โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจากอะไร สาเหตุโรคปากแหว่งแพ


26,521 ผู้ชม


โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจากอะไร สาเหตุโรคปากแหว่งแพ

              โรคปากแหว่งเพดานโหว่

รคปากแหว่งเพดานโหว่

สาเหตุของการเกิดโรค
  ปัจจัยทางพันธุกรรม
  ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม
  ความผิดปกติที่เกิดกับพันธุ์กรรม
จำแนกตามด้านที่ผิดปกติ
  3.1 ปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียว (Unilateral)   
  3.2 ปากแหว่งเพดานโหว่สองด้าน (Bilateral)

  3.3 ปากแหว่งเพดานโหว่ตรงกลาง (Median)

การรักษาโดยใช้แผ่นเพดานเทียม obturator
  * เพดานเทียมนอกจากจะทำให้เด็กดูดนมได้แล้ว ยังเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับเด็ก  การให้ความหวังกับพ่อแม่ว่าหากเด็กน้ำหนักมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น การผ่าตัดแก้ไขจะทำได้ดีขึ้น เป็นการสร้างกำลังใจให้กับพ่อแม่ที่สำคัญ นอกจากนั้นการที่เด็กสำรักน้ำหรือน้ำนม จากการไม่ใส่เพดานเทียม ก็จะลดน้อยลง (การสำลักน้ำเข้าปอด เด็กอาจเป็นโรคนิวมอเนีย เสียชีวิตได้)
  * การทำเพดานเทียมควรจะทำในช่วง 1-3 วันแรก เพราะถ้าหลังจากนั้น เด็กจะยอมรับเพดานเทียมได้ยากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการที่เด็กคุ้นกับลักษณะช่องปากที่มีมาแต่เกิดแล้ว

การเย็บปิดริมฝีปาก
   * ศัลยแพทย์พลาสติกจะทำการเย็บปิดริมฝีปากที่โหว่ในช่วงทารกอายุประมาณ 3-6 เดือน
ก่อนการเย็บปิด ทารกอาจได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์จัดฟัน โดยการใส่แผ่นเพดานเทียม เคลื่อยสันเหงือกที่ผิดปกติให้เข้าใกล้ปกติขึ้น

การเย็บปิดเพดานโหว่
หลักเพื่อให้เด็กสามารถพูดได้ชัด เด็กทานนมหรืออาหารโดยไม่สำลัก ลดโอกาสการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
การผ่าตัดทำก่อนเด็กหัดพูด ( 1-1.5 ขวบ)

                  Link    https://www.ladyao.org/jm/index.php

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    โรคปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจากอะไร

   

