โรคเท้าเปื่อย วิธีรักษาโรคเท้าเปื้อย อาการโรคเท้าปากเปื่อย


6,684 ผู้ชม


โรคเท้าเปื่อย วิธีรักษาโรคเท้าเปื้อย อาการโรคเท้าปากเปื่อย

              โรคเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

สาเหตุ

โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน

อาการ

  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
  • ปวดศีรษะ
  • ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด

ระยะฝักตัว

หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย มักจะเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี

การวินิจฉัย

โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ

  • ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
  • ดื่มน้ำให้พอ

โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน

โรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน

  • อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  • อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย

ควรพบแพทย์เมื่อไร

  • ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
  • ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  • เด็กระสับกระส่าย
  • มีอาการชัก

                      Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             วิธีรักษาโรคเท้าเปื้อย

โรคมือเท้าปาก - Hand Foot Mouth Disease

 

 

 

Hand-Foot-Mouth Disease
compiled by Voravouth Charoensiri, M.D.,


โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ พบได้มานานแล้วและยังเกิดการระบาดเป็นครั้งคราว 
มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุระหว่าง 2 สัปดาห์ 
ถึง 3 ปี ซึ่งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าเป็นช่วงอายุที่เกิดการติดเชื้อ
ไวรัสชนิดนี้ได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าโรคนี้ไม่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่และ
ผู้สูงอายุ 


โดยปกติถือว่าโรคมือ เท้า และปาก (hand, foot and mouth disease) เป็นโรคที่ไม่รุนแรง 
หรือที่เรียกว่า mild disease ผื่นและตุ่มน้ำใสดังกล่าวสามารถหายได้เองในเวลา 5 - 7 วัน 
ไม่เกินสองสัปดาห์ แต่ในบางครั้งที่มีการระบาด เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรง เช่น Enterovirus 71  
หรือ Coxsackie virus บางชนิด อาจก่อให้เกิดโรคเดียวกันนี้ที่รุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเด็ก
เสียชีวิตได้
สาเหตุ :
สาเหตุของโรคมือ เท้า และปากเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า coxsackie virus 
โดยเฉพาะเป็นไวรัสชนิด A5, A10 และ A16 ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุ 
ในการระบาดบางครั้งพบว่าสายพันธ์ที่เป็นสาเหตุได้แก่ coxsackie virus type A16,
coxsackie virus typeA และ enterovirus type 71 
สรุปได้ว่าสาเหตุของโรค HFMD นี้ เกิดจากไวรัส (coxsackie virus) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ
 enterovirus นั่นเอง 
ไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆ
ของร่างกาย ที่สำคัญคือการปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย fecal-oral 
transmission ซึ่งถือได้ว่าเป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม enterovirus 
ทั้งหมด (คำว่า entero หมายถึงทางเดินอาหาร, ติดต่อโดยระบบทางเดินอาหาร
นั่นเอง) ควรระลึกไว้เสมอว่าเด็กจะได้รับเชื้อไวรัสนี้ จากการที่ได้รับอาหารและ
น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งอาจกระจายออกมากับอุจจาระ หรือละอองน้ำมูก 
น้ำลายของเด็กที่เป็นโรคนี้ และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางลมหายใจ
อีกด้วย 
การแพร่กระจายเชื้อ จะเกิดได้ง่ายมากในเด็กๆ เล็กๆ ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิด
กันใน โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกันมากๆ 
ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ (ดังแสดงในรูป)
   
คือการปรากฎผื่นและตุ่มน้ำใส (rash with blisters) ที่บริเวณปาก ลำคอ ต่อมทอนซิล รวมทั้งที่บริเวณ
มือและเท้า จึงทำให้โรคนี้ได้รับขนานนามว่า โรคมือ-เท้า-และปาก (ไม่ใช่ "เปื่อย" แต่เป็นผื่นที่มีตุ่มน้ำใส)
ซึ่งถ้าจะนึกภาพเพื่อเป็นการเทียบเคียง พอจะกล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายตุ่มน้ำเมื่อถูกน้ำร้อนลวกนั่นเอง
 

