โรคปากแหว่งเพดานโหว่เย็บเหงือกตอนไหน โรคปากแหว่ง ประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็กโรคปากแหว่งเพดานโหว่
โรคปากแหว่งเพดานโหว่เย็บเหงือกตอนไหน
แก้ไขความพิการ
แก้ไขความพิการ...เพื่อความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ
ความพิการ หรือความผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด เกิดขึ้นภายหลัง หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ที่ประสบปัญหาความพิการไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำ วัน และการอยู่ร่วมกับสังคม ความพิการที่พบนั้นมีหลายประเภท เช่น แขน-ขา หรือนิ้วขาด, ความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่, ความพิการที่เกิดจากไฟไหม้-น้ำร้อนลวก เป็นต้น ความพิการบางประเภทสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น นิ้วขาด, นิ้วด้วน, ปากแหว่ง-เพดานโหว่ เป็นต้น
นิ้วขาด นิ้วด้วน ต่อใหม่ได้โดย...จุลศัลยแพทย์
มือ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก ซึ่งความผิดปกติทางมืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือความพิการแต่กำเนิด ย่อมทำให้การทำงานของมือเสียไป ในทางการแพทย์ได้ให้คำจำกัดความผิดปกติของ นิ้วมือ ดังนี้ นิ้วขาด หมายถึง นิ้วที่ขาดจากอุบัติเหตุหรือมีความพิการแต่ กำเนิดบางอย่างแล้วทำให้นิ้วสั้นลง นิ้วผิดรูป หมายถึง นิ้วที่มีลักษณะไม่ เหมือนปกติโดยมีสภาพต่างๆ เช่น สั้น ยาว ใหญ่ ไม่มีเล็บ คด งอ เป็นต้น
|
การรักษา
สำหรับนิ้วขาด แบ่งการรักษาเป็น 2 อย่าง คือ
1. การผ่าตัด
1.1 การผ่าตัดเอาเนื้อจากที่อื่นมาเพิ่ม เช่น เอานิ้วเท้ามาใส่ที่มือ เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานให้ดีขึ้นใช้เวลาในการผ่าตัด
ประมาณ 6-8 ชม. กระดูกจะติดเข้าที่ในเวลา 4-6 เดือน ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะพยายามแก้ไขนิ้วของผู้ป่วยให้สามารถขยับได้
และมีความรู้สึกมากที่สุด
1.2 การผ่าตัดยืดนิ้ว เป็นการผ่าตัดยืดทุกส่วนของนิ้วให้ยาวขึ้น ทั้งเนื้อเยื่อ เส้นเลือด เส้นประสาท เส้นเอ็น และกระดูก
ใช้เวลาผ่าตัด 2 ชม. ภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีเหล็กยึดกระดูกติดอยู่ที่มือ ประมาณ 3-4 เดือน จึงสามารถถอดออกได้2. นิ้วเทียม มีหลายลักษณะและวัสดุที่ใช้ คือ
2.1 นิ้วเทียมไฟเบอร์
2.2 นิ้วเทียมซิลิโคน
2.3 นิ้วเทียมอคริลิค
นิ้วเทียม
ทุกชิ้น จะมีอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนขั้นตอนในการต่อนิ้วเทียมนั้น ควรรักษาแผลที่นิ้วให้หายสนิท จากนั้นต้องใช้ผ้าพันไว้เพื่อให้ปลายนิ้วเรียวขึ้น แล้วจึงวัดนิ้วโดยใช้นิ้วมือที่ดีเป็นแบบพิมพ์ทำนิ้วเทียมแทนนิ้วที่ผิดปกติ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการทำนิ้วเทียม ในกรณีที่ตอนิ้วมีความยาวมากกว่า 1.5 ซ.ม. สามารถสวมใส่ได้เลย หากตอนิ้วสั้นมากอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม โดย
1. การฝังเหล็กในกระดูกนิ้วเป็นแกน
2. ยืดกระดูกให้ยาวขึ้น เพื่อใส่นิ้วเทียม
แก้ไขปากแหว่ง...เพดานโหว่ เพื่อรอยยิ้มที่สดใส
ความพิการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการที่เกิดขึ้นมาแต่กำเนิด แต่ปัจจุบันความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่สามารถผ่าตัดแก้ไขให้หายได้ สำคัญว่าพ่อแม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาและมารับการรักษาอย่าง ถูกต้องตามกำหนดเวลา ก็จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณกลับมามีอวัยวะที่สมบูรณ์และใช้งานได้ทั้งปากและ เพดานรวมทั้งฟันและกระดูกใบหน้า เมื่อโตขึ้นก็จะมีลักษณะเกือบจะปกติ การรักษาความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่ แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาความผิดปกติร่วมอื่นๆ หากพบจะได้ทำการแก้ไขไปพร้อมๆกัน โดยแพทย์จะทำการตรวจและประเมินก่อนว่าเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดใด ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแยกได้ดังนี้
