โรคปากนกกระจอกเกิดจาก โรคปากนกกระจอก วิธีรักษา โรคปากนกกระจอกขาดวิตามินอะไร


11,528 ผู้ชม


โรคปากนกกระจอกเกิดจาก โรคปากนกกระจอก วิธีรักษา โรคปากนกกระจอกขาดวิตามินอะไร

                โรคปากนกกระจอกเกิดจาก

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้ (สสส.)
          แผลในช่องปากใครว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ? เพราะความจริงแล้วหากเราไม่ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากแล้ว อาจเกิด "โรคปากนกกระจอก" ได้
          สำหรับบางคนแล้ว โรคปากนกกระจอก นั้นอาจเป็นโรคธรรมดาที่สามารถเกิดซ้ำได้อีก ถ้าหากเราไม่หมั่นทำความสะอาดช่องปาก...ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคปากนกกระจอก จะมีลักษณะเป็นวงกลมขาว ๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบ ๆ บริเวณที่เป็น ไม่มีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น
          แต่ ในคนที่มีน้ำลายมากกว่าปกติ ริมฝีปากแห้งและชอบเลียปากจนติดเป็นนิสัยแล้วละก็ อย่าคิดว่าเป็นเพราะบุคลิกส่วนตัว!!! เพราะนั่นอาจแสดงว่าคุณเป็นโรค  "ปากนกกระจอก" แล้ว แต่ต้องสังเกตเพิ่มเติมว่าคุณมีอาการแพ้ หรือระคายเคืองจากลิปสติก ยาสีฟันหรือไม่ร่วมด้วย หรือในผู้ที่ขาดวิตามินรวมถึงผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันหรือใส่ฟันปลอม ทำให้รูปปากผิดปกติ เกิดการกดทับที่มุมปากกลายเป็นจุดอับชื้น เมื่อเหงื่อหรือน้ำลายมาอบบริเวณนั้นมากขึ้น ก็จะเกิดเป็นแผลที่มุมปาก และสุดท้ายอาจจะมีการติดเชื้อบางชนิดอย่างเช่นเชื้อรา แบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัสอย่างเริมได้
          เพราะ ฉะนั้น วิธีการป้องกันที่จะไม่ให้เกิดโรคปากนกกระจอกขึ้นกับตัวเอง สามารถทำได้เพียงแค่อันดับแรก ต้องหมั่นทำความสะอาดปากและฟัน ด้วยการแปรงฟันและบ้วนปากให้สะอาดหลังทานอาหารอยู่เสมอ และควรเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องพกผ้าเช็ดหน้าสะอาด ๆ ไว้คอยซับน้ำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้นนั่นเอง
          วิธีต่อมา รักษาความสะอาดของเครื่องนอน เช่น ปลอกหมอน ผ้าห่ม ตลอดจนผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำ ที่สำคัญต้องดื่มน้ำมาก ๆ ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และต้องเลิกนิสัยชอบเลียมุมปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ เพราะจะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลมุมปากได้
          ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ และเราสามารถทำได้เพื่อไม่ไห้เกิดโรคปากนกกระจอก คือ การหมั่นทาปากด้วยลิปปาล์ม หรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของวิตามินอี เพราะวิตามินอีจะช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นตัวดีขึ้นด้วย
          และสำหรับคนที่ขาดวิตามิน ควรทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 2 ซึ่งพบมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ปลา ผักใบเขียว สำหรับธาตุเหล็กพบมากในธัญพืช และถั่วชนิดต่าง ๆ ส่วนผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมก็ควรทำความสะอาดฟันปลอมอยู่เสมอ เพราะฟันปลอมนี่แหละ คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
          หากทำได้เพียงแค่นี้ "โรคปากนกกระจอก" ก็ จะไม่มาทำให้เราได้กังวลใจอีกเป็นแน่ ที่สำคัญถ้าไม่อยากให้โรคอื่น ๆ นอกจากโรคปากนกกระจอกมากล้ำกลายด้วยแล้วละก็!!! ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสมุนไพร ผัก และผลไม้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราห่างไกล "โรค" ทุก "โรค" ได้แน่นอน....
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

            Link     www.kapook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                โรคปากนกกระจอก วิธีรักษา

โรคปากนกกระจอกเป็นอาการแผลเปื่อยที่เกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ ปาก มีอาการเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อรอบปาก ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด สถาบันนิวเมอร์แนะนำวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคปากนกกระจอกไว้ดังนี้

  • ใช้ไฮโดรเจนผสมกลีเซอรีนทำความสะอาดแผลและช่วยเคลือบผิวหนังบริเวณที่เจ็บปวดไว้
  • ทำน้ำยาฆ่าเชื้อเองได้ง่าย ๆ โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผสมกับน้ำ หรืออีกสูตรหนึ่งใช้น้ำผสมกับเบคกิ้งโซดาและเกลือ ใช้ทำความสะอาดแผล แต่ห้ามรับประทานส่วนผสมดังกล่าวเป็นอันขาด
  • ใช้ยาที่ผลิตมาสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ ส่วนมากจะมีส่วนผสมของกาบูร ยูคาลิปตัส และเบนโซเคน
  • ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

              Link     https://healthy.in.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             โรคปากนกกระจอกขาดวิตามินอะไร

โรคปากนกกระจอก หรือแผลที่มุมปาก (Angular stomatitis or angular cheilitis) เป็นโรคแผลที่มุมปากที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 (Riboflavin)
ลักษณะอาการที่พบ คือ จะมีการหลุดลอกของเซลล์หนังกำพร้าบริเวณมุมปาก แล้วต่อมาเกิดเป็นแผล และอาจติดเชื้อแบดทีเรียแทรกซ้อน อักเสบ ปวดเจ็บได้
สาเหตุของโรคปากนกกระจอก แบ่งได้ดังนี้
- ปัญหาของโรคผิวหนังเอง เช่น Atopic dermatitis (ผิวหนังอักเสบแพ้ จากภูมิแพ้ ในเด็ก) Seborrheic dermatitis ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด
- ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่มีฟัน ทำให้รูปปากผิดปกติ ทำให้เกิดการอับชื้นที่มุมปาก เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราได้
- การขาดอาหาร ได้แก่ การขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซี และการขาดโปรตีน (พบได้น้อย)
- การติดเชื้อแทรกซ้อน จากเชื้อแบคทีเรีย
- ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ (hypersalivation)
แนวทางการป้องกันและรักษา
- หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
- ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
- กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
- การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้
ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุค่ะ
จาก BangkokHealth
ปากนกกระจอก (มุมปากเปื่อย)
1. ระวังความสะอาดบริเวณมุมปาก อย่าให้เปียกแฉะด้วยน้ำลาย, อาจใช้ขี้ผึ้งหรือวาสลินทา.
2. กินวิตามินบี 2 หรือ บีรวม 1 - 2 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง.
3. ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ ควรไปหาหมอ.
กินวิตตามิน C ป้องกัน + เเก้ โรค ลักปิดลักเปิด

              Link   https://bbs.pramool.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

อัพเดทล่าสุด