ลักษณะสำคัญเฉพาะโรคนี้คือ มีแผลตื้นๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น เหงือก 
และข้างกระพุ้งแก้ม เริ่มเป็นจุดแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสและแตกเป็นแผล
ส่วนบริเวณผิวหนังจะเกิดมีผื่นแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งจะมี ผื่นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้นที่บริเวณก้นด้วย ผื่นที่ผิวหนัง
นี้จะไม่แตกเป็นแผล (เหมือนในปาก) และไม่มีอาการคันร่วมด้วย 


Outbreak:
ในประเทศตะวันตก พบว่ามีการระบาดในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โรคนี้
เคยแพร่ระบาดในรัฐซาราวัคของมาเลเซีย ช่วงปี 40 มาแล้ว คร่าชีวิตเด็กๆ 
ไปราว 50 คน นอกจากนี้ ยังเคยแพร่ระบาดในไต้หวันเมื่อปี 41 มีเด็กเสีย
ชีวิตไปถึง 78 คน 
สำหรับในประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคภายในปีนี้ มีรายงานว่าพบผู้ป่วย
ในเดือน พ.ค. 43 จำนวน 57 ราย และ มิ.ย. จำนวน 6 ราย โดยในประเทศไทย
พบผู้ป่วย HFMD มาตลอด แต่ยังไม่เคยมีการระบาดใหญ่ และยังไม่เคย มี
การระบาดของเชื้อเอนเธอโรไวรัส 71 แต่อย่างใด 
หนังสือพิมพ์ของประเทศมาเลเซีย รายงานเมื่อวันศุกร์ 6 ต.ค. กรณีเกิดโรค
ระบาดมือ เท้า ปาก ส่งผลให้มีเด็กในประเทศสิงคโปร์ เสียชีวิตแล้ว 4 คน ป่วย
อีกราว 408 คน อยู่ในโรงพยาบาล 30 คน และล่าสุด มีรายงานข่าวว่าเด็กชาย
ชาวมาเลเซีย วัย 3 ขวบ เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว รายแรกเหยื่อเคราะห์ร้าย ชื่อ
เด็กชายเตียว ชิง ไค เสียชีวิตเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลในเมือง
ยะโฮร์ บาห์รู ทางภาคใต้ ซึ่งอยู่ห่างพรมแดนสิงคโปร์แค่น่านน้ำกั้น 
ด้านประเทศไทยซึ่งได้มีการเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างเข้มงวด โดยกรมควบ
คุมโรคติดต่อ ได้จัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจนักท่องเที่ยวที่นำบุตรหลานจากประเทศ
สิงคโปร์ เข้ามาในประเทศไทยที่บริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองเมื่อวันที่ 5 
ต.ค. เพราะหวั่นเกรงว่าจะนำเชื้อไวรัส coxsackie virus เข้ามาระบาดใน
ประเทศไทย และจากการติดตามสถานการณ์จนถึงล่าสุด คาดว่ากระทรวง
สาธารณสุขของประเทศสิงคโปร์ จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ 
เนื่องจากตัวเลขจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตค่อนข้างคงที่ 
จากการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่พบอยู่ประปราย
เป็นเวลานานแล้ว และเป็นโรคที่พบได้ในประเทศต่าง ๆ แต่ไม่มีอาการรุนแรง 
สำหรับผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็นเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71)    ซึ่งใน
ประเทศไทยเคยพบจำนวนเล็กน้อยในหลายปีก่อน และมีอาการไม่รุนแรง ไม่
พบว่ามีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตแต่อย่างใด 
การระวังป้องกัน :
แนวทางการป้องกันโรคมือ เท้า และปาก ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือการ
หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ (direct contact) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกรณีที่เกิดการระบาด สำหรับการป้องกันโรคนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือ
เรื่องของสุขอนามัยของประชาชน กล่าวคือให้ประชาชนมุ่งเน้นที่ความสะอาด
ของร่างกาย ล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งและก่อนรับประทานอาหาร
 ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าการล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน 
เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก ล้วนเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคทั้งสิ้น 
ในสถานที่ดูแลเด็ก อาทิเช่น สถานเลี้ยงเด็กอ่อน เด็กเล็ก ควรเน้นวิธีกำจัด
อุจจาระให้ถูกต้อง ที่ต้องเน้นอีกเรื่องหนึ่งคือการล้างมือให้สะอาด เนื่องจาก
ไวรัสพวกนี้แพร่กระจาย โดยการสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วยเป็นสำคัญประการหนึ่ง 
และประการสุดท้าย เมื่อเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือ เท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ 
และต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและแยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลี   กับ
เด็กอื่นประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ โรคมือ เท้า และปาก ในเด็กจะมีลักษณะเป็นตุ่มใสตามมือ เท้า ปาก มีไข้ 
การติดเชื้อร้อยละ 99 จะมาจากอุจจาระของเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 10 ขวบ จะติด
เชื้อได้ทางเดียวคือทางอุจจาระ ข้อควรระวังคือ เรื่องของสุขวิทยาส่วนบุคคลคือ 
รับประทานอาหาร และน้ำที่สะอาด ไม่ลงเล่นน้ำ ในสระน้ำสาธารณะ หลีกเลี่ยง
การเล่น ในสนามเด็กเล่นสาธารณะ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของ
อุจจาระเข้าปาก
อาการ :
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โรคมือ เท้า และปาก Hand-foot-mouth disease
จัดได้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ และมักเกิดการระบาดใน
หมู่หรือกลุ่มของเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน หรือที่เรียกว่า daycare การ
ติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย กรณีที่ไม่รักษาอนามัยที่สะอาด เช่น ไม่ล้างมือหลังจาก
เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กเล็ก เป็นต้น หรือติดต่อทางน้ำลายได้ โดยไวรัสสามารถ
ติดต่อจากเด็กคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้เช่นกัน 
ภายหลังได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ เป็นเวลา 4-6 วัน ผู้ป่วยเด็กจะมีไข้ มักเป็น
ไข้ต่ำๆ เช่น อุณหภูมิ 99-102 องศาF (หรือ 37.2-38.9 องศาC) อาการอื่นๆ 
ได้แก่ อ่อนแรงเมื่อยล้า fatigue ไม่มีแรง loss of energy ไม่อยากทานอาหาร 
decreased appetite และเจ็บที่บริเวณปาก sore sensation in the mouth, 
which may interfere with feeding ซึ่งอาจมีผลต่อการป้อนอาหารให้เด็ก 
หลังจากเด็กได้รับเชื้อไวรัสราว 1-2 วัน จะปรากฎตุ่มน้ำใส bumps (vesicles) 
ขึ้นภายในปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ตุ่มน้ำใสเหล่านี้มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ในที่สุดจะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในบาง
รายเกิดขึ้นที่บริเวณก้นด้วย 
ตุ่มน้ำใสในปากดังกล่าวทำให้เกิดอาการหลายประการ เช่น เจ็บ และทำให้เด็ก
ไม่ยอมกินอาหารหรือดื่มน้ำ เนื่องจากเจ็บ ในระยะนี้ใช้เวลานานประมาณเฉลี่ย
หนึ่งสัปดาห์ ต่อมาเมื่อเกิดเป็นตุ่มน้ำใส เป็นระยะที่ติดต่อได้ง่ายที่สุด พบว่าเชื้อ
ไวรัสอยู่ในตุ่มน้ำใสเป็นจำนวนมาก จึงแนะนำให้ระมัดระวังการสัมผัสตุ่มน้ำใส 
เนื่องจากเกิดการติดเชื้อได้ง่ายมาก
กล่าวโดยสรุป อาการของโรคนี้มีดังต่อไปนี้
- ไข้สูง 
- เจ็บคอ 
- ตุ่มน้ำใส หรือ แผล ที่คอ ในปาก 
- ปวดหัว ปวดศีรษะ 
- ผื่นที่มีตุ่มน้ำใส มือ เท้า และปาก (อาจพบที่บริเวณก้นร่วมด้วย) 
- ไม่กินนม ไม่กินอาหาร 
ลักษณะอาการ/การวินิจฉัย - Signs and Tests:
เป็นที่ทราบกันดีว่าการวินิจฉัยโรคมือ เท้า และปากทำได้ไม่ยาก หมายความว่าการตรวจพบลักษณะของ
ตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นที่บริเวณปาก ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้า ทั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอาการ
ไม่รุนแรงนัก 
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวินิจฉัยโรคนี้ไม่ยากแต่อย่างใด การซักถามประวัติ และการตรวจร่างกายอย่าง
ละเอียด ก็สามารถให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ
เพิ่มเติม
พ่อแม่จะสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร ? 
เด็กที่ได้รับเชื้อโรคนี้ จะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 2-3 วัน เด็ก จะเริ่มเจ็บคอ
น้ำลายไหล ปฎิเสธอาหารและน้ำ ถ้าให้เด็กอ้าปาก  จะเริ่มเห็นมีแผลในปาก และเริ่ม มีผื่นตามมือและเท้า
ในอีก 2-3 วันต่อมา 
เด็กๆ จะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง ซึม ไม่วิ่งเล่นเหมือนเดิม โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วม กับ HFMD
 ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Aseptic meningitis) และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่มากนักแต่ค่อนข้างจะอันตรายถึงแก่ชีวิต 
ฉะนั้นถ้าพ่อแม่ สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคนี้ ให้สังเกตอาการดังกล่าว ถ้าสงสัยว่าจะมีโรค แทรกซ้อน
 เช่น เด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึม ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อย  ผิวหนังแห้ง เพลีย หมดแรง ให้รับพา
ไปหาหมอโดยด่วน 
การรักษา - Treatment:
สำหรับในแง่ของการรักษาโรคมือ เท้า และปาก    เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส 
จึงไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อไวรัสทั่วๆไป ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า
 "การรักษาเฉพาะเจาะจง"   specific treatment  เช่นถ้าสาเหตุเกิดจาเชื้อโรคก็ใช้ยาที่
ออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเชื้อก่อโรคนั้นเสีย 
ดังนั้นการรักษาที่สำคัญ จึงเน้นที่การรักษาตามอาการ และการรักษาประคับประคอง symptomatic 
and supportive treatment และเฝ้าระวังอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ในผู้ป่วยบางราย การใช้ยาลดไข้ acetaminophen or ibuprofen 
 กระตุ้นและดูแลให้เด็กดื่มน้ำและทานอาหารให้ได้ตามปกติ 
ถ้าหากทานไม่ค่อยได้ อาจพิจารณาให้ทานอาหารเหลว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือประเภท ice chips 
or popsicles ก็ได้ 
การรักษาเบื้องต้น 
พ่อแม่สามารถดูแลให้การรักษาเบื้องต้นแก่ลูกได้ ตั้งแต่ลูกเริ่มมีอาการไข้ พ่อแม่ควรให้ลูก ดื่มน้ำ
หรืออาหารเหลวทีละน้อยๆ ให้บ่อยๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำแกงจืด น้ำเต้าหู้ นม 
ให้ยาพารา เซตตามอลลดไข้ตามขนาดของน้ำหนักตัวของเด็ก เช็ดตัวลดไข้ และให้นอนพักผ่อน
ระมัดระวัง เรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของเด็กป่วยด้วย 
มียารักษาโรคนี้หรือไม่ 
ยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสตัวนี้ การรักษาทั่วๆ ไป ดังกล่าวข้างต้น เพื่อประคับประคองให้เด็ก ฟื้นไข้ 
ซึ่งส่วนมากจะกินเวลาประมาณ 7-10 วัน เด็กก็จะฟื้นจากไข้ และหายเป็นปกติ 
พยากรณ์โรค - Prognosis:
โดยทั่วไป โรคมือ เท้า และปาก ถือว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดีมาก กล่าวคือโรคนี้สามารถหายได้เอง
ภายในเวลา 5 - 7 วัน (ไม่เกินสองสัปดาห์) โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด
อาการแทรกซ้อน - Complications:
ที่สำคัญ ทำให้เด็กมีไข้สูง จนกระทั่งชักได้ 
อาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 
 