- ปากแหว่ง แบ่งออกเป็น : ปากแหว่งแบบสมบูรณ์ คือ แหว่งเข้าไปถึงรูจมูก และปากแหว่งแบบไม่สมบูรณ์ คือ แหว่งเฉพาะที่ริมฝีปาก ซึ่งการแหว่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- เพดานโหว่ แบ่งออกเป็น : เพดานโหว่แบบสมบูรณ์ คือ โหว่ตั้งแต่ลิ้นไก่ถึงเพดานแข็งด้านหน้า และเหงือก และเพดานโหว่แบบไม่สมบูรณ์ คือ โหว่เฉพาะส่วนเพดานอ่อนด้านหลังเท่านั้น ซึ่งการโหว่อาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- ปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้าชนิดต่างๆ, ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น
เมื่อทราบว่าเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดใดแล้ว ก่อนการรักษาแพทย์จะตรวจสภาพร่างกายทั่วๆไปอีกครั้งว่ามีความพร้อมต่อการผ่า ตัดมากน้อยเพียงใด ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำการรักษาความพิการแฝงก่อน เช่น ความผิดปกติของหัวใจ ปอด ฯลฯ หรือรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายสนิทเสียก่อน เช่น ไข้หวัด ปอดอักเสบ หูอักเสบ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบ ส่วนการผ่าตัดนั้นเนื่องจากจะทำโดยการดมยาสลบทุกราย ฉะนั้น เด็กจะต้องงดน้ำ นม และอาหารอื่น ๆ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารระหว่างดมยาสลบ
กรณีเด็กที่พิการปากแหว่ง โดยทั่วไปช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดนั้นจะกำหนดอายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนักเด็กมากกว่า 5 กก. และไม่มีปัญหาเรื่องซีดหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกาย โดยการผ่าตัดจะมีหลายวิธี แพทย์จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับลักษณะความพิการของปากและจมูก รวมถึงความถนัดของแพทย์ แต่โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดโดยการเลื่อนกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดตำแหน่งให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และใช้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ บนใบหน้ามาหนุนสร้างความนูน ความสูง ลักษณะของจมูกและริมฝีปาก โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง
ในกรณีเพดานโหว่โดยไม่มีความพิการของปากร่วมด้วย อายุที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดมักจะประมาณ 10 เดือนถึง 1 ขวบครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะเริ่มใช้เพดานในการพูด หากเด็กได้รับการผ่าตัดที่สมบูรณ์แล้วโอกาสที่เด็กจะพูดได้ใกล้เคียงกับเด็ก ปกติมีค่อนข้างสูง สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์มักอาศัยเนื้อเยื่อของเพดานด้านข้างทั้งสอง เลาะออกจากกระดูกเพดานแล้วเลื่อนเข้ามาหากันตรงกลาง โดยการเลาะเนื้อเยื่อส่วนโพรงจมูก กล้ามเนื้อเพดาน และเยื่อบุเพดาน มาเย็บเข้าหากันเป็นสามชั้น ที่สำคัญที่สุด คือ กล้ามเนื้อของเพดานอ่อนที่แพทย์จะพยายามซ่อมให้ได้กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ที่ สุด ส่วนด้านข้างของเพดานที่แพทย์เลาะเลื่อนเข้ามานั้นจะค่อย ๆ งอกเองจนเป็นเพดานเต็มผืนในที่สุด (ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) แต่ถ้ามีความพิการทั้งปากแหว่งเพดานโหว่ร่วมกัน แพทย์จะทำการผ่าตัดเพดานหลังจากการผ่าตัดริมฝีปากประสบผลสำเร็จและได้ริม ฝีปากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว โดยทั่วไปมักจะทำหลังการผ่าตัดริมฝีปากประมาณ 6 เดือนขึ้นไป
ภาย หลังการผ่าตัดแก้ไขจะต้องดูแลแผลริมฝีปากและเพดานให้ถูกต้อง เพราะถ้าดูแล ไม่ดีอาจทำให้แผลหายช้า อักเสบ หรือแผลที่เย็บไว้แยกออกจากกันได้ ที่สำคัญผลการรักษาที่ได้จะไม่สมบูรณ์ รวมทั้งการใช้งานของเพดานหรือริมฝีปากก็อาจไม่ปกติได้
โดย ทั่วไปแพทย์จะให้เด็กงดดูดนมนานประมาณ 1 เดือน จนกว่าแผลจะหายดีและแข็งแรง เพียงพอ ในช่วงนี้จึงควรเลี่ยงไปใช้ช้อนหรือหลอดหยดน้ำหรือนมแทนไปพลาง ก่อน ส่วนการดูแลแผลผ่าตัดก็ทำไปตามที่แพทย์แนะนำและควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษา รวมถึงการรักษาต่อเนื่องอื่น ๆ เช่น การฝึกการใช้ริมฝีปาก เพดาน การดูแล การจัดฟัน การผ่าตัดซ่อมแซมเหงือกหรือแก้ไขจมูกที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเติบโตพร้อมกับสภาพของใบหน้าและโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ที่สุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ : [email protected]
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคปากแหว่ง
ปากแหว่งและเพดานโหว่