กแหว่งเพดานโหว่... ใกล้ตัวกว่าที่คิด แต่ป้องกันได้

   
เมื่อพูดถึง "ปากแหว่งเพดานโหว่" อาจจะเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยได้พบเจอรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่พอเห็นข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติตรงนี้แล้วทำให้น่าสนใจมากขึ้นว่า ความผิดปกติของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ดูเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะอย่างในปัจจุบันสถิติเด็กเกิดใหม่ที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ในประเทศ ไทยพบว่ามีมากถึง 1 คนในทุก ๆ 600 คนเลยทีเดียว
พอดีในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ได้มีโอกาสไปร่วมโครงการ "One by One : ยิ้มสยาม ครั้งที่ 13" ซึ่งเป็นโครงการที่มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย และบริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile International) เพื่อดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างการให้บริการผ่าตัดรักษาเด็กที่มีอาการ ปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งในปีนี้เขาจัดขึ้นที่ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก โดยผ่านไป 13 ปีแล้วโครงการนี้ได้ช่วยผ่าตัดให้กับเด็กเป็นจำนวนถึง 1,600 คนแล้ว
โอกาสดีที่จะได้ความรู้เกี่ยวกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่มากยิ่งขึ้นเลยเอามาบอกเล่าสู่กันฟัง...
คนที่มาให้ข้อมูลกับเราก็คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชัย อังสพัทธ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile International) ที่ปัจจุบันเป็นทั้งอาจารย์และแพทย์ที่หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พูดถึงอาการปากแหว่งเพดานโหว่ให้ฟังว่า
"สำหรับอาการปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของการเจริญของใบ หน้าเด็กระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดจากเนื้อเยื่อริมฝีปากบนและเพดานปากไม่เชื่อมติดกัน โรคนี้มันมีสาเหตุเกิดจากหลายองค์ประกอบครับ แต่ยังระบุไม่ได้ว่ามาจากสาเหตุอะไรกันแน่ อย่างเช่น พันธุกรรมจากแม่สู่ลูก การได้รับยาบางชนิด การสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าขณะตั้งครรภ์ก็เป็นไปได้ แต่ที่วิจัยมาก็คือในกรณีการขาดแคลนกรดโฟลิกในหญิงที่ตั้งครรภ์ มีความเป็นไปได้สูงที่เด็กในท้องจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นอาการเหล่านี้ (กรดโฟลิก พบมากในผักใบเขียว)...
...หรืออีกกรณีหนึ่งคือเรื่องการแต่งงานที่อยู่แต่ในชาติพันธุ์ของตัวเอง เพราะอย่างพวกชนเผ่าต่าง ๆ ตามชายแดนจะเป็นกันเยอะ อย่างเช่นที่พบในชาวเขาที่อำเภอแม่สอดนี้ เขาจะแต่งงานกันในเผ่าเอง ทำให้บางครั้งยีนด้อยอาจจะโผล่ออกมาได้ แต่จริง ๆ มันก็มีปัจจัยแวดล้อมอีกมากครับที่มันแสดงผลออกมากลายเป็น โรคนี้ และแต่ละคนก็จะมีความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันด้วย"
คุณหมอให้รายละเอียดว่า คนที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ไม่ใช่คนด้อยโอกาสอย่างที่หลายคนมอง
"อาการนี้ไม่ได้ส่งผลต่อความคิดหรือไอคิวอะไรครับ ไม่ได้มีผลกระทบต่อสมอง แต่หลายคนมองว่าคนที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่สติปัญญาด้อยกว่าคนอื่น ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่เลยครับ บางคนเรียนจบเป็นแพทย์ เป็นวิศวกรยังมีเลยครับ แต่อาจจะเป็นเพราะอคติในสังคมที่แยกเด็กเหล่านี้ออกมา ทำให้เด็กขาดโอกาสที่ดีทางการศึกษา แล้วปัจจุบันนี้ถ้าอยากดูดีก็มา ผ่าตัดแค่นั้นครับ ใช้เวลาไม่นาน ปัจจุบันผ่าตัดแต่ละครั้งใช้เวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้นครับ บางคนอาจจะมาผ่าตัด หลายครั้งจนกว่าจะเข้าที่เข้าทางก็ยังได้เลย...
...อย่างที่บอกครับ แม้ว่าตอนนี้ยังไม่อาจจะทราบได้แน่ชัดว่าอาการปากแหว่งเกิดจากอะไรได้แบบ 100% แต่อย่างน้อยที่สุดเราสามารถที่จะป้องกันไม่ให้เด็กเกิดอาการเหล่านี้ใน ตอนอยู่ในครรภ์ด้วยการที่แม่ของเด็กในครรภ์ต้องทานอาหารที่มีกรดโฟลิกให้ เพียงพอ"
    แหล่งข่าว :

                       Link    https://www.healthcorners.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   สาเหตุโรคปากแหว่งแพ

โรคปากแหว่งเพดานโหว่

 

             ” ปากแหว่งเพดานโหว่ ” ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ของบริเวณช่องปากและใบหน้าของเด็ก มีรอยแยกบริเวณริมฝีปากด้านบนกระดูกเบ้าฟัน และเพดานปาก และมีปัญหาต่อเนื่องตามมาเมื่อโตขึ้น เช่น การเรียงตัวของฟันและการสบฟันที่ผิดปกติ สุขภาพอนามัยช่องปากไม่ดี ความผิดปกติในการพูดรวมถึงความผิดปกติของการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบน โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 4 ของความผิดปกติในเด็กแรกเกิดหรือประมาณ 1 ต่อ 700 ของเด็กเกิดใหม่ 

1. ปากแหว่ง แบ่งออกเป็น :

         - ปากแหว่งแบบสมบูรณ์ คือ แหว่งเข้าไปถึงรูจมูก

         - ปากแหว่งแบบไม่สมบูรณ์ คือ แหว่งเฉพาะที่ริมฝีปาก

         - ปากแหว่งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
   2. เพดานโหว่ แบ่งออกเป็น :

          -   เพดานโหว่แบบสมบูรณ์ คือ โหว่ตั้งแต่ลิ้นไก่ถึงเพดานแข็งด้านหน้าและถึงเหงือกด้านหน้า

         - เพดานโหว่แบบไม่สมบูรณ์ คือ โหว่เฉพาะส่วนเพดานอ่อนด้านหลังเท่านั้น 
   3. ปากแหว่งเพดานโหวที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้า   ชนิดต่าง ๆ ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น

 

สาเหตุของการเกิดโรค มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์มารดาเป็นสาเหตุร่วมกัน ของ ความผิดปกติ

 

  1. พันธุกรรม (Heredity) เป็นการถ่ายทอดลักษณะจาก พ่อ แม่ ไปยังลูก

    1.1     เกิดความผิดปกติของยีน (Gene Abnormality)  ซึ่งยีนทำหน้าที่นำข้อมูลทางพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์  หนึ่ง เพื่อควบคุมภาวะการแบ่งตัวและการเจริญเติบโต ของเซลล

    1.2    เกิดความผิดปกติของโครโมโซม (Chromosome Abnormailty) โดยปกติมนุษย์จะมี 46 โครโมโซม แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 44 โครโมโซม และโครโมโซมเพศ 2 โครโมโซม ซึ่งถ้าหากมี จำนวนโครโมโซมลดลงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่หากมี โครโมโซมเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้เกิดความผิด ปกติแต่กำเนิดได้

 

  1.   ปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม:  หมายถึง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวทารกที่มีผลต่อพัฒนาการของทารกขณะอยู่ในครรภ์ มารดา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เช่น ความเจ็บป่วยของมารดาขณะตั้งครรภ์ ภาวะขาดวิตามินและสารโฟเลท การได้รับยาบางชนิด (เช่น ยากันชัก) การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปากแหว่ง ±เพดานโหว่ แก่ทารกในครรภ์ได้มากขึ้นเป็น 1.5-3 เท่า

ผลกระทบกับเด็ก 

      ด้านร่างกาย

  • จะมีปํญหาด้านการดูดกลืน  ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • โอกาส ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจง่ายเนื่องจากขณะที่เด็กดูดอาจสำลักน้ำนมเข้าทาง เดินหายใจทำให้เกิดการปอดปวม  นอกจากนี้ยังติดเชื้อในหูชั้นกลางได้ง่ายเพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เปิด - ปิด ท่อที่ต่อระหว่างจมูกและหูไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
  • จะมีความผิดปกติทางด้านการพูดเด็กจะออกเสียงสระและพยัชนะไม่ชัดเวลาพูดเสียงมักขึ้นจมูก
  • จะ มีโครงสร้างของใบหน้าที่ผิดรูปการเรียงตัวของฟัน  การสบฟัน  และการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ  รวมทั้งสุขภาพอนามัยช่องปากไม่ดี

ด้านจิตใจ

  • โต ขึ้นจะรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยไม่กล้าที่จะไปโรงเรียนหรือเล่นกับเพื่อน ๆ กลัวเพื่อนล้อ  จึงเก็บตัวอยู่บ้าน  หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องอาจทำให้ปํญหาอื่นตามมา  เช่นโรคซึมเศร้า  รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

  •          Link         https://www.learners.in.th/
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด