โรคเล็บเป็นเชื้อรา โรคเล็บที่มือ โรคเล็บลอกเป็นชั้น


38,767 ผู้ชม


โรคเล็บเป็นเชื้อรา โรคเล็บที่มือ โรคเล็บลอกเป็นชั้น

            โรคเล็บเป็นเชื้อรา

การติดเชื้อราที่เล็บ Tinea ungium

สาเหตุ

เชื้อราที่เป็นสาเหตุมีด้วยกันหลายชนิด

  • เชื้อราตามผิวหนังกลุ่ม Dermatophyte เชื้อที่พบบ่อยคือ Trichophyton rubrum T rubrum T. interdigitale
  • พวกยีสต์เชื้อที่พบบ่อยคือ Candida albicans
  • เชื้อราบนดินได้แก่ Scopulariopsis brevicaulis
 

มักจะพบที่นิ้วหัวแม่เท้า และมักจะมีการติดเชื้อราที่อื่น เช่นเท้า หรือที่มือมาก่อน ผู้หญิงที่ไปทำเล็บตามร้านเสริมสวยมีโอกาสเป็นเชื้อราที่เล็บได้ง่าย

อาการของเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บมีอาการได้หลายแบบ

  • เป็นเชื้อราที่ข้างเล็บจะพบเป็นแถบสีขาวหรือสีเหลืองที่ด้านข้างของเล็บ
  • มีการหน้าตัวของเล็บ และมีขุยที่ใต้เล็บ Subungual hyperkeratosis
  • เป็นเชื้อราที่ปลายเล็บ
  • เป็นเชื้อราที่บนเล็บจะมีฝ้าขาวบนเล็บและมีหลุม.
  • เป็นเชื้อราที่โคนเล็บ
  • เชื้อรามีการทำลายเล็บ

การรักษา

เชื้อราที่นิ้วทั่วไปรักาาง่ายกว่าเชื้อราที่เล็บนิ้วโป้ง หากเป็นเชื้อราที่นิ้วสองนิ้วและไม่มาก การใช้ยาทาแก้เชื้อราวันละ 1-2 ครั้งเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก็ได้ผล และเมื่อผื่นหายก็ทาต่อสักระยะหนึ่ง แต่หากจะให้หายขาดจะต้องร่วมกับการใช้ยารับประทาน ปัจจุบันนิยมใช้ทั้งชนิดทาและรับประทาน

             Link   https://www.siamhealth.net/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคเล็บที่มือ

 "เล็บก็สามารถบอกโรคได้"
โดยทั่วไปเล็บเป็นส่วนที่งอกออกมาจากผิวหนัง เป็นเซลที่ตายแล้ว
มีส่วนประกอบหลักเป็นสารประเภทโปรตีนที่ชื่อว่า เคราติน (Keratin)
เล็บที่ปกตินั้นจะมีสีชมพูอ่อนๆ เสมอกัน เนื้อเล็บแข็งเรียบ ลื่น
แต่บางครั้งเล็บอาจมีรูปร่างหรือสีผิดปกติได้
ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติหรือโรคภัยบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย ดังนี้
      - เล็บขาวซีด อ่อน แบน และบุ๋ม :
มักพบในคนที่เป็นโรคโลหิตจางซึ่งอาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก
      - เล็บขาวเป็นแผ่นตรงกลาง : เป็นความผิดปกติที่พบในโรคตับ
       -  เล็บเป็นหลุม ขรุขระ ไม่เรียบเกลี้ยงเกลา :
พบในโรคผิวหนังที่เรียกว่าสะเก็ดเงิน หรือเรื้อนกวาง
      - เล็บหนากว้าง
และโค้งมนตามลักษณะของปลายนิ้วที่โตขึ้นและมีสีออกม่วงคล้ำ :
พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ (ลิ้นหัวใจรั่ว) โรคตับ และโรคท้องเสียเรื้อรัง
      - เล็บเป็นดอกหรือจุดขาวๆ หรือเป็นเสี้ยวพระจันทร์ :
แสดงว่ามีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยหนัก
หรือขาดสารอาหารบางอย่างที่ทำให้เซลสร้างเล็บได้ไม่สมบูรณ์
      - เล็บเหลือง : ถ้าเป็นบางเล็บบนนิ้วที่ถนัด
อาจเป็นสารนิโคตินจากบุหรี่ที่มาเกาะเล็บที่ใช้คีบบุหรี่
หรือพบในโรคปอดบางชนิด โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต
      - เล็บเปลี่ยนสีเป็นครึ่งขาวครึ่งชมพู : พบในโรคไตบางชนิด
      - เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก :
พบในโรคลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ
โรคขาดวิตามินซี
      - เล็บสีดำ : พบในโรคลำไส้ผิดปกติ มีจุดดำๆ
ตามเนื้อเยื่อของลำไส้เยื่อบุปาก ริมฝีปาก ส่วนมากขาดวิตามินบี 12
      - เล็บที่ออกสีเทาๆ หรือดำคล้ำ :
พบในคนที่ได้รับตัวยาบางชนิดเช่น Phenolphthalein ในยาระบาย
และยารักษาโรคมาลาเรีย
      อยากรู้ว่าเป็นโรคอะไร สังเกตดูจากเล็บกันได้เลย

