เครื่องดื่ม น้ำดื่ม และเครื่องปรุงรสต่างๆ ตลอดจนทำการสำรวจตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงการบริโภคอาหารของกลุ่มวัยต่างๆ และทำให้ได้ฐานข้อมูลปริมาณการบริโภคอาหารต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงต่อการได้รับสารเจือปนที่มีอยู่หรือ เติมลงในอาหาร อันเป็นข้อมูลในการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศของอาหารส่งออกจากประเทศไทย และใช้ข้อมูลในการกำหนดมาตรฐานความเสี่ยงจากการบริโภคของคนไทย รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ปรับข้อกำหนดใน FBDG หรือข้อปฏิบัติการกินอาหารที่ดีของคนไทยด้วย ซึ่งจากผลสำรวจในครั้งนี้พบว่าคนกรุงเทพฯ ทั้งกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายดื่มนมและกินเนื้อสัตว์มากกว่าคนต่างจังหวัด เด็กกรุงเทพฯ ดื่มนมโดยเฉลี่ยวันละ 300 มิลลิลิตร คนต่างจังหวัดพบว่ามีการบริโภคน้ำตาล ผลไม้ และขนมหวานมากกว่าคนกรุงเทพฯ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนอาหารว่างนั้นกลุ่มที่นิยมบริโภคคือกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่บริโภคน้อย และพบว่าเด็กต่างจังหวัดนิยมบริโภคอาหารว่างมากกว่าเด็กในกรุงเทพฯ โดยภาพรวมพบว่าคนไทยกินอาหารที่มีไขมันเพิ่มมากขึ้น กินผัก-ผลไม้ลดลง โดยเฉพาะเด็กเล็กกินผักน้อยมาก คนวัยทำงานแม้จะกินผักมากกว่าเด็ก แต่ปริมาณที่กินก็นับว่าน้อย ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าทำไมคนไทยจึงประสบปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อมากขึ้นๆ ทุกปี
          
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงน่าจะทำให้เราได้ตระหนักและเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย โดยบริโภคในปริมาณที่พอเพียง ไม่มากไม่น้อยเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น อาหารรสหวาน และอาหารรสจัดอื่นๆ พยายามกินผักให้มากขึ้น ที่สำคัญคือเรื่องของการใช้พลังงานควรให้สัมพันธ์กับอาหารด้วย เพราะแม้กินอาหารเหมือนปกติ แต่มีการใช้พลังงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลงก็ทำให้อ้วนได้เช่นกัน ดังนั้นถ้ากิจกรรมน้อยลง ก็ต้องลดปริมาณของอาหารลงด้ว

            Link   https://www.gourmetthai.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

อัพเดทล่าสุด