คือร่องโหว่ที่ปากด้านบนและเพดานปาก ซึ่งร่องเนื้ออาจเริ่มจากลิ้นไก่ผ่านไปถึง เพดานอ่อนชั้นใน เพดานแข็ง กระดูกโคนฟัน และปากด้านบนไปจนถึงจมูกด้านหน้า หรืออาจเป็นร่องที่พาดจากริมฝีปากถึง เพดานปากโดยตลอด
โดยทั่วไปเด็กปาก แหว่ง เพดานโหว่ จะเป็นมาแต่กำเนิด ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทางสภาพร่างกายนั้น เด็กจะดูด - ดื่มนม หรือรับประทานอาหารไม่สะดวกมีความยากลำบากในการดื่ม กิน หรือกลิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยทางรายที่เพดานโหว่ จะสำลักอาหารอยู่บ่อย ๆ ทำให้เด็กมีอาการขาดอาหาร เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนในด้านจิตใจ หากเด็กเหล่านั้นอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา จะเห็นร่องรอยความผิดปกติชัดเจน พูดจาไม่ชัด ทำให้มีปมด้อย บางคนถึงขนาดไม่ยอมเรียนหนังสือเพราะกลัวถูกเพื่อนล้อเลียน บางรายก็กับเก็บตัวเองอยู่ในบ้านอย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมเข้าสังคม
สมมติฐานของปากแหว่งและเพดานโหว่
จากการศึกษาจำนวนเด็กที่เกิดมา และอยู่ในพื้นที่ชนบทอันห่างไกล พบว่าอัตราเด็กที่เกิด 1,000 คน จะเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ประมาณ 1 คน (0.1%) และตามหลักวิจัยทางการแพทย์นั้น ยังไม่มีหนทางที่จะป้องกันสาเหตุต่าง ๆ ของการเกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามจากสถิติสาเหตุของโรคนี้ อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม คือ กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในครอบครัว ที่มีผลทางพันธุกรรมทำให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติขึ้นสิ่งแวดล้อม ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มารดาอาจประสบกับอิทธิพลต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบให้เกิดปากแหว่งและเพดานโหว่ อาทิ การขาดหรือได้รับสารอาหารวิตามินที่ผิดปกติไม่ครบถ้วน หรืออาจสืบเนื่องจากพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง ตลอดจนการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดหรืออันตรายที่เกิดจากการฉายรังสีเอกซ์ - เรย์ และถูกกระทบกระเทือนจากภายนอกกับทารกในระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำหรับเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่
ไม่มีสาเหตุที่สามารถอธิบายสมมติฐานของการเกิดโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ดัง นั้นพ่อแม่ของเด็กที่ปากแหว่งเพดานโหว่ จึงมักจะโทษตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับความ จริงและปล่อยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาเด็กเหล่านี้ในขณะเยาว์วัยทำ ให้เวลาถูกยืดออกไป เด็กพิการเหล่านี้หลายคนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและไม่มีโอกาสที่จะ เข้ารับการรักษาผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์ที่สามารถผ่าตัดรักษาให้ได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจ การด้อยการศึกษา และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมของพวกเขา ยิ่งอาจทำให้พวกเขาลำบากมากขึ้นที่จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ปัญหาแทรกซ้อนในเด็กที่ปากแหว่งและเพดานโหว่
เนื่องจากโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ได้พัฒนาขั้นในระหว่างที่เด็กเป็นทารกอยู่ในครรภ์ แต่พ่อ - แม่ ส่วนมากมักขาดความรู้ ความเอาใจใส่ตลอดจนทุนทรัพย์ในการรักษาจึงปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่า วันหนึ่งที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา ปัญหาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตามมาด้วยทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ เช่น
ปัญหาที่เกี่ยวกับ สารอาหารเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่จะมีความยุ่งยากและลำบากในการรับประทานอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้ในที่สุด
ปัญหาระบบทางเดินหายใจการผิด ปกติของกระดูกจมูก และเพดานปาก เป็นเหตุให้การหายใจของเด็กทารกติดขัด หรือสำลัก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
ปัญหา การได้ยินการติดเชื้อในระบบทางเดินของโลหิต และน้ำเหลือภายในของช่องรับเสียง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและสูญเสียการได้ยิน
ปัญหา ของข้อต่อขากรรไกรการผิดปกติของเพดานอ่อน และเพดานแข็งอาจเป็นสาเหตุของการขบฟันไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดการสูญเสียการได้ยินและตามมาด้วยความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
ปัญหา การเรียงของฟันการเกิดช่องโหว่ การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติหรือซี่ของฟันที่ขาดหายไปอาจทำให้เกิดปัญหาทาง ด้านจิตใจของพ่อแม่ และตัวเด็กด้วย ในการที่จะเก็บตัวอย่างโดดเดี่ยว ไม่กล้าพบปะกับผู้คนในสังคม
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติ ความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้
เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการ ผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง
จุดมุ่งหมายของการรักษาผู้ป่วย
1. ต้องการให้ผู้ป่วยที่มีสภาพของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติได้รับการแก้ไขให้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด มีสุขภาพกาย และใจแข็งแรง ปราศจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ2. สามารถพูดให้คนทั่วไปเข้าใจได้ชัดเจน ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด3. สามารถใช้อวัยวะในการเคี้ยว การกินอาหาร ให้เป็นปกติมากที่สุด4. ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ลดปมด้อยของตัวเอง และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีความสุข
การจัดทีมงานในการรักษาดูแลผู้ป่วย
จากปัญหาต่าง ๆ ของผู้ป่วย ปากแหว่ง เพดานโหว่ และแนวทางรักษาผู้ป่วย ที่ต้องมีแพทย์บุคลากรทางการแพทย์มากมายหลากหลายเข้ามาร่วมกัน ทำให้ต้องจัดตั้งเป็นทีมงานขึ้น เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยได้ดีและมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ทีมงานเหล่านี้ประกอบด้วย1. ศัลยแพทย์ตกแต่ง2. ทันตแพทย์เด็ก, จัดฟัน, ศัลยกรรมช่องปาก, ใส่ฟัน3. นักฝึกพูด, อรรคบำบัด4. นักสังคมสงเคราะห์5. กุมารแพทย์6. รังสีแพทย์7. แพทย์ หู คอ จมูก และ ฯลฯ ทีมที่จัดตั้งขึ้น จะต้องร่วมกันศึกษาปัญหาอันซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยจัดการวางแผนการรักษา ตั้งใจช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และจริงจัง ที่สำคัญที่สุด คือการต่อเนื่อง โดยปรับแต่งแนวทางการรักษาตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ฐานะของพ่อแม่ ลักษณะการผิดปกติของผู้ป่วย และข้อจำกัดในการให้การรักษาดูแลผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยในต่างจังหวัด ไม่สามารถเข้ารับการรักษาดูแลได้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยสังคมสงเคราะห์มาช่วย หรืออาจจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วยชนิดที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสม เป็นต้น โดยการวางแผนการรักษาจะเป็นการวางแผนร่วมกันของทุกคนในทีม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติ ความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้
เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการ ผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง
ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วย
อายุ 3 เดือนขึ้นไป น้ำหนักมากกว่า 5.6 กก. ผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากครั้งแรกอายุ 12-18 เดือน ผ่าตัดแก้ไขเพดานครั้งแรกอายุ 2-3 ขวบ เริ่มดูแลความสะอาดฟัน-ช่องปากอายุ 3 ขวบ เริ่มฝึกพูด เริ่มผ่าตัดแก้ไขจมูกอายุ 5 ขวบ เริ่มรับการปรึกษาแนะนำกับทันตแพทย์จัดฟัน
ก่อน วัยเรียนผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น และความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น จมูก อีกครั้งผ่าตัดแก้ไขฟัน ผ่าตัดแต่งเติมลิ้นไก่ เพื่อให้การพูดชัดเจนยิ่งขึ้น
วัยรุ่นผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่เหลือให้ ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมทั้งผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หลังจากที่ได้รับการจัดฟันเรียบร้อยแล้ว
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อรู้ว่าลูกปากแหว่งทำไงดี...
ปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจาก....อะไรใครตอบได้
นี้ คงเป็นคำถามแรกของพ่อแม่ทุกคนเมื่อรู้ว่าลูกตัวเองมีความผิดปกติทางช่องปาก ทุกคนล้วนคิดว่าทำไมต้องมาเกิดกับครอบครัวเรา ทำไมต้องเป็นเราไม่ใช่คนอื่น เราก็เป็นอีกคนที่มีความคิดแบบนี้ อย่าโทษตัวเองว่าดูแลตัวเองไม่ดีขณะที่ตั้งครรภ์ เพราะเราก็เป็นอีกคนหนึ่งที่อยากมีลูกมาก พอรู้ว่าตั้งท้องเราดูแลตัวเองจนถึงขนาดว่าตอนนี้่ลูกน้อยในครรภ์ได้กี่ สัปดาห์ ตอนนี้สัปดาห์ที่เท่าไรแล้วอะไรกำลังเจริญเติบโต เราต้องกินอะไร เพื่อที่จะให้ลูกออกมาสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สมอง สภาพแวดล้อมข้างกายที่มีอยู่ก็ดีแสนดี ไม่เคยคิดว่าลูกตัวเองจะมีความผิดปกติหัว อกของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ไม่มีใครหรอกที่รู้ว่าลูกมีความผิดปกติแล้วจะไม่รู้สึกอะไรเลย ความรู้สึกของทุกคนที่เคยผ่านวินาทีตรงนั้นทุกคนช๊อค หูอือ ฟังอะไรไม่รู้เรื่อง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดไปสารพัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมต้องเกิดกับลูกเรา แล้วก็เครียดๆๆๆ ทำอะไรก็ไม่มีจิตใจจะทำ....เริ่มโทษคนโน้น โทษคนนี้ โทษตัวเอง..หยุด...หยุด.ความ คิดเล่านั้นซะเพราะนั้นจะทำให้ทุกอย่างยิ่งแย่ลง เราเคยผ่านความรู้สึกตรงนั้นมาแล้วทุกคนที่มีลูกผิดปกติทางด้านปากแหว่งเพ ดานโหว่งหรือมีความผิดปกติอย่างอื่น ต่างก็รู้สึกแย่มากพอๆกัน เพียงแต่รู้สึกแย่คนละเวลาเท่านั้นเอง เริ่มตั้งสติใหม่นับจากนี้ ทางการแพทย์ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้เหมือนกันว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นจาก อะไร สำหรับผู้ปกครองที่มีญาติหรือลูกหลานเป็น แล้วกำลังหาข้อมูลถึงสาเหตุที่เป็น เราข้อแนะนำว่าไม่ต้องหาสาเหตุที่เป็น แต่เปลี่ยนมาหาข้อมูลและทำความเข้าใจ วิธีการเลี้ยงดู ผลข้างเคียงต่างๆ การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด-หลังผ่าตัด สิ่งสำคัญที่สุดเราสามารถเลี้ยงลูกเราเหมือนเด็กปกติทั่วๆไปได้ และเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี นี้คือสิ่งสำคัญมากกว่า...ใช่ไหม
ปัจจุบัน มีโครงการ ยิ้มสวย เสียงใส เพื่อ เทิดพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างน้อยๆคนไทยถือว่าโชคดีที่มีโครงการนี้ขึ้นมา เพราะระยะเวลาที่รักษาไม่ใช้เส้นทางสั้นๆ อย่างน้อยๆ 15-18ปี เป็นเส้นทางที่ยาวไกล แสนไกล ขอให้มองเชิงสร้างสรรค์ ลูกเราที่เป็นแบบนี้ถือว่าโชคดี เพราะเราจะรู้ตลอดเวลาว่าลูกเราต้องไปพบหมอเมื่อไร ผ่าตัดเมื่อไร เราจะรู้ก่อนว่าลูกต้องเจ็บตัววันไหน ช่วงไหน ซึ่งถ้าเป็นเด็กปกติจะไม่สามารถรู้อะไรล่วงหน้าได้เลย นึกจะเจ็บก็เจ็บ นึกจะป่วยก็ป่วย ที่สำคัญสิ่งที่ลูกเราเป็นพอรักษาแล้วก็หายขาดเพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาเท่า นั้นเอง...มองโลกนี้ในเชิงบวกไว้กำลังใจจะเกิดขึ้นเอง
ขอให้คิดว่านี้คือการเรียนปริญญาอีกหลักสูตรที่ต้องใช้ระยะเวลาเรียนถึง 15-18 ปี หลักสูตรนี้เน้นแต่ความรักความใส่ใจและการปฏิบัติซึ่งต้องปฏิบัติให้ถึง หัวใจจริงๆ แล้วความรู้บวกความรักจะเกิดขึ้นมาเอง หลักสูตรนี้ไม่มีในโลกนี้ เพราะยิ่งคุณเรียนรู้จากอาจารย์ใหญ่มากเท่าไร คุณก็ได้ความรู้มากขึ้น มันเป็นบทเรียนที่เราต้องตั้งโจทย์ให้กับตัวเอง ต้องหาคำตอบเอง เพราะนี้คือหลักสูตร... ปริญญาใจ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปากแหว่ง เพดานโหว่ คืออะไร
ปาก แหว่ง เพดานโหว่ ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นความผิดปกติทางช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ที่มีรอยแยกบริเวณริมฝีปาก กระดูกฟันและเพดานปากทำให้มักมีปัญหาต่อเนื่องตามมาคือ ดูดนมลำบาก สำลัก การเรียงตัวของฟันและการสบฟันผิดปกติ สุขภาพอนามัยในช่องปากไม่ดี การเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบนผิดปกติทำให้เด็กๆ เหล่านี้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี ออกเสียงพูดได้ไม่ชัดเจน มีรูปหน้าที่ผิดปกติและมีโอกาสที่จะติดเชื้อในช่องปากและเป็นหูน้ำหนวกได้ ง่าย และยังเป็นปมด้อยทางจิตใจอีกด้วย
ฝากถึงคุณพ่อและคุณแม่
คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่า สมัยนี้ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นเรื่องที่แก้ไขได้แน่นอน แต่ต้องอาศัยการรักษาจากทีมแพทย์หลายสาขาและต้องมีการรักษาที่ต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยหมอได้ เพียงให้มีความมั่นใจว่าลูกรักษาได้ต้องพาลูกไปพบแพทย์ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง ตั้งแต่อายุ 3-6 เดือน อีกทั้งเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเพดาน เมื่ออายุ 9-18 เดือน และสิ่งที่สำคัญต้องพาลูกไปพบแพทย์ตามกำหนดนัดทุกครั้ง
รักษาแล้วจะเป็นอย่างไร
จุดมุ่งหมายของการรักษา คือทำให้เด็กดูดี พูดดี กินดี มีรูปหน้าที่ปกติออกเสียงพูดได้ปกติ
รักษาได้แน่นอน แต่ต้องรักษาตั้งแต่แรกเกิด
พ่อ แม่หรือญาติพี่น้องที่มีบุตรหลานมีความผิดปกติเรื่องของปากแหว่งเพดานโหว่ ขอให้คลายความวิตกกังวล เพราะเค้ามีช่วงเวลาในการรักษา สิ่งสำคัญต้องดูแลให้ลูกคุณมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะได้รับการรักษาต่อ ไป....
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยพึงได้รับจากโครงการยิ้มสวย เสียงใส
1.ได้รับการผ่าตัดและรักษาทุกขั้นตอนฟรี
ปากแหว่ง เริ่มผ่าตัดเมื่ออายุ 3-6 เดือน
เพดานโหว่ เริ่มผ่าตัดเมื่ออายุ 9-18 เดือน
(หากผ่าตัดช้ากว่าอายุที่กำหนด อาจทำให้เด็กพูดไม่ชัดไปตลอดชีวิต)
ยก เว้นในรายที่มีโรคแทรกซ้อนหรือโรคร่วมทางระบบอื่นๆ ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้หลังผ่าตัดจะได้รับการประเมินปัญหาทางการพูดและการสบ ฟันเพื่อรักษาต่อเนื่อง
2.ได้รับค่้าเดินทางมารับการผ่าตัด ครั้งละ 1,000 บาท เบิกจ่ายจากเหล่ากาชาดจังหวัด
3.ได้รับค่าเดินทางมารับการฝึกพูดและแก้ไขปัญหาการสบฟันครั้งละ 500 บาท เบิกจ่ายจากเหล่ากาชาดจังหวัด
ขั้นตอนการรักษาแบ่งเป็นขั้นตอนตามช่วงอายุ ดังนี้ ....
แรกเกิด-3 เดือน ทำเพดานเทียม
เพื่อ ให้เด็กสามารถดูดกลืนนมได้ปกติ(เฉพาะบางราย) ถ้าเด็กสามารถดูดนมได้ก็ไม่ต้องทำเพดานเทียม แต่มีข้อจำกัดเหมือนๆกันคือไม่ควรให้เด็กสำลักนม
อายุ 3-6 เดือน ผ่าตัดริมฝีปาก
ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเย็บรอยแยกที่ริมฝีปาก ช่วงนี้ต้องพาเด็กมาตรวจผลการรักษาและตรวจฟันทุกๆ 2 เดือน
อายุ 9-18 เดือน ผ่าตัดเพดานปาก
ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเย็บรอยแยกบริเวณเพดานปาก จากนั้นเมื่อฟันเริ่มขึ้นทันตแพทย์จะสอนวิธีการแปรงฟัน และการป้องกันฟันผุ ช่วงนี้ต้องพาเด็กมาตรวจฟันทุกๆ 4 เดือน
อายุ 9 เดือน - 8ปี ฝึกพูด
เมื่อเด็กเริ่มพูดได้ เด็กจะถูกส่งไปพบนักแก้ไขการพูด เพื่อประเมินความผิดปกติและฝึกพูดเป็นระยะๆ
อายุ 8-18ปี จัดฟันใหม่
ทันตแพทย์จัดฟันจะเริ่มใส่เครื่องมือบริเวณเพดานเพื่อแก้ไขกระดูกเพดานปาก ที่ล้มเข้ามาหากันป้องกันไม่ให้ฟันเก ฟันซ้อนและเริ่มจัดฟันเพื่อป้องกันฟันผุและรักษาสุขภาพช่องปาก
อายุ 8-11ปี ปลูกกระดูกและปิดรูทะลุ
ศัลยแพทย์ตกแต่งหรือศัลยแพทย์ช่องปากจะผ่าตัด เพื่อปลูกกระดูกตรงที่เป็นรอยแยกกระดูกเบ้าฟัน เพื่อให้ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้งอกขึ้นมาได้ และเป็นการปิดรูทะลุระหว่างช่องปากกับจมูก
อายุ12-17ปี แก้ไขความผิดปกติที่พบและตรวจติดตามการรักษาทุกปี
ทันตแพทย์จัดฟันจะแก้ไขการสบฟันผิดปกติที่เหลืออยู่ เช่น ฟันคร่อมกัน หรือบางรายจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขกระดูกขากรรไกรบนและล่างร่วมด้วย รวมทั้งประเมินและแก้ไขความผิดปกติของใบหน้า หลังจากนี้ควรพาลูกมาตรวจประเมินในหน้า การออกเสียงพูดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูล
จากสมุดบันทึกสุขภาพ โครงการ ยิ้มสวย เสียงใส
แนะนำวิธีการดูแลเด็กที่มีปากแหว่งเพดานโหว่จากประสบการณ์ของตัวเอง
1.สำคัญที่สุดต้องเริ่มจากความรักและความเข้าใจ ต้องคิดไว้เสมอว่าลูกเราไม่ได้เป็นโรคอะไรที่ร้ายแรง และมีทางรักษาให้หายเป็นปกติได้
2.ขั้น ตอนการให้นมก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ไม่ว่าลูกคุณจะให้ทางสายยาง หรือใช้ขวดนม คุณต้องให้ศรีษะของลูกคุณอยู่สูงๆ (ไม่ต้องสูงมาก) แต่อย่าให้นอนราบกับพื้นเพราะจะทำให้ลูกสำลักแล้วทำให้นมไหลย้อนเข้าปอดได้ ถ้านมไหลย้อนเข้าปอดจะทำให้ลูกคุณปอดบวมได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีเด็กที่ถูกเลี้ยงมาไม่ถูกวิธีคือสำลักนมบ่อย จนทำให้ปอดบวม จนทำให้เด็กเสียชีวิต แต่่ถ้าคุณป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมได้ หรือสำลักน้อยที่สุดโอกาศที่เด็กจะเป็นปอดบวมก็น้อยลงเช่นกัน
3.หลังจากที่ลูกอิ่มแล้วไม่ควรให้ลูกนอนทันที ควรอุ้มพาดบ่าเพื่อให้เรอ
4.การนอนคว่ำและนอนตะแครง เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก
5.ควรดูแลให้เด็กได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ เพราะจะทำให้หลอดลมและปอดแข็็งแรง
6.พยายามอย่าให้ลูกมีไข้ ก่อนได้รับการผ่าตัด เพราะถ้ามีไข้ช่วงนั้นการผ่าตัดก็ต้องเลื่อนไปเรื่อยๆ
7.ถ้า ลูกคุณต้องใช้เพดานเทียม ขั้นการการทำความสะอาดนี้ก็สำคัญ โดยปกติจะทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาล้างขวดนมล้าง หลังจากล้างเสร็จแล้วควรนำไปล้างน้ำต้มสุกอีกครั้งและเก็บให้มิดชิดป้องกัน เชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกติดที่เพดานเทียม
8.ถ้า ลูกคุณต้องให้นมโดยผ่านสายยาง ในช่วงแรกๆส่วนใหญ่หมอจะใส่สายยางให้และสอนวิธีการป้อนนมและวิธีใส่สายยาง ให้แต่ถ้าสายยางหลุดแนะนำว่าควรไปที่ โรงพยาบาลใกล้บ้านให้หมอใส่ให้ดีที่สุด เพราะเราถูกสอนมาก็จริงแต่ประสบการณ์เราไม่มี และถ้าใส่พลาดนั้นหมายถึงชีวิตของลูกคุณ....
9.ควร เลือกจุกนมนิ่มๆ เป็นแบบยางพารา ควรเจาะรูให้กว้างขึ้น เด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องของการดูดนม คือแรงดูดนมจะน้อย และถ้าใช้แบบแข็งที่เป็นแบบยางซิลิโคลน จะทำให้การดูดกลืนต้องออกแรงเยอะทำให้เด็กเหนื่อย และกินนมไม่อิ่ม update 9-2-54
10.เรื่องของสุขภาพในช่องปาก ไม่ควรมองข้าม เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ควรดูแลเช็ดทำความสะอาดหรือให้กินน้ำเปล่าหลังกินนมทุกครั้ง เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาดในช่องปาก Update 14-2-54
ข้อแนะนำดีๆจากผู้มีประสบการณ์
คุณแม่ลำใยเล่าให้ฟังว่า " พี่มีวิธีการในการฝึกลูกให้พูดชัด พี่ใช้วิธีฝึกให้ลูกเป่าปาก เป่ากระดาษ เป่ายาง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเป็นการฝึกให้ลูกบังคับลมให้ออกทางช่องปาก เสียงจะไม่ขึ้นจมูก ตอนนี้ลูกสาวพี่อายุ 16 แล้ว ออกเสียงชัดเจนอาจารย์ที่โรงเรียนยังให้ออกไปกล่าวสุนทรพจน์หน้าแถวให้ เพื่อนๆฟังเลย"
**นี้ก็เป็นอีกวิธีที่จะฝึกลูกให้พูดชัด ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณแม่ลำใย ประธานโครงการยิ้มสวยเสียงใสจังหวัดลพบุรี