           Link   https://www.pendulumthai.com/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   โรคเล็บลอกเป็นชั้น

เล็บสวย สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

 เล็บสวย สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

เล็บสวย สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย (สุขกาบสบายใจ)

           เล็บเป็นอวัยวะส่วนเล็กที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก แต่เมื่อเวลาเล็บมีปัญหากลับส่งผลกระทบต่อเราอย่างมาก เช่น หยิบจับไม่สะดวกเมื่อเล็บฉีก เดินไม่สะดวกเมื่อเล็บเท้าขบ เล็บแตกเป็นชั้น ปลายเล็บดำดูสกปรก เป็นต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรหลงลืมคือ ดูแลเล็บให้สะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เพื่อให้เล็บแข็งแรงสุขภาพดี ซึ่งสมุนไพรในครัวที่เรามีช่วยได้

           เล็บมีส่วนประกอบหลักคือเคราติน ซึ่งเป็นคอลลาเจนชนิดหนึ่งที่ต้องอาศัยโปรตีนในการเจริญเติบโตสร้างเนื้อ เยื่อขึ้นใหม่ เป็นอวัยวะที่ไม่มีปลายประสาท อัตราการงอกของเล็บมือประมาณ 0.01 มิลลิเมตรต่อวัน แต่เล็บเท้าจะงอกช้ากว่าเล็บมือประมาณ 2-3 เท่า แต่ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น การไหลเวียนโลหิตช้าลงจะส่งผลให้เล็บเจริญเติบโตช้าลงตามไปด้วย หน้าที่สำคัญของเล็บคือช่วยรักษารูปทรงของนิ้วมือ นิ้วเท้า และช่วยรับส่งความรู้สึกเมื่อเวลาหยิบจับวัตถุสิ่งของ

สมุนไพรในครัวแก้เล็บมีปัญหา
           ปัญหาของเล็บอาจเนื่องมาจากแบคทีเรีย และเชื้อราจำพวกกลากหรือแคนดิดา (Candida) หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของเราอย่างเช่น แคะ แกะ เกา ซักผ้าด้วยมือ ล้างจาน สวมถุงมือ สวมรองเท้าที่คับเกินไป โดนหนีบหรือโดนกระแทกด้วยของแข็ง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้เล็บมีปัญหา ซึ่งบางครั้งเราสามารถแก้ไขในเบื้องต้นได้ แต่ถ้าหากอาการยังต่อเนื่องลุกลามไปถึงขั้นเสียรูปทรงเล็บ อาจจะต้องบำรุงจากภายในทั้งการรับประทานอาหาร และการฟื้นฟูจากภายนอกโดยการบำรุงด้วยสมุนไพรในระยะหนึ่ง ซึ่งสมุนไพรที่จะช่วยบำรุงเล็บของเราให้ดูสุขภาพดี แข็งแรงนั้นก็หาได้ง่ายในครัวของเรา ได้แก่ ผลมะกรูด ไพล ใบพลู และใบฝรั่ง ดังนี้
1.รักษาเชื้อราด้วยน้ำมะกรูด

