โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่หลังผ่าตัดแล้ว โอกาสที่จะเกิดโรคปากแหว่งเพนดาโหว่
โรคปากแหว่งเพดานโหว่
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
โดย นพ.ปิโยรส ปรียานนท์
เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้เมื่อ ถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง ความพิการซ้ำซ้อนอื่น ๆ ก็ควรจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลร่วมกัน
Link https://www.duangkaew.ksc.net
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคปากแหว่งเพดานโหว่หลังผ่าตัดแล้ว
งานรักษาเฉพาะโรคที่มูลนิธิ พอ.สว. กำหนดนอก จากการให้บริการประชาชนโดยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แล้ว มูลนิธิ พอ.สว. ยังเน้น เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ โดยการรักษาผู้ป่วยพิการและยากจนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัด พอ.สว. ด้วยการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตได้ดีขึ้น โดยได้เริ่มดำเนินงาน รักษาเฉพาะโรคเมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่ จังหวัดนครราชสีมา และต่อมาได้ขยายงานครอบคลุมไปทุกจังหวัด พอ.สว. ทั้ง นี้ ได้กำหนดโรคที่ให้การรักษา โดยการผ่าตัด รวม 7 โรค คือ ตาต้อกระจก ปากแหว่ง-เพดานโหว่ แก้วหูทะลุ รักษาด้วยการปลูกแก้วหู เทียมใส่ กายอุปกรณ์เทียมสำหรับแขน-ขาขาด ฟันคุด โรคหัวใจรูห์มาติค โรคหัวใจพิการแต่ กำเนิด และภาวะไตวายซึ่ง รักษาด้วยการเปลี่ยนไตจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ มูลนิธิ พอ.สว. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเป็นค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยโรคเหล่านี้ ใน 52 จังหวัด พอ.สว. ประมาณปีละกว่า 2,000 ราย รวมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือ ตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบันกว่า 40,000 คน โรคตาต้อ
โรคตาต้อ ขั้นตอนการผ่าตัด โรคปากแหว่ง - เพดานโหว่
โรคปากแหว่ง - เพดานโหว่ (ก่อนผ่าตัด) โรคปากแหว่ง - เพดานโหว่ (หลังผ่าตัด) โรคหัวใจ (ก่อนผ่าตัด)
โรคหัวใจ (ก่อนผ่าตัด) โรคหัวใจ (หลังผ่าตัด) โรคไต
โรคไต (ก่อนผ่าตัด) โรคไต (ก่อนผ่าตัด) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ก่อนผ่าตัด) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (หลังผ่าตัด) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ปัจจุบัน) ขาเทียม
ขาเทียม (ก่อน) ขาเทียม (หลัง) ขาเทียม (ปัจจุบัน)+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โอกาสที่จะเกิดโรคปากแหว่งเพนดาโหว่
หมอเตือนหญิงท้องสูบบุหรี่ ลูกเสี่ยงปากแหว่งเพดานโหว่
กรมอนามัย - น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เผยถึงอันตรายของการสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ว่า บุหรี่กับสุขภาพในช่องปากของหญิงตั้งครรภ์นับเป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโดยปกติหญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบง่ายกว่าผู้ที่ ได้ตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้โรคในช่องปากมีอาการ รุนแรงขึ้น เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดควันที่ระคายเคืองต่ออวัยวะในช่องปาก สารพิษในควันบุหรี่เช่นทาร์และนิโคตินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่อง ปาก เช่น โรคปริทันต์ มะเร็งในช่องปาก การอักเสบและหนาตัวของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และท่อเปิดของต่อมน้ำลาย รวมทั้งทำให้ปากสกปรก ฟันเหลืองและมีกลิ่นปาก
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การสูบ บุหรี่ขณะตั้งครรภ์สารพิษจากควันบุหรี่นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ จะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทารกจึงได้รับสารอาหารน้อยลงกว่าปกติ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ทารกแรกคลอดตัวเล็กมีน้ำหนักน้อย และการที่เลือดผ่านรกน้อยลง ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่จะเข้าสู่สมองลดลง หากนิโคตินสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในรกได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อสมองของทารกในครรภ์ที่มีผลต่อสติปัญญาและพฤติกรรมเด็กด้วย
ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดปากแหว่งเพดาน โหว่มากกว่าทารกที่มารดาไม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า และ เมื่อทารกที่คลอดออกมาหากแม่ยังสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงที่เกิดจากการได้รับ ควันบุหรี่ ที่ทำให้ทารกป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจตอนล่าง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จำเป็นต้องเลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดโอกาส เสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติหรือไม่แข็งแรง หากเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จภายใน 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อัตราเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อทารกจะลดลงอย่างมาก
อธิบดีกรมอนามัยกล่าวอีกว่า ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นแม้จะไม่สูบเองแต่จะมีอันตรายมากกว่าผู้ สูบเอง เนื่องจากเป็นควันที่เกิดจากการเผาไหม้บุหรี่โดยตรง ไม่ได้ผ่านก้นกรองของบุหรี่ หญิงมีครรภ์ ทารกและเด็กจึงควรหลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่หรืออยู่ในสถานที่มี ควันบุหรี่ และหากต้องการเลิกบุหรี่ก็ควรใช้วิธีการพยายามเลิกด้วยตนเองก่อนการใช้ยา แม้ว่าปัจจุบันจะมียาหลายชนิดสำหรับใช้ในผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ จะช่วยให้สำเร็จในการเลิกบุหรี่มากขึ้น ทั้งยาที่มีนิโคตินทดแทนบุหรี่ ยาที่ไม่มีนิโคติน และยาสมุนไพรหญ้าดอกขาว การใช้ยาทุกชนิดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์หรือมารดาที่ให้นมบุตรไม่ควรใช้ยาเลิกบุหรี่ด้วยตน เอง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
Tags: ตั้งครรภ์++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++