                                Link  https://www.thailabonline.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                     อาการโรคเท้าปากเปื่อย

โรคปาก มือ และ เท้าเปื่อย

เมื่อ หลายปีก่อน คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยได้ยินข่าวจากทีวี และวิทยุ รวมถึงหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆที่ประโคมข่าวเรื่องโรค ปาก มือและเท้าเปื่อย (Hand-Foot-Mouth Disease) ที่ระบาดในที่ต่างๆ เช่น ประเทศสิงค์โปร จนทำให้มีเด็กเสียชีวิตหลายคน และทางการสิงค์โปรต้องประกาศปิดสถานเด็กเล่นตามห้างสรรพสินค้า และโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กต่างๆ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อนี้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ จึงขอนำความรู้เรื่องโรคนี้มาเล่าสู่กันฟัง ณ ที่นี้

เชื้อที่เป็นสาเหตุ และ อาการของโรค

     ที่ จริงแล้วเชื้อที่ทำให้เกิดโรค ปากมือและเท้าเปื่อยนั้น เป็นเชื้อไวรัสที่มีการระบาดทำให้เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ลงมา (ส่วนใหญ่จะเป็นวัยเตรียมอนุบาลหรืออนุบาล) มีอาการเจ็บป่วยเป็นแผลในปากและมีผื่นขึ้นตามฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งมักจะพบมากในหน้าหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเย็น ในเมืองไทยก็มีเชื้อนี้ และทำให้เด็กป่วยกันประปราย

     เชื้อ ไวรัสนี้เป็นไวรัสในกลุ่ม เอนเทโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธ์ (มากกว่า 100 สายพันธ์) และอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ก็จะมีความหลากหลาย ทั้งในแบบที่เป็นหวัดเจ็บคอทั่วไป หรือมีแผลในปากและเจ็บปากมากมีไข้สูง ทานอาหารไม่ได้ อาจมีอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย หรือมีทั้งแผลในปากและผื่นขึ้นตามฝ่ามือฝ่าเท้าให้เห็นชัดเจนว่าเป็นโรคใน กลุ่มปากมือและเท้าเปื่อย

     โดยทั่วไปจะถือว่าโรคปาก มือ และเท้าเปื่อยนี้เป็นโรคที่ค่อนข้างจะไม่รุนแรงคือมักจะหายเป็นปกติได้เอง ภายในเวลา 4-5 วัน 

    อาการแทรกซ้อน

     ที่สำคัญคือในผู้ป่วยบางรายที่มีการติดเชื้อเอนเทโรไวรัสจะมีอาการแทรกซ้อนที่อันตรายเกิดขึ้นได้ ซึ่งได้แก่

  • กลุ่มที่มีอาการทางสมอง มีอาการปวดศีรษะมากและอาจมีอาเจียน คอแข็ง หรือในรายที่รุนแรงก็จะมีอาการชัก และมีไข้สูงด้วย บางรายจะมีอาการหนักถึงขั้นโคม่า อย่างที่เรียกว่าไวรัส ขึ้นสมอง ( Encephalitis, brainstem encephalomyelitis) ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงก็อาจเป็นเพียงปวดศีรษะและมีคอแข็งเล็กน้อยจากการ ที่มีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง (Aseptic meningitis) โดยที่ไม่มีอาการชักหรือโคม่า อย่างในกรณีของไวรัสขึ้นสมอง
  • อาการหัวใจวายจากการที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Viral myocarditis)   ซึ่งที่เป็นข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็คือ การที่มีเด็กในสิงค์โปรบางรายที่มีการติดเชื้อเอนเทโรไวรัส และเสียชีวิตจากหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจมากจนหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดให้ เพียงพอสำหรับการไหลเวียนของโลหิตเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ซึ่งที่สิงค์โปรมีครอบครัวหนึ่งซึ่งสูญเสียลูกไป 2 คนพี่น้องในเวลาไล่เลี่ยกันด้วยโรคนี้
  • การที่มีปอดอักเสบ(ปอดบวม) จากเชื้อไวรัส และมีเลือดออกในเนื้อปอดอย่างมาก (Pulmonary hemorrhage)
     ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันสั้น ภายใน 24- 48 ชม. หลังจากการเกิดปัญหาแทรกซ้อน

    การรักษา

     ใน ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ และยังไม่มีวัคซีนที่จะป้องกันการติดเชื้อนี้ การรักษาที่ให้ก็ได้แก่การรักษาตามอาการของผู้ป่วย

     ใน รายที่มีปัญหาแทรกซ้อนก็จะเข้าดูแลรักษาใน หอผู้ป่วยวิกฤต (ไอ ซี ยู ) แต่ถึงกระนั้นในรายที่มีอาการมากก็ยังมีอัตราตายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเกิดการทำลายของสมองบางส่วนที่สำคัญ เช่น ก้านสมอง (brainstem) ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการหายใจ ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ ฯลฯ หรือมีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจมากทำให้เกิดหัวใจวาย และเสียชีวิตอย่างค่อนข้างฉับพลัน

    การป้องกัน

     เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถพบได้ในน้ำลาย, น้ำมูก ของผู้ป่วยที่มีอาการหวัด และอุจจาระ (โดยเฉพาะในรายที่มีอาการท้องเสีย) จึงทำให้สามารถแพร่กระจาย ทั้งโดยทางการหายใจ ( respiratory route) และทางปาก ( feco-oral route)ให้แก่คนรอบข้างที่มาสัมผัสได้ และผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นพาหะ ช่วยแพร่เชื้อนี้ได้แม้ว่าจะไม่ได้มีอาการป่วยชัดเจนเหมือนในเด็ก

     จึงควรหมั่นล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการอยู่ในคนหมู่มาก รวมทั้งการรักษาสุขอนามัยในการทานอาหาร เช่น การใช้ช้อนกลาง การไม่ใช้ภาชนะอื่นๆร่วมกัน เป็นต้น

     ใน รายที่มีอาการป่วย ควรจะพักผ่อนอยู่ที่บ้านไม่ส่งไปโรงเรียน หรือให้ไปสวนสนุก ที่จะเป็นการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้โดยง่าย จนกว่าอาการต่างๆจะหายเป็นปกติ ซึ่งมักจะเป็นเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

     ระบาดวิทยา

     จากการตรวจสอบอาการเจ็บป่วย และติดตามหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการตายในเด็กชาวสิงค์โปร พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อเอนเทโรไวรัส และจากการตรวจดูสายพันธ์ของไวรัส พบว่าเป็น เอนเทโรไวรัส 71 ที่พบว่ามีการระบาดมาก่อนหน้านี้ในปีที่แล้ว และเคยมีการระบาดมาแล้วเช่นกัน ในประเทศมาเลเซีย และไต้หวันในปีก่อนๆ มาแล้วหลายครั้ง แต่สำหรับที่สิงค์โปรดูเหมือนว่าปี2544 จะเป็นปีที่หนักที่สุดของการระบาดตั้งแต่ที่มีการติดตามเฝ้าระวังเชื้อเอนเท โรไวรัสนี้มา

     ในแง่ของ ระบาดวิทยาถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะสามารถบอกได้ว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของการ เจ็บป่วยและการตายของเด็กในสิงคโปร์ในปี2544 นั้นส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อเอนเทโรไวรัส 71 และมีคุณลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับเชื้อที่เคยมีการระบาดเมื่อหลายปีก่อน ที่สิงคโปร์ และไต้หวัน แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าจะมีเชื้อไวรัสตัวอื่นร่วมเป็นตัว การด้วยหรือไม่ เนื่องจากหลายต่อหลายรายที่มีการตรวจวิเคราะห์ทางด้านไวรัสวิทยากลับไม่ สามารถพบเชื้อได้ หรือพบไวรัสตัวอื่นร่วมด้วย เช่น เชื้อคอกแซกกี่ เอ 16 (Coxsackie A16) ทำให้ทางสิงค์โปร,มาเลเซีย, ไต้หวัน ได้มีมาตรการตรวจแยกเชื้อไวรัส และเฝ้าระวังเชื้อ (Surveillance system) ในคนไข้ที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยอาการคล้ายหวัดที่มารับการรักษาที่ คลินิก และ โรงพยาบาล อย่างสม่ำเสมอ และถือเป็นโรคที่ต้องรายงานให้แก่ทางกรมควบคุมโรคติดต่อ ของแต่ละประเทศ

     ซึ่ง ทางประเทศไทยเราก็ได้มีการตื่นตัวกันในเรื่องนี้ และทางกระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรคติดต่อก็ได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังโรคและเพาะแยกเชื้อเอนเท โรไวรัสนี้ได้ โดยมีศูนย์อยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี และยังนับว่าเป็นโชคดีที่ทางประเทศไทยเราถึงแม้จะมีผู้ป่วยด้วยโรค ปากมือและเท้าเปื่อยบ้าง แต่ก็ยังไม่พบว่ามีการระบาดและมีปัญหาโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ดังเช่นที่พบในประเทศเพื่อนบ้านของเรา
 
             Link   https://www.clinicdek.com
 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
 
 
 

อัพเดทล่าสุด