           สาเหตุ: เชื้อราเป็นโรคอันดับต้น ๆ ที่สามารถเป็นได้ง่ายมาก มักเกิดจากการที่เล็บมือหรือเล็บเท้าอยู่ในที่อับชื้น อากาศไม่ถ่ายเทเป็นระยะเวลานาน เชื้อราส่วนใหญ่เกิดกับเล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ เพราะเล็บมือเราแห้งอยู่ตลอดเวลา แต่เล็บเท้าบางครั้งเราสวมรองเท้าและถุงเท้านานเกือบตลอดทั้งวัน โดยที่ไม่ได้ถอดรองเท้าระบายอากาศบ้าง เมื่อเหงื่อออกเท้าเกิดความชื้นก็สามารถก่อให้เกิดเชื้อราที่เล็บและมีกลิ่น เท้าได้

           บริเวณที่เป็น: อาจเริ่มต้นจากบริเวณจมูกเล็บ (Nail Groove) และลามกินแผ่นเล็บ (Nail Plate) ไปเรื่อย ๆ เป็นบริเวณกว้างหรืออาจจะทั้งแผ่นเล็บก็ได้ ส่งผลทำให้เล็บมีสีเหลือง อาจมีกลิ่น และบริเวณที่เป็นเชื้อราจะมีลักษณะขรุขระ แนวทางแก้ไขเบื้องต้นคือ ต้องคอยเล็มส่วนที่เป็นเชื้อราทิ้งไปให้หมด จนกว่าเซลล์เล็บที่เกิดใหม่ไม่มีลักษณะเป็นเชื้อราอีก ถ้าหากยังเป็นอยู่ควรไปพบแพทย์

           บำรุงด้วยสมุนไพร:

           1.นำผลมะกรูดมาคั้นน้ำ และใช้สำลีชุบน้ำมะกรูดทาบริเวณที่ติดเชื้อให้บ่อยครั้ง น้ำมะกรูดจะช่วยฆ่าเชื้อราให้ลดลงจนหมดไป
           2.เน้นบริโภคผักสวนครัวจำพวกกระเทียม หัวหอม ถั่วฝัก พริก และบร็อคโคลี หรือผักใบเขียว อาหารทะเลจำพวกหอย ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะขาม แตงโม เป็นต้น  อาหารเหล่านี้จะช่วยยับยั้งเซลล์แบคทีเรีย และเชื้อราบนผิวหนังให้มีจำนวนลดลงจนหายไปในที่สุด
2.ไพล ใบพลู และใบฝรั่งแก้อาการเล็บขบ ช้ำ และเป็นหนอง
           สาเหตุ: เมื่อเล็บยาวขึ้น แล้วตัดเล็บผิดรูปทรงคือ ตัดให้มีลักษณะปลายโค้งงอเป็นรูปไข่ ทำให้เล็บที่งอกใหม่ไปเจริญฝังและกดแนวจมูกเล็บ หรือสวมรองเท้าที่คับแน่นเท้าจนเกินไป จนทำให้รู้สึกปวดมากเมื่อถูกกดทับ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้ช้ำและอักเสบจนเป็นหนองได้

           บริเวณที่เป็น: อาการนี้เป็นได้กับทั้งเล็บมือและเล็บเท้าในบริเวณจมูกเล็บ แนวทางแก้ไขเบื้องต้นคือ หมั่นเล็มขอบเล็บให้บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่บีบรัดหน้าเท้า และอย่าตัดขอบเล็บให้ลึกจนเข้าไปกินเนื้อ เพราะหากขอบเล็บเกิดแผล เล็บที่งอกใหม่จะเจริญจนไปฝังตัวทิ่มบริเวณที่เป็นแผล

           บำรุงด้วยสมุนไพร:

           1. ใช้แง่งไพลสด 1 แง่ง (ยาวประมาณ 2 นิ้ว) โขลกรวมกับเกลือประมาณ 1 หยิบมือ และข้าวสุกประมาณ 1 กำมือ โขลกจนรวมตัวกันเข้าที่ แล้วนำไปพอกเล็บที่ขบทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก
           2. ใช้ใบพลูหรือใบฝรั่งประมาณ 3-5 ใบ นำมาตำรวมกับเกลือประมาณ 1 หยิบมือและพอกไว้บริเวณที่เล็บขบ ใช้ผ้าพันเพื่อปิดแผลไว้ ควรพอกอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7 วัน อาการช้ำและเล็บขบจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายดี และเพื่อความสะอาดควรเปลี่ยนผ้าพันทุกวัน วันละสองเวลาเช้าและเย็น
3.เน้นบำรุงโปรตีน เมื่อเล็บบางบิ่น ลอกเป็นชั้น เปราะหักง่าย
           สาเหตุ: เกิดขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น กัดเล็บ การแคะ แกะ เกา ซักผ้า ล้างจาน ทาเล็บเป็นประจำ ต่อเล็บด้วยอะคริลิค สูบบุหรี่ เป็นต้น
           บริเวณที่เป็น: ขอบเล็บ ซึ่งเป็นส่วนที่งอกติดกับแผ่นเล็บ ซึ่งเป็นส่วนที่เราตัดทิ้งได้บ่อยครั้ง แนวทางแก้ไขเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงการแกะหรือแคะสิ่งแข็งๆ เช่น การเปิดฝาน้ำอัดลม เปิดอาหารกระป๋อง หากเล็บไม่แข็งแรงควรใช้อุปกรณ์ช่วยเปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เล็บบิ่นหรือฉีก ได้ หากเล็บเกิดบิ่นหรือฉีกควรตัดทิ้งเพื่อไม่ให้รอยบิ่นหรือฉีกลามหนักไปกว่า เดิม และเว้นช่วงไม่ทาเล็บ เพ้นท์เล็บ หรือต่อเล็บ เพื่อให้เล็บได้พักบ้าง การแต่งเล็บเป็นประจำอาจทำให้เล็บอ่อนแอจนเหลืองและเปราะบางเพราะสารเคมีที่ ใช้กับเล็บ เช่น กาวต่อเล็บ หรืออะคริลิค
           วิธีบำรุง: เน้นบริโภคอาหารจำพวกโปรตีน วิตามินเอ วิตามินเอช (ไบโอติน) ซึ่งพบมากในไข่แดง นม ถั่วเหลือง ตับ เห็ด เพื่อเร่งกระบวนการสร้างเล็บขึ้นมาใหม่ให้แข็งกว่าเดิม และอาหารจำพวกแคลเซียมบำรุงเลือดให้ไหลเวียน เช่น ไข่ ถั่วแดง โยเกิร์ต ชีส ผักโขม เป็นต้น
4.บำรุงสังกะสีและวิตามินบีเมื่อเกิดดอกเล็บ (White spots)
           เป็นที่รู้กันดีว่าจุดขาวเล็ก ๆ ใต้แผ่นเล็บคือดอกเล็บ และไม่ใช่อาการผิดปกติที่ร้ายแรง แต่เป็นเพียงแค่อาการที่ร่างกายเตือนว่ากำลังขาดสารอาหารจำพวกสังกะสี หรือได้รับบาดเจ็บ ได้รับแรงกระทบกระเทือนบริเวณหนังกำพร้าที่ฐานเล็บ หรืออาจได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าสู่เล็บ ซึ่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตาม ดอกเล็บนี้จะหายไปเองเมื่อถึงเวลา
           บริเวณที่เป็น: ใต้แผ่นเล็บ (Nail Plate) มีลักษณะเป็นจุดสีขาว สามารถเกิดพร้อมกันได้ทุกนิ้ว แต่หากบนแผ่นเล็บปรากฏลักษณะเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวสีขาว หรือลูนุลา (Lunula) เกิดขึ้นบริเวณฐานเล็บ (Nail Base) แสดงว่าขณะนั้นยังไม่มีเซลล์เล็บเกิดใหม่นั่นเอง แต่ถ้าไม่มีปรากฎให้เห็นก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย
 
           วิธีบำรุง: เน้นบริโภคอาหารจำพวกแร่ธาตุสังกะสีและวิตามินบี เช่น เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเล ถั่วเปลือกแข็ง ผักใบเขียว ข้าวซ้อมมือ และธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น
           เล็บมือและเล็บเท้าของเราเป็นส่วนสำคัญที่ค่อนข้างบอบบาง ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ เพราะสุขภาพเล็บสะท้อนได้ถึงสุขภาพกายของเรา ซึ่งไม่จำเป็นว่าเล็บจะสั้นหรือยาวเท่านั้นที่จะทำให้มือเราดูดี หากเราตัดแต่งเล็บให้เป็นรูปทรงอยู่เสมอ นิ้วมือและนิ้วเท้าของเราก็จะดูดีน่ามองได้เช่นกันค่ะ
การตัดเล็บอย่างถูกวิธี
           1. แช่มือในน้ำ เพื่อทำให้เล็บอ่อนตัวลง ตัดได้ง่ายขึ้น
           2.เริ่มตัดตรงกลางเล็บในแนวเส้นตรง แล้วค่อยๆ เล็มเก็บมุมทีละด้าน ทรงเล็บที่ถูกต้องควรเป็นขอบตัดคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อป้องกันเล็บที่เกิดใหม่ไม่ให้ไปฝังตัวบริเวณจมูกเล็บ ทำให้เกิดเล็บขบได้ง่าย
           3.ค่อยๆ ตัดเล็มขอบเล็บให้สั้นลง เพื่อรักษาทรงเล็บเอาไว้ แทนที่จะตัดให้สั้นในครั้งเดียว และเมื่อตัดเสร็จข้างหนึ่งแล้ว ให้คว่ำฝ่ามือดูเล็บว่าตัดเท่ากันหรือไม่
           4.ตะไบขอบเล็บเพื่อลบความคมของรอยตัด โดยเริ่มจากมุมข้างใดข้างหนึ่งไปเรื่อยๆ
           5.ล้างมือและเช็ดให้แห้ง หรืออาจจะบำรุงด้วยครีมบำรุงเล็บและมือเพิ่มเติมก็ได้

           5 นาที แก้ไขเล็บถอดด้วยถุงชา
           ถุงชาที่มีอยู่ในครัวนั้นสามารถเป็นเฝือกให้กับเล็บเราได้เป็นอย่างดีค่ะ
 
สิ่งที่ต้องเตรียม
           1.ที่ตัดเล็บ
           2.ตะไบเล็บ
           3.ถุงชาที่ทำความสะอาดแล้ว
           4.น้ำยาเคลือบเล็บ
วิธีทำ
           1.ตัดชิ้นส่วนเล็บที่ฉีกออกอย่างเบามือ แล้วตะไบเล็บลดความคมของรอยตัด
           2.ตัดถุงชาด้วยกรรไกรตัดหนังให้พอดีกับเล็บ
           3.ทาน้ำยาเคลือบเล็บ แล้วนำชิ้นเล็บวางบนถุงชาที่ตัดเตรียม ในขณะที่น้ำยาเคลือบเล็บยังไม่แห้ง นำถุงชามาแปะไว้กับเล็บ
           4.ทาน้ำยาเคลือบเล็บซ้ำประมาณ 2 รอบ เพื่อให้ถุงชาสมานยึดกับชิ้นเล็บที่